อันดามันเหนือทะเลไทย เค้าดำน้ำลงไปดูอะไรกัน (North Andaman Scuba Diving)

วันนี้ผมจะพาไปดำน้ำลึก (Scuba) ที่อันดามันเหนือกัน ว่าใต้ท้องน้ำสีฟ้าครามนั้น เค้าดำลงไปดูอะไรกัน
ถ้าชอบกันก็ไปติดตามได้ที่
Facbook: https://www.facebook.com/satinsep
Instagram: @mekku https://www.instagram.com/mekku
มีภาพสวยๆและอีกหลายเรื่องราวให้ติดตามกัน หรือ ถ้าสนใจไปมัลดีฟส์ก็ไปติดตามกระทู้เท่ากันได้ครับ
[CR] เมาดริฟ ที่ มัลดีฟส์ ใต้ท้องน้ำสีฟ้าคราม https://ppantip.com/topic/38351612

ถ้าใครชอบดูเป็นภาพเคลื่อนไหว ข้างล่าสุดมี VDO อยู่นะครับ เลือกยาวลงไปเลยครับ ยิ้ม

เริ่มจากอันดามันเหนือคือที่ไหนก่อนแล้วกันครับ ทะเลไทยแบ่งใหญ่ๆก็คงออกเป็นฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน อันดามันก็จะแบ่งออกเป็นอันดามันเหนือและอันดามันใต้ ถ้าแบ่งแบบง่ายๆอย่างที่ผมชอบเอาไว้บอกเพื่อนที่ไม่คุ้นเคยกับการดำน้ำ ซึ่งไม่ถูกซะทีเดียวแต่ผมว่ามันเข้าใจง่ายดี ก็คือ คิดซะว่าอยู่เหนือภูเก็ตเรียกว่าอันดามันเหนือ อยู่ใต้ภูเก็ตก็เรียกอันดามันใต้ แบ่งแบบนี้เข้าใจง่ายดีครับ เส้นทางอันดามันเหนือก็เป็นการออกเรือไปจากภูเก็ตล่องไปจนถึงกองหินริเชริวซึ่งอยู่ใกล้พรหมแดนพม่านั่นเอง ระหว่างทางเราก็จะผ่านเขตหมู่เกาะสิมิลัน เกาะบอน เกาะตาชัย ไปจนถึงกองหินริเชริว ซึ่งก็คือจุดดำน้ำของเรา การเดินทางในครั้งนี้เป็นการเดินทางโดยการกินอยู่บนเรือเรียกว่า Liveaboard ไปกลับรวมแล้วใช้ชีวิตบนเรือ 4 วัน 5 คืน กับ การดำน้ำทั้งหมดำ 15 ไดฟ์
เพื่อไม่ให้ยืดยาวไปมากกว่านี้เริ่มออกเดินทางกันเลยดีกว่าครับ การเดินทางของผมเริ่มจากกรุงเทพ บินไปลงภูเก็ตทางเรือมีรถมารับจากสนามบินสู่ท่าเรือและขึ้นเรือเลย
การใช้ชีวิตบนเรือแบบนี้เป็นการดำน้ำแบบที่ผมชอบมาก บนเรือนั้นมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันครับ ไม่ว่าจะเป็นน้ำไฟ จะชาร์จอุปกรณ์ต่างๆ พก laptop ไปด้วยก็ตามสะดวกได้ทั้งน้ันเรียกว่าเหมือนพักโรงแรมที่ล่องลอยอยู่กลางน้ำนั่นแหละครับ อาหารเสิร์ฟวันละ 4 มื้อ ห้องนอนไม่ได้กว้างขวางนักแต่ก็สะอาดและอยู่สบาย ห้องน้ำทั้งหมด 4 ห้อง แชร์กันครับ กับจำนวนผู้ร่วมเดินทาง 20 คนก็ไม่มากไม่น้อยอะไร สิ่งเดียวที่คุณจะไม่มีในการเดินทางครั้งนี้คือ “สัญญาณโทรศัพท์ และ อินเตอร์เน็ต” เย้!!!ตัดการติดต่อจากโลกภาพนอกกันซัก 4 วัน แล้วคุณจะรู้ครับว่าการไม่ต้องมีคนโทรหา หรือ สังคมออนไลน์อันรวดเร็วยิ่งกว่าความคิดนั้น ทำให้เราได้มองชีวิตในอีกหลายมุมเลยทีเดียว

ในคืนวันแรกหลังจากเก็บสัมภารกแล้วก็เข้านอนออกแรกไว้พบกับ ไดฟ์แรกตอนแปดโมงเช้า หลังจากปั่นงานมาทั้งวันเพราะต้องหายตัวไปแบบติดต่อไม่ได้นนั้น คุณก็หมดแรงและหลับสบายๆบนเรือที่ออกแล่นช้าๆ สู่หมู่เกาะสิมิลันจุดดำน้ำแรกของเรา
เมื่อยามเช้ามาถึงแสงอาทิตย์อ่อนๆตัดกับน้ำสีฟ้าคราม และเสียงกระซิบเบาๆจากกระแสน้ำ ก็ทำให้การตื่นเช้าของเราวันนี้สดใสกว่าที่เคย ไม่รอช้าครับ หาอะไรรองท้องเล็กน้อย แล้วก็เตรียมตัวโดดน้ำ เย้
จุดดำน้ำแรกในครั้งนี้นั้นคือ Dive site 12 ราศี หรือ Zodiac อยู่บริเวณเกาะ 9 ในหมู่เกาะสิมิรัน ภาพโดยรอบเป็นพื้นทรายโล่งไม่ค่อยมีกระแสน้ำ และความลึกเฉลี่ยไม่ถึง 20 เมตร เหมาะกับเป็นจุดสำหรับ Check Dive เพื่อปรับตัวและเช็ดการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ดำน้ำ หรือ กล้องตัวใหญ่ใครหลายคนเพิ่งถอยก่อนมาออกทริปนั่นเอง พร้อมกันแล้วก็โดดครับ สู่ความเวิ้งว้างใต้ผืนน้ำสีฟ้าคราม
ไฮไลต์รอบๆจุดดำน้ำนี้ก็คือสัญลักษณ์ 12 ราศีที่ถูกนำมาจมไว้โดยรอบ
นอกจากนั้นก็จะมีประการังและกัลปังหา หรือ เรียกง่ายๆว่า Sea Fan อยู่ประปลาย พอเป็นน้ำจิ้มสำหรับไดฟ์แรกของการเดินทาง
สำรวจโดยรอบกันไปจนหมดไดฟ์ ทั่วๆไปก็ประมาน 40-50นาที หรือจนกว่าอากาศคนที่เหลือน้อยที่สุดจะแตะ 50 บาร์ ก็ถึงเวลาทำ Safety Stop และขึ้นจากน้ำ
สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยดำน้ำ การทำ Safety Stop คือการลอยตัวอยู่ที่ความลึก 5 เมตรจากผิวน้ำ เป็นเวลา 3 นาที เพื่อให้ร่างกายปรับสภาพก่อนขึ้นสู่ผิวน้ำ เป็นการลดความเสี่ยงจากการเกิดความผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากแก๊สและความดันระหว่างดำน้ำครับ อาจจะฟังแล้วดูอันตราย แต่จริงๆแล้วการดำน้ำลึกนั้น ถ้าเรามีสติและปฏิบัติตามที่เรียนมา โอกาสที่จะเกิดอันตรายนั้นผมว่ามีน้อยกว่าเดินข้ามถนนในกรุงเทพเสียอีก

ช่วงเวลา 3 นาที ที่ความลึก 5 เมตรนั้น กับเพียงเสียงลมหายใจ บางครั้งผมว่ามันก็ออกจะสงบและผ่อนคลายอย่างที่สุดช่วงเวลานึงเลยทีเดียว
ขึ้นมาแล้วก็เปลี่ยนชุดกินข้าวเช้าครับ ระหว่างนั้นเรือก็จะแล้นสู้จุดต่อไปคือ เกาะบอน จุดหมายของใครหลายคนในทริปนี้ เกาะบอนนั้นไม่ใช่จุดดำน้ำที่สวยงามเท่าไหร่หรอกครับ ถ้าเทียบกับจุดอื่นๆในทริปนี้ แต่สิ่งที่เรามักได้เจอคือ สัตว์ใหญ่อย่าง กระเบนราหู หรือ แมนต้า ที่เป็นหนึ่งในไฮไลต์ของการเดินทางในครั้งนี้ ซึ่ง “เราไม่เจอครับ ฮ่าๆๆๆ”

ภาพนี้เป็นภาพกระเบนราหูที่ผมเจอเมื่อปีก่อนแต่เป็นที่อันดามันใต้ครับ ออกจะน่าเสียดายซักหน่อยเพราะในครั้งนี้เกาะบอนไม่ได้ให้ในสิ่งที่พวกเราหวังไว้ แต่การท่องเที่ยวธรรมชาติก็แบบนี้ครับ
การก้าวผ่านเกือบ 200 ไดฟ์สอนให้ผมรู้ว่า การไม่คาดหวังอะไรจากโลกใต้น้ำทำให้เรามองมันได้กว้างขึ้น และ ความสุขที่ได้รับก็มากขึ้นด้วยเช่นกัน ในครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งที่แม้จะไม่ได้เจอแมนต้า แต่ธรรมชาติให้ในสิ่งที่เราไม่ได้ร้องขอด้วยการพาน้องจุด ฉลามวาฬน้อยมาพบกับเรา ทั้งที่ปกติแล้วเราก็ไม่ได้พบกับฉลามวาฬในแถบนี้บ่อยนัก
นอกจากสัตว์ใหญ่แล้วเกาะบอนก็เป็นอีกที่ซึ่งเป็นศูนย์รวมของเหล่าปลาเล็กปลาน้อยนับล้านตัวตามแนวหินใต้น้ำที่ประดับไปด้วยประการังอ่อนเป็นระยะๆ
หลังจากเจอน้องจุดกันแล้วเราก็ออกเรือไปยังเกาะตาชัยเพื่อดำน้ำอีก 2 ไดฟ์ที่เหลือของวัน เกาะตาชัย (Tachai Reef) เป็นอีก Dive Site ที่เป็นไฮไลต์ของอันดามันเหนือด้วยความอุดมสมบูรณ์ด้วยกัลปังหาจำนวนมาก
ไดฟ์สุดท้ายของวันจบด้วย Night Dive หรือ ไดฟ์กลางคืน การดำน้ำในตอนกลางคืนนั้น ทำให้เราเห็นสิ่งที่ต่างออกไปจากตอนกลางวันทั้งสีสันต่างๆที่ชัดเจนขึ้นเมื่อมีแสงจากไฟฉาย ทำให้เราเห็นสีที่แท้จริงของโลกใต้น้ำซึ่งต่างจากตอนกลางวันที่สายตาถูกหลอกด้วยแสงสีฟ้าอมเขียวเนื่องจากถูกผืนน้ำด้านบนกรองเอาสีแดงออกไปจากแสงอาทิตย์ อีกทั้งสิ่งมีชีวิตจำพวกกุ้งปูต่างๆ หรือแม้แต่ปลาไหลมอเร่ก็มักจะออกมาหากินในเวลากลางคืนให้เราได้เห็นชัดเจนกว่าช่วงกลางวัน
ในทางกลับกันปลาบางชนิดอย่างเจ้าปักเป้าหน้าหมาตัวนี้ก็หลับสนิทชนิดที่เรียกว่าว่ายเข้าไปจนจะติดตัวก็ยังไม่รู้สึกถึงการมาของพวกเราเลยวันแรกผ่านไปไวเหมือนโกหก ก็ได้เวลาพักผ่อนดื่มกินกันตามอัธยาศัย และ เข้านอนเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับวันรุ่งขึ้นที่เช้ากว่าเดิม พร้อมบรีฟกันตอน 7 โมง เพื่อดำลงสู่กองหินอันสวยงามติดอันดับ Dive Site ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย นั่นก็คือ “กองหินริเชริว” จุดหมายสุดท้ายของการเดินทางที่สุดของพรมแดนไทย-พม่า ก่อนจะวกกลับ เราใช้เวลาที่นี่ 4 ไดฟ์รวด หรือ ก็คือ 1 วันเต็มๆตั้งแต่อาทิตย์ขึ้นยันตกไปเลยกันที่นี่
การมาครั้งนี้น้ำไม่ใสเหมือนปีที่แล้ว เนื่องจากกระแสน้ำเย็นด้านล่างที่พัดมาเกิดเป็น Thermocline เป็นระยะๆ รวมถึงชั้นตะกอนตั้งแต่ระดับ 16 เมตรลงไป ทำให้เราได้อยู่ดูแต่ทัศนียภาพด้านบนและฝูงปลาน้อยใหญ่เป็นหลัก
ในไดฟ์ที่ 3 ของวันนั้นกระแสน้ำเบาลงและฝุ่นตะกอนก็จางลงไปบ้างทำให้เราได้มีโอกาสลงไปแต่ที่ระดับ 20 เมตรนิดๆเพื่อไปหาเจ้า ghost pipe fish หรือ ภาษาไทยเรียกปลาไม้จิ้มฟันจระเข้ แต่ Dive นั้น กล้องแบตหมด เย้ ขออนุญาตนำรูปของน้องตั้มผู้ร่วมทริปของเรามาให้ชมกันแทนรูปนึงครับ
และในไดฟ์สุดท้ายของวันก็ได้มีโอกาสเปลี่ยนเอาชุดมาโครลงไปส่องเจ้าตัวจิ๋วๆทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นกุ้งหรือทากเปลือกต่างๆ
กุ้งนักมวย
แอบมองเธออยู่นะจ้ะเจ้านู้ดี้สีสันสุดน่ารักเจ้าปูเสฉวน
นอกจากนั้นก็เป็นการวนๆ พบปะฝูงปลาน้อยใหญ่ ไปเรื่อยครับ มาคราวนี้เจอฝูงปลาค่อยข้างเยอะไม่ว่าจะเป็นปลามง (Jacks), ปลาสาก (Barracuda) และ อื่นๆ ที่มาหากินปลาเล็กปลาน้อยซึ่งมีอยู่นับล้านที่นี่ แค่ลอยนิ่งแล้วมอง ฝูงปลาเหล่านี้ก็เพลินจนหมดไดฟ์อย่างรวดเร็วทุกไดฟ์เลยครับ เรียกได้ว่า 4 ไดฟ์ ก็คงยังไม่อยากจะพอสำหรับการดำน้ำที่นี่

จบไปอีกวันหลังจากนั้นเราก็วกกลับมาค้างคืนที่ตาชัยอีกครั้ง เพื่อดำน้ำในวันที่ 3 โดยจะอยู่ที่ตาชัยกัน 2 ไดฟ์ และ กลับไปยัง เกาะบอน และ หมู่เกาะสิมิรัน สำหรับ Night Dive
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่