ไม่ต้องบอก เพื่อนๆที่ติดตามละครเรื่องกรงกรรม ก็คงทราบกันดีอยู่แล้วว่า ละครเรื่องนี้กระแสดีแค่ไหน ไม่ว่าจะด้วยบท นักแสดง ผู้จัด ทีมงานสร้าง ที่ดีงามจริงๆ ทั้งได้แง่คิดในการใช้ชีวิต การทำงาน ความขยันอดทนสู้ชีวิต สถาบันครอบครัว หรือแม้แต่สัจธรรมในการใช้ชีวิต
ละครเรื่อง กรงกรรม เป็นละคร ที่ยิ่งกว่าละครทั่วไป ด้วยความที่ว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องมี พระเอก นางเอก อีกต่อไป เรื่องราวจะเล่าผ่าน ตัวดำเนินเรื่อง ที่เล่าในมุมมอง ความคิด เหตุผลของแต่ละตัวละคร
แต่อีกสิ่งหนึ่ง ที่อยากจะชวนเพื่อนๆ มาร่วมพูดคุยกัน ก็คือ นัยยะ ที่แฝงอยู่ในละคร ที่ทาง ผู้กำกับละคร ทีมกำกับภาพ ทีมฉาก ทีมตัดต่อ และทีมงานผู้สร้าง ตั้งใจแฝงนัยยะ ไว้ในแต่ละฉากให้เราคนดู ได้คิดตาม จะเรียกว่า งานศิลป์ หรือ ศาสตร์ในการทำละคร ให้เราได้ตีความกัน ต้องลองย้อนดูกันตั้งแต่ตอนแรก ว่าเขาซ้อนอะไรไว้บ้าง
อย่างตอนที่ 12 ช่วงปลายๆ
https://www.youtube.com/watch?v=8W9ddLW8AXU
หลังจาก การจากไปของหลักเช้ง เรณูได้กลับไปเยี่ยมลูก ที่ฝากไว้กับหลวงพ่อ แล้วมีช่วงหนึ่งที่เรณู อยากให้หลวงพ่อดูดวงให้หน่อยว่า เมื่อไรบัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ จะทุเลาเบาบางลงซักที
จากนั้นก็ตัดไปเป็นฉากภาพ ที่เรณูกำลังเดินกลับ โดยมีฉากด้านหลังเป็นป่ารกชัฎ ที่สื่อความหมายนัยยะไปในทางปัญหา หรือ อุปสรรคขวากหนามที่เธอต้องเผชิญและผ่านมันมา
การตัดต่อตรงนี้ดีนะครับ เพราะประกอบ ด้วยฉากหลัง เสียงของหลวงพ่อ ที่สอน และนัยยะ หลักธรรมที่มีภาพตัวแทนความหมายประกอบด้วย
หลวงพ่อสอนเรื่องเวรกรรม ว่าผลที่ทำในปัจุบันมาจากเหตุที่ทำมาแล้วในอดีต ทำปัจจุบันให้ดี โดยไม่ต้องกังวลกับ อนาคตที่ยังมาไม่ถึง
การดูหมอ ผูกดวง ไม่ใช่สิ่งที่ พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ และจะทำให้ไขว้เขว ไปสู่อวิชชาเอาได้ ซึ่งตรงนี้ความหมายลึกซึ้งนะครับ
การดูหมอ ผูกดวง ใช่ว่าจะไม่มีจริง หรือ มีจริง แต่จะนำไปสู่อวิชชา ซึ่งก็คือความไม่รู้ ความไม่รู้ที่ว่า โลกนี้มีความไม่แน่นอน ความไม่เที่ยง อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา สิ่งหนึ่งสิ่งใด เกิดแล้วย่อมมีดับเป็นของคู่กัน เมื่อหวังแล้วได้ดังหวังก็สุข ไม่ได้ก็ทุกข์ อวิชชาไม่นำไปสู่การดับทุกข์ หรือ ดับกิเลสนั่นเอง
จากนั้นก็เป็นฉากที่เรณู เดินผ่านฝูงควาย ควายที่เป็นตัวแทนของความไม่รู้ ความโง่เขลานั่นเอง คล้ายกับว่าหลังจากที่เผชิญกับปัญหา ขวากหนามมาแล้ว ก็เดินเข้าสู่อวิชชา แล้วก็ผ่านมันมา
ตรงนี้เข้าใจว่าทีมงานไม่ได้เพียงแค่ พยายามจะสื่อถึงความเป็นชนบท ต้องพยายามหาฉาก โลเคชั่น หรือไม่ก็ต้องเกณฑ์น้องควายให้มาเข้าฉาดด้วย เพื่อจะสื่อความหมายให้ล้ำลึก
จากนั้น ก็เป็นฉากที่เรณู เดินเฉียดไปที่บ่อโคลนตม แล้วเดินก้าวผ่านมาได้ น้ยยะก็เหมือนอดีตที่ผ่านมา แล้วเธอพยามที่จะก้าวผ่าน โดยกลับตัว ไม่คิดจะทำสิ่งที่ไม่ดีอีก
โอ้โห่!! นี่หล่ะครับ สิ่งที่คนทำละคร พยายามสอดแทรกให้เราได้ตีความ คิดตาม
ละครเรื่องกรมกรรม จึงไม่ได้มีดีแค่บท นักแสดง ทีมสร้าง ผู้กำกับ แต่ยังแฝงไปด้วย ศาสตร์และศิลป์ในการทำละครอยู่ด้วย
เหมือนที่คุณแดงเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า พี่อ๊อฟ และทีมผู้สร้าง พยายามสอดแทรก กิมมิค เล็กๆไว้ในแต่ละตอน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ ฉาก เช่น มู่ลี่ ดอกบัว กุญแจ ลูกกรง
หรือ องค์ประกอบฉาก เช่นภาพถ่ายงานแต่งอาซา ที่เว้นช่องว่างตรงอาสี่ กับหลักเช้งไว้ หรือแม้แต่การทำบุญใส่บาตรที่ พิไล ไม่ร่วมกรวดน้ำ กับบ้านแบ้ด้วย
แล้วเพื่อนๆ หล่ะครับ หลังจากที่ดูละครมา จนใกล้จบเต็มที่แล้ว ได้ข้อคิด หรือพบนัยยะ ที่ทีมงานผู้สร้าง ซ้อนอะไรไว้บ้าง
กรงกรรม กับ นัยยะ ที่ซ้อนอยู่ในแต่ละฉากแต่ละตอน
ละครเรื่อง กรงกรรม เป็นละคร ที่ยิ่งกว่าละครทั่วไป ด้วยความที่ว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องมี พระเอก นางเอก อีกต่อไป เรื่องราวจะเล่าผ่าน ตัวดำเนินเรื่อง ที่เล่าในมุมมอง ความคิด เหตุผลของแต่ละตัวละคร
แต่อีกสิ่งหนึ่ง ที่อยากจะชวนเพื่อนๆ มาร่วมพูดคุยกัน ก็คือ นัยยะ ที่แฝงอยู่ในละคร ที่ทาง ผู้กำกับละคร ทีมกำกับภาพ ทีมฉาก ทีมตัดต่อ และทีมงานผู้สร้าง ตั้งใจแฝงนัยยะ ไว้ในแต่ละฉากให้เราคนดู ได้คิดตาม จะเรียกว่า งานศิลป์ หรือ ศาสตร์ในการทำละคร ให้เราได้ตีความกัน ต้องลองย้อนดูกันตั้งแต่ตอนแรก ว่าเขาซ้อนอะไรไว้บ้าง
อย่างตอนที่ 12 ช่วงปลายๆ https://www.youtube.com/watch?v=8W9ddLW8AXU
หลังจาก การจากไปของหลักเช้ง เรณูได้กลับไปเยี่ยมลูก ที่ฝากไว้กับหลวงพ่อ แล้วมีช่วงหนึ่งที่เรณู อยากให้หลวงพ่อดูดวงให้หน่อยว่า เมื่อไรบัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ จะทุเลาเบาบางลงซักที
จากนั้นก็ตัดไปเป็นฉากภาพ ที่เรณูกำลังเดินกลับ โดยมีฉากด้านหลังเป็นป่ารกชัฎ ที่สื่อความหมายนัยยะไปในทางปัญหา หรือ อุปสรรคขวากหนามที่เธอต้องเผชิญและผ่านมันมา
การตัดต่อตรงนี้ดีนะครับ เพราะประกอบ ด้วยฉากหลัง เสียงของหลวงพ่อ ที่สอน และนัยยะ หลักธรรมที่มีภาพตัวแทนความหมายประกอบด้วย
หลวงพ่อสอนเรื่องเวรกรรม ว่าผลที่ทำในปัจุบันมาจากเหตุที่ทำมาแล้วในอดีต ทำปัจจุบันให้ดี โดยไม่ต้องกังวลกับ อนาคตที่ยังมาไม่ถึง
การดูหมอ ผูกดวง ไม่ใช่สิ่งที่ พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ และจะทำให้ไขว้เขว ไปสู่อวิชชาเอาได้ ซึ่งตรงนี้ความหมายลึกซึ้งนะครับ
การดูหมอ ผูกดวง ใช่ว่าจะไม่มีจริง หรือ มีจริง แต่จะนำไปสู่อวิชชา ซึ่งก็คือความไม่รู้ ความไม่รู้ที่ว่า โลกนี้มีความไม่แน่นอน ความไม่เที่ยง อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา สิ่งหนึ่งสิ่งใด เกิดแล้วย่อมมีดับเป็นของคู่กัน เมื่อหวังแล้วได้ดังหวังก็สุข ไม่ได้ก็ทุกข์ อวิชชาไม่นำไปสู่การดับทุกข์ หรือ ดับกิเลสนั่นเอง
จากนั้นก็เป็นฉากที่เรณู เดินผ่านฝูงควาย ควายที่เป็นตัวแทนของความไม่รู้ ความโง่เขลานั่นเอง คล้ายกับว่าหลังจากที่เผชิญกับปัญหา ขวากหนามมาแล้ว ก็เดินเข้าสู่อวิชชา แล้วก็ผ่านมันมา
ตรงนี้เข้าใจว่าทีมงานไม่ได้เพียงแค่ พยายามจะสื่อถึงความเป็นชนบท ต้องพยายามหาฉาก โลเคชั่น หรือไม่ก็ต้องเกณฑ์น้องควายให้มาเข้าฉาดด้วย เพื่อจะสื่อความหมายให้ล้ำลึก
จากนั้น ก็เป็นฉากที่เรณู เดินเฉียดไปที่บ่อโคลนตม แล้วเดินก้าวผ่านมาได้ น้ยยะก็เหมือนอดีตที่ผ่านมา แล้วเธอพยามที่จะก้าวผ่าน โดยกลับตัว ไม่คิดจะทำสิ่งที่ไม่ดีอีก
โอ้โห่!! นี่หล่ะครับ สิ่งที่คนทำละคร พยายามสอดแทรกให้เราได้ตีความ คิดตาม
ละครเรื่องกรมกรรม จึงไม่ได้มีดีแค่บท นักแสดง ทีมสร้าง ผู้กำกับ แต่ยังแฝงไปด้วย ศาสตร์และศิลป์ในการทำละครอยู่ด้วย
เหมือนที่คุณแดงเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า พี่อ๊อฟ และทีมผู้สร้าง พยายามสอดแทรก กิมมิค เล็กๆไว้ในแต่ละตอน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ ฉาก เช่น มู่ลี่ ดอกบัว กุญแจ ลูกกรง
หรือ องค์ประกอบฉาก เช่นภาพถ่ายงานแต่งอาซา ที่เว้นช่องว่างตรงอาสี่ กับหลักเช้งไว้ หรือแม้แต่การทำบุญใส่บาตรที่ พิไล ไม่ร่วมกรวดน้ำ กับบ้านแบ้ด้วย
แล้วเพื่อนๆ หล่ะครับ หลังจากที่ดูละครมา จนใกล้จบเต็มที่แล้ว ได้ข้อคิด หรือพบนัยยะ ที่ทีมงานผู้สร้าง ซ้อนอะไรไว้บ้าง