..." หรือพ่อของฟ้าจะตายน้ำตื้น? "...
จากกรณีที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และนางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ เพิ่งจะโอนหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ประกอบธุรกิจสื่อนิตยสารที่ถือครองรวมกัน 900,000 หุ้น มูลค่า 9 ล้านบาทไปให้นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ มารดาทั้งหมด
ก่อนหน้านี้ วันที่ 30 เม.ย. 2561 นายธนาธรถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด จำนวน 675,000 หุ้น (15%) นางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ ถือ 225,000 หุ้น (5%) วันที่ 21 มี.ค. 2562 ได้โอนหุ้น 900,000 หุ้นไปให้นางสมพรดังข้างต้น
ธนาธรพูดเรื่องนี้ในเย็นที่ออกมาขอบคุณผลการเลือกตั้งแล้วถูกสื่อมวลชนตั้งคำถามว่า ไม่มีปัญหา เพราะเขามีหลักฐานว่ามีการโอนหุ้นไปก่อนหน้าแล้ว และยอมรับว่า เพิ่งจะแจ้งต่อนายทะเบียนจริงหลังจากที่รับสมัครไปแล้ว และนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคและนักกฎหมายชื่อดังที่ยืนเคียงข้างสำทับว่า เรื่องนี้ไม่มีปัญหาอะไรแน่นอน เพราะเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาอยู่แล้ว
ทั้งนี้รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 98 บัญญัติว่า “บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (3) เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ”
นอกจากนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 42 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (3) เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ
ถ้าการกระทำของธนาธรเป็นความผิดจะต้องระวางโทษจําคุกหนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น มีกําหนดยี่สิบปี
ถ้าเราไปดูประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 อันว่าหุ้นนั้นย่อมโอนกันได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่เมื่อเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้น ซึ่งมีข้อบังคับของบริษัทกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นนั้น ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้นๆ ด้วยแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะ อนึ่ง ตราสารอันนั้นต้องแถลงเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันนั้นด้วย
การโอนเช่นนี้จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น
อ่านวรรคสามของมาตรา 1129 ให้ดีนะครับ
แต่คุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ระบุว่า ในฐานะที่ท่านเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและเคยเป็นเลขาธิการ กกต.ประเด็นที่ ป.พ.พ.บัญญัติไว้ว่า “การโอนเช่นนี้จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น”
ข้อความตรงนี้ หมายความว่า เจ้าหน้าที่บริษัทดังกล่าว จะต้องนำเอาการโอนหุ้นของคุณธนาธรดังกล่าว ไปจดแจ้งลงไปในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเสียก่อน จึงจะใช้อ้างแก่บริษัทและบุคคลภายนอกได้ ในแต่ละปี ถ้ามีใครโอนหุ้นให้ใคร เจ้าหน้าที่ก็จะต้องรีบนำไปจดแจ้งลงในสมุดเล่มนี้ ภายในเวลาที่กำหนด (สมัยนี้อยู่ในคอม) แต่บริษัทยังไม่ต้องไปแจ้งการโอนดังกล่าวแก่นายทะเบียนที่กระทรวงพาณิชย์ครับ
เพราะถ้าต้องแจ้งกระทรวงทุกครั้งที่มีการโอนหุ้น บริษัทใหญ่ๆ เช่น แบงก์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทำไม่ได้เลย ในแต่ละวัน จะมีคนโอนหุ้นกันนับร้อย นับพัน ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์จึงไม่บังคับให้บริษัทต้องแจ้งการโอนหุ้นแต่ละรายการ ขอให้จดแจ้งในสมุดเล่มหนาที่เก็บรักษาอยู่ที่บริษัท ก็พอแล้ว
ผมไม่มีความรู้เรื่องนี้มากนัก แต่เมื่ออ่านตามตัวบท ผมคิดว่า การเอาข้อผ่อนผันในตลาดหลักทรัพย์ฯ มาอ้างกับเรื่องนี้นั้นน่าจะเป็นคนละส่วนกัน เพราะกรณีนี้ไม่ได้มีข้อจำกัดแบบการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
มีคำถามว่า หน่วยงานราชการจะยึดถือการโอนหุ้นที่อ้างกันว่าทำมาก่อนแล้ว โดยที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าทำกันเมื่อไหร่ในวันที่อ้างจริงไหมนั้นได้อย่างไร และตามตัวบทการโอนหุ้นต่อกันเป็นเพียงต้องการบอกว่าเป็นการผูกผันระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนเท่านั้น แต่ไม่ผูกพันกับบุคคลภายนอกในทางนิติสัมพันธ์
วันนั้นปิยบุตร อ้างว่ามีคำพิพากษาฎีกาอยู่แล้ว ไม่ทราบว่า เป็นคำพิพากษาฎีกาที่ 2531/2538 นี้หรือไม่
ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสาม บัญญัติถึงการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้น ที่ยังไม่ได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นว่าจะนำมาใช้ยันต่อบริษัทไม่ได้นั้น หมายถึงกรณีที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเอง โดยบริษัทมิได้รู้เห็นด้วย กฎหมายจึงบัญญัติให้ถือตามที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้น แต่กรณีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะที่มีการโอนขายหุ้นนั้น กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย เป็นผู้รับโอน แม้จะรับโอนไว้ในฐานะส่วนตัว แต่ก็ต้องถือว่าบริษัทจำเลยร่วมรู้เห็น และยินยอมให้มีการโอนหุ้นแล้ว บริษัทจำเลยหรือผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างชำระโดยอ้างเหตุว่า การโอนหุ้นไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. 1129 วรรคสามไม่ได้
ถ้าเป็นฎีกานี้ ศาลก็ชี้ว่า เมื่อกรรมการเป็นผู้รับโอนเท่ากับบริษัทรู้เห็นการโอนหุ้นแล้วก็เป็นไปตามวรรค 1 และ2 ไม่เข้ากับวรรคสามเท่านั้นเอง
แต่ผมมีฎีกาอีกที่น่าสนใจ คือ คำพิพากษาฎีกาที่ 5873/2546 (การโอนหุ้นจะใช้ยันบุคคลภายนอกได้)
การโอนหุ้นจะใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนชื่อและสำนักของผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม เมื่อโจทก์รับว่าการโอนหุ้นให้แก่ ม. มิได้จดแจ้งการโอนต่อนายทะเบียนผู้ถือหุ้นของ ป. ในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงยังคงปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุว่ามีการโอนหุ้นไปแล้วยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์ต้องนำเงินปันผลจากหุ้นของ ป. มาคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ยังไม่เจอคำพิพากษาฉบับเต็ม แต่เข้าใจว่า โจทก์ฟ้องกรมสรรพากรที่เรียกเก็บภาษี แล้วอ้างว่า มีการโอนหุ้นไปก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ศาลระบุว่า โจทก์มิได้แจ้งการโอนต่อนายทะเบียนผู้ถือหุ้น เมื่อหุ้นที่แสดงต่อนายทะเบียนยังเป็นชื่อของโจทก์ จึงต้องรับผิดชอบนำเงินปันผลมาคำนวณภาษี
นี่เป็นการชี้ชัดว่า ในทางกฎหมายนั้น ราชการต้องยึดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่แสดงต่อนายทะเบียน ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 8 มกราคมที่ธนาธรเอาหนังสือการโอนมาแสดง จนถึงวันที่ 21 มีนาคมที่แจ้งต่อนายทะเบียนแม้ว่าจะอ้างว่าโอนมาก่อนเดือนมกราคมแล้ว ในทางกฎหมายหุ้นจึงยังเป็นภาระของนายธนาธรใช่หรือไม่
แค่เรื่องที่อ้างว่าโอนหุ้นกันก่อนแต่เพิ่งมาแจ้งก็ว่ายากแล้ว กลับมีข่าวใหม่จากอิศราว่า รายงานการประชุมหุ้นของบริษัทเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ธนาธรและภรรยายังร่วมประชุมอยู่เลย
เรื่องนี้มีผู้ไปร้องไว้ต่อ กกต.แล้ว สุดท้ายต้องดูว่าจะลงเอยอย่างไร หรือกลายเป็น“ปลาตายน้ำตื้น”
ที่มา : https://mgronline.com/daily/detail/9620000030862
..." หรือพ่อของฟ้าจะตายน้ำตื้น? "...
จากกรณีที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และนางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ เพิ่งจะโอนหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ประกอบธุรกิจสื่อนิตยสารที่ถือครองรวมกัน 900,000 หุ้น มูลค่า 9 ล้านบาทไปให้นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ มารดาทั้งหมด
ก่อนหน้านี้ วันที่ 30 เม.ย. 2561 นายธนาธรถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด จำนวน 675,000 หุ้น (15%) นางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ ถือ 225,000 หุ้น (5%) วันที่ 21 มี.ค. 2562 ได้โอนหุ้น 900,000 หุ้นไปให้นางสมพรดังข้างต้น
ธนาธรพูดเรื่องนี้ในเย็นที่ออกมาขอบคุณผลการเลือกตั้งแล้วถูกสื่อมวลชนตั้งคำถามว่า ไม่มีปัญหา เพราะเขามีหลักฐานว่ามีการโอนหุ้นไปก่อนหน้าแล้ว และยอมรับว่า เพิ่งจะแจ้งต่อนายทะเบียนจริงหลังจากที่รับสมัครไปแล้ว และนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคและนักกฎหมายชื่อดังที่ยืนเคียงข้างสำทับว่า เรื่องนี้ไม่มีปัญหาอะไรแน่นอน เพราะเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาอยู่แล้ว
ทั้งนี้รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 98 บัญญัติว่า “บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (3) เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ”
นอกจากนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 42 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (3) เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ
ถ้าการกระทำของธนาธรเป็นความผิดจะต้องระวางโทษจําคุกหนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น มีกําหนดยี่สิบปี
ถ้าเราไปดูประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 อันว่าหุ้นนั้นย่อมโอนกันได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่เมื่อเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้น ซึ่งมีข้อบังคับของบริษัทกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นนั้น ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้นๆ ด้วยแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะ อนึ่ง ตราสารอันนั้นต้องแถลงเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันนั้นด้วย
การโอนเช่นนี้จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น
อ่านวรรคสามของมาตรา 1129 ให้ดีนะครับ
แต่คุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ระบุว่า ในฐานะที่ท่านเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและเคยเป็นเลขาธิการ กกต.ประเด็นที่ ป.พ.พ.บัญญัติไว้ว่า “การโอนเช่นนี้จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น”
ข้อความตรงนี้ หมายความว่า เจ้าหน้าที่บริษัทดังกล่าว จะต้องนำเอาการโอนหุ้นของคุณธนาธรดังกล่าว ไปจดแจ้งลงไปในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเสียก่อน จึงจะใช้อ้างแก่บริษัทและบุคคลภายนอกได้ ในแต่ละปี ถ้ามีใครโอนหุ้นให้ใคร เจ้าหน้าที่ก็จะต้องรีบนำไปจดแจ้งลงในสมุดเล่มนี้ ภายในเวลาที่กำหนด (สมัยนี้อยู่ในคอม) แต่บริษัทยังไม่ต้องไปแจ้งการโอนดังกล่าวแก่นายทะเบียนที่กระทรวงพาณิชย์ครับ
เพราะถ้าต้องแจ้งกระทรวงทุกครั้งที่มีการโอนหุ้น บริษัทใหญ่ๆ เช่น แบงก์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทำไม่ได้เลย ในแต่ละวัน จะมีคนโอนหุ้นกันนับร้อย นับพัน ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์จึงไม่บังคับให้บริษัทต้องแจ้งการโอนหุ้นแต่ละรายการ ขอให้จดแจ้งในสมุดเล่มหนาที่เก็บรักษาอยู่ที่บริษัท ก็พอแล้ว
ผมไม่มีความรู้เรื่องนี้มากนัก แต่เมื่ออ่านตามตัวบท ผมคิดว่า การเอาข้อผ่อนผันในตลาดหลักทรัพย์ฯ มาอ้างกับเรื่องนี้นั้นน่าจะเป็นคนละส่วนกัน เพราะกรณีนี้ไม่ได้มีข้อจำกัดแบบการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
มีคำถามว่า หน่วยงานราชการจะยึดถือการโอนหุ้นที่อ้างกันว่าทำมาก่อนแล้ว โดยที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าทำกันเมื่อไหร่ในวันที่อ้างจริงไหมนั้นได้อย่างไร และตามตัวบทการโอนหุ้นต่อกันเป็นเพียงต้องการบอกว่าเป็นการผูกผันระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนเท่านั้น แต่ไม่ผูกพันกับบุคคลภายนอกในทางนิติสัมพันธ์
วันนั้นปิยบุตร อ้างว่ามีคำพิพากษาฎีกาอยู่แล้ว ไม่ทราบว่า เป็นคำพิพากษาฎีกาที่ 2531/2538 นี้หรือไม่
ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสาม บัญญัติถึงการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้น ที่ยังไม่ได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นว่าจะนำมาใช้ยันต่อบริษัทไม่ได้นั้น หมายถึงกรณีที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเอง โดยบริษัทมิได้รู้เห็นด้วย กฎหมายจึงบัญญัติให้ถือตามที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้น แต่กรณีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะที่มีการโอนขายหุ้นนั้น กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย เป็นผู้รับโอน แม้จะรับโอนไว้ในฐานะส่วนตัว แต่ก็ต้องถือว่าบริษัทจำเลยร่วมรู้เห็น และยินยอมให้มีการโอนหุ้นแล้ว บริษัทจำเลยหรือผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างชำระโดยอ้างเหตุว่า การโอนหุ้นไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. 1129 วรรคสามไม่ได้
ถ้าเป็นฎีกานี้ ศาลก็ชี้ว่า เมื่อกรรมการเป็นผู้รับโอนเท่ากับบริษัทรู้เห็นการโอนหุ้นแล้วก็เป็นไปตามวรรค 1 และ2 ไม่เข้ากับวรรคสามเท่านั้นเอง
แต่ผมมีฎีกาอีกที่น่าสนใจ คือ คำพิพากษาฎีกาที่ 5873/2546 (การโอนหุ้นจะใช้ยันบุคคลภายนอกได้)
การโอนหุ้นจะใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนชื่อและสำนักของผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม เมื่อโจทก์รับว่าการโอนหุ้นให้แก่ ม. มิได้จดแจ้งการโอนต่อนายทะเบียนผู้ถือหุ้นของ ป. ในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงยังคงปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุว่ามีการโอนหุ้นไปแล้วยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์ต้องนำเงินปันผลจากหุ้นของ ป. มาคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ยังไม่เจอคำพิพากษาฉบับเต็ม แต่เข้าใจว่า โจทก์ฟ้องกรมสรรพากรที่เรียกเก็บภาษี แล้วอ้างว่า มีการโอนหุ้นไปก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ศาลระบุว่า โจทก์มิได้แจ้งการโอนต่อนายทะเบียนผู้ถือหุ้น เมื่อหุ้นที่แสดงต่อนายทะเบียนยังเป็นชื่อของโจทก์ จึงต้องรับผิดชอบนำเงินปันผลมาคำนวณภาษี
นี่เป็นการชี้ชัดว่า ในทางกฎหมายนั้น ราชการต้องยึดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่แสดงต่อนายทะเบียน ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 8 มกราคมที่ธนาธรเอาหนังสือการโอนมาแสดง จนถึงวันที่ 21 มีนาคมที่แจ้งต่อนายทะเบียนแม้ว่าจะอ้างว่าโอนมาก่อนเดือนมกราคมแล้ว ในทางกฎหมายหุ้นจึงยังเป็นภาระของนายธนาธรใช่หรือไม่
แค่เรื่องที่อ้างว่าโอนหุ้นกันก่อนแต่เพิ่งมาแจ้งก็ว่ายากแล้ว กลับมีข่าวใหม่จากอิศราว่า รายงานการประชุมหุ้นของบริษัทเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ธนาธรและภรรยายังร่วมประชุมอยู่เลย
เรื่องนี้มีผู้ไปร้องไว้ต่อ กกต.แล้ว สุดท้ายต้องดูว่าจะลงเอยอย่างไร หรือกลายเป็น“ปลาตายน้ำตื้น”
ที่มา : https://mgronline.com/daily/detail/9620000030862