เมื่อวันก่อนหลานของผม ฌอน(Sean)อายุ6ขวบ โดนเพื่อนที่โรงเรียนแกล้งจนมีรอยเล็กๆที่คิ้วขวา ผมเลยกลับมาคิดว่าจะแก้ปัญหาให้หลานอย่างไรดี
ก่อนที่จะว่ากันเรื่องของฌอน ผมขอเล่าเกี่ยวกับ การรังแก การทำร้าย และการกลั่นแกล้ง ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Bully
เนื่องจากครอบครัวของผมรวมทั้งฌอน อาศัยอยู่ประเทศแคนาดา ผมเลยอยากยกเรื่องใกล้ตัวมาเล่าสู่กันฟัง ว่าสังคมตะวันตกอย่างแคนาดามีการแก้ไขปัญหา หรือใช้กฏหมายอย่างไรกับความรุนแรง อย่างกรณีของ...
-บิลลี่ (Billy)หนุ่มเชื้อสายไอริชวัย 23 ปี เขาทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราวของบริษัทระบบขนส่งมวลชนในโตรอนโต เวลาว่างคือการต่อยมวยสากลสมัครเล่น ช่วงเสาร์อาทิตย์ ก็มาส่งพิชซ่าอยู่ข้างร้านผม(ร้านผมเป็นร้านอาหารไทย) บิลลี่เป็นคนขยันถ้าวันไหนร้านพิชซ่าไม่ยุ่งมาก ก็จะอาสามาส่งเดริเวอรี่ให้ร้านผม
ด้วย
วันนึงบิลลี่ไปเที่ยวผับตามประสาคนหนุ่ม แต่ดันไปมีปากเสียงกับคนข้างๆ บวกกับอาการมึนเมา บิลลี่ดันไปต่อยอีกฝ่าย จนร่วงสลบ พอตำรวจมาถึงบิลลี่โดนข้อหาทำร้ายร่างกาย จากกรณีต่อยโป้งเดียวหลับทำให้ บิลลี่ต้องต่อสู้คดีไม่ต่ำกว่าห้าปี เสียเวลา เสียค่าทนาย ที่สำคัญเสียโอกาสที่จะได้บรรจุเป็นพนักงานงานประจำของบริษัท บิลลี่มาปรับทุกข์กับผมว่าเขาต่อยแค่หมัดเดียวจริงๆ และชีวิตนี้ทั้งก่อนและหลังเกิดเรื่อง ไม่เคยมีเหตุทะเลาะวิวาทเลย
(ผมกำลังจั่วลม...เอ้ย ซ้อมเป้าบิน)
-กัส (Gus)เด็กหนุ่มชาวไทย ที่ตามแม่คนไทยและพ่อเลี้ยงฝรั่งมาอยู่แคนาดา กัสเรียนอยู่วิทยาลัยปีหนึ่ง หลังเลิกเรียนก็มาทำงานร้านอาหารไทย เรื่องเกิดในเย็นวันนึงซึ่งร้านไม่ค่อยยุ่ง พนักงานยืนจับกลุ่มคุยกันหลังร้าน แต่แล้วก็มีฝรั่งร่างใหญ่เมามาจากไหนไม่รู้เข้ามาหาเรื่อง และลามไปถึงขั้นชกต่อย พ่อครัวและเด็กเสริฟเริ่มสู้ฝรั่งไม่ไหว
กัสเลยคว้าไม้กวาดหลังร้านมาฟาดผู้รุกราน เมื่อตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุ ทุกคนโดนรวบไปโรงพัก สุดท้ายคนที่โดนแจ้งข้อหาคือกัส และไอ้ฝรั่ง ส่วนคนไทยที่เหลือไม่โดนข้อหาเพราะทำไปเพื่อป้องกันตัว ส่วนกัสที่โดนข้อหาเพราะใช้ “อาวุธ-ไม้กวาด” สุดท้ายต้องขึ้นศาลต่อสู้คดี โดยใช้เวลาไม่ต่ำกว่าสามปี หมดโอกาสได้ทุนเรียนต่อ ส่วนเรื่องหลังเรียนจบ การที่จะได้งานดีๆคงยาก เพราะตอนนี้มีประวัติอาชญากรรมติดตัว
-มิทช (Mitch)ลูกน้องผมเอง มิทชมีเชื้อสายเยอรมันผสมสวิสฯ อายุแค่ 17 ปี มิทชเป็นคนร่าเริง ยิ้มง่ายเข้ากับทุกคนได้ มีน้ำใจ ตรงต่อเวลา และรับผิดชอบ แต่”คนมีเสน่ห์”อย่างมิทช ก็ทำให้กลุ่มBully ที่โรงเรียนหมั่นไส้ โดยพวกนี้จะคอยแกล้ง คอยใช้คำพูดถากถาง เวลาผ่านไปมิทช อดทนมาตลอด และแล้ววัน
นึงต่อหน้าเด็กทั้งโรงเรียน บูลลี่เรียกแม่และน้องสาวของมิทชว่าเป็น”เคอร์รี่” มิทชเลือดขึ้นหน้าต่อยบูลลี่ไปเต็มแรง จนบูลลี่ล้มลง มิทชขึ้นคร่อม พร้อมปล่อยหมัดชุดอีกหลายดอก ครูเข้ามาห้าม แล้วตามด้วยตำรวจ ส่วนฝ่ายพ่อแม่ของบูลลี่ต้องการเอาเรื่องมิทชให้ถึงที่สุด ครอบครัวมิทชวิ่งสู้คดีถึงห้าปี ค่าใช้จ่ายคิดเป็นเงินไทยราวสองล้านบาท มิทชจากคนที่เคยร่าเริง กลายเป็นคนเครียด สีหน้าไม่มีความสุข
( มิทช และ อุ๊)
-พิธาน คนไทยที่มาเรียนแคนาดาตั้งแต่ ม.ปลาย จนจบวิศวะเครื่องกลจากมหาลัยฯชั้นนำของแคนาดา และได้ทำงานในบริษัทรถไฟขนส่งสินค้า ที่คนส่วนใหญ่ปรารถนาอยากทำเพราะอัตราค่าจ้างที่สูง บวกกับสวัสดิการที่ดี แต่พอพิธานเข้าไปทำงานจริงๆ ต้องไปเจอฝรั่งที่เหยียดสีผิว มีการกลั่นแกล้ง ต่างๆนาๆ นานวันเข้าเขากลายเป็นคนซึมเศร้า สุดท้ายต้องไปพึ่งจิตแพทย์
-เดวิด เช็น (David Chen)เจ้าของร้านซุปเปอร์มาเก็ต ที่ขายสินค้าจากเอเชีย ชื่อร้านของเขาคือ Lucky Moose ซึ่งแปลว่า”กวางมูสผู้โชคดี” เช็น เป็นคนอพยพ(Immigrant)เขาเหมือนคนอพยพส่วนใหญ่ คือขยันทำมาหากิน อดทนวันนี้เพื่อสบายวันหน้า แต่มีสิ่งหนึ่งซึ่งรบกวนจิตใจของเขามากคือ ต้นไม้ที่วาง
ขายนอกร้านมักจะโดนขโมยเป็นประจำ จากกล้องวงจรปิด ลักษณะของโจรดูเหมือนจะเป็นคนไร้บ้าน(Homeless) เหตุการณ์อย่างนี้มันไม่ได้เกิดแค่ครั้งเดียว ทุกครั้งที่เกิดเช็นก็จะโทรหาตำรวจ แต่สิ่งที่ตำรวจทำได้คือลงบันทึกประจำวัน แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าอยู่ดี เพราะโจรก็ยังวนเวียนมาขโมยต้นไม้อยู่เหมือนเดิม
วันนึงความอดทนของเช็นมาถึงที่สุด เขาวางแผนกับลูกน้องว่าจะซุ่มคอยจับโจรเสียเอง แล้วโจรกระจอกก็กลับมาจริงๆ แต่คราวนี้ ไม่เหมือนที่ผ่านมาเพราะมีชายฉกรรจ์ชาวจีน มาล้อมหน้าล้อมหลัง โจรยอมจำนนแต่โดยดี เรียกว่าโจรโดนจับโดยคนจีนชื่อละม่อม(....มีหน้ามาเล่นอีกมุกนี้) ลูกน้องเช็นมัดมือมัดเท้าโจร เพื่อ
ป้องกันการหนี แล้วเอาโจรไปขังในตู้คอนเทนเนอร์ คราวนี้รอแค่ตำรวจมาเท่านั้นเอง เมื่อผู้พิทักษ์สันติราษฎร์มาถึง ก็ไต่สวนว่าเกิดอะไรขึ้น สุดท้ายเช็นและลูกน้องโดนตั้งข้อหากังขังหน่วงเหนี่ยว มีทนายของโจรแนะนำว่าจะฟ้องกลับเช็นและพวกหรือเปล่า โจรเห็นช่องทางทำเงินเลยตอบตกลง วันรุ่งขึ้น พาดหัว
ข่าวใหญ่ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ล้วนเป็นข่าวของเช็นทั้งสิ้น กระแสสังคมเริ่มตีกลับ มีการต่อว่าถึงการทำงานของตำรวจ ชุมชนชาวจีนออกมาเคลื่อนไหว ถามถึงความยุติธรรมในข้อกฏหมาย ส.สในพื้นที่เริ่มอยู่ไม่ติด(ส.ส เหมือนกันทุกประเทศต้องตามกระแส) เข้าหามาเช็นพร้อมรับปากว่าจะช่วย
เหลือและต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม เรื่องไปถึงนายกฯ สุดท้ายถึงวาระเปิดสภา มีการโหวต และจบลงที่การแก้กฏหมาย เนื้อหาคือพลเรือนสามารถจับโจรได้เองในกรณีที่”จำเป็น” ภาษอังกฤษคือ Citizen’s arrest และกฏหมายฉบับนี้มีชื่อเล่นว่า “Lucky Moose Law”
(เดวิด เช็น หน้าร้าน ลั๊กกี้มูส)
จริงอยู่ครับว่ากฏหมาย และค่านิยม(Value)ในแคนาดาต้องการให้สังคม ปราศจาก บูลลี่ หรือการใช้ความรุนแรง แต่มีคนนึงซึ่งพูดไว้ได้อย่างน่าสนใจ คือ Chris Rock-คริส ร็อค ดารา นักพูดตลกผู้โด่งดัง โดยร็อคบอกว่า บูลลี่เป็นสิ่งจำเป็นในโรงเรียน เพราะในชีวิตจริงเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทำงานเป็นผู้ใหญ่ มันเลี่ยง
ไม่ได้ที่จะเจอบูลลี่ที่เข้ามาในหลายๆรูปแบบ ร็อคไม่เห็นด้วยที่จะเลี้ยงเด็กแบบ”ไข่ในหิน” สุดท้าย ร็อคบอกว่าต้องขอบคุณบูลลี่ เพราะบูลลี่ทำให้เราแกร่งขึ้น
จากเรื่องที่ผมเล่ามาข้างต้น โดยส่วนตัวผมอินกับเรื่อง”มิทช” มากที่สุด ส่วนหนึ่งเพราะเขาเป็นเด็กที่ร้าน เราทำงานมาด้วยกันตลอด และผมรู้ว่าโดยพื้นฐาน มิทช เป็นคนจิตใจดี ยิ่งเราคนไทย การมาด่าว่าบุพการี เป็นเรื่องที่รับไม่ได้อย่างแรง จากคำพูดของ ร็อคที่บอกว่าเราต้องขอบคุณบูลลี่ ถ้าเป็นไปได้ผมอยาก
ขอบคุณบูลลี่ที่รังแก มิทช โดยการซื้อตั๋วให้มันมาเที่ยวเมืองไทย ถ้ามันก้าวเท้าออกจากสนามบินเมื่อไหร่ เดี๋ยวพี่จะดูแลให้ “มิทช” เอง
ว่าจะเล่าเรื่อง ฌอน สักหน่อย เอาไว้ตอนหน้านะครับ เพื่อนๆมีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องบูลลี่และความรุนแรงในสังคมบ้าง
บูลลี่วิถีอันธพาน (Bully’s way)
ก่อนที่จะว่ากันเรื่องของฌอน ผมขอเล่าเกี่ยวกับ การรังแก การทำร้าย และการกลั่นแกล้ง ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Bully
เนื่องจากครอบครัวของผมรวมทั้งฌอน อาศัยอยู่ประเทศแคนาดา ผมเลยอยากยกเรื่องใกล้ตัวมาเล่าสู่กันฟัง ว่าสังคมตะวันตกอย่างแคนาดามีการแก้ไขปัญหา หรือใช้กฏหมายอย่างไรกับความรุนแรง อย่างกรณีของ...
-บิลลี่ (Billy)หนุ่มเชื้อสายไอริชวัย 23 ปี เขาทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราวของบริษัทระบบขนส่งมวลชนในโตรอนโต เวลาว่างคือการต่อยมวยสากลสมัครเล่น ช่วงเสาร์อาทิตย์ ก็มาส่งพิชซ่าอยู่ข้างร้านผม(ร้านผมเป็นร้านอาหารไทย) บิลลี่เป็นคนขยันถ้าวันไหนร้านพิชซ่าไม่ยุ่งมาก ก็จะอาสามาส่งเดริเวอรี่ให้ร้านผม
ด้วย
วันนึงบิลลี่ไปเที่ยวผับตามประสาคนหนุ่ม แต่ดันไปมีปากเสียงกับคนข้างๆ บวกกับอาการมึนเมา บิลลี่ดันไปต่อยอีกฝ่าย จนร่วงสลบ พอตำรวจมาถึงบิลลี่โดนข้อหาทำร้ายร่างกาย จากกรณีต่อยโป้งเดียวหลับทำให้ บิลลี่ต้องต่อสู้คดีไม่ต่ำกว่าห้าปี เสียเวลา เสียค่าทนาย ที่สำคัญเสียโอกาสที่จะได้บรรจุเป็นพนักงานงานประจำของบริษัท บิลลี่มาปรับทุกข์กับผมว่าเขาต่อยแค่หมัดเดียวจริงๆ และชีวิตนี้ทั้งก่อนและหลังเกิดเรื่อง ไม่เคยมีเหตุทะเลาะวิวาทเลย
(ผมกำลังจั่วลม...เอ้ย ซ้อมเป้าบิน)
-กัส (Gus)เด็กหนุ่มชาวไทย ที่ตามแม่คนไทยและพ่อเลี้ยงฝรั่งมาอยู่แคนาดา กัสเรียนอยู่วิทยาลัยปีหนึ่ง หลังเลิกเรียนก็มาทำงานร้านอาหารไทย เรื่องเกิดในเย็นวันนึงซึ่งร้านไม่ค่อยยุ่ง พนักงานยืนจับกลุ่มคุยกันหลังร้าน แต่แล้วก็มีฝรั่งร่างใหญ่เมามาจากไหนไม่รู้เข้ามาหาเรื่อง และลามไปถึงขั้นชกต่อย พ่อครัวและเด็กเสริฟเริ่มสู้ฝรั่งไม่ไหว
กัสเลยคว้าไม้กวาดหลังร้านมาฟาดผู้รุกราน เมื่อตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุ ทุกคนโดนรวบไปโรงพัก สุดท้ายคนที่โดนแจ้งข้อหาคือกัส และไอ้ฝรั่ง ส่วนคนไทยที่เหลือไม่โดนข้อหาเพราะทำไปเพื่อป้องกันตัว ส่วนกัสที่โดนข้อหาเพราะใช้ “อาวุธ-ไม้กวาด” สุดท้ายต้องขึ้นศาลต่อสู้คดี โดยใช้เวลาไม่ต่ำกว่าสามปี หมดโอกาสได้ทุนเรียนต่อ ส่วนเรื่องหลังเรียนจบ การที่จะได้งานดีๆคงยาก เพราะตอนนี้มีประวัติอาชญากรรมติดตัว
-มิทช (Mitch)ลูกน้องผมเอง มิทชมีเชื้อสายเยอรมันผสมสวิสฯ อายุแค่ 17 ปี มิทชเป็นคนร่าเริง ยิ้มง่ายเข้ากับทุกคนได้ มีน้ำใจ ตรงต่อเวลา และรับผิดชอบ แต่”คนมีเสน่ห์”อย่างมิทช ก็ทำให้กลุ่มBully ที่โรงเรียนหมั่นไส้ โดยพวกนี้จะคอยแกล้ง คอยใช้คำพูดถากถาง เวลาผ่านไปมิทช อดทนมาตลอด และแล้ววัน
นึงต่อหน้าเด็กทั้งโรงเรียน บูลลี่เรียกแม่และน้องสาวของมิทชว่าเป็น”เคอร์รี่” มิทชเลือดขึ้นหน้าต่อยบูลลี่ไปเต็มแรง จนบูลลี่ล้มลง มิทชขึ้นคร่อม พร้อมปล่อยหมัดชุดอีกหลายดอก ครูเข้ามาห้าม แล้วตามด้วยตำรวจ ส่วนฝ่ายพ่อแม่ของบูลลี่ต้องการเอาเรื่องมิทชให้ถึงที่สุด ครอบครัวมิทชวิ่งสู้คดีถึงห้าปี ค่าใช้จ่ายคิดเป็นเงินไทยราวสองล้านบาท มิทชจากคนที่เคยร่าเริง กลายเป็นคนเครียด สีหน้าไม่มีความสุข
( มิทช และ อุ๊)
-พิธาน คนไทยที่มาเรียนแคนาดาตั้งแต่ ม.ปลาย จนจบวิศวะเครื่องกลจากมหาลัยฯชั้นนำของแคนาดา และได้ทำงานในบริษัทรถไฟขนส่งสินค้า ที่คนส่วนใหญ่ปรารถนาอยากทำเพราะอัตราค่าจ้างที่สูง บวกกับสวัสดิการที่ดี แต่พอพิธานเข้าไปทำงานจริงๆ ต้องไปเจอฝรั่งที่เหยียดสีผิว มีการกลั่นแกล้ง ต่างๆนาๆ นานวันเข้าเขากลายเป็นคนซึมเศร้า สุดท้ายต้องไปพึ่งจิตแพทย์
-เดวิด เช็น (David Chen)เจ้าของร้านซุปเปอร์มาเก็ต ที่ขายสินค้าจากเอเชีย ชื่อร้านของเขาคือ Lucky Moose ซึ่งแปลว่า”กวางมูสผู้โชคดี” เช็น เป็นคนอพยพ(Immigrant)เขาเหมือนคนอพยพส่วนใหญ่ คือขยันทำมาหากิน อดทนวันนี้เพื่อสบายวันหน้า แต่มีสิ่งหนึ่งซึ่งรบกวนจิตใจของเขามากคือ ต้นไม้ที่วาง
ขายนอกร้านมักจะโดนขโมยเป็นประจำ จากกล้องวงจรปิด ลักษณะของโจรดูเหมือนจะเป็นคนไร้บ้าน(Homeless) เหตุการณ์อย่างนี้มันไม่ได้เกิดแค่ครั้งเดียว ทุกครั้งที่เกิดเช็นก็จะโทรหาตำรวจ แต่สิ่งที่ตำรวจทำได้คือลงบันทึกประจำวัน แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าอยู่ดี เพราะโจรก็ยังวนเวียนมาขโมยต้นไม้อยู่เหมือนเดิม
วันนึงความอดทนของเช็นมาถึงที่สุด เขาวางแผนกับลูกน้องว่าจะซุ่มคอยจับโจรเสียเอง แล้วโจรกระจอกก็กลับมาจริงๆ แต่คราวนี้ ไม่เหมือนที่ผ่านมาเพราะมีชายฉกรรจ์ชาวจีน มาล้อมหน้าล้อมหลัง โจรยอมจำนนแต่โดยดี เรียกว่าโจรโดนจับโดยคนจีนชื่อละม่อม(....มีหน้ามาเล่นอีกมุกนี้) ลูกน้องเช็นมัดมือมัดเท้าโจร เพื่อ
ป้องกันการหนี แล้วเอาโจรไปขังในตู้คอนเทนเนอร์ คราวนี้รอแค่ตำรวจมาเท่านั้นเอง เมื่อผู้พิทักษ์สันติราษฎร์มาถึง ก็ไต่สวนว่าเกิดอะไรขึ้น สุดท้ายเช็นและลูกน้องโดนตั้งข้อหากังขังหน่วงเหนี่ยว มีทนายของโจรแนะนำว่าจะฟ้องกลับเช็นและพวกหรือเปล่า โจรเห็นช่องทางทำเงินเลยตอบตกลง วันรุ่งขึ้น พาดหัว
ข่าวใหญ่ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ล้วนเป็นข่าวของเช็นทั้งสิ้น กระแสสังคมเริ่มตีกลับ มีการต่อว่าถึงการทำงานของตำรวจ ชุมชนชาวจีนออกมาเคลื่อนไหว ถามถึงความยุติธรรมในข้อกฏหมาย ส.สในพื้นที่เริ่มอยู่ไม่ติด(ส.ส เหมือนกันทุกประเทศต้องตามกระแส) เข้าหามาเช็นพร้อมรับปากว่าจะช่วย
เหลือและต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม เรื่องไปถึงนายกฯ สุดท้ายถึงวาระเปิดสภา มีการโหวต และจบลงที่การแก้กฏหมาย เนื้อหาคือพลเรือนสามารถจับโจรได้เองในกรณีที่”จำเป็น” ภาษอังกฤษคือ Citizen’s arrest และกฏหมายฉบับนี้มีชื่อเล่นว่า “Lucky Moose Law”
(เดวิด เช็น หน้าร้าน ลั๊กกี้มูส)
จริงอยู่ครับว่ากฏหมาย และค่านิยม(Value)ในแคนาดาต้องการให้สังคม ปราศจาก บูลลี่ หรือการใช้ความรุนแรง แต่มีคนนึงซึ่งพูดไว้ได้อย่างน่าสนใจ คือ Chris Rock-คริส ร็อค ดารา นักพูดตลกผู้โด่งดัง โดยร็อคบอกว่า บูลลี่เป็นสิ่งจำเป็นในโรงเรียน เพราะในชีวิตจริงเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทำงานเป็นผู้ใหญ่ มันเลี่ยง
ไม่ได้ที่จะเจอบูลลี่ที่เข้ามาในหลายๆรูปแบบ ร็อคไม่เห็นด้วยที่จะเลี้ยงเด็กแบบ”ไข่ในหิน” สุดท้าย ร็อคบอกว่าต้องขอบคุณบูลลี่ เพราะบูลลี่ทำให้เราแกร่งขึ้น
จากเรื่องที่ผมเล่ามาข้างต้น โดยส่วนตัวผมอินกับเรื่อง”มิทช” มากที่สุด ส่วนหนึ่งเพราะเขาเป็นเด็กที่ร้าน เราทำงานมาด้วยกันตลอด และผมรู้ว่าโดยพื้นฐาน มิทช เป็นคนจิตใจดี ยิ่งเราคนไทย การมาด่าว่าบุพการี เป็นเรื่องที่รับไม่ได้อย่างแรง จากคำพูดของ ร็อคที่บอกว่าเราต้องขอบคุณบูลลี่ ถ้าเป็นไปได้ผมอยาก
ขอบคุณบูลลี่ที่รังแก มิทช โดยการซื้อตั๋วให้มันมาเที่ยวเมืองไทย ถ้ามันก้าวเท้าออกจากสนามบินเมื่อไหร่ เดี๋ยวพี่จะดูแลให้ “มิทช” เอง
ว่าจะเล่าเรื่อง ฌอน สักหน่อย เอาไว้ตอนหน้านะครับ เพื่อนๆมีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องบูลลี่และความรุนแรงในสังคมบ้าง