เมื่อคิดเกี่ยวกับการพัฒนาผู้เล่น, เรามีคติพจน์ที่สำคัญที่ต้องเอาไว้ในใจตลอดคือ "Players First!" หรืออีกแง่ก็คือ "คิดถึงผู้เล่นก่อน" เมื่อต้องทำการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ในแต่ละวัน หรือเมื่อเกิดเรื่องยุ่งยากท้าทายในระหว่างการปรับทีม ฯลฯ เราต้องนึกถึงคติพจน์คำนี้ก่อน มันอาจจะมีปัญหามากมายหลายอย่างที่ยุ่งยาก แต่เราควรที่จะพยายามเอาชนะปัญหาและความยุ่งยากนั้นและคิดอยู่เสมอว่าอะไรที่ดีสำหรับเด็กๆ ของเรา
คติพจน์ที่เราต้องคำนึงถึงเสมอคือ "Players First!"
เราไม่ต้องสนใจถึงชัยชนะหรือความพ่ายแพ้มากนักในแมตซ์การแข่งขันภายใน เราต้องพิจารณาถึงแมตซ์ระดับโลกว่าอันนั้นเป็นมาตรฐานของเรา
รูปซ้าย
การวางแผนในการสร้างความแข็งแรงโดยการพิจารณาระดับโลกเป็นมาตรฐาน
การแข่งขันระดับนานาชาติในแต่ละระดับ -> วิเคราะห์/ประเมิน -> ระบุถึงปัญหา สร้างสถานการณ์ที่แก้ปัญหานั้น -> แก้ปัญหา
รูปขวา
การนำเอาวิธีการแก้ปัญหาไปใช้
เป็นเรื่องของปัญหาระยะสั้น -> ทีมชาติ, การพัฒนาเยาวชน
เป็นเรื่องของปัญหาระยะกลาง -> การพัฒนาเยาวชน, การพัฒนาโค้ช
เป็นเรื่องของปัญหาระยะยาว -> การพัฒนาเยาวชน, การพัฒนาโค้ช, รากหญ้า
เรา คณะกรรมการทางเทคนิคของ JFA ได้จัดทำ "การโปรโมทแผนการสร้างความแข็งแรงโดยพิจารณาถึงระดับโลกเป็นมาตรฐาน" ที่ได้ทำมาตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว เราได้พิจารณาว่ามันมีความสำคัญที่จะต้องโปรโมทถึงการพัฒนาความแข็งแรงในแต่ละวันและการพัฒนาของผู้เล่น โดยแสดงให้เห็นการยึดถือระดับโลกเป็นมาตรฐานในการพัฒนาและคิดอยู่เสมอว่าอะไรเป็นความจำเป็นต้องมีในการแข่งขันระดับโลก และตอนนี้เราก็มุ่งหมายไว้ว่าจะต้องอยู่ Top 10 ของโลกให้ได้
แต่ "การมุ่งหมาย" ไม่ได้เป็นแค่การพูดลอยๆ ว่า "เราตั้งเป้าไว้" ถ้าไม่มีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจนเราก็ไม่สามารถทำได้ตามเป้า ดังนั้นก่อนหน้านี้เราเราได้ทำการตรวจสอบการแข่งขันทัวร์นาเมนต์ระดับโลกในแต่ละช่วงอายุ และเราได้ทำรายงานทางเทคนิคสำหรับเรื่องพวกนี้ มันเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่ต้องทำในขั้นต้น
สิ่งที่ทำไม่ได้มีแค่รายงานของทัวร์นาเม้นต์เท่านั้น เราได้ระบุถึงปัญหาที่เจอ, คิดหาวิธีที่จะแก้ปัญหานั้น, เราสร้างวิธีการตรวจวัดสำหรับทีมชาติญี่ปุ่นในแต่ละช่วงอายุ, ในการพัฒนาเยาวชนและในการพัฒนาโค้ช เราพยายามที่จะแก้ปัญหาที่เจอให้ได้และเอาไปปรับปรุงเพื่อใช้ในการแข่งทัวร์นาเมนต์ครั้งต่อๆ ไป นี่จะเป็นวัฎจักรในการพัฒนาของเรา ก็คือ การค้นหาปัญหา, สร้างวิธีการในการแก้ปัญหา, นำวิธีการไปใช้ยังองค์กรที่เหมาะสมเพื่อให้แก้ปัญหานั้น, ถ้าไม่ทำอย่างนี้ การศึกษาถึงปัญหาก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร
เรามุ่งที่จะนำส่งข้อมูลของการศึกษาของเราไปยังโลกของฟุตบอลญี่ปุ่น เพื่อกระจายข้อมูลและแนวโน้มการของพัฒนาความแข็งแกร่งของผู้เล่นในอนาคตและการพัฒนาเพื่อยกระดับของญี่ปุ่น
เพื่อการนี้ มันเป็นเรื่องจำเป็นที่ไม่เพียงแต่สร้างและเผยแพร่รายงานการศึกษาทางเทคนิค แต่เนื้อหาของรายงานจะต้องสะท้อนออกมาเป็นโปรแกรมการฝึกฝนของคณะกรรมการทางเทคนิคอีกด้วย ปัญหาระยะสั้นให้เป็นส่วนของทีมชาติ, ปัญหาระยะกลางให้เป็นส่วนของการพัฒนาเยาวชนและการพัฒนาโค้ช, ปัญหาระยะยาวเป็นเรื่องของการพัฒนารากหญ้า เนื้อหาและเรื่องเหล่านี้จะทำออกมาในหลากหลายรูปแบบในหลากหลายกิจกรรม เช่น ทำเป็นนโยบายของการฝึกโค้ช, ทำเป็นธีมและเนื้อหาในการฝึกในศูนย์ฝึกระดับชาติ, ทำเป็นเรื่องนึงในการตรวจสอบการฝึกโค้ช, ทำเป็นโปรเจคและกระจายข้อมูลในการประชุมทางฟุตบอลและทำเป็น "ข่าวสารทางเทคนิค"
การพัฒนาฟุตบอลในระดับโลกมันไปเร็วมาก ในฟุตบอลสมัยใหม่ ในการที่จะแข่งกับระดับโลก มันจำเป็นที่จะต้องก้าวตามให้ทันและจับกระแสให้ได้
เพื่อการนี้ จึงจัดตั้งกลุ่มการศึกษาทางเทคนิค (Techical Study Group)(TSG) เพื่อทำการวิเคราะห์แนวโน้มและทำรายงานทางเทคนิค และดำเนินงานสร้างความแข็งแกร่งเพื่อให้ยืนอยู่ระดับโลกได้
ในป๊ 1966 FIFA ก็ได้จัดตั้งกลุ่มการศึกษาทางเทคนิค (Technical Study Group)ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ขึ้นมาด้วย ระหว่างที่มีการแข่งขันทัวร์นาเม้นต์ของ FIFA จะมีการทำรายงานทางเทคนิคเกี่ยวกับการเตรียมตัวของแต่ละทีมก่อนทัวร์นาเม้นต์, ความคิดเห็นในแต่ละแมตซ์, รายชื่อ man of the match ฯลฯ บทบาทของกลุ่มก็คือวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง trend ของฟุตบอล, ส่งต่อแผนการพัฒนาไปยังสมาคมฟุตบอลของแต่ละประเทศ, และให้โค้ชทั่วโลกเอาข้อมูลนี้ไปใช้ นอกจากนี้กล่มการศึกษาทางเทคนิคของ FIFA ยังมีบทบาทในการวิเคราะห์และสร้างโปรเจคที่ทำให้ฟุตบอลพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ด้วย
ตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1998 และ 2002 ที่จัดในญี่ปุ่น JFA ได้ถูกโปรโมทให้ทำกิจกรรมเหล่านี้เต็มตัว ปัจจุบันนี้เราได้มีการทำการศึกษาทางเทคนิคเกี่ยวกับทัวร์นาเม้นต์เยาวชนที่จัดแข่งในประเทศ, วิเคราะห์แมตซ์นอกเหนือจากแมตซ์ที่เป็นแมตซ์ทีมชาติระดับ A ด้วย เช่น U-20, U-17, ฟุตบอลหญิง และไม่เพียงแค่แมตซ์ระดับโลกแต่ทัวร์นาเม้นต์ระดับเอเชียด้วย เราจะเอาข้อมูลมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบเพื่อเช็คดูสถานการณ์ของฟุตบอลญี่ปุ่น
รูปทรงสามเหลี่ยม Trinity รูปแบบโดยรวมในการสร้างความแข็งแกร่งให้ทีมชาติ, การพัฒนาเยาวชน, การพัฒนาโค้ช+การแพร่กระจายโค้ช
เพื่อทำให้ยืนอยู่ระดับโลก
การวัดระดับของฟุตบอลญี่ปุ่น คณะกรรมการทางเทคนิคของสมาคมฟุตบอลญี่ปุ่นได้จัดทำ "Trinitarian strengthening plan" (แผนการพัฒนาความแข็งแกร่งสามส่วน) ขึ้นมาโดยอิงจากมุมมองที่ว่า "อะไรที่เราควรจะทำเพื่อที่จะทำให้ญี่ปุ่นมีระดับเทียบเท่าทีมระดับโลกในอันดับต้นๆ "
"Trinitarian strengthening plan" ประกอบไปด้วย 3 ส่วนดังนั้
1) การสร้างความแข็งแกร่งให้กับทีมชาติ
2) การพัฒนาเยาวชน (ผู้เล่นเยาวชน)
3) การฝึกโค้ชต้องแชร์องค์ความรู้และข้อมูลเดียวกันและให้โค้ชมีระดับไล่ๆ กัน
ซึ่งจะทำให้ผู้เล่นมีการพัฒนาและยกระดับฟุตบอลญี่ปุ่น
"ปัญหาของฟุตบอลญี่ปุ่น" จะถูกนำมาวิเคราะห์, ประเมิน, ระบุ ในทัวร์นาเม้นต์ระดับโลกในแต่ละรุ่น และจะเอาใช้งานใน 3 ส่วนนี้
ตามคำที่ว่า "Trinatarion" สามส่วนนี้จะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดในการทำให้ฟุตบอลญี่ปุ่นแข็งแกร่งขึ้น มันเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องรวม 3 เรื่องนี้เข้าด้วยกันและพัฒนาไปพร้อมๆ กัน
ความแข็งแกร่งของทีมชาติไม่เพียงเป็นเพียงแค่ความแข็งแกร่งของตัวผู้เล่นในระยะสั้น แต่ยังรวมถึงระหว่างการฝึกฝนในแต่ละวันด้วย ผู้เล่นไม่ได้แข็งแกร่งขึ้นมาทันทีทันใดอย่างปุ๊ปปั๊บเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ แต่พวกเขาจะค่อยๆ แข็งแกร่งขึ้นทีละเล็กละน้อยตั้งแต่เด็ก มันเป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดทั่วโลกว่าประเทศที่เพิกเฉยต่อการพัฒนาเยาวชนจะไม่มีอนาคต
ประเทศชั้นนำหรือสโมสรชั้นนำให้ความสำคัญกับการพัฒนาเยาวชนมาก ในญี่ปุ่นในระบบการฝึกฝนกลางที่นำโดยศูนย์การฝึกแห่งชาติก็ได้มีทำรูปแบบการฝึกเยาวชนทั่วญี่ปุ่น และระดับของมันก็ได้ถูกปรับปรุงใน Elite program ของ JFA Academy
โค้ชจะต้องฝึกสอนผู้เล่นอยู่ทุกวันอยู่แล้ว ดังนั้นถ้าระดับการสอนในแต่ละวันไม่สูงพอ มันก็ไม่สามารถสร้างผู้เล่นที่ดีขึ้นมาได้ ดังนั้นในการพัฒนาผู้เล่นเยาวชน การพัฒนาคุณภาพโค้ชจึงสำคัญ เพื่อที่จะสร้างโค้ชคุณภาพสูงออกมา เราจึงมีการเพิ่มคอร์สอบรมและการอบรมซ้ำ
ทีมชาติจะแกร่งไม่ได้ถ้าไม่มีรากหญ้า
หลังจากฟุตบอลโลก 2002, เราได้เน้นไปยังเรื่องที่ว่าเราได้ขาดแผนหลักที่สำคัญในการกระจายการพัฒนา เราเปลี่ยนหลักการมาเป็น "Trinity + diffusion" (สามเรื่องหลัก + การแพร่กระจายให้มีนักฟุตบอลมากขึ้น) และเราก็ได้เริ่มหลายๆ โปรเจคเช่นการพัฒนาเด็ก
ทีมชาติจะแข็งแกร่งขึ้นมาไม่ได้ถ้าขาดรากหญ้า! เราเชื่อว่าการมีคนที่ชอบฟุตบอล, เด็กและครอบครัวที่รักฟุตบอล, นำมาซึ่งความมั่นคงและอำนาจทางฟุตบอลของประเทศ
อย่างที่กล่าวไว้ "Trinity + diffusion" ที่จัดทำโดยคณะกรรมการทางเทคนิคของสมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น มุ่งหมายจะทำให้ฟุตบอลญี่ปุ่นมีการพัฒนาและแข็งแรงขึ้น มันเป็นเรื่องสำคัญที่ 3 เรื่องนี้ต้องไปในทางเดียวกันและทำเป็นแผนระยะสั้น, ระยะกลาง และ ระยะยาว
หลักการการพัฒนาฟุตบอลญี่ปุ่น
เมื่อคิดเกี่ยวกับการพัฒนาผู้เล่น, เรามีคติพจน์ที่สำคัญที่ต้องเอาไว้ในใจตลอดคือ "Players First!" หรืออีกแง่ก็คือ "คิดถึงผู้เล่นก่อน" เมื่อต้องทำการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ในแต่ละวัน หรือเมื่อเกิดเรื่องยุ่งยากท้าทายในระหว่างการปรับทีม ฯลฯ เราต้องนึกถึงคติพจน์คำนี้ก่อน มันอาจจะมีปัญหามากมายหลายอย่างที่ยุ่งยาก แต่เราควรที่จะพยายามเอาชนะปัญหาและความยุ่งยากนั้นและคิดอยู่เสมอว่าอะไรที่ดีสำหรับเด็กๆ ของเรา
คติพจน์ที่เราต้องคำนึงถึงเสมอคือ "Players First!"
เราไม่ต้องสนใจถึงชัยชนะหรือความพ่ายแพ้มากนักในแมตซ์การแข่งขันภายใน เราต้องพิจารณาถึงแมตซ์ระดับโลกว่าอันนั้นเป็นมาตรฐานของเรา
รูปซ้าย
การวางแผนในการสร้างความแข็งแรงโดยการพิจารณาระดับโลกเป็นมาตรฐาน
การแข่งขันระดับนานาชาติในแต่ละระดับ -> วิเคราะห์/ประเมิน -> ระบุถึงปัญหา สร้างสถานการณ์ที่แก้ปัญหานั้น -> แก้ปัญหา
รูปขวา
การนำเอาวิธีการแก้ปัญหาไปใช้
เป็นเรื่องของปัญหาระยะสั้น -> ทีมชาติ, การพัฒนาเยาวชน
เป็นเรื่องของปัญหาระยะกลาง -> การพัฒนาเยาวชน, การพัฒนาโค้ช
เป็นเรื่องของปัญหาระยะยาว -> การพัฒนาเยาวชน, การพัฒนาโค้ช, รากหญ้า
เรา คณะกรรมการทางเทคนิคของ JFA ได้จัดทำ "การโปรโมทแผนการสร้างความแข็งแรงโดยพิจารณาถึงระดับโลกเป็นมาตรฐาน" ที่ได้ทำมาตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว เราได้พิจารณาว่ามันมีความสำคัญที่จะต้องโปรโมทถึงการพัฒนาความแข็งแรงในแต่ละวันและการพัฒนาของผู้เล่น โดยแสดงให้เห็นการยึดถือระดับโลกเป็นมาตรฐานในการพัฒนาและคิดอยู่เสมอว่าอะไรเป็นความจำเป็นต้องมีในการแข่งขันระดับโลก และตอนนี้เราก็มุ่งหมายไว้ว่าจะต้องอยู่ Top 10 ของโลกให้ได้
แต่ "การมุ่งหมาย" ไม่ได้เป็นแค่การพูดลอยๆ ว่า "เราตั้งเป้าไว้" ถ้าไม่มีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจนเราก็ไม่สามารถทำได้ตามเป้า ดังนั้นก่อนหน้านี้เราเราได้ทำการตรวจสอบการแข่งขันทัวร์นาเมนต์ระดับโลกในแต่ละช่วงอายุ และเราได้ทำรายงานทางเทคนิคสำหรับเรื่องพวกนี้ มันเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่ต้องทำในขั้นต้น
สิ่งที่ทำไม่ได้มีแค่รายงานของทัวร์นาเม้นต์เท่านั้น เราได้ระบุถึงปัญหาที่เจอ, คิดหาวิธีที่จะแก้ปัญหานั้น, เราสร้างวิธีการตรวจวัดสำหรับทีมชาติญี่ปุ่นในแต่ละช่วงอายุ, ในการพัฒนาเยาวชนและในการพัฒนาโค้ช เราพยายามที่จะแก้ปัญหาที่เจอให้ได้และเอาไปปรับปรุงเพื่อใช้ในการแข่งทัวร์นาเมนต์ครั้งต่อๆ ไป นี่จะเป็นวัฎจักรในการพัฒนาของเรา ก็คือ การค้นหาปัญหา, สร้างวิธีการในการแก้ปัญหา, นำวิธีการไปใช้ยังองค์กรที่เหมาะสมเพื่อให้แก้ปัญหานั้น, ถ้าไม่ทำอย่างนี้ การศึกษาถึงปัญหาก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร
เรามุ่งที่จะนำส่งข้อมูลของการศึกษาของเราไปยังโลกของฟุตบอลญี่ปุ่น เพื่อกระจายข้อมูลและแนวโน้มการของพัฒนาความแข็งแกร่งของผู้เล่นในอนาคตและการพัฒนาเพื่อยกระดับของญี่ปุ่น
เพื่อการนี้ มันเป็นเรื่องจำเป็นที่ไม่เพียงแต่สร้างและเผยแพร่รายงานการศึกษาทางเทคนิค แต่เนื้อหาของรายงานจะต้องสะท้อนออกมาเป็นโปรแกรมการฝึกฝนของคณะกรรมการทางเทคนิคอีกด้วย ปัญหาระยะสั้นให้เป็นส่วนของทีมชาติ, ปัญหาระยะกลางให้เป็นส่วนของการพัฒนาเยาวชนและการพัฒนาโค้ช, ปัญหาระยะยาวเป็นเรื่องของการพัฒนารากหญ้า เนื้อหาและเรื่องเหล่านี้จะทำออกมาในหลากหลายรูปแบบในหลากหลายกิจกรรม เช่น ทำเป็นนโยบายของการฝึกโค้ช, ทำเป็นธีมและเนื้อหาในการฝึกในศูนย์ฝึกระดับชาติ, ทำเป็นเรื่องนึงในการตรวจสอบการฝึกโค้ช, ทำเป็นโปรเจคและกระจายข้อมูลในการประชุมทางฟุตบอลและทำเป็น "ข่าวสารทางเทคนิค"
การพัฒนาฟุตบอลในระดับโลกมันไปเร็วมาก ในฟุตบอลสมัยใหม่ ในการที่จะแข่งกับระดับโลก มันจำเป็นที่จะต้องก้าวตามให้ทันและจับกระแสให้ได้
เพื่อการนี้ จึงจัดตั้งกลุ่มการศึกษาทางเทคนิค (Techical Study Group)(TSG) เพื่อทำการวิเคราะห์แนวโน้มและทำรายงานทางเทคนิค และดำเนินงานสร้างความแข็งแกร่งเพื่อให้ยืนอยู่ระดับโลกได้
ในป๊ 1966 FIFA ก็ได้จัดตั้งกลุ่มการศึกษาทางเทคนิค (Technical Study Group)ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ขึ้นมาด้วย ระหว่างที่มีการแข่งขันทัวร์นาเม้นต์ของ FIFA จะมีการทำรายงานทางเทคนิคเกี่ยวกับการเตรียมตัวของแต่ละทีมก่อนทัวร์นาเม้นต์, ความคิดเห็นในแต่ละแมตซ์, รายชื่อ man of the match ฯลฯ บทบาทของกลุ่มก็คือวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง trend ของฟุตบอล, ส่งต่อแผนการพัฒนาไปยังสมาคมฟุตบอลของแต่ละประเทศ, และให้โค้ชทั่วโลกเอาข้อมูลนี้ไปใช้ นอกจากนี้กล่มการศึกษาทางเทคนิคของ FIFA ยังมีบทบาทในการวิเคราะห์และสร้างโปรเจคที่ทำให้ฟุตบอลพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ด้วย
ตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1998 และ 2002 ที่จัดในญี่ปุ่น JFA ได้ถูกโปรโมทให้ทำกิจกรรมเหล่านี้เต็มตัว ปัจจุบันนี้เราได้มีการทำการศึกษาทางเทคนิคเกี่ยวกับทัวร์นาเม้นต์เยาวชนที่จัดแข่งในประเทศ, วิเคราะห์แมตซ์นอกเหนือจากแมตซ์ที่เป็นแมตซ์ทีมชาติระดับ A ด้วย เช่น U-20, U-17, ฟุตบอลหญิง และไม่เพียงแค่แมตซ์ระดับโลกแต่ทัวร์นาเม้นต์ระดับเอเชียด้วย เราจะเอาข้อมูลมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบเพื่อเช็คดูสถานการณ์ของฟุตบอลญี่ปุ่น
รูปทรงสามเหลี่ยม Trinity รูปแบบโดยรวมในการสร้างความแข็งแกร่งให้ทีมชาติ, การพัฒนาเยาวชน, การพัฒนาโค้ช+การแพร่กระจายโค้ช
เพื่อทำให้ยืนอยู่ระดับโลก
การวัดระดับของฟุตบอลญี่ปุ่น คณะกรรมการทางเทคนิคของสมาคมฟุตบอลญี่ปุ่นได้จัดทำ "Trinitarian strengthening plan" (แผนการพัฒนาความแข็งแกร่งสามส่วน) ขึ้นมาโดยอิงจากมุมมองที่ว่า "อะไรที่เราควรจะทำเพื่อที่จะทำให้ญี่ปุ่นมีระดับเทียบเท่าทีมระดับโลกในอันดับต้นๆ "
"Trinitarian strengthening plan" ประกอบไปด้วย 3 ส่วนดังนั้
1) การสร้างความแข็งแกร่งให้กับทีมชาติ
2) การพัฒนาเยาวชน (ผู้เล่นเยาวชน)
3) การฝึกโค้ชต้องแชร์องค์ความรู้และข้อมูลเดียวกันและให้โค้ชมีระดับไล่ๆ กัน
ซึ่งจะทำให้ผู้เล่นมีการพัฒนาและยกระดับฟุตบอลญี่ปุ่น
"ปัญหาของฟุตบอลญี่ปุ่น" จะถูกนำมาวิเคราะห์, ประเมิน, ระบุ ในทัวร์นาเม้นต์ระดับโลกในแต่ละรุ่น และจะเอาใช้งานใน 3 ส่วนนี้
ตามคำที่ว่า "Trinatarion" สามส่วนนี้จะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดในการทำให้ฟุตบอลญี่ปุ่นแข็งแกร่งขึ้น มันเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องรวม 3 เรื่องนี้เข้าด้วยกันและพัฒนาไปพร้อมๆ กัน
ความแข็งแกร่งของทีมชาติไม่เพียงเป็นเพียงแค่ความแข็งแกร่งของตัวผู้เล่นในระยะสั้น แต่ยังรวมถึงระหว่างการฝึกฝนในแต่ละวันด้วย ผู้เล่นไม่ได้แข็งแกร่งขึ้นมาทันทีทันใดอย่างปุ๊ปปั๊บเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ แต่พวกเขาจะค่อยๆ แข็งแกร่งขึ้นทีละเล็กละน้อยตั้งแต่เด็ก มันเป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดทั่วโลกว่าประเทศที่เพิกเฉยต่อการพัฒนาเยาวชนจะไม่มีอนาคต
ประเทศชั้นนำหรือสโมสรชั้นนำให้ความสำคัญกับการพัฒนาเยาวชนมาก ในญี่ปุ่นในระบบการฝึกฝนกลางที่นำโดยศูนย์การฝึกแห่งชาติก็ได้มีทำรูปแบบการฝึกเยาวชนทั่วญี่ปุ่น และระดับของมันก็ได้ถูกปรับปรุงใน Elite program ของ JFA Academy
โค้ชจะต้องฝึกสอนผู้เล่นอยู่ทุกวันอยู่แล้ว ดังนั้นถ้าระดับการสอนในแต่ละวันไม่สูงพอ มันก็ไม่สามารถสร้างผู้เล่นที่ดีขึ้นมาได้ ดังนั้นในการพัฒนาผู้เล่นเยาวชน การพัฒนาคุณภาพโค้ชจึงสำคัญ เพื่อที่จะสร้างโค้ชคุณภาพสูงออกมา เราจึงมีการเพิ่มคอร์สอบรมและการอบรมซ้ำ
ทีมชาติจะแกร่งไม่ได้ถ้าไม่มีรากหญ้า
หลังจากฟุตบอลโลก 2002, เราได้เน้นไปยังเรื่องที่ว่าเราได้ขาดแผนหลักที่สำคัญในการกระจายการพัฒนา เราเปลี่ยนหลักการมาเป็น "Trinity + diffusion" (สามเรื่องหลัก + การแพร่กระจายให้มีนักฟุตบอลมากขึ้น) และเราก็ได้เริ่มหลายๆ โปรเจคเช่นการพัฒนาเด็ก
ทีมชาติจะแข็งแกร่งขึ้นมาไม่ได้ถ้าขาดรากหญ้า! เราเชื่อว่าการมีคนที่ชอบฟุตบอล, เด็กและครอบครัวที่รักฟุตบอล, นำมาซึ่งความมั่นคงและอำนาจทางฟุตบอลของประเทศ
อย่างที่กล่าวไว้ "Trinity + diffusion" ที่จัดทำโดยคณะกรรมการทางเทคนิคของสมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น มุ่งหมายจะทำให้ฟุตบอลญี่ปุ่นมีการพัฒนาและแข็งแรงขึ้น มันเป็นเรื่องสำคัญที่ 3 เรื่องนี้ต้องไปในทางเดียวกันและทำเป็นแผนระยะสั้น, ระยะกลาง และ ระยะยาว