By มาร์ตี้ แม็คฟราย
ไม่ได้อึกทึกครึกโครมเหมือนกับแฟรนไชส์จักรวาลอื่น ๆ แต่จักรวาลรวมผีอย่าง Conjuring Universe ก็ยังมีผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง แถมยังมีวางแผนหนังที่กำลังสร้างรอฉายอยู่แล้วถึงสองเรื่อง แสดงให้เห็นถึงความจริงจังของสตูดิโอและผลกำไรมหาศาลสำหรับแฟรนไชส์นี้อย่างชัดเจน ซึ่งล่าสุดผีแม่ชีอย่าง The Nun (2018) ก็เพิ่งกลายเป็นหนังที่ทำรายได้รวมทั่วโลกสูงสุดในจักรวาลไปเป็นที่เรียบร้อย ด้วยรายได้กว่า 365 ล้านเหรียญ จากทุนสร้างราว ๆ 20 ล้านเหรียญเท่านั้น
The Curse of the Weeping Woman (หรือในชื่อ The Curse of La Llorona) ได้กลายเป็นหนังลำดับที่ 6 ของจักรวาลนี้ หลังจากที่เราได้รู้จักกับเรื่องราวของผีแม่ชี, ตุ๊กตาผีอาฆาต และสามีภรรยานักปราบผีตระกูลวอร์เรนไปแล้ว ก็ถึงเวลาของผีสาวที่เป็นตำนานหลอนของเม็กซิโกที่ถูกเล่าขานกันมายาวนานอย่าง ลา โยโรนา ที่ถูกนำมาตีความใหม่ให้เข้ากับจักรวาลนี้
เอาเข้าจริง โปรเจกต์ลำดับที่ 6 ของจักรวาลนี้ มันค่อนข้างได้รับการเข้าฉายแบบเงียบ ๆ ไม่ได้โหมโปรโมตหนักเหมือนเรื่องก่อน ๆ อาจเพราะผีตนนี้ ไม่ได้มีประวัติหรือถูกปูทางมาในหนังเรื่องก่อน ๆ ไม่เหมือนผีแม่ชี หรือตุ๊กตาแอนนาเบลล์ ที่คนดูต่างเคยเห็นและรับรู้ความชั่วร้ายจาก The Conjuring ทั้งสองภาคมา ก่อนที่จะมีหนังเดี่ยวของตัวเองมาแล้ว
ในเมื่อแรงโปรโมตค่อนข้างเงียบ ทำให้โปรเจกต์นี้อาจถูกมองข้ามไปได้ง่าย แต่แน่นอนว่าหากเป็นแฟนจักรวาลนี้อยู่แล้วต้องไปดู แต่ความรู้สึกตอนไปดู ก็จะเป็นความรู้สึกที่ไม่อาจคาดหวังอะไรกับตัวหนังได้เท่าไหร่ นอกจากเป็นหนังผีอีกเรื่องในจักรวาลที่ต้องตามดูก็คงเท่านั้น
โดยเฉพาะก่อนที่จะไปดู ได้อ่านรีวิวจากเว็บไซต์ชั้นนำและเพจหนังบางเพจ พบว่ามีเสียงที่ค่อนไปเฉย ๆ ไปจนถึงไม่ชอบมากพอสมควร แต่บางเพจก็ให้คะแนนเป็นแง่บวก .. สุดท้ายเราก็ต้องตัดสินใจเอง ในเมื่อรสนิยมการดูหนังของแต่ละคนแตกต่างกันอยู่แล้ว
แต่พอดูจบ ก็พบว่าหนังผีม้ามืดเรื่องนี้ดีกว่าที่คิดไว้เยอะ
อย่างแรก คือหนังเรื่องนี้มีการเฉลี่ยการเล่าเรื่องด้วยเนื้อเรื่องและฉากสยองขวัญที่สมดุลกัน เพราะปัญหาสำหรับหนังในจักรวาล Conjuring ช่วงหลัง ๆ คือความไม่สมดุลของการเล่าเรื่อง เช่น Annabelle: Creation (2017) ที่โฟกัสที่ฉากผีอย่างเดียว แต่การเล่าเรื่องส่วนอื่นไม่ถูกเหลียวแลและจืดชืดสุด ๆ และ The Nun ที่สอบตกทั้งการเล่าเรื่องและฉากผี ซึ่งไม่ได้น่ากลัวเลยแม้แต่นิด
จนแล้วจนรอดมาตรฐานอันสูงลิ่วของหนังสยองขวัญแบบครบเครื่อง (ทั้งฉากผีที่น่ากลัว, การเล่าเรื่อง และมิติตัวละคร) ที่ James Wan ทำเอาไว้ใน The Conjuring ทั้งสองภาค (2013 - 2016) ก็ยังไม่มีเรื่องใดในจักรวาลที่ทำได้เทียบเท่า แต่กับเรื่องนี้ หากว่าเฉพาะเรื่องความสมดุลของการเล่าเรื่องแล้ว สามารถใช้คำว่า ‘ใกล้เคียง’ มาตรฐานที่ James Wan ทำเอาไว้มากที่สุด
ในส่วนของฉากสยองขวัญ ที่หลายคนวิพากษ์วิจารณ์ว่าหากินกับฉาก Jump Scare (ฉากผีแบบตุ้งแช่) ที่ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่ ซึ่งก็จริงว่าหนังใช้วิธีการ Jump Scare เป็นหลัก ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่ใด ๆ แต่ลองวิเคราะห์ในฉากจะพบว่ามันคือ Jump Scare ที่มีชั้นเชิง ผ่านกระบวนการคิด และห่างไกลจากคำว่า มักง่าย หรือ สุกเอาเผากิน
หนังผีหลายเรื่อง ใช้วิธีการ Jump Scare แบบไม่มีเหตุไม่มีผลและไม่จำเป็น กะว่าเอาแค่ให้สะดุ้งเล่น ๆ เพราะไม่รู้จะใช้วิธีใด แต่กับเรื่องนี้เป็น Jump Scare ที่มีการวางแผน และปูเรื่องราวของบรรยากาศและแอ็คชั่นของตัวละครมาก่อน ค่อยออกมา ‘ตุ้งแช่’ ให้คนดูสะดุ้ง คนดูรู้แน่นอนว่าผีกำลังจะออกมาเมื่อถึงเวลานั้น แต่กว่าจะถึงเวลาสะดุ้ง คนดูก็จะต้องหวาดระแวงกับบรรยากาศในฉาก จังหวะของหนังเสียก่อนจะถึงเวลาจิตกระเจิง แถมยังมีมุกตลกมาช่วยให้ขำ เบรกความกลัวอีกด้วย
ลองมาดูที่ตัวผี สำหรับในจักรวาลนี้ ตัวผี เป็นอีกหนึ่งจุดเด่นและเป็นตัวชูโรงสำคัญ เพราะผีแต่ละตัวต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่น่าสนใจในตัวมันเอง โดยเฉพาะภาพลักษณ์ภายนอกที่สอบผ่านในเรื่องกระตุ้นความน่าสนใจและเรียกแขกเข้าไปดูหนัง แต่งานก่อนหน้านี้ เรากลับพบว่า ‘ที่มา’ ของผีเหล่านั้น กลับไม่ได้น่าสนใจเท่า (โดยมีผีแม่ชีเป็นเบอร์หนึ่งในเรื่องที่มาอันไร้ต้นสายปลายเหตุและจับต้องอะไรไม่ได้)
แต่กับ ลา โยโรนา อย่างน้อยหนังก็พยายามปูถึงที่มาและเหตุผลของการกระทำ แม้จะไม่ได้ลงลึกในระดับน่าชื่นชม แต่ก็นับว่ามากกว่าผีในจักรวาลก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นตัวบริบทของเธอยังมีความเป็นมนุษย์ เพราะสถานะความเป็นผีของเธอมาจากโศกนาฏกรรมอันเกิดจากจิตใจที่บอบช้ำและการตัดสินใจบนพื้นฐานของมนุษย์ที่ปล่อยให้ความโกรธและหึงหวงเข้าครอบงำจนไร้สติ
The Curse of the Weeping Woman จึงจัดอยู่ในหมวดหนังผีที่สอบผ่านอีกเรื่อง ซึ่งหากเทียบในแง่ศิลปะภาพยนตร์และความลงตัวเรื่องการเล่าเรื่อง กับหนังเรื่อง ๆ อื่นในจักรวาลเดียวกัน สถานะของมันน่าจะอยู่ในระดับรองจาก The Conjuring ทั้งสองภาค โดยมี The Nun และ Annabelle (2014) รั้งท้าย
และที่ไม่น่าแปลกใจที่ James Wan ได้ตัดสินใจส่งไม้ต่อให้กับ Michael Chaves มากำกับโปรเจกต์ใหญ่อย่าง The Conjuring 3 ที่จะเข้าฉายในปีหน้า เพราะดูฝีมือจากผลงานในเรื่อง The Curse of the Weeping Woman แล้ว
ผู้กำกับหน้าใหม่คนนี้ก็ดูมีภาษีเป็นร่างทรงคนใหม่ของ James Wan ได้เหมือนกัน
7/10
ติดตามบทความจากภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆได้ที่
https://www.facebook.com/thelastseatsontheleft
[Review] The Curse of the Weeping Woman: กำเนิดร่างทรง James Wan?
By มาร์ตี้ แม็คฟราย
ไม่ได้อึกทึกครึกโครมเหมือนกับแฟรนไชส์จักรวาลอื่น ๆ แต่จักรวาลรวมผีอย่าง Conjuring Universe ก็ยังมีผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง แถมยังมีวางแผนหนังที่กำลังสร้างรอฉายอยู่แล้วถึงสองเรื่อง แสดงให้เห็นถึงความจริงจังของสตูดิโอและผลกำไรมหาศาลสำหรับแฟรนไชส์นี้อย่างชัดเจน ซึ่งล่าสุดผีแม่ชีอย่าง The Nun (2018) ก็เพิ่งกลายเป็นหนังที่ทำรายได้รวมทั่วโลกสูงสุดในจักรวาลไปเป็นที่เรียบร้อย ด้วยรายได้กว่า 365 ล้านเหรียญ จากทุนสร้างราว ๆ 20 ล้านเหรียญเท่านั้น
The Curse of the Weeping Woman (หรือในชื่อ The Curse of La Llorona) ได้กลายเป็นหนังลำดับที่ 6 ของจักรวาลนี้ หลังจากที่เราได้รู้จักกับเรื่องราวของผีแม่ชี, ตุ๊กตาผีอาฆาต และสามีภรรยานักปราบผีตระกูลวอร์เรนไปแล้ว ก็ถึงเวลาของผีสาวที่เป็นตำนานหลอนของเม็กซิโกที่ถูกเล่าขานกันมายาวนานอย่าง ลา โยโรนา ที่ถูกนำมาตีความใหม่ให้เข้ากับจักรวาลนี้
เอาเข้าจริง โปรเจกต์ลำดับที่ 6 ของจักรวาลนี้ มันค่อนข้างได้รับการเข้าฉายแบบเงียบ ๆ ไม่ได้โหมโปรโมตหนักเหมือนเรื่องก่อน ๆ อาจเพราะผีตนนี้ ไม่ได้มีประวัติหรือถูกปูทางมาในหนังเรื่องก่อน ๆ ไม่เหมือนผีแม่ชี หรือตุ๊กตาแอนนาเบลล์ ที่คนดูต่างเคยเห็นและรับรู้ความชั่วร้ายจาก The Conjuring ทั้งสองภาคมา ก่อนที่จะมีหนังเดี่ยวของตัวเองมาแล้ว
ในเมื่อแรงโปรโมตค่อนข้างเงียบ ทำให้โปรเจกต์นี้อาจถูกมองข้ามไปได้ง่าย แต่แน่นอนว่าหากเป็นแฟนจักรวาลนี้อยู่แล้วต้องไปดู แต่ความรู้สึกตอนไปดู ก็จะเป็นความรู้สึกที่ไม่อาจคาดหวังอะไรกับตัวหนังได้เท่าไหร่ นอกจากเป็นหนังผีอีกเรื่องในจักรวาลที่ต้องตามดูก็คงเท่านั้น
โดยเฉพาะก่อนที่จะไปดู ได้อ่านรีวิวจากเว็บไซต์ชั้นนำและเพจหนังบางเพจ พบว่ามีเสียงที่ค่อนไปเฉย ๆ ไปจนถึงไม่ชอบมากพอสมควร แต่บางเพจก็ให้คะแนนเป็นแง่บวก .. สุดท้ายเราก็ต้องตัดสินใจเอง ในเมื่อรสนิยมการดูหนังของแต่ละคนแตกต่างกันอยู่แล้ว
แต่พอดูจบ ก็พบว่าหนังผีม้ามืดเรื่องนี้ดีกว่าที่คิดไว้เยอะ
อย่างแรก คือหนังเรื่องนี้มีการเฉลี่ยการเล่าเรื่องด้วยเนื้อเรื่องและฉากสยองขวัญที่สมดุลกัน เพราะปัญหาสำหรับหนังในจักรวาล Conjuring ช่วงหลัง ๆ คือความไม่สมดุลของการเล่าเรื่อง เช่น Annabelle: Creation (2017) ที่โฟกัสที่ฉากผีอย่างเดียว แต่การเล่าเรื่องส่วนอื่นไม่ถูกเหลียวแลและจืดชืดสุด ๆ และ The Nun ที่สอบตกทั้งการเล่าเรื่องและฉากผี ซึ่งไม่ได้น่ากลัวเลยแม้แต่นิด
จนแล้วจนรอดมาตรฐานอันสูงลิ่วของหนังสยองขวัญแบบครบเครื่อง (ทั้งฉากผีที่น่ากลัว, การเล่าเรื่อง และมิติตัวละคร) ที่ James Wan ทำเอาไว้ใน The Conjuring ทั้งสองภาค (2013 - 2016) ก็ยังไม่มีเรื่องใดในจักรวาลที่ทำได้เทียบเท่า แต่กับเรื่องนี้ หากว่าเฉพาะเรื่องความสมดุลของการเล่าเรื่องแล้ว สามารถใช้คำว่า ‘ใกล้เคียง’ มาตรฐานที่ James Wan ทำเอาไว้มากที่สุด
ในส่วนของฉากสยองขวัญ ที่หลายคนวิพากษ์วิจารณ์ว่าหากินกับฉาก Jump Scare (ฉากผีแบบตุ้งแช่) ที่ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่ ซึ่งก็จริงว่าหนังใช้วิธีการ Jump Scare เป็นหลัก ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่ใด ๆ แต่ลองวิเคราะห์ในฉากจะพบว่ามันคือ Jump Scare ที่มีชั้นเชิง ผ่านกระบวนการคิด และห่างไกลจากคำว่า มักง่าย หรือ สุกเอาเผากิน
หนังผีหลายเรื่อง ใช้วิธีการ Jump Scare แบบไม่มีเหตุไม่มีผลและไม่จำเป็น กะว่าเอาแค่ให้สะดุ้งเล่น ๆ เพราะไม่รู้จะใช้วิธีใด แต่กับเรื่องนี้เป็น Jump Scare ที่มีการวางแผน และปูเรื่องราวของบรรยากาศและแอ็คชั่นของตัวละครมาก่อน ค่อยออกมา ‘ตุ้งแช่’ ให้คนดูสะดุ้ง คนดูรู้แน่นอนว่าผีกำลังจะออกมาเมื่อถึงเวลานั้น แต่กว่าจะถึงเวลาสะดุ้ง คนดูก็จะต้องหวาดระแวงกับบรรยากาศในฉาก จังหวะของหนังเสียก่อนจะถึงเวลาจิตกระเจิง แถมยังมีมุกตลกมาช่วยให้ขำ เบรกความกลัวอีกด้วย
ลองมาดูที่ตัวผี สำหรับในจักรวาลนี้ ตัวผี เป็นอีกหนึ่งจุดเด่นและเป็นตัวชูโรงสำคัญ เพราะผีแต่ละตัวต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่น่าสนใจในตัวมันเอง โดยเฉพาะภาพลักษณ์ภายนอกที่สอบผ่านในเรื่องกระตุ้นความน่าสนใจและเรียกแขกเข้าไปดูหนัง แต่งานก่อนหน้านี้ เรากลับพบว่า ‘ที่มา’ ของผีเหล่านั้น กลับไม่ได้น่าสนใจเท่า (โดยมีผีแม่ชีเป็นเบอร์หนึ่งในเรื่องที่มาอันไร้ต้นสายปลายเหตุและจับต้องอะไรไม่ได้)
แต่กับ ลา โยโรนา อย่างน้อยหนังก็พยายามปูถึงที่มาและเหตุผลของการกระทำ แม้จะไม่ได้ลงลึกในระดับน่าชื่นชม แต่ก็นับว่ามากกว่าผีในจักรวาลก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นตัวบริบทของเธอยังมีความเป็นมนุษย์ เพราะสถานะความเป็นผีของเธอมาจากโศกนาฏกรรมอันเกิดจากจิตใจที่บอบช้ำและการตัดสินใจบนพื้นฐานของมนุษย์ที่ปล่อยให้ความโกรธและหึงหวงเข้าครอบงำจนไร้สติ
The Curse of the Weeping Woman จึงจัดอยู่ในหมวดหนังผีที่สอบผ่านอีกเรื่อง ซึ่งหากเทียบในแง่ศิลปะภาพยนตร์และความลงตัวเรื่องการเล่าเรื่อง กับหนังเรื่อง ๆ อื่นในจักรวาลเดียวกัน สถานะของมันน่าจะอยู่ในระดับรองจาก The Conjuring ทั้งสองภาค โดยมี The Nun และ Annabelle (2014) รั้งท้าย
และที่ไม่น่าแปลกใจที่ James Wan ได้ตัดสินใจส่งไม้ต่อให้กับ Michael Chaves มากำกับโปรเจกต์ใหญ่อย่าง The Conjuring 3 ที่จะเข้าฉายในปีหน้า เพราะดูฝีมือจากผลงานในเรื่อง The Curse of the Weeping Woman แล้ว
ผู้กำกับหน้าใหม่คนนี้ก็ดูมีภาษีเป็นร่างทรงคนใหม่ของ James Wan ได้เหมือนกัน
7/10
ติดตามบทความจากภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆได้ที่ https://www.facebook.com/thelastseatsontheleft