หากลุงปรารถนาอยากให้มีการปฏิรูปกฎหมายเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และมีกฎหมายที่สอดคล้องกับบริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลง ตามที่ระบุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จริงๆ ลุงน่าจะเป็นคนที่รู้ดีที่สุดคนหนึ่งว่า พรบ ว่าด้วยวินัยทหาร พ ศ 2476 เป็นกฎหมายฉบับแรกๆ ที่ควรแก้ไข แต่กลับไม่ทำ
เนื้อหาที่น่าสนใจที่สุดในกฎหมายดังกล่าวอยู่ใน มาตรา 6, 23, 24, 25
มาตรา 6 ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่จัดการระวังรักษาวินัยทหารที่ตนเป็นผู้บังคับบัญชาอยู่นั้น โดยกวดขัน ถ้าหากว่าในการรักษาวินัยทหารนั้นจำเป็นต้องใช้อาวุธ เพื่อทำการปราบปรามทหารผู้ก่อการ กำเริบก็ดี หรือเพื่อบังคับทหารผู้ละทิ้งหน้าที่ให้กลับทำหน้าที่ของตนก็ดี ผู้บังคับบัญชาและผู้ที่ช่วยเหลือ ในการนั้นจะไม่ต้องรับโทษในการที่ตนได้กระทำไปโดยความจำเป็นนั้นเลย แต่เมื่อมีเหตุดั่งกล่าวนี้ผู้บังคับบัญชาจักต้องรายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือตน และรายงานต่อไปตามลำดับชั้นจนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยเร็ว
ใช้อาวุธได้ถ้าจำเป็น และไม่ต้องรับผิดด้วย ถ้ามาตรานี้ไม่ถูกแก้ไข อย่าหวังว่า การซ้อมทหารเกณฑ์จนตายจะไม่มีอีก
มาตรา 23 ทหารจะร้องทุกข์ได้แต่สำหรับตนเองเท่านั้น ห้ามมิให้ร้องทุกข์แทนผู้อื่น เป็นอันขาด และห้ามมิให้ลงชื่อรวมกัน หรือเข้ามาร้องทุกข์พร้อมกันหลายคน และห้ามมิให้ประชุมกัน เพื่อหารือเรื่องจะร้องทุกข์
มาตรา 24 ห้ามมิให้ร้องทุกข์ในเวลาที่ตนกำลังเข้าแถว หรือในขณะที่กำลังทำหน้าที่ราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นเวลาเป็นยาม เป็นเวร ดั่งนี้เป็นต้น และห้ามมิให้ร้องทุกข์ก่อนเวลาล่วงไปแล้ว ยี่สิบสี่ชั่วโมง นับตั้งแต่ที่มีเหตุจะต้องร้องทุกข์เกิดขึ้น
มาตรา 25 ห้ามมิให้ร้องทุกข์ว่า ผู้บังคับบัญชาลงทัณฑ์แรงเกินไป ถ้าหากว่าผู้บังคับบัญชานั้นมิได้ลงทัณฑ์เกินอำนาจที่จะทำได้
ห้ามร้องทุกข์เเทนกัน ห้ามร้องทุกข์ก่อนครบกำหนด 24 ชม (กว่าจะครบ 24 ชม พยาน หลักฐาน ในที่เกิดเหตุถูกทำลายหมดแล้วมั้ย)ห้ามร้องทุกข์ว่า ผบ ลงทัณฑ์เเรงเกินไป
กฎหมายแบบนี้ ดำรงอยู่กว่า 80 ปี ได้อย่างไร
พรบ ว่าด้วยวินัยทหาร พ ศ 2476
เนื้อหาที่น่าสนใจที่สุดในกฎหมายดังกล่าวอยู่ใน มาตรา 6, 23, 24, 25
มาตรา 6 ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่จัดการระวังรักษาวินัยทหารที่ตนเป็นผู้บังคับบัญชาอยู่นั้น โดยกวดขัน ถ้าหากว่าในการรักษาวินัยทหารนั้นจำเป็นต้องใช้อาวุธ เพื่อทำการปราบปรามทหารผู้ก่อการ กำเริบก็ดี หรือเพื่อบังคับทหารผู้ละทิ้งหน้าที่ให้กลับทำหน้าที่ของตนก็ดี ผู้บังคับบัญชาและผู้ที่ช่วยเหลือ ในการนั้นจะไม่ต้องรับโทษในการที่ตนได้กระทำไปโดยความจำเป็นนั้นเลย แต่เมื่อมีเหตุดั่งกล่าวนี้ผู้บังคับบัญชาจักต้องรายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือตน และรายงานต่อไปตามลำดับชั้นจนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยเร็ว
ใช้อาวุธได้ถ้าจำเป็น และไม่ต้องรับผิดด้วย ถ้ามาตรานี้ไม่ถูกแก้ไข อย่าหวังว่า การซ้อมทหารเกณฑ์จนตายจะไม่มีอีก
มาตรา 23 ทหารจะร้องทุกข์ได้แต่สำหรับตนเองเท่านั้น ห้ามมิให้ร้องทุกข์แทนผู้อื่น เป็นอันขาด และห้ามมิให้ลงชื่อรวมกัน หรือเข้ามาร้องทุกข์พร้อมกันหลายคน และห้ามมิให้ประชุมกัน เพื่อหารือเรื่องจะร้องทุกข์
มาตรา 24 ห้ามมิให้ร้องทุกข์ในเวลาที่ตนกำลังเข้าแถว หรือในขณะที่กำลังทำหน้าที่ราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นเวลาเป็นยาม เป็นเวร ดั่งนี้เป็นต้น และห้ามมิให้ร้องทุกข์ก่อนเวลาล่วงไปแล้ว ยี่สิบสี่ชั่วโมง นับตั้งแต่ที่มีเหตุจะต้องร้องทุกข์เกิดขึ้น
มาตรา 25 ห้ามมิให้ร้องทุกข์ว่า ผู้บังคับบัญชาลงทัณฑ์แรงเกินไป ถ้าหากว่าผู้บังคับบัญชานั้นมิได้ลงทัณฑ์เกินอำนาจที่จะทำได้
ห้ามร้องทุกข์เเทนกัน ห้ามร้องทุกข์ก่อนครบกำหนด 24 ชม (กว่าจะครบ 24 ชม พยาน หลักฐาน ในที่เกิดเหตุถูกทำลายหมดแล้วมั้ย)ห้ามร้องทุกข์ว่า ผบ ลงทัณฑ์เเรงเกินไป
กฎหมายแบบนี้ ดำรงอยู่กว่า 80 ปี ได้อย่างไร