แน่นอนว่าสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกากระทบภาพรวมทางเศรษฐกิจของจีน แต่จีนก็ไม่ยอมแพ้และไม่หยุดเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ “สีโคโนมิกส์” (XICONOMICS) ของประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง ที่มีนโยบายเศรษฐกิจข้อหนึ่งที่ว่า จีนจะส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งตรงนี้เองจะทำให้จีนหนีจากชาติที่ถูกเย้ยหยันว่าเป็นนักลอกเลียนแบบ ยกระดับตัวเองขึ้นสู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ภายใต้แผน ‘Made in China 2025’
โดยจีนประกาศว่าจะสร้างชื่อ “Made in China” ให้เป็นที่ยอมรับภายในปี 2025 โฟกัสที่เทคโนโลยี 10 ด้าน ซึ่งสอดประสานกับเทคโนโลยี AI ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมสารสนเทศ 2. อุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์อัจฉริยะ 3. อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินและยานอวกาศ 4. อุตสาหกรรมนวัตกรรมการต่อเรือ 5. อุตสาหกรรมการผลิตรถไฟ 6. อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ 7. อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์พลังงาน 8. อุตสาหกรรมการเกษตร 9. อุปกรณ์การผลิตวัตถุดิบใหม่ 10. อุตสาหกรรมทางการแพทย์
รวมถึงเมื่อเร็ว ๆ นี้ยังได้ประกาศเปิดตัวอาชีพใหม่ 13 อย่าง ซึ่งต้องใช้ทักษะและความรู้ใหม่ ๆ จากเทคโนโลยี AI, IoT, Big Data และ Cloud Computing เพื่อให้ก้าวทันกับการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของจีน ประกอบด้วย
1. วิศวกร AI (AI engineering technicians)
2. วิศวกร IoT (IoT engineering technicians)
3. วิศวกร Big data (Big data engineering technicians)
4. วิศวกร Cloud computing (Cloud computing engineering technician)
5. ผู้จัดการ Digitalization (คนที่จัดการโครงสร้างขององค์กรผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม)
6. ผู้เชี่ยวชาญออกแบบโมเดล (Architecture modelling technicians)
7. ผู้ประกอบการ E-sports (คนที่จัดอีเวนต์ คนผลิตคอนเทนต์)
8. นักกีฬา E-sports
9. คนขับโดรน (ใช้โดรนผ่านรีโมตคอนโทรล)
10. ตัวแทนการเกษตร (คนที่วิเคราะห์ดาต้าและให้การสนับสนุนในเชิงเทคนิคแก่เกษตรกร)
11. คนติดตั้งและทดสอบการใช้งาน IoT (IoT installation commissioners)
12. ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์
13. พนักงานซ่อมบำรุงในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์
แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีหลายด้านของจีนอาจจะยังด้อยกว่าสหรัฐฯ และหลายประเทศในโลก แต่ในด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของจีนเติบโตอย่างก้าวกระโดดมาก โดยปีที่แล้วธุรกิจอีคอมเมิร์ซของจีนมีมูลค่ารวมราว 130 ล้านล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นตามเทรนด์การใช้ชีวิตของผู้บริโภค ซึ่งเมื่อย้อนไปดูประวัติของจีนจะเห็นว่า จีนสามารถปรับตัวและปรับเทคโนโลยีให้เข้ากับความต้องการของโลกได้เร็ว ดังนั้น ความคาดหวังที่จีนจะเป็นเจ้าเทคโนโลยีของโลกจึงไม่ใช่แค่เรื่องเพ้อฝัน
สอดคล้องกับความเห็นของนิวยอร์ก ไทมส์ ที่ว่าหลายปีที่ผ่านมาสหรัฐฯ มัวแต่วุ่นวายอยู่กับการทำสงครามในตะวันออกกลาง ขณะที่จีนมุ่งมั่นในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศ และสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน โดยใช้โครงการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานเป็นตัวเชื่อมโยง เช่น สนามบิน ถนน สะพาน รถไฟความเร็วสูง รถไฟแม่เหล็กไฟฟ้าแม็กเลฟ และโดยเฉพาะโครงการ One Belt One Road สิ่งเหล่านี้เป็นการนำเอาเทคโนโลยีชั้นสูงมาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจีนให้ทรงพลังขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น จีนได้เปลี่ยนแนวคิดยอมรับในเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น จึงทำให้จีนถูกยอมรับมากขึ้น และเข้าถึงประเทศต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย
นอกจากการชูเรื่องเทคโนโลยีชั้นสูง และใช้ AI เป็นตัวหลักในการเดินหน้าแล้ว สงครามการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ยังมีการใช้เทคโนโลยี 5G มาเป็นประเด็นสำคัญด้วย โดยเฉพาะหัวเหว่ยเจ้าแห่งเทคโนโลยีของจีน ที่กำลังผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำในเทคโนโลยี 5G ของโลก ซึ่งล่าสุดได้ลงนามข้อตกลง 5G กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพิ่มขึ้นเป็น 40 ฉบับ จากที่บริษัทแจ้งไว้ 30 ฉบับในเดือนมีนาคม รวมทั้งยังมีแผนจัดส่ง “สถานีฐาน” ให้ได้ 100,000 ชุดภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ทำให้หัวเหว่ยมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ และยิ่งเป็นแรงส่งให้สหรัฐฯ หวาดผวาต่อการสูญเสียความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของตัวเองไปอยู่ในมือจีนอีกด้วย
แม้สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ทั่วโลกกำลังเป็นกังวลอย่างมาก แต่ท่าน หลู่เจี้ยน เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ก็ได้ให้สัมภาษณ์คุณสุทธิชัย หยุ่น ว่า ในหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ผู้แทนระดับสูงของทั้งสองประเทศได้ประชุมร่วมกันหลายครั้ง ซึ่งถือว่าการเจรจามีความคืบหน้าในเชิงบวก ซึ่งจีนยินดีที่จะแก้ปัญหาข้อกังวลซึ่งกันและกันด้วยวิธีการเจรจา และมีความยืดหยุ่นอย่างเต็มที่ หากย้อนไปดูกระบวนการเจรจา จะเห็นได้ว่ารัฐบาลจีนมีความจริงใจและตั้งใจในการแก้ปัญหามาโดยตลอด แต่ยังคงต้องยืนหยัดในแนวคิดพื้นฐานและปฏิบัติตามกฎระเบียบร่วมกันด้วย
สำหรับประเทศไทยนั้นมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งสองประเทศ และต้องพึ่งพาด้านการค้ากับสองประเทศ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมและการบริการที่มีจุดเด่นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมาโดยตลอด ซึ่งคุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้วิเคราะห์ไว้ที่งานวันนักข่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า ประเทศเรามีทั้งโอกาสและความเสี่ยง ซึ่งก็ต้องหาโอกาสให้ได้มากกว่าความเสี่ยง แต่ก็พอจะมองเห็นว่า การที่สหรัฐฯ กดดันจีนมากขึ้นเท่าไร ยิ่งทำให้จีนพยายามจับมือกับเพื่อนบ้านมากขึ้นเท่านั้น และพยายามทำให้ประเทศของตัวเองมีความเข้มแข็งและภูมิภาคมีความมั่นคง เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่รู้ว่าถ้าเศรษฐกิจของจีนมีปัญหา ญี่ปุ่นก็สะเทือนเหมือนกัน เพราะการเติบโตของญี่ปุ่นอาศัยจีนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่มีขนาดใหญ่มาก จึงคาดว่าจะเกิดการผนึกกำลังกันในระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง
----------------------------------
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ที่มา: MThai
‘7 ปี ของจีน และสหรัฐ’ เปรียบเทียบ 2 ยักษ์ใหญ่ ผ่านสายตาคอลัมนิสต์คนดัง ‘โธมัส ฟรีดแมน’
https://www.thebangkokinsight.com/129527/?fbclid=IwAR2nWjzsNCkHMfbyRQ3vmrTNrRpbbCHJwCvMXXCsL1f5TNRN1cGKKzGxsJs
ฟัง “เจ้าสัวศุภชัย” ถอดรหัสสมรภูมิ “จีน VS สหรัฐฯ ” โอกาสและความเสี่ยงของไทยท่ามกลางสงครามการค้าโลก
https://mgronline.com/business/detail/9620000035873
ทูตจีน: จุดยืนปักกิ่งในสงครามการค้าจีน-สหรัฐ
https://suthichaiyoon.net/ทูตจีน-จุดยืนปักกิ่งใน-สงครามการค้าจีน-สหรัฐ/
สงครามการค้าตัวประกอบบังหน้าการช่วงชิงอำนาจผู้นำทางเทคโนโลยี
โดยจีนประกาศว่าจะสร้างชื่อ “Made in China” ให้เป็นที่ยอมรับภายในปี 2025 โฟกัสที่เทคโนโลยี 10 ด้าน ซึ่งสอดประสานกับเทคโนโลยี AI ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมสารสนเทศ 2. อุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์อัจฉริยะ 3. อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินและยานอวกาศ 4. อุตสาหกรรมนวัตกรรมการต่อเรือ 5. อุตสาหกรรมการผลิตรถไฟ 6. อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ 7. อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์พลังงาน 8. อุตสาหกรรมการเกษตร 9. อุปกรณ์การผลิตวัตถุดิบใหม่ 10. อุตสาหกรรมทางการแพทย์
รวมถึงเมื่อเร็ว ๆ นี้ยังได้ประกาศเปิดตัวอาชีพใหม่ 13 อย่าง ซึ่งต้องใช้ทักษะและความรู้ใหม่ ๆ จากเทคโนโลยี AI, IoT, Big Data และ Cloud Computing เพื่อให้ก้าวทันกับการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของจีน ประกอบด้วย
1. วิศวกร AI (AI engineering technicians)
2. วิศวกร IoT (IoT engineering technicians)
3. วิศวกร Big data (Big data engineering technicians)
4. วิศวกร Cloud computing (Cloud computing engineering technician)
5. ผู้จัดการ Digitalization (คนที่จัดการโครงสร้างขององค์กรผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม)
6. ผู้เชี่ยวชาญออกแบบโมเดล (Architecture modelling technicians)
7. ผู้ประกอบการ E-sports (คนที่จัดอีเวนต์ คนผลิตคอนเทนต์)
8. นักกีฬา E-sports
9. คนขับโดรน (ใช้โดรนผ่านรีโมตคอนโทรล)
10. ตัวแทนการเกษตร (คนที่วิเคราะห์ดาต้าและให้การสนับสนุนในเชิงเทคนิคแก่เกษตรกร)
11. คนติดตั้งและทดสอบการใช้งาน IoT (IoT installation commissioners)
12. ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์
13. พนักงานซ่อมบำรุงในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์
แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีหลายด้านของจีนอาจจะยังด้อยกว่าสหรัฐฯ และหลายประเทศในโลก แต่ในด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของจีนเติบโตอย่างก้าวกระโดดมาก โดยปีที่แล้วธุรกิจอีคอมเมิร์ซของจีนมีมูลค่ารวมราว 130 ล้านล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นตามเทรนด์การใช้ชีวิตของผู้บริโภค ซึ่งเมื่อย้อนไปดูประวัติของจีนจะเห็นว่า จีนสามารถปรับตัวและปรับเทคโนโลยีให้เข้ากับความต้องการของโลกได้เร็ว ดังนั้น ความคาดหวังที่จีนจะเป็นเจ้าเทคโนโลยีของโลกจึงไม่ใช่แค่เรื่องเพ้อฝัน
สอดคล้องกับความเห็นของนิวยอร์ก ไทมส์ ที่ว่าหลายปีที่ผ่านมาสหรัฐฯ มัวแต่วุ่นวายอยู่กับการทำสงครามในตะวันออกกลาง ขณะที่จีนมุ่งมั่นในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศ และสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน โดยใช้โครงการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานเป็นตัวเชื่อมโยง เช่น สนามบิน ถนน สะพาน รถไฟความเร็วสูง รถไฟแม่เหล็กไฟฟ้าแม็กเลฟ และโดยเฉพาะโครงการ One Belt One Road สิ่งเหล่านี้เป็นการนำเอาเทคโนโลยีชั้นสูงมาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจีนให้ทรงพลังขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น จีนได้เปลี่ยนแนวคิดยอมรับในเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น จึงทำให้จีนถูกยอมรับมากขึ้น และเข้าถึงประเทศต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย
นอกจากการชูเรื่องเทคโนโลยีชั้นสูง และใช้ AI เป็นตัวหลักในการเดินหน้าแล้ว สงครามการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ยังมีการใช้เทคโนโลยี 5G มาเป็นประเด็นสำคัญด้วย โดยเฉพาะหัวเหว่ยเจ้าแห่งเทคโนโลยีของจีน ที่กำลังผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำในเทคโนโลยี 5G ของโลก ซึ่งล่าสุดได้ลงนามข้อตกลง 5G กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพิ่มขึ้นเป็น 40 ฉบับ จากที่บริษัทแจ้งไว้ 30 ฉบับในเดือนมีนาคม รวมทั้งยังมีแผนจัดส่ง “สถานีฐาน” ให้ได้ 100,000 ชุดภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ทำให้หัวเหว่ยมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ และยิ่งเป็นแรงส่งให้สหรัฐฯ หวาดผวาต่อการสูญเสียความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของตัวเองไปอยู่ในมือจีนอีกด้วย
แม้สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ทั่วโลกกำลังเป็นกังวลอย่างมาก แต่ท่าน หลู่เจี้ยน เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ก็ได้ให้สัมภาษณ์คุณสุทธิชัย หยุ่น ว่า ในหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ผู้แทนระดับสูงของทั้งสองประเทศได้ประชุมร่วมกันหลายครั้ง ซึ่งถือว่าการเจรจามีความคืบหน้าในเชิงบวก ซึ่งจีนยินดีที่จะแก้ปัญหาข้อกังวลซึ่งกันและกันด้วยวิธีการเจรจา และมีความยืดหยุ่นอย่างเต็มที่ หากย้อนไปดูกระบวนการเจรจา จะเห็นได้ว่ารัฐบาลจีนมีความจริงใจและตั้งใจในการแก้ปัญหามาโดยตลอด แต่ยังคงต้องยืนหยัดในแนวคิดพื้นฐานและปฏิบัติตามกฎระเบียบร่วมกันด้วย
สำหรับประเทศไทยนั้นมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งสองประเทศ และต้องพึ่งพาด้านการค้ากับสองประเทศ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมและการบริการที่มีจุดเด่นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมาโดยตลอด ซึ่งคุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้วิเคราะห์ไว้ที่งานวันนักข่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า ประเทศเรามีทั้งโอกาสและความเสี่ยง ซึ่งก็ต้องหาโอกาสให้ได้มากกว่าความเสี่ยง แต่ก็พอจะมองเห็นว่า การที่สหรัฐฯ กดดันจีนมากขึ้นเท่าไร ยิ่งทำให้จีนพยายามจับมือกับเพื่อนบ้านมากขึ้นเท่านั้น และพยายามทำให้ประเทศของตัวเองมีความเข้มแข็งและภูมิภาคมีความมั่นคง เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่รู้ว่าถ้าเศรษฐกิจของจีนมีปัญหา ญี่ปุ่นก็สะเทือนเหมือนกัน เพราะการเติบโตของญี่ปุ่นอาศัยจีนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่มีขนาดใหญ่มาก จึงคาดว่าจะเกิดการผนึกกำลังกันในระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง
----------------------------------
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้