ถกญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเป็นเมืองสุสานยักษ์

เรื่องเล่าเหง้าญี่ปุ่น (ฉบับย่อ)
Ep. 3 จักรพรรดิ สุสานใหญ่ สุดสปอยล์


(ท่านใดสนใจตอนก่อนหน้า อ่านได้ที่ https://ppantip.com/topic/38710187 ครับบ)

เพื่อนๆทราบไหมครับว่า ญี่ปุ่นติดอันดับดินแดนที่มีการ #ย้ายเมืองหลวงบ่อยที่สุดในโลก เลยนะครับ  

เท่าที่บันทึกกันก็มีไม่ต่ำกว่า “43 แห่ง” เลยทีเดียว!!!

#ทำไมต้องย้ายกันบ่อยขนาดนั้น

เพื่อจะหาคำตอบนั้น...
เราต้องย้อนเวลากลับไปยังอยู่ที่ญี่ปุ่นเริ่มมีการก่อสร้าง#สุสานขนาดใหญ่ เพื่อชนชั้นสูง....

ยุคโคะฟุง (古墳時代) ค.ศ. 250 – 538

#ตามบันทึกของฝั่งจีน
.....ใน ค.ศ. 239 พระนางฮิมิโกะ ผู้ครองอาณาจักรยามาไท แห่งดินแดนชาววา (วา=ชื่อญี่ปุ่นที่จีนเรียก) ส่งเครื่องบรรณาการ ยอมสวามิภักดิ์ ไปยังเมืองเว่ย*ของจีน.....
Records of the Three Kingdoms

*เว่ย = วุ่นก๊ก / ก๊กของโจโฉในสามก๊ก

นับจากนั้นญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคที่มีความเป็น “อาณาจักร” ไม่ใช่เป็นเมืองเล็กเมืองน้อยอิสระต่อกันอีกต่อไปครับ

และหลักฐานทางฝั่งญี่ปุ่นว่า ญี่ปุ่นได้เจ้าสู่ยุคที่มีผู้ปกครองระดับอาณาจักรแล้วนั้นก็คือ “สุสาน” ครับ!!!

ชื่อของยุคสมัยนี้ "โคะฟุง" - - แปลว่า “สุสานโบราณ” - - ใช่ครับ สิ่งที่โดดเด่นของยุคนี้คือ #สุสานขนาดใหญ่โต (ตามรูป)

เป็นเครื่องยืนยันว่า...
ญี่ปุ่นในสมัยนั้นได้เข้าสู่ #ยุคที่มีความแตกต่างระหว่างชนชั้นสังคม มีศักดินา มีผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง มีไพร่มีเจ้าแล้วนั่นเองครับ!!

(จึงสามารถกะเกณฑ์ไพร่พลมาสร้างสุสานใหญ่โตได้หลายแห่ง)

#นอกจากสุสานแล้ว ยังมีบันทึกถึง #เมืองหลวงที่ตั้งของวังแห่งองค์จักรพรรดิ อีกด้วย ถ้านับเฉพาะในยุคนี้ก็มีถึง “13 แห่ง เลยทีเดียวครับ!!!

(ถ้านับเมืองหลวงทั้งหมดจนถึงยุคปัจจุบัน กรุงโตเกียว จะเป็นเมืองหลวงแห่งที่ 43 เท่าที่มีการบันทึกไว้ครับ)

สันนิษฐานว่าที่ต้องย้ายเมืองหลวงบ่อยเนื่องจากความเชื่อที่ว่า #องค์จักรพรรดิเป็นเหมือนเทพเจ้า

#เมื่อองค์จักรพรรดิสิ้นพระชนม์
พระราชวังเดิมก็จะถูกแปรเปลี่ยนเป็นศาลเจ้า
จักรพรรดิองค์ใหม่ก็ต้องย้ายที่พำนักไปอยู่อาณาบริเวณอื่น ซึ่งก็คือเป็น #การย้ายเมืองหลวง นั้นเองครับ

แม้จะบอกว่าเป็นการย้ายเมืองหลวง ง...

แต่เมืองหลวงชั่วคราวเหล่านี้ก็มักจะ #วนเวียนอยู่แถวบริเวณ จ.นารา จ.โอซาก้า จ.เกียวโต หรือที่ในสมัยโบราณเรียกว่า #ที่ราบยามาโตะ

อันเป็นบริเวณ #ศูนย์อำนาจของวงวารองค์จักรพรรดิ

#มาถึงบริเวณบ้านเรากันบ้าง...

ในยุคเดียวกันนี้...
ได้เกิดเมืองสำคัญเมืองหนึ่งที่ชื่อว่า เมืองละโว้ หรือลพบุรีในปัจจุบัน โดยมีบันทึกถึงการกำเนิดเมืองละโว้ตั้งแต่ปี 459 และค่อยๆพัฒนาเป็นอาณาจักรละโว้ในเวลาต่อมา

ซึ่งเมืองนี้ในอนาคตจะเป็นฐานกำเนิดหน่อเชื้อราชวงศ์ "อู่ทอง" #ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ในอีก 1000 ปีต่อมานั่นเองครับ!!

ในยุคสมัยนี้ มีอาณาจักรหนึ่งเรียกว่า #อาณาจักรทวารวดี กำเนิดขึ้นมี อาณาเขตครอบคลุมแถวบริเวณประเทศไทยในปัจจุบัน

มีการขุดค้นพบ #พระพุทธรูป ในสมัยนี้มากมายเป็นเครื่องแสดงว่า #พระพุทธศาสนาได้ประดิษฐาน อยู่ในดินแดนแห่งนี้อย่างมั่นคงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แต่นักประวัติศาสตร์ สันนิษฐานกันว่าอาณาจักรนี้ไม่น่าจะใช่อาณาจักรของชนชาติไทยแต่เป็น #อาณาจักรของชนชาติมอญ มากกว่าครับ

ในขณะเดียวกันย้อนกลับมาที่ประเทศญี่ปุ่นกันครับ

...พระพุทธศาสนา...
เริ่มเผยแพร่เข้ามาในดินแดนญี่ปุ่นบ้างแล้วครับ

เนื่องจาก #ศาสนาชินโต อันเป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น #ตกผลึกเป็นระบบอย่างมั่นคง เรียบร้อยแล้ว

เมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามา ศาสนาชินโต จึงผสมรับพระพุทธองค์เข้าเป็นหนึ่งในเทพเจ้าที่มีทั้งหมด 1 ล้าน 8 องค์

(คือเยอะจนนับไม่ถ้วนรับมาอีกหนึ่งคงจะไม่เป็นไร...มั้ง - - ประมาณนี้)

อย่างที่เกริ่นมาในช่วงต้นของตอนนี้นะครับว่า

มูลเหตุของการเปลี่ยนยุคของญี่ปุ่น
จาก #ยุคเมืองเล็กเมืองน้อย (ยาโยอิ) มาเป็น #ยุคอาณาจักร (โคะฟุง)
เกิดจาก#สตรีสูงศักดิ์ นาม “ฮิมิโกะ” ได้รวบรวมอำนาจให้#ตระกูลยามาโกะ (ต่อมาเป็นราชวงศ์องค์จักรพรรดิ) ได้สำเร็จ

การเปลี่ยนไปสู่ยุคต่อไปก็เช่นเดียวกันครับ

การเปลี่ยนผ่านจากยุคอาณาจักร (โคะฟุง) ไปยังยุคต่อจากนั้น ก็!#เกิดจากอิสตรีเช่นเดียวกัน

แบะอิสตรีองค์นั้น ได้ "ขึ้นครองราชย์" เป็น "องค์จักรพรรดินี" พระองค์แรกของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นด้วยครับ

"จักรพรรดินีซุยกะ"

หลังยุคสมัยพระองค์ ญี่ปุ่นได้เปลี่ยนแปลงญี่ปุ่นจาก #อาณาจักรล้าหลัง โบราณมาเป็น #อาณาจักรที่อินเทรนด์ ตามแบบมหาอำนาจยุคนั้น

คือ “จีน” ครับ!!!

หมดยุคสร้างสุสาน ถึงยุคสร้างบ้านเมืองตามแบบจีน
(แฟชั่นเนเบิ้ลสุดๆ) มาเน้นสร้างวัดวาอารามกันแทนเป็นล่ำเป็นสัน

แต่จริงๆกว่าญี่ปุ่นจะยอมรับพระพุทธศาสนา จนมีความกลมเกลียวกับชินโตศาสนาดั้งก็มีดราม่าสาดโคลนกันพอดู

เป็นยุคที่มีความดราม่า

ส่วนจะดราม่าระดับไหนอย่างไรนั้น?

ต้องติดตามในตอนหน้า ขอบพระคุณคร้าบ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่