งานอสังหาริมทรัพย์ กับ การออกแบบแสง!!!

งานอสังหาริมทรัพย์ กับ การออกแบบแสง!!!
.

ออกตัวก่อนว่าตัวผมไม่ได้เป็นสถาปนิกหรือวิศวกรไฟฟ้าแต่อย่างใดครับ แต่เป็นผู้สนใจที่ได้ทำงานพบเจอกับเรื่องนี้มาบ้างที่พอรู้เรื่องราวบ้างเลยอยากจะเล่าครับ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้ที่สนใจบ้าง
.
การออกแบบแสง หรือ Lighting Design แค่ชื่อก็ชวนสงสัยแล้ว ... ถ้าคนนอกวงการหรือผู้ที่ใช้งานแทบจะงงเลยว่าคืออะไร เพราะจะรับรู้เพียงว่า 
ห้องนี้แสงสวย ตึกนี้แสงงาม ห้องโถงนี้นี้ใช้งานแล้วสบายตา ... จากที่กล่าวมาเหมือนว่างานออกแบบต่างๆโดยเฉพาะงานอสังหาริมทรัพย์นั้นน่าจะคุ้นเคยกันดี เพราะ ส่วนงานนี้น่าจะไปรวมหมวดอยู่กับงานออกแบบภายใน เพราะ การออกแบบแสงนั้นจะทำให้ทุกสัดส่วนของบ้านมีแสงที่เหมาะสมต่อการใช้งานมากขึ้น ทำให้บ้านมีมิติและมีมุมมองที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้นในยามค่ำคืน ...คิดง่ายๆงานสวนหน้าบ้าน .. ถ้าตกค่ำๆไม่มีไฟทุกอย่างก็จะมืดครึ้มไปหมด แต่ถ้าเราจัดแสงไฟส้มส่องใส่ต้นไม้สักดวงสองดวงหรือโคมไฟทางเดินสักสามสี่แท่งนั้นจะทำให้สวนน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
.
ที่นี้เรามาดูในมุมมองของการใช้งาน ข้อความต่อไปนี้ผมคัดย่อมากจาก การไฟฟ้านครหลวง ... ชื่อบทความว่า .... แสงสว่างกับการใช้งานที่เหมาะสม
.

“ประสิทธิภาพในการมองเห็นอย่างชัดเจนถูกต้องนั้นจะต้องเกิดความสบายในขณะที่ประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ให้มีแสงสว่างมากหรือน้อยจนเกิดผลกระทบ เพราะในพื้นที่ใช้งานมี แสงสว่างที่น้อยเกินไป จะมีผลเสียต่อสายตาทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานมากเกินไปจากการเพ่งมอง ทำให้เกิดการ เมื่อยล้าปวดตามึนศีรษะ รวมถึงประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ในทางกลับกัน หากมี แสงสว่างที่มากเกินไป จะทำให้ผู้ทำงานเกิดความไม่สบายสายตา 
ปวด แสบตา มึนศีรษะ วิงเวียน และอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้รวมถึงส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของเราลดลงหรืออาจเป็นสาเหตุของโรคทางสายตาได้เช่นเดียวกัน 
.
เราจะทราบได้อย่างไรว่าพื้นที่ใช้งานมีค่าความส่องสว่างเพียงพอหรือไม่ โดยทั่วไปเรามักจะรู้สึกได้จากอาการแสบตาเมื่อมีแสงมากเกินไปหรือต้องหรี่ตาเมื่อรู้สึกว่าพื้นที่นั้นๆ ว่ามีปริมาณน้อยเกินไป ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องวัดแสงเรียกว่า “Lux Meter” สำหรับวัดความสว่างเฉพาะความเข้มที่ปรากฏในสายตาของมนุษย์ โดยมีหน่วยของการวัดความสว่างเป็น ลักซ์ (Lux) โดยทั่วไประดับแสงกลางแจ้งจะอยู่ที่ประมาณ 10,000 ลักซ์ และจะมีระดับที่สมดุลแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ ดังนั้นเราควรให้ความสำคัญและมั่นตรวจวัดค่าความส่องสว่างให้มีค่าแสงสว่างเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนดไว้เพื่อให้แต่ละวันในการทำงานของเราสามารถนั่งทำงานได้สบายตา”
.
ตัวอย่างข้อมูลมาตรฐานความสว่างในบริเวณต่างๆ ของโรงเรียนและร้านสะดวกซื้อ
.

ทีนี้เรามาลองการประยุกต์การใช้งาน ...ในชีวิตจริงปกติที่เราอยู่อาศัยในบ้านพักเราอาจจะแค่ว่าห้องมันมืดจังเปลี่ยนหลอดไฟดีให้ watt สูงๆความสว่างจะได้มากกว่าหรือ การเพิ่มดวงไฟทีมากขึ้นเพื่อความสว่างที่มากขึ้น เราอาจจะทำเพียงแค่นั้น ...แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามเราต้องการความสวยงามที่จะเพิ่มมูลค่าของงานหรือแม้แต่ต้องการแสงเพื่อความสว่างที่จำเพาะเจาะจงขึ้นมาเมื่อใดการออกแบบแสงนั้นจะเป็นจะจำเป็นและสำคัญขึ้นมาทันที
.
ช่วงที่ผ่านมาผมที่โปรเจคที่ต้องสร้างโรงงานการผลิตขนาดเล็กแห่งหนึ่งซึ่งโรงงานของผมนี้ต้องทำงาน 24 ชม. ต่อวัน ดังนั้นเรื่องแสงสว่างจึงสำคัญมาก ...พนักงานต้องทำงานอยู่ในแสงที่เหมาะสม ทำงานอยู่ในสภาวะที่เหมาะแก่การทำงาน ความสว่างควรจะมากกว่า 300 lux ในขณะทำงาน . .. เมื่อได้ความดังนั้นผมจึงส่งเรื่องไปยังทุมออกแบบของบริษัทผู้จำหน่ายหลอดไฟแจ้งว่าผมมีโรงงานขนาดเท่านี้ สูงเท่านี้ ต้องการความสว่าง 300 lux ให้ครอบคลุมทั่วบริเวณ ผู้จัดจำหน่ายก็จัดการมาให้เรียบร้อย เคสนี้ผมเลือกใช้ของ Philips ครับ ดีลเลอร์ท่านก็คัดเลือกผลิตภัณฑ์โคมไฟของ Philips มาตัวหนึ่งเพื่อใส่โปรแกรมจำลอง ... ได้ผลออกมาประมาณนี้
.
ภาพแสดงค่าความสว่าง(Lux) ต่อพื้นที่ใช้งานในจุดต่างๆของโรงงาน

.
ได้ความสว่างมากกว่า 300 luxครอบคลุม 80% ของพื้นที่ซึ่งผมก็รับได้กับผลงานที่ออกมาจึงตกลงปลงใจที่จะใช้เจ้าผลิตภัณฑ์นี้กับโรงงานเล็กๆแห่งนี้... การใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆนี้จะมีส่วนช่วยในส่งเสริมให้พนักงานที่ทำงานในโรงงานแห่งนี้ทำงานได้สบายตาในเรื่องของแสงสว่างเมือปฏิบัติในงานยามค่ำคืน
.

นอกจากเรื่องของแสงสว่างที่เหมาะสมแล้วอีกอย่างนึงเลยคือเรื่องอารมณ์ของแสง หรือแสงสื่ออารมณ์

ภาพประกอบจาก https://www.wemall.com/blog/4099/light
.
แสงส้ม(Warm White) ให้โทนอุ่นสบายตา ... แสงขาว(Daylight White) ให้แสงขาวสะอาดตา... ส่วน Cool White ก็กึ่งขาวกึ่งเหลือง ... จากแสงส้ม จะขาวขนาดไหนก็ดูจากค่าอุณหภูมิของแสงหน่วยเป็นเคลวินของแสง ( KELVIN MEASUREMENT) 
.
ภาพแสดงค่าอุณหภูมิของแสง(K)
ภาพประกอบจาก http://densho-led.blogspot.com/2015/07/led-color-temperature.html
.
โดยส่วนตัวผมชอบให้มีแสงส้มๆในบางจุดของงานอสังหาฯเพื่อให้งานดูสวยเด่น แสงส้ม(Warm White) กับโคมไฟกิ่งติดผนังไฟส้มกับงานจัดสวน ตัวอย่าง เช่นภาพโรงงานน้อยๆนี้ ผมใส่ไฟส้มเข้าไปในส่วนของออฟฟิตด้านล่างซึ่งเป็นส่วนรับลูกค้ารับผู้ที่มาเยือนอยากให้มันรู้สึกอบอุ่นน่าคบหามากกกว่าจุดอื่นส่วนตัวโรงงานหรือภายในออฟฟิตผมเลือกเป็นแสงขาวเพื่อให้เห็นสิ่งรอบตัวได้สว่างชัดเจนที่สุด

.
เรือนนอนที่กรุฝ้าเพดานด้วยไม้แท้แอบซ่อนช่องไฟไว้แบบนี้แล้วการใส่ไฟแสงส้มเขาสามารถสร้างอารมณ์ได้
.
เรื่องเล่าในหัวข้อ “งานอสังหาริมทรัพย์กับการออกแบบแสง” ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้ครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านบ้างนะครับ
.
ลงชื่อ มาม่ากับปลากระป๋อง
.
...[^_^]…
.
- ติดตามเรื่องราวของผมได้ในเพจนี้ครับ

... เพจคุยเรื่อยเปื่อยครับ https://www.facebook.com/creativeshooter/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่