เก้าอี้ผู้นำสั่นคลอน! สหรัฐฯ รับ “จีน” ตามทัน-แซงหน้าด้าน “นวัตกรรม” แล้ว
.
วานนี้ (8 เม.ย.) มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม (ITIF) ของสหรัฐฯ เผยแพร่รายงานว่าด้วยการพัฒนา “นวัตกรรม” ของจีนตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งกำลังไล่ตามทันหรือแซงหน้าสหรัฐฯ ในบางตัวชี้วัดอย่างรวดเร็ว
.
รายงานระบุว่าการลงทุนด้านการวิจัยและการพัฒนา (R&D) ของจีนในปี 2017 น้อยกว่าสหรัฐฯ ราว 33 เปอร์เซ็นต์ แต่ในปี 2017 จีนกลับลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 76 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับการลงทุนในสหรัฐฯ ซึ่งแซงหน้าสหภาพยุโรป (EU) แล้ว
.
บรรดาสถาบันของรัฐบาลจีนได้ทุ่มงบประมาณด้านการวิจัยและการพัฒนามากกว่าสหรัฐฯ เมื่อเทียบเป็นสัดส่วนของจีดีพี (GDP) โดยเพิ่มจาก 84 เปอร์เซ็นต์ในปี 2007 เป็น 119 เปอร์เซ็นต์ในปี 2017 เมื่อเทียบกับของสหรัฐฯ
.
ตลาดกองทุนร่วมลงทุน (VC) ของจีนมีขนาดเล็กมากในปี 2006 ด้วยอัตรา 3.7 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับตลาดกองทุนฯ ของสหรัฐฯ แต่ในปี 2016 บริษัทกองทุนฯ ในจีนได้เพิ่มการลงทุนเป็นครึ่งหนึ่งของการลงทุนในสหรัฐฯ
.
มหาวิทยาลัยด้านการวิจัยในจีนได้คะแนนเพียง 9.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับคะแนนของมหาวิทยาลัยด้านการวิจัยในสหรัฐฯ ในปี 2009 ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็น 28 เปอร์เซ็นต์ในปี 2018 โดยอ้างอิงการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกของเซี่ยงไฮ้
.
การอ้างอิงบทความจีนอยู่ที่เพียง 62 เปอร์เซ็นต์ในปี 2004 ขณะบทความสหรัฐฯ ถูกอ้างอิงถึง 141 เปอร์เซ็นต์ ทว่าในปี 2014 บทความจีนถูกอ้างอิงถึง 96 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกือบเทียบเท่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก
.
ในปี 2006 สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าสหรัฐฯ (USPTO) ยอมรับสิทธิบัตรจีน จำนวน 1,066 ฉบับ ซึ่งคิดเป็น 1.2 เปอร์เซ็นต์ของสิทธิบัตรสหรัฐฯ ก่อนเพิ่มเป็นมากกว่า 11,000 ฉบับในปี 2016 ซึ่งคิดเป็น 8 เปอร์เซ็นต์
.
นอกจากนั้นมูลค่าเพิ่มทางการผลิตเทคโนโลยีระดับสูงของจีนเติบโตจาก 30 เปอร์เซ็นต์ในปี 2006 เป็น 77 เปอร์เซ็นต์ในปี 2016 และหากยังรักษาอัตราการเติบโตเช่นนี้ได้ จีนจะแซงหน้าสหรัฐฯ ในตัวชี้วัดนี้ภายในปี 2020
.
รายงานสรุปว่าการมอง “จีนเป็นนักลอกเลียนแบบ” คือความเข้าใจผิด เพราะจีนสามารถสร้างนวัตกรรมได้แล้ว โดยโรเบิร์ต แอตคินสัน ประธานมูลนิธิฯ เรียกร้องสหรัฐฯ วางยุทธศาสตร์แข่งขันและนวัตกรรมแห่งชาติเพื่อคงความเป็นผู้นำ
นวตกรรมงานวิจัยจีนล้ำหน้ากว่าอเมริกา
เก้าอี้ผู้นำสั่นคลอน! สหรัฐฯ รับ “จีน” ตามทัน-แซงหน้าด้าน “นวัตกรรม” แล้ว
.
วานนี้ (8 เม.ย.) มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม (ITIF) ของสหรัฐฯ เผยแพร่รายงานว่าด้วยการพัฒนา “นวัตกรรม” ของจีนตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งกำลังไล่ตามทันหรือแซงหน้าสหรัฐฯ ในบางตัวชี้วัดอย่างรวดเร็ว
.
รายงานระบุว่าการลงทุนด้านการวิจัยและการพัฒนา (R&D) ของจีนในปี 2017 น้อยกว่าสหรัฐฯ ราว 33 เปอร์เซ็นต์ แต่ในปี 2017 จีนกลับลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 76 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับการลงทุนในสหรัฐฯ ซึ่งแซงหน้าสหภาพยุโรป (EU) แล้ว
.
บรรดาสถาบันของรัฐบาลจีนได้ทุ่มงบประมาณด้านการวิจัยและการพัฒนามากกว่าสหรัฐฯ เมื่อเทียบเป็นสัดส่วนของจีดีพี (GDP) โดยเพิ่มจาก 84 เปอร์เซ็นต์ในปี 2007 เป็น 119 เปอร์เซ็นต์ในปี 2017 เมื่อเทียบกับของสหรัฐฯ
.
ตลาดกองทุนร่วมลงทุน (VC) ของจีนมีขนาดเล็กมากในปี 2006 ด้วยอัตรา 3.7 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับตลาดกองทุนฯ ของสหรัฐฯ แต่ในปี 2016 บริษัทกองทุนฯ ในจีนได้เพิ่มการลงทุนเป็นครึ่งหนึ่งของการลงทุนในสหรัฐฯ
.
มหาวิทยาลัยด้านการวิจัยในจีนได้คะแนนเพียง 9.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับคะแนนของมหาวิทยาลัยด้านการวิจัยในสหรัฐฯ ในปี 2009 ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็น 28 เปอร์เซ็นต์ในปี 2018 โดยอ้างอิงการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกของเซี่ยงไฮ้
.
การอ้างอิงบทความจีนอยู่ที่เพียง 62 เปอร์เซ็นต์ในปี 2004 ขณะบทความสหรัฐฯ ถูกอ้างอิงถึง 141 เปอร์เซ็นต์ ทว่าในปี 2014 บทความจีนถูกอ้างอิงถึง 96 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกือบเทียบเท่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก
.
ในปี 2006 สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าสหรัฐฯ (USPTO) ยอมรับสิทธิบัตรจีน จำนวน 1,066 ฉบับ ซึ่งคิดเป็น 1.2 เปอร์เซ็นต์ของสิทธิบัตรสหรัฐฯ ก่อนเพิ่มเป็นมากกว่า 11,000 ฉบับในปี 2016 ซึ่งคิดเป็น 8 เปอร์เซ็นต์
.
นอกจากนั้นมูลค่าเพิ่มทางการผลิตเทคโนโลยีระดับสูงของจีนเติบโตจาก 30 เปอร์เซ็นต์ในปี 2006 เป็น 77 เปอร์เซ็นต์ในปี 2016 และหากยังรักษาอัตราการเติบโตเช่นนี้ได้ จีนจะแซงหน้าสหรัฐฯ ในตัวชี้วัดนี้ภายในปี 2020
.
รายงานสรุปว่าการมอง “จีนเป็นนักลอกเลียนแบบ” คือความเข้าใจผิด เพราะจีนสามารถสร้างนวัตกรรมได้แล้ว โดยโรเบิร์ต แอตคินสัน ประธานมูลนิธิฯ เรียกร้องสหรัฐฯ วางยุทธศาสตร์แข่งขันและนวัตกรรมแห่งชาติเพื่อคงความเป็นผู้นำ