เมื่อวาน ( 28 มีนาคม 2562 ) ตัวแทน ก.ก.ต
คุณกฤช เอื้อวงค์ รองเลขาธิการ ก.ก.ต
ได้แถลงผลคะแนนดิบ 100 % ของการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562
ทันทีที่แถลงข่าวจบ ตัวเลขต่างๆที่ออกมาสร้างความ
งุนงงให้กับผู้สนใจเป็นอย่างมาก
หลายๆชุดตัวเลขไม่สมเหตุสมผล รวมไปถึงความ
โปร่งใสของบัตร การนับคะแนน เปอร์เซนต์ของผู้มาใช้สิทธิ์ ฯลฯ
เหล่านี้ได้สร้างความแคลงใจให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก
ในกระทู้นี้ จะกล่าวประเด็นความน่าสงสัยหลักๆเพียงไม่กี่ประเด็น ที่มีผลต่อผลการเลือกตั้ง
ส่วนเรื่องปลีกย่อยที่ยังมีอีกมากมายหลายประเด็น ก็ขอเว้นไว้ในโอกาสต่อไป
ข้อสงสัยในคำแถลงของ ก.ก.ต
1 ตัวเลขผู้มีสิทธิ์ออกเสียงการเลือกตั้ง
ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่รายงานง่ายที่สุด และจะต้องเป็นตัวเลขที่คงที่ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
เพราะต้องอ้างอิงกับ
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ซึ่งคราวนี้ กระทรวงมหาดไทย ได้เผยตัวเลขเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ที่ผ่านมาว่า
ผู้มาใช้สิทธิ์ว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 51,419,975 คน (ตามรูป)
แต่ ก.ก.ต พูดถึงตัวเลขนี้ 2 ครั้ง ครั้งแรกในคืนเลือกตั้ง 24 มี.ค ประธาน ก.ก.ต แถลงว่า
ผู้มีสิทธิการเลือกตั้งมีจำนวน 51,205,624 คน และเมื่อวาน (28 มี.ค) กลับแถลงตัวเลขเพิ่มเป็น 51,239,638 คน
ซึ่งน้อยกว่าตัวเลขกรมการปกครองที่ต้องเป็นตัวเลขหลัก ประมาณ
180,000 ใบ
ก.ก.ต จะอธิบายตัวเลขที่แตกต่างนี้ได้ยังไงครับ ?
2 เปอร์เซ็นต์ของผู้มาใช้สิทธิ์
ตัวเลขนี้ก็เป็นตัวเลขที่ง่าย เพราะสามารถเช็คจากยอดต้นขั้วบัตรได้เลย แต่ ก.ก.ต แถลง 2 ครั้ง
% ผู้มาใช้สิทธิ์กับแตกต่างกันมาก โดยครั้งแรกประธาน ก.ก.ต คุณอิทธิพร บุญประคอง ได้แถลงเมื่อคืนวันที่ 24 มี.ค ว่า
(24 มี.ค.) นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
กล่าวแถลงข่าวถึงภาพรวมผลคะแนน อย่างไม่เป็นทางการ 90% เมื่อเวลา 22.00 น. ที่ผ่านมา
ระบุว่า พบผู้ที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง คิดเป็นร้อยละ 65.96 มีบัตรเสียร้อยละ 5.6
และไม่ประสงค์ลงคะแนน คิดเป็นร้อยละ 1.5 จากจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 51,205,624 คน
แต่เมื่อวานนี้ (28 มี.ค) รองเลขาธิการ ก.ก.ต กลับแถลงว่ามีผู้มาใช้สิทธิ์ กลายเป็น
74.69 %
โดยปกติแล้ว การเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นระดับใด (เลือกประธานนักเรียน เลือกนายกสมาคม ฯ)
ตัวเลขผู้มาใช้สิทธิ์
ก็ประกาศออกมาครั้งเดียว หลังหมดเวลาการลงคะแนน
ไม่เคยมีการเพิ่มลดตัวเลขแบบที่ กกต ทำ การที่ ก.ก.ต มาอ้างภายหลังว่า
คืนวันที่ 24 มี.ค เป็น % ของผู้มาใช้สิทธิ์ในวันนั้น ยังไม่รวมส่วนที่เป็นการเลือกตั้งในและนอกประเทศ
เป็นคำชี้แจงที่
ฟังไม่ขึ้น
อย่าว่าแต่ตัวเลขที่ใช้อ้างอิงทั้งสองครั้งที่คำนวนเป็น % เมื่อคำนวนย้อนกลับแล้วก็คลาดเคลื่อนมากมาย
(ในส่วนรายละเอียด จะไปอยู่ที่เม้นท์ย่อย)
3 คะแนน "บัตรดี"
ตัวเลขตรงส่วนนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นฐานที่จะใช้หาค่าคงที่ในการไปคำนวน
"ส.ส ที่พึงจะมีไดั"
ในการหาค่าคงที่ ถ้าคนเก่งคำนวนจะใช้
ตัวเลขบัตรดี คูณ 2 หารด้วย 1000
ในการรายงานส่วนนี้ทั้ง 2 ครั้งของ กกต ก็รายงานไม่ตรงกันอีก โดยครั้งแรก
ประธาน กกต แถลงว่า ในส่วนบัตรดี มีจำนวน 35,409,952 - 1,998,573 - 537,479 =
32,873,900 บัตร
ซึ่งคำนวนเป็น
ค่า K จะได้ประมาณ = 65,748
ขอบคุณภาพจากเนต (ตัวเลขใกล้เคียงที่สุด)
แต่เมื่อวานนี้ รองเลขาธิการ กกต กลับแถลงว่าในส่วนบัตรดี กลับมีจำนวน =
35,532,645 บัตร
ซึ่งคำนวนเป็นค่า K = 71,065
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้นายกฤช ระบุว่า ผลคะแนน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง มีผู้สมัคร 11,181 คน ถูกตัดสิทธิแล้ว คงเหลือ 10,609 คน ซึ่งกกต.จะลงคะแนนของทุกคนบนเว็บไซต์ โดยผลการรวมคะแนนแต่ละพรรค 81 พรรค คะแนนรวม 35,532,647 คะแนน
จำนวนบัตรดีที่เพิ่มขึ้นเกือบ
2 ล้าน 7 แสนใบ (35,532,647 - 32,873,900 ) ย่อมมีผลต่อการคิดคะแนน ส.ส ระบบเขต
โดยเฉพาะเขตที่แพ้ชนะกันไม่ห่าง กกต อย่าบอกนะครับว่า เขตทั้ง 350 เขต ไม่มีการเปลี่ยนแปลงผลแพ้ - ชนะของผู้สมัคร
ถ้าแถลงอย่างนี้จริง ก็ยากที่จะมีคนเชื่อ...?
และถ้ามีผลกับการเปลี่ยนแปลงการได้มาของ ส.ส เขต ก็จะส่งผลกระทบไปถึงการคำนวน ส.ส ระบบบัญชีรายชื่อ
ถ้างั้น ผลที่แถลงคืนวันที่ 24 ก็ผิดพลาดมาก
แล้วจะแถลงไปทำไมครับ ?
4 การนับคะแนน
เมื่อคืนได้ฟัง รองเลขาธิการ กกต ชี้แจงในรายการของคุณจอมขวัญ ได้ความว่า
บัตรเลือกตั้งนอกเขตและนอกราชอาณาจักร ไม่ได้นับในหน่วยเลือกตั้ง
แต่ถูกนับแยกจากหน่วยเลือกตั้งโดยถูกนับที่เขต และรายงานแยกกันอีกต่างหาก
แต่ในระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑
ที่ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๑
หมวดที่ 6 ในส่วนของการนับคะแนน ในข้อ 154 มีข้อความว่า
ข้อ ๑๕๔ การนับคะแนนให้กระทำ ณ ที่เลือกตั้ง โดยเปิดเผยและติดต่อกันให้เสร็จจะเลื่อน
หรือประวิงเวลาการนับคะแนนไม่ได้
นั่นแปลว่า การนับคะแนนไม่ว่าจะเป็นการลงคะแนน ณ วันนั้น หรือการลงคะแนนล่วงหน้า
จะต้องนับในสถานที่เลือกตั้งและต้องเป็นที่เปิดเผย และต้องนับให้เสร็จในคราวเดียว
จะมานับเป็นส่วนๆ หรือแยกนับไม่ได้
แต่ กกต กลับนำเอาบัตรเลือกตั้งล่วงหน้าทั้งหมดไปนับที่เขตซึ่งไม่ใช่สถานที่เลือกตั้งโดยไม่มีใครรู้
เพราะฉะนั้นตรงจุดนี้
ไม่ทราบว่า กกต ละเมิดระเบียบข้อบังคับของตนเองหรือไม่ ?
กกต ครับ การเลือกตั้งของไทยในอดีต มีมาแล้ว 27 ครั้ง
ซึ่งแต่ละครั้งที่ผ่านมา ถ้าเทียบในเรื่องเทคโนโลยี การสื่อสาร และงบประมาณการจัดการเลือกตั้ง
อีกทั้งการคมนาคมขนส่ง ไม่มีทางที่จะพร้อมเท่าครั้งนี้
แต่ครั้งนี้กลับมีข้อกังขาไม่แพ้การเลือกตั้งเมื่อ
26 กุมภาพันธ์ 2500
ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นการเลือกตั้งที่มีปัญหาที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งไทย
ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ได้ครับ ?
ป.ล รายละเอียดตัวเลขของในแต่ละส่วนจะอยู่ในเม้นย่อย
ป.ล 2 สงสัยเหลือเกินว่าคะแนนที่เพิ่มขึ้นมาเมื่อวานนี้ จะมีผลกับการเปลี่ยนแปลงของ ส.ส.เขตหรือไม่ ?
แล้วทำไมในเมื่อรู้คะแนนดิบหมดแล้ว จึงไม่ประกาศ ส.ส.เขตไปทีเดียวพร้อมกัน หรือว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง ?
ป.ล 3 อยากเห็นคะแนนดิบของทุกหน่วยเลือกตั้ง (92,320 หน่วย) และตัวเลขผู้มาใช้สิทธิของแต่ละหน่วย
ป.ล 4 มาถึงตอนนี้ ถ้าเขตที่เพื่อไทยได้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง คือได้ 137 อย่างเก่า
ถึงแม้จะได้คะแนนเพิ่มอีกประมาณ 1,800,000 คะแนน ก็จะไม่ได้ปาร์ตี้ลิสต์เหมือนเดิม
ป.ล 4 พิมพ์ๆ ไป ระบบจัดรูปแบบของการตั้งกระทู้มีปัญหา อยากให้พันทิปช่วยเร่งแก้ไข หรือนำระบบเก่ามาใช้
cnck
กกต ยิ่งแถลง ...ประชาชน....ยิ่งสับสน cnck
ได้แถลงผลคะแนนดิบ 100 % ของการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562
ทันทีที่แถลงข่าวจบ ตัวเลขต่างๆที่ออกมาสร้างความงุนงงให้กับผู้สนใจเป็นอย่างมาก
หลายๆชุดตัวเลขไม่สมเหตุสมผล รวมไปถึงความโปร่งใสของบัตร การนับคะแนน เปอร์เซนต์ของผู้มาใช้สิทธิ์ ฯลฯ
เหล่านี้ได้สร้างความแคลงใจให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก
ในกระทู้นี้ จะกล่าวประเด็นความน่าสงสัยหลักๆเพียงไม่กี่ประเด็น ที่มีผลต่อผลการเลือกตั้ง
ส่วนเรื่องปลีกย่อยที่ยังมีอีกมากมายหลายประเด็น ก็ขอเว้นไว้ในโอกาสต่อไป
ข้อสงสัยในคำแถลงของ ก.ก.ต
1 ตัวเลขผู้มีสิทธิ์ออกเสียงการเลือกตั้ง
ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่รายงานง่ายที่สุด และจะต้องเป็นตัวเลขที่คงที่ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
เพราะต้องอ้างอิงกับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ซึ่งคราวนี้ กระทรวงมหาดไทย ได้เผยตัวเลขเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ที่ผ่านมาว่า
ผู้มาใช้สิทธิ์ว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 51,419,975 คน (ตามรูป)
แต่ ก.ก.ต พูดถึงตัวเลขนี้ 2 ครั้ง ครั้งแรกในคืนเลือกตั้ง 24 มี.ค ประธาน ก.ก.ต แถลงว่า
ผู้มีสิทธิการเลือกตั้งมีจำนวน 51,205,624 คน และเมื่อวาน (28 มี.ค) กลับแถลงตัวเลขเพิ่มเป็น 51,239,638 คน
ซึ่งน้อยกว่าตัวเลขกรมการปกครองที่ต้องเป็นตัวเลขหลัก ประมาณ 180,000 ใบ
ก.ก.ต จะอธิบายตัวเลขที่แตกต่างนี้ได้ยังไงครับ ?
2 เปอร์เซ็นต์ของผู้มาใช้สิทธิ์
ตัวเลขนี้ก็เป็นตัวเลขที่ง่าย เพราะสามารถเช็คจากยอดต้นขั้วบัตรได้เลย แต่ ก.ก.ต แถลง 2 ครั้ง
% ผู้มาใช้สิทธิ์กับแตกต่างกันมาก โดยครั้งแรกประธาน ก.ก.ต คุณอิทธิพร บุญประคอง ได้แถลงเมื่อคืนวันที่ 24 มี.ค ว่า
(24 มี.ค.) นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
กล่าวแถลงข่าวถึงภาพรวมผลคะแนน อย่างไม่เป็นทางการ 90% เมื่อเวลา 22.00 น. ที่ผ่านมา
ระบุว่า พบผู้ที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง คิดเป็นร้อยละ 65.96 มีบัตรเสียร้อยละ 5.6
และไม่ประสงค์ลงคะแนน คิดเป็นร้อยละ 1.5 จากจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 51,205,624 คน
แต่เมื่อวานนี้ (28 มี.ค) รองเลขาธิการ ก.ก.ต กลับแถลงว่ามีผู้มาใช้สิทธิ์ กลายเป็น 74.69 %
โดยปกติแล้ว การเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นระดับใด (เลือกประธานนักเรียน เลือกนายกสมาคม ฯ)
ตัวเลขผู้มาใช้สิทธิ์ก็ประกาศออกมาครั้งเดียว หลังหมดเวลาการลงคะแนน
ไม่เคยมีการเพิ่มลดตัวเลขแบบที่ กกต ทำ การที่ ก.ก.ต มาอ้างภายหลังว่า
คืนวันที่ 24 มี.ค เป็น % ของผู้มาใช้สิทธิ์ในวันนั้น ยังไม่รวมส่วนที่เป็นการเลือกตั้งในและนอกประเทศ
เป็นคำชี้แจงที่ฟังไม่ขึ้น
อย่าว่าแต่ตัวเลขที่ใช้อ้างอิงทั้งสองครั้งที่คำนวนเป็น % เมื่อคำนวนย้อนกลับแล้วก็คลาดเคลื่อนมากมาย
(ในส่วนรายละเอียด จะไปอยู่ที่เม้นท์ย่อย)
3 คะแนน "บัตรดี"
ตัวเลขตรงส่วนนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นฐานที่จะใช้หาค่าคงที่ในการไปคำนวน "ส.ส ที่พึงจะมีไดั"
ในการหาค่าคงที่ ถ้าคนเก่งคำนวนจะใช้ตัวเลขบัตรดี คูณ 2 หารด้วย 1000
ในการรายงานส่วนนี้ทั้ง 2 ครั้งของ กกต ก็รายงานไม่ตรงกันอีก โดยครั้งแรก
ประธาน กกต แถลงว่า ในส่วนบัตรดี มีจำนวน 35,409,952 - 1,998,573 - 537,479 = 32,873,900 บัตร
ซึ่งคำนวนเป็นค่า K จะได้ประมาณ = 65,748
ขอบคุณภาพจากเนต (ตัวเลขใกล้เคียงที่สุด)
แต่เมื่อวานนี้ รองเลขาธิการ กกต กลับแถลงว่าในส่วนบัตรดี กลับมีจำนวน = 35,532,645 บัตร
ซึ่งคำนวนเป็นค่า K = 71,065
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จำนวนบัตรดีที่เพิ่มขึ้นเกือบ 2 ล้าน 7 แสนใบ (35,532,647 - 32,873,900 ) ย่อมมีผลต่อการคิดคะแนน ส.ส ระบบเขต
โดยเฉพาะเขตที่แพ้ชนะกันไม่ห่าง กกต อย่าบอกนะครับว่า เขตทั้ง 350 เขต ไม่มีการเปลี่ยนแปลงผลแพ้ - ชนะของผู้สมัคร
ถ้าแถลงอย่างนี้จริง ก็ยากที่จะมีคนเชื่อ...?
และถ้ามีผลกับการเปลี่ยนแปลงการได้มาของ ส.ส เขต ก็จะส่งผลกระทบไปถึงการคำนวน ส.ส ระบบบัญชีรายชื่อ
ถ้างั้น ผลที่แถลงคืนวันที่ 24 ก็ผิดพลาดมาก แล้วจะแถลงไปทำไมครับ ?
4 การนับคะแนน
เมื่อคืนได้ฟัง รองเลขาธิการ กกต ชี้แจงในรายการของคุณจอมขวัญ ได้ความว่า
บัตรเลือกตั้งนอกเขตและนอกราชอาณาจักร ไม่ได้นับในหน่วยเลือกตั้ง
แต่ถูกนับแยกจากหน่วยเลือกตั้งโดยถูกนับที่เขต และรายงานแยกกันอีกต่างหาก
แต่ในระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑
ที่ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๑
หมวดที่ 6 ในส่วนของการนับคะแนน ในข้อ 154 มีข้อความว่า
ข้อ ๑๕๔ การนับคะแนนให้กระทำ ณ ที่เลือกตั้ง โดยเปิดเผยและติดต่อกันให้เสร็จจะเลื่อน
หรือประวิงเวลาการนับคะแนนไม่ได้
นั่นแปลว่า การนับคะแนนไม่ว่าจะเป็นการลงคะแนน ณ วันนั้น หรือการลงคะแนนล่วงหน้า
จะต้องนับในสถานที่เลือกตั้งและต้องเป็นที่เปิดเผย และต้องนับให้เสร็จในคราวเดียว
จะมานับเป็นส่วนๆ หรือแยกนับไม่ได้
แต่ กกต กลับนำเอาบัตรเลือกตั้งล่วงหน้าทั้งหมดไปนับที่เขตซึ่งไม่ใช่สถานที่เลือกตั้งโดยไม่มีใครรู้
เพราะฉะนั้นตรงจุดนี้ ไม่ทราบว่า กกต ละเมิดระเบียบข้อบังคับของตนเองหรือไม่ ?
กกต ครับ การเลือกตั้งของไทยในอดีต มีมาแล้ว 27 ครั้ง
ซึ่งแต่ละครั้งที่ผ่านมา ถ้าเทียบในเรื่องเทคโนโลยี การสื่อสาร และงบประมาณการจัดการเลือกตั้ง
อีกทั้งการคมนาคมขนส่ง ไม่มีทางที่จะพร้อมเท่าครั้งนี้
แต่ครั้งนี้กลับมีข้อกังขาไม่แพ้การเลือกตั้งเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2500
ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นการเลือกตั้งที่มีปัญหาที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งไทย
ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ได้ครับ ?
ป.ล รายละเอียดตัวเลขของในแต่ละส่วนจะอยู่ในเม้นย่อย
ป.ล 2 สงสัยเหลือเกินว่าคะแนนที่เพิ่มขึ้นมาเมื่อวานนี้ จะมีผลกับการเปลี่ยนแปลงของ ส.ส.เขตหรือไม่ ?
แล้วทำไมในเมื่อรู้คะแนนดิบหมดแล้ว จึงไม่ประกาศ ส.ส.เขตไปทีเดียวพร้อมกัน หรือว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง ?
ป.ล 3 อยากเห็นคะแนนดิบของทุกหน่วยเลือกตั้ง (92,320 หน่วย) และตัวเลขผู้มาใช้สิทธิของแต่ละหน่วย
ป.ล 4 มาถึงตอนนี้ ถ้าเขตที่เพื่อไทยได้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง คือได้ 137 อย่างเก่า
ถึงแม้จะได้คะแนนเพิ่มอีกประมาณ 1,800,000 คะแนน ก็จะไม่ได้ปาร์ตี้ลิสต์เหมือนเดิม
ป.ล 4 พิมพ์ๆ ไป ระบบจัดรูปแบบของการตั้งกระทู้มีปัญหา อยากให้พันทิปช่วยเร่งแก้ไข หรือนำระบบเก่ามาใช้
cnck