เรื่องความขัดแย้ง เรื่องผลประโยชน์ เป็นประเด็นละเอียดอ่อน ที่ NGO มักจะเติมเชื้อไฟให้ลุกโชนอยู่เสมอ
อย่างกรณีของเด็กนักเรียนนอกที่มักมีแนวคิดสุดโต่ง ... จำมาแบบครึ่งๆ กลางๆ ... กลับมาเป็นนักวิชาการ นักวิชาเกินบ้าง มักเก่งแต่ในตำรา พอมาในชีวิตจริงกลับไม่สามารถทำธุรกิจของตนให้รุ่งเรือง นอกจากจะมาเป็นนักวิชาการกลายๆ NGO เนียนๆ
อย่างเช่นกรณี อยากให้มีการแข่งขันเสรีแบบสุดซอย เปิดตำราเศรษฐศาสตร์ 101 สั่งให้รัฐบาลถอย!!! อย่าไปอุ้มธุรกิจคนไทยที่กำลังจะเจ๊ง
รู้มั้ยว่า การค้าเสรี ถูกออกแบบมาให้ประเทศที่ได้เปรียบ ประเทศที่เจริญมากๆ และประเทศที่มีความได้เปรียบทางการค้าอยู่แล้ว เพราะจะสามารถเข้ามาหากินในประเทศที่กำลังพัฒนา หรือด้อยพัฒนาได้อย่างเต็มที่ แต่ NGO ส่วนหนึ่งที่แฝงตัวเป็นนักวิชาการมักจะโชว์พลัง ขยันเติมเชื้อไฟรายวัน ค้านใช้กฏหมายช่วยอุ้มผู้ประกอบการไทยที่กำลังกระอักเลือด ขาดทุนหนัก แต่ดันอยากให้ประเทศไทยเปิดประตูการค้าให้เสรี เพื่อให้คนแข็งแกร่งเท่านั้นที่อยู่รอด ไม่สำคัญว่าประเทศไหนจะมาแข่งกับประเทศไทยในเวทีระดับโลกแบบตัวต่อตัว (แต่ไม่ได้บอกนะว่า เป็นมวยรุ่นใหญ่ชกกับมวยรุ่นจิ๋วอย่างผู้ประกอบการไทย) โดยไม่ใส่ใจว่าใครจะรอด ใครจะตาย!! พูดแต่เพียงว่า ตายก็ตายไป เดี๋ยวก็มีรายใหม่มาแข่งขัน
ต่างจากบางประเทศ เช่น เกาหลีใต้หรือมาเลเซีย ซึ่งรัฐมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ชัดเจน จึงมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในประเทศด้านกลไกตลาด เพื่อคุ้มครองหรือสร้างความได้เปรียบให้กับอุตสาหกรรมภายในประเทศ เช่น การควบคุมอัตราค่าจ้างแรงงาน หรือการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อลดต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมในเกาหลีใต้ หรือในกรณีของนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งชาติในมาเลเซีย ทำให้รัฐต้องมีมาตรการกีดกันชิ้นส่วนและรถยนต์นำเข้าจากต่างประเทศ เป็นต้น
ซึ่งนักวิชาการบางกลุ่มบอก...รับไม่ได้!! ทำไมต้องอุ้มผู้ประกอบการในประเทศ...ทำเอาผู้ประกอบการไทยมองตากันปริบๆ เพราะหลักฐานเห็นชัดอยู่แล้ว
ย้อนกลับไปช่วงปลายปี 2015 การประมูลคลื่น 4G ในย่าน 900 MHz เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและประชาชน เนื่องจากเกิดการแข่งขันกันในระดับสูงอย่างไม่เคยเห็นมาก่อนในประเทศไทย ซึ่งในช่วงเวลานั้น ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ แสดงจุดยืนชัดเจน อยากให้แข่งขันแบบประมูลราคาสูงสุดชนะ รัฐได้เงินสูงสุด อาจมีบริษัทที่ชนะการประมูล แต่ภายหลังประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ เช่น ขาดทุน หรือต้องปิดกิจการลงไป ดังตัวอย่างของบางบริษัทในธุรกิจโทรทัศน์ดิจิทัล ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการคาดการณ์ธุรกิจที่ผิดพลาด ไม่ได้เป็นปัญหาที่เกิดจากการประมูล ซึ่งผลเห็นได้ชัดในปัจจุบัน ทั้งทีวีดิจิทัลและค่ายมือถือ “ฝ่ามรสุมไม่หยุด ขาดทุนอ่วม” “เจ็บแต่ห้ามตาย” ยังคงกลืนเลือด เพียงแค่ขอให้รัฐต่อลมหายใจ ขอยืดระยะเวลาชำระค่าใบอนุญาตออกไปถือว่าเป็นผลดีต่อธุรกิจ และไม่มีใครเสียประโยชน์ แต่คนออกมาค้าน แค่ต่อลมหายใจ ทำไม ดร.สมเกียรติต้องออกมาบีบท่อออกซิเจน นี่คือสิ่งที่สังคมตั้งคำถาม?
ตอนประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอล 24 ช่อง ทำให้รัฐบาลฟันรายได้เข้ากระเป๋าถึง 5 หมื่นล้านบาท แต่พอพวกเขาลำบาก อย่าทำตัวเป็นคนหน้าเลือด ถ้าหากรัฐบาลไม่ยอมลดหย่อนผ่อนปรน ไม่ยอมช่วยเหลือเยียวยา มุ่งแต่จะเก็บค่าใบอนุญาตตะพึดตะพือ เท่ากับรัฐบาลซํ้าเติมให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลและค่ายมือถือ ต้องแบกภาระขาดทุนต่อไปอีกไม่ไหว จนต้องเจ๊งกันระนาว แต่ที่น่าแปลกใจคือ ดร.สมเกียรติไม่มีทีท่าจะเรียกร้องรายได้จากผู้เล่น Social Network เช่น Facebook, YouTube, Line TV ภาพยนตร์ดูผ่าน Internet ได้โดยไม่ต้องมีกล่องใด ๆ และที่สำคัญ Internet TV ได้กลายมาเป็นคู่แข่งกับ Digital TV ที่รัฐเปิดประมูล! แถมไม่ต้องแบ่งรายได้ แต่ ดร.สมเดียรติไล่บี้เฉพาะบริษัทไทย ทั้งที่บริษัทไทยทั้งดิจิตอลทีวีและค่ายมือถือจ่ายภาษีให้ประเทศมหาศาลตลอดเวลาที่ผ่านมา
ลองมาดูค่าความเสียหายกัน หากดูผลประกอบการในอดีตจะพบว่ามีถึง 18 ช่อง จาก 15 บริษัทขาดทุน
อสมท มี 2 ช่องทีวีดิจิทัล ช่อง 9 และ MCOT Family และกิจการวิทยุและสำนักข่าวไทย มีรายงานขาดทุนรวมทุกธุรกิจสูงถึง 2,541.77 ล้านบาท ช่องพีพีทีวี เป็นช่องที่ขาดทุนสูงที่สุด สูงถึง 2,028.76 ล้านบาท เป็นการขาดทุนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ประกอบกิจการมา โดยในปี 2559 ขาดทุนอยู่ที่ 1,996.37 ล้านบาท ช่องไทยรัฐทีวี ที่ทุ่มทุนกับทีมข่าวอย่างมาก แต่ยังมียอดขาดทุนสูงอยู่ที่ 927.55 ล้านบาท เนชั่นทีวีมีรายงานขาดทุนสูงสุดในกลุ่มนี้ โดยขาดทุนสูงถึง 1,127.03 ล้านบาท ตามมาด้วยนิวทีวี ขาดทุน 461.74 ล้านบาท และวอยซ์ทีวี รายงานขาดทุนอยู่ที่ 354.45 ล้านบาท
ในขณะที่ค่ายมือถือก็อ่วมหนัก ไทยเข้าสู่ยุค 3G ถือว่าล้าหลังกว่าประเทศอื่นเป็น 10 ปี พอเปิดให้บริการ 4G เราก็ยังล้าหลังกว่าประเทศอื่นถึง 8 ปี ทำให้ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เอกชนต้องเอาเงินลงทุนจำนวนมหาศาลมาลงในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพื่อไล่กวดประเทศอื่นๆ ที่คุ้มทุนกันมาหมดแล้ว การเปิดบริการ 3G 4G ช้า ทำให้จุดคุ้มทุนของโอเปอเรเตอร์ช้าตามไปด้วย เพราะว่าเพิ่งเปิดให้บริการเพียงแค่ 2-3 ปีเท่านั้นเอง แถมยังต้องเตรียมเงินลงทุนเพิ่ม เพื่อเข้าประมูล 5G ในขณะที่ของเดิมยังไม่คุ้มทุนเลย!!!
ดังนั้น การต่อท่อหายใจ ผ่อนผันให้พักชำระหนี้ค่าใบอนุญาตทีวีเป็นเวลา 3 ปี แต่ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลต้องชำระดอกเบี้ย 1.5 ของวงเงิน และลดค่าเช่าโครงข่ายทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 2 ปี ส่วนในด้านโทรคมนาคมจะได้รับความช่วยเหลือด้วยการขยายระยะเวลาการชำระเงินค่าประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ จากเดิมจ่าย 4 งวดเป็น 10 งวด ถือว่ารัฐบาลช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยผู้ชำระภาษีให้ประเทศ ทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโต ไม่ใช่ละเลยปล่อยให้ตายไปต่อหน้าต่อตา เพียงเพราะคำวิจารณ์ของ NGO ในคราบนักวิชาการหัวใจเสรี ที่ไม่เหลือที่ให้บริษัทไทยได้ทำกินเลย
CR.
แข่งขันเสรีสุดโต่ง … เอาจริงไหม? นักวิชาการ-NGO ค้านรัฐช่วยแก้วิกฤต ทีวีดิจิทัล/โทรคม สุดท้ายเปิดประตูต่างชาติกินรวบธุรกิจไทย
PS. เรามาไล่แมลงสาบออกจากบ้านกันเถอะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
... กัดไม่ปล่อย ... ตามสไตล์ NGO
อย่างเช่นกรณี อยากให้มีการแข่งขันเสรีแบบสุดซอย เปิดตำราเศรษฐศาสตร์ 101 สั่งให้รัฐบาลถอย!!! อย่าไปอุ้มธุรกิจคนไทยที่กำลังจะเจ๊ง
รู้มั้ยว่า การค้าเสรี ถูกออกแบบมาให้ประเทศที่ได้เปรียบ ประเทศที่เจริญมากๆ และประเทศที่มีความได้เปรียบทางการค้าอยู่แล้ว เพราะจะสามารถเข้ามาหากินในประเทศที่กำลังพัฒนา หรือด้อยพัฒนาได้อย่างเต็มที่ แต่ NGO ส่วนหนึ่งที่แฝงตัวเป็นนักวิชาการมักจะโชว์พลัง ขยันเติมเชื้อไฟรายวัน ค้านใช้กฏหมายช่วยอุ้มผู้ประกอบการไทยที่กำลังกระอักเลือด ขาดทุนหนัก แต่ดันอยากให้ประเทศไทยเปิดประตูการค้าให้เสรี เพื่อให้คนแข็งแกร่งเท่านั้นที่อยู่รอด ไม่สำคัญว่าประเทศไหนจะมาแข่งกับประเทศไทยในเวทีระดับโลกแบบตัวต่อตัว (แต่ไม่ได้บอกนะว่า เป็นมวยรุ่นใหญ่ชกกับมวยรุ่นจิ๋วอย่างผู้ประกอบการไทย) โดยไม่ใส่ใจว่าใครจะรอด ใครจะตาย!! พูดแต่เพียงว่า ตายก็ตายไป เดี๋ยวก็มีรายใหม่มาแข่งขัน
ต่างจากบางประเทศ เช่น เกาหลีใต้หรือมาเลเซีย ซึ่งรัฐมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ชัดเจน จึงมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในประเทศด้านกลไกตลาด เพื่อคุ้มครองหรือสร้างความได้เปรียบให้กับอุตสาหกรรมภายในประเทศ เช่น การควบคุมอัตราค่าจ้างแรงงาน หรือการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อลดต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมในเกาหลีใต้ หรือในกรณีของนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งชาติในมาเลเซีย ทำให้รัฐต้องมีมาตรการกีดกันชิ้นส่วนและรถยนต์นำเข้าจากต่างประเทศ เป็นต้น
ซึ่งนักวิชาการบางกลุ่มบอก...รับไม่ได้!! ทำไมต้องอุ้มผู้ประกอบการในประเทศ...ทำเอาผู้ประกอบการไทยมองตากันปริบๆ เพราะหลักฐานเห็นชัดอยู่แล้ว
ย้อนกลับไปช่วงปลายปี 2015 การประมูลคลื่น 4G ในย่าน 900 MHz เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและประชาชน เนื่องจากเกิดการแข่งขันกันในระดับสูงอย่างไม่เคยเห็นมาก่อนในประเทศไทย ซึ่งในช่วงเวลานั้น ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ แสดงจุดยืนชัดเจน อยากให้แข่งขันแบบประมูลราคาสูงสุดชนะ รัฐได้เงินสูงสุด อาจมีบริษัทที่ชนะการประมูล แต่ภายหลังประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ เช่น ขาดทุน หรือต้องปิดกิจการลงไป ดังตัวอย่างของบางบริษัทในธุรกิจโทรทัศน์ดิจิทัล ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการคาดการณ์ธุรกิจที่ผิดพลาด ไม่ได้เป็นปัญหาที่เกิดจากการประมูล ซึ่งผลเห็นได้ชัดในปัจจุบัน ทั้งทีวีดิจิทัลและค่ายมือถือ “ฝ่ามรสุมไม่หยุด ขาดทุนอ่วม” “เจ็บแต่ห้ามตาย” ยังคงกลืนเลือด เพียงแค่ขอให้รัฐต่อลมหายใจ ขอยืดระยะเวลาชำระค่าใบอนุญาตออกไปถือว่าเป็นผลดีต่อธุรกิจ และไม่มีใครเสียประโยชน์ แต่คนออกมาค้าน แค่ต่อลมหายใจ ทำไม ดร.สมเกียรติต้องออกมาบีบท่อออกซิเจน นี่คือสิ่งที่สังคมตั้งคำถาม?
ตอนประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอล 24 ช่อง ทำให้รัฐบาลฟันรายได้เข้ากระเป๋าถึง 5 หมื่นล้านบาท แต่พอพวกเขาลำบาก อย่าทำตัวเป็นคนหน้าเลือด ถ้าหากรัฐบาลไม่ยอมลดหย่อนผ่อนปรน ไม่ยอมช่วยเหลือเยียวยา มุ่งแต่จะเก็บค่าใบอนุญาตตะพึดตะพือ เท่ากับรัฐบาลซํ้าเติมให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลและค่ายมือถือ ต้องแบกภาระขาดทุนต่อไปอีกไม่ไหว จนต้องเจ๊งกันระนาว แต่ที่น่าแปลกใจคือ ดร.สมเกียรติไม่มีทีท่าจะเรียกร้องรายได้จากผู้เล่น Social Network เช่น Facebook, YouTube, Line TV ภาพยนตร์ดูผ่าน Internet ได้โดยไม่ต้องมีกล่องใด ๆ และที่สำคัญ Internet TV ได้กลายมาเป็นคู่แข่งกับ Digital TV ที่รัฐเปิดประมูล! แถมไม่ต้องแบ่งรายได้ แต่ ดร.สมเดียรติไล่บี้เฉพาะบริษัทไทย ทั้งที่บริษัทไทยทั้งดิจิตอลทีวีและค่ายมือถือจ่ายภาษีให้ประเทศมหาศาลตลอดเวลาที่ผ่านมา
ลองมาดูค่าความเสียหายกัน หากดูผลประกอบการในอดีตจะพบว่ามีถึง 18 ช่อง จาก 15 บริษัทขาดทุน
อสมท มี 2 ช่องทีวีดิจิทัล ช่อง 9 และ MCOT Family และกิจการวิทยุและสำนักข่าวไทย มีรายงานขาดทุนรวมทุกธุรกิจสูงถึง 2,541.77 ล้านบาท ช่องพีพีทีวี เป็นช่องที่ขาดทุนสูงที่สุด สูงถึง 2,028.76 ล้านบาท เป็นการขาดทุนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ประกอบกิจการมา โดยในปี 2559 ขาดทุนอยู่ที่ 1,996.37 ล้านบาท ช่องไทยรัฐทีวี ที่ทุ่มทุนกับทีมข่าวอย่างมาก แต่ยังมียอดขาดทุนสูงอยู่ที่ 927.55 ล้านบาท เนชั่นทีวีมีรายงานขาดทุนสูงสุดในกลุ่มนี้ โดยขาดทุนสูงถึง 1,127.03 ล้านบาท ตามมาด้วยนิวทีวี ขาดทุน 461.74 ล้านบาท และวอยซ์ทีวี รายงานขาดทุนอยู่ที่ 354.45 ล้านบาท
ในขณะที่ค่ายมือถือก็อ่วมหนัก ไทยเข้าสู่ยุค 3G ถือว่าล้าหลังกว่าประเทศอื่นเป็น 10 ปี พอเปิดให้บริการ 4G เราก็ยังล้าหลังกว่าประเทศอื่นถึง 8 ปี ทำให้ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เอกชนต้องเอาเงินลงทุนจำนวนมหาศาลมาลงในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพื่อไล่กวดประเทศอื่นๆ ที่คุ้มทุนกันมาหมดแล้ว การเปิดบริการ 3G 4G ช้า ทำให้จุดคุ้มทุนของโอเปอเรเตอร์ช้าตามไปด้วย เพราะว่าเพิ่งเปิดให้บริการเพียงแค่ 2-3 ปีเท่านั้นเอง แถมยังต้องเตรียมเงินลงทุนเพิ่ม เพื่อเข้าประมูล 5G ในขณะที่ของเดิมยังไม่คุ้มทุนเลย!!!
ดังนั้น การต่อท่อหายใจ ผ่อนผันให้พักชำระหนี้ค่าใบอนุญาตทีวีเป็นเวลา 3 ปี แต่ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลต้องชำระดอกเบี้ย 1.5 ของวงเงิน และลดค่าเช่าโครงข่ายทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 2 ปี ส่วนในด้านโทรคมนาคมจะได้รับความช่วยเหลือด้วยการขยายระยะเวลาการชำระเงินค่าประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ จากเดิมจ่าย 4 งวดเป็น 10 งวด ถือว่ารัฐบาลช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยผู้ชำระภาษีให้ประเทศ ทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโต ไม่ใช่ละเลยปล่อยให้ตายไปต่อหน้าต่อตา เพียงเพราะคำวิจารณ์ของ NGO ในคราบนักวิชาการหัวใจเสรี ที่ไม่เหลือที่ให้บริษัทไทยได้ทำกินเลย
CR. แข่งขันเสรีสุดโต่ง … เอาจริงไหม? นักวิชาการ-NGO ค้านรัฐช่วยแก้วิกฤต ทีวีดิจิทัล/โทรคม สุดท้ายเปิดประตูต่างชาติกินรวบธุรกิจไทย
PS. เรามาไล่แมลงสาบออกจากบ้านกันเถอะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้