นาซาจับมือ MIT พัฒนาปีกเครื่องบินแบบใหม่ ปรับรูปร่างระหว่างบินได้ และเบากว่าเดิมมาก

By เหมียวศรัทธา -08/04/2019

  

ตั้งแต่ที่สองพี่น้องวิลเบอร์ และออร์วิล ไรท์คิดค้นเครื่องบินมาจนบินได้จริงในปี 1903 มนุษย์เราก็ได้ทำการพัฒนาระบบการบินเรื่อยมาจนถึงในปัจจุบัน ทำให้เมื่อเรารองเปรียบเทียบกันแล้วเครื่องบินในปัจจุบันจึงมีลักษณะที่ต่างไปจากในสมัยก่อนมากเลยทีเดียว
 
แต่เมื่อล่าสุดนี้เองระบบการบินของโลกของเราก็อาจจะพัฒนาไปอีกขั้นแล้วก็เป็นได้ เมื่อองค์กรการบินและอวกาศของสหรัฐฯ หรือ “นาซา” ได้ทำการจับมือกับทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) เพื่อพัฒนาปีกเครื่องบินรูปแบบใหม่ ที่จะนำมาซึ่งเครื่องบินที่เบาขึ้น และบินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยเจ้าปีกเครื่องบินรูปแบบใหม่นี้จะอาศัยโครงสร้างรูปทรงคล้ายสามเหลี่ยมเรขาคณิตซึ่งทำขึ้นจากพลาสติก “พอลิเอทิลีน” เรียงทับซ้อนกันเป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งจะนำมาซึ่งโครงสร้างที่เบากว่าปีกเครื่องบินที่ทำจากโลหะมาก โดยที่ไม่ส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อการบิน
 
 
กลับกัน Benjamin Jenett หนึ่งในทีมผู้พัฒนายังระบุว่า ปีกเครื่องบินแบบใหม่นี้จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าแบบเดิมอีกด้วย เพราะโครงสร้างเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะเบากว่าปีเครื่องบินแบบเดิมเท่านั้นแต่มันยังมีความยืดหยุ่นมากกว่าปีกเครื่องบินทั่วไปอย่างเห็นได้ชัดด้วย

ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะรูปทรงของโครงสร้างปีแบบใหม่นี้ ทำให้ทีมนักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างปีกที่สามารถ “เปลี่ยนรูปร่าง” ตามการบังคับโดยตรงได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการปรับแฟลปของเครื่องบิน หรือการขยับปีกเล็กแก้เอียง (Ailerons) อย่างที่เคยเป็นมา
 
ตัวอย่างการทำงานของปีกรูปแบบใหม่จากช่อง NASA’s Ames Research Center
อันนี้เป็นปีกต้นแบบที่ทำขึ้นในปี 2016

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ 
โดยในปัจจุบันทาง MIT และนาซาได้ทำการทดลองปีแบบใหม่นี้ในอุโมงค์ลมที่ศูนย์วิจัยแลงก์ลีย์ ในรัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยที่พวกเขาผลว่าการทำงานของปีกรูปแบบใหม่นี้ออกมาดีกว่าที่คาดไว้มาก แม้ว่าจะไม่มีการระบุว่าปีกดังกล่าวจะมีการผลิตและใช้งานจริงเมื่อไหร่ก็ตาม
และนอกจากผลการทดลองที่ออกมาแล้ว ทางสถาบัน MIT ยังได้มีการจัดการตีพิมพ์รายละเอียดของงานวิจัยในครั้งนี้ในวารสาร Smart Materials and Structures อีกด้วย ซึ่งหากเพื่อนๆ สนใจอยากทราบข้อมูลงานวิจัยอย่างละเอียด เพื่อนๆ ก็สามารถเข้าไปอ่านผลการวิจัยกันได้
 

ที่มา livescience, businessinsider และ mit
 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่