มาฟังคำบรรยายของ ผศ.ดร.สาพิศ เรื่องการประเมินค่าทรัพย์สิน เพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ในด้านนี้
ผศ.ดร.สาพิศ ดิลกสัมพันธ์ หัวหน้าภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรรมการมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ได้บรรยายในการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้บังคับหลักประกัน หัวข้อเรื่อง “ต้นไม้มีมูลค่า ประเมินราคาอย่างไร” ในวันที่ 26 มีนาคม 2562 ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ได้เข้าร่วมอบรมด้วย
สถานการณ์ขณะนี้มีการปลูกไม้เศรษฐกิจ 25 ล้านไร่ แต่ส่วนใหญ่ 21 ล้านไร่เป็นสวนยางพารา และอีก 4.1 ล้านไร่เป็นไม้เศรษฐกิจอื่น โดย 3 ล้านไร่เป็นยูคาลิปตัส โดยมีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 80% ของการส่งออกไม้ทั้งหมด การนี้แสดงว่าไม้เศรษฐกิจอื่นมีน้อยมาก ที่ผ่านมา กฎหมายเป็นประเด็นสำคัญหรือเป็นอุปสรรคในการปลูกป่า นอกจากนี้ที่ผ่านมายังขาดแรงจูงใจในการปลูกเพราะได้ผลตอบแทนช้า เช่น ไม้สัก 30 ปี เป็นต้น
ประเด็นทางด้านกฎหมาย/ระเบียบ ที่ควรดำเนินการเพื่อสนับสนุนการปลูกป่า เช่น
1. แก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ อันได้แก่ พ.ร.บ. สวนป่า พ.ศ.2558 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 รวมทั้ง พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์
2. เสนอให้มีการตรา “พระราชบัญญัติส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจนอกพื้นที่ป่า”
3. ควรให้มีการพัฒนากฎหมายป่าไม้โดยแยกออกเป็น 2 กลุ่มที่ชัดเจน คือ กฎหมายบริหารจัดการป่าไม้สาธารณะ (public forest act) เพื่อควบคุมดูแลเรื่องการอนุรักษ์และกฎหมายบริหารจัดการป่าไม้เอกชนเพื่อเศรษฐกิจ (private forest act)
4. ควรมีการทบทวนโครงสร้างองค์กรภาครัฐที่มีภารกิจการส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจให้มีความ คล่องตัว
ประเด็นทางด้านการเงิน/การสร้างแรงจูงใจในการปลูกป่ามีหลายประการเช่นกัน ได้แก่
1. ให้มีเครื่องมือทางการเงินที่รองรับการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจ เช่น การตั้งกองทุนปลูกไม้เศรษฐกิจ ระบบธนาคารต้นไม้ การใช้มาตรการลดหย่อนภาษี การกู้เงินปลอดดอกเบี้ย คาร์บอนเครดิต และ PES
2. นำระบบความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) มาใช้ใน กระบวนการสรงเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน
3. ควรให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ให้การสนับสนุนการลงทุนที่ เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจสวนป่าในหมวดเกษตรกรรมและผลิตผล “ต้นไม้” มีมูลค่า
พรรณไม้ที่มีศักยภาพสำหรับปลูกเป็นไม้เศรษฐกิจ โครงการส่งเสริมปลูกต้นไม้เพื่อเป็นทุนระยะยาว
1. ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตเร็ว รอบตัดฟันสั้น มูลค่าส่งของเนื้อไม้ต่ำ
2. ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้ค่อนข้างสูง
3. ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูง
4. ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตช้า รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูงมาก
ศักยภาพของพื้นที่ๆ แตกต่างกัน ได้แก่พื้นที่เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง และเหมาะสมน้อย จะมีผลต่อความสูง (เมตรต่อปี) เส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก (เซนติเมตรต่อปี) และมวลชีวภาพเหนือดิน (ตันต่อไร่ต่อปี) ในปัจจุบันมีราคากลางเฉพาะไม้สัก แต่ต้นไม้อื่น ยังไม่มีราคากลาง อย่างไรก็ตาม เราพึงสืบค้นที่มาของพื้นที่ปลูกด้วยซึ่งจะทำให้คำนวณราคาได้ใกล้เคียงความเป็นจริงยิ่งขึ้น
ดร.โสภณ ได้ยกตัวอย่างไม้ที่แพงด้วยกระแส เช่น พะยูง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dalbergia cochinchinensis) ซึ่งเป็นต้นไม้เนื้อแข็งที่เนื้อไม้มีลวดลายสวยงามชนิดหนึ่ง จัดเป็นไม้เศรษฐกิจที่มีราคาสูงอย่างหนึ่งและมีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคล มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกคือ ขะยูง, พยุง, แดงจีน และประดู่เสน ทั้งนี้พะยูงเป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15–25 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ ใบเป็นช่อแบบขนนกปลายใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับจำนวน 7–9 ใบ ขนาดกว้าง 3–4 เซนติเมตร ยาว 4–7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ดอก ขนาดเล็กสีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบ และตามปลายกิ่ง ผล เป็นฝักรูปขอบขนานแบนบางขนาดกว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 4–6 เซนติเมตร มีเมล็ด 1–4 เมล็ด (https://bit.ly/2Wnz9PU)
ไม้อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ชิงชัน เป็นชื่อของไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ประเภทไม้ผลัดใบที่อยู่ในวงศ์ Leguminosae ชนิดหนึ่ง (อยู่ในวงศ์เดียวกับประดู่) ต้นไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยเมล็ดและก็สามารถแพร่กระจายพันธุ์ตามป่าดิบแล้งตลอดจนถึงป่าเบญจพรรณทั่วไปยกเว้นเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้นที่ไม่สามารถแพร่กระจายพันธุ์ได้เป็นไม้กลางแจ้งที่สามารถขึ้นได้ดีในดินทุกประเภทและต้องการน้ำเพียงปานกลาง เนื่องจากไม้ชิงชันนั้นมีลักษณะที่แข็งและเหนียวรวมถึงมีลักษณะที่ดูสวยงามมากดังนั้นจึงนิยมนำมาทำเป็น เครื่องเรือน เครื่องดนตรีต่าง ๆ ฯลฯ นอกจากประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมพื้นบ้านแล้วต้นไม้ชิงชันยังให้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร (https://bit.ly/2FAvFnG)
แนวคิดในการประเมินมูลค่าต้นไม้ ขึ้นอยู่กับ
1. ชนิด เช่น พะยูงย่อมแพงกว่าสัก เป็นต้น
2. ขนาด เช่น สักตอนแรกปลูกอาจมีการปลูกไร่ละ 100 ต้น แต่เมื่อโตควรตัดลงครึ่งหนึ่ง และสุดท้ายมีเพียงไร่ละ 25 ต้น ซึ่งจะทำให้ขนาดค้นเหมาะสม อย่างกรณีไม้สัก พิจารณาจากความยาวท่อนและเส้นรอบวง
3. คุณภาพ โดยเฉพาะต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง-ช้า รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูง (มาก) ในกรณีไม้สัก ถ้าแก่นมีขนาด 80% จะมีราคาแพงสุด ถ้าแก่นมีสัดส่วนน้อย มูลค่าก็จะมีน้อย หรือมีรูตรงกลาง หรือมีตำหนิหรือไม่ หรือไม้โตเร็วเกินไป ความหนาแน่นของเนื้อไม้ก็ต่ำ เป็นต้น
4. ความนิยมตามยุคสมัย ซึ่งอาจทำให้ราคาแตกต่างกันไปได้
ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการประเมินมูลค่าต้นไม้ มีหลายประการ เช่น
1. ความเสี่ยงประการหนึ่งที่ต้นไม้อาจตายได้ เช่น โรค ไฟไหม้ หรืออื่นๆ เราจึงควรพิจารณาการลดความเสี่ยงด้วยการซื้อประกันในกรณีที่อาจสูญเสียไม้ไปได้
2. ส่วนในกรณีไม้ประดับ ไม้ล้อมอาจแตกต่างกัน เนื่องจากไม่ได้พิจารณาจากเนื้อไม้ที่จะใช้หลังการตัดฟัน
3. พันธุกรรมโดยการปรับปรุงพันธุ์ที่ดีด้วยการ Clone เป็นต้น
4. การจัดการ หรือวิธีปฏิบัติทางวนวัฒน เช่น การใส่ปุ๋ย
อนึ่งบทสรุปนี้เพียงเขียนมาจากการฟังบรรยาย และเป็นรายงานเฉพาะหน้าเท่านั้น คงต้องนำเสนอท่าน ผศ.ดร.สาพิศ ได้ช่วยทบทวนอีกครั้งหนึ่ง
ที่มา : https://bit.ly/2UVMvCP
ไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ผศ.ดร.สาพิศ ดิลกสัมพันธ์ หัวหน้าภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรรมการมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ได้บรรยายในการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้บังคับหลักประกัน หัวข้อเรื่อง “ต้นไม้มีมูลค่า ประเมินราคาอย่างไร” ในวันที่ 26 มีนาคม 2562 ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ได้เข้าร่วมอบรมด้วย
สถานการณ์ขณะนี้มีการปลูกไม้เศรษฐกิจ 25 ล้านไร่ แต่ส่วนใหญ่ 21 ล้านไร่เป็นสวนยางพารา และอีก 4.1 ล้านไร่เป็นไม้เศรษฐกิจอื่น โดย 3 ล้านไร่เป็นยูคาลิปตัส โดยมีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 80% ของการส่งออกไม้ทั้งหมด การนี้แสดงว่าไม้เศรษฐกิจอื่นมีน้อยมาก ที่ผ่านมา กฎหมายเป็นประเด็นสำคัญหรือเป็นอุปสรรคในการปลูกป่า นอกจากนี้ที่ผ่านมายังขาดแรงจูงใจในการปลูกเพราะได้ผลตอบแทนช้า เช่น ไม้สัก 30 ปี เป็นต้น
ประเด็นทางด้านกฎหมาย/ระเบียบ ที่ควรดำเนินการเพื่อสนับสนุนการปลูกป่า เช่น
1. แก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ อันได้แก่ พ.ร.บ. สวนป่า พ.ศ.2558 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 รวมทั้ง พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์
2. เสนอให้มีการตรา “พระราชบัญญัติส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจนอกพื้นที่ป่า”
3. ควรให้มีการพัฒนากฎหมายป่าไม้โดยแยกออกเป็น 2 กลุ่มที่ชัดเจน คือ กฎหมายบริหารจัดการป่าไม้สาธารณะ (public forest act) เพื่อควบคุมดูแลเรื่องการอนุรักษ์และกฎหมายบริหารจัดการป่าไม้เอกชนเพื่อเศรษฐกิจ (private forest act)
4. ควรมีการทบทวนโครงสร้างองค์กรภาครัฐที่มีภารกิจการส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจให้มีความ คล่องตัว
ประเด็นทางด้านการเงิน/การสร้างแรงจูงใจในการปลูกป่ามีหลายประการเช่นกัน ได้แก่
1. ให้มีเครื่องมือทางการเงินที่รองรับการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจ เช่น การตั้งกองทุนปลูกไม้เศรษฐกิจ ระบบธนาคารต้นไม้ การใช้มาตรการลดหย่อนภาษี การกู้เงินปลอดดอกเบี้ย คาร์บอนเครดิต และ PES
2. นำระบบความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) มาใช้ใน กระบวนการสรงเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน
3. ควรให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ให้การสนับสนุนการลงทุนที่ เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจสวนป่าในหมวดเกษตรกรรมและผลิตผล “ต้นไม้” มีมูลค่า
พรรณไม้ที่มีศักยภาพสำหรับปลูกเป็นไม้เศรษฐกิจ โครงการส่งเสริมปลูกต้นไม้เพื่อเป็นทุนระยะยาว
1. ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตเร็ว รอบตัดฟันสั้น มูลค่าส่งของเนื้อไม้ต่ำ
2. ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้ค่อนข้างสูง
3. ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูง
4. ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตช้า รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูงมาก
ศักยภาพของพื้นที่ๆ แตกต่างกัน ได้แก่พื้นที่เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง และเหมาะสมน้อย จะมีผลต่อความสูง (เมตรต่อปี) เส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก (เซนติเมตรต่อปี) และมวลชีวภาพเหนือดิน (ตันต่อไร่ต่อปี) ในปัจจุบันมีราคากลางเฉพาะไม้สัก แต่ต้นไม้อื่น ยังไม่มีราคากลาง อย่างไรก็ตาม เราพึงสืบค้นที่มาของพื้นที่ปลูกด้วยซึ่งจะทำให้คำนวณราคาได้ใกล้เคียงความเป็นจริงยิ่งขึ้น
ดร.โสภณ ได้ยกตัวอย่างไม้ที่แพงด้วยกระแส เช่น พะยูง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dalbergia cochinchinensis) ซึ่งเป็นต้นไม้เนื้อแข็งที่เนื้อไม้มีลวดลายสวยงามชนิดหนึ่ง จัดเป็นไม้เศรษฐกิจที่มีราคาสูงอย่างหนึ่งและมีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคล มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกคือ ขะยูง, พยุง, แดงจีน และประดู่เสน ทั้งนี้พะยูงเป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15–25 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ ใบเป็นช่อแบบขนนกปลายใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับจำนวน 7–9 ใบ ขนาดกว้าง 3–4 เซนติเมตร ยาว 4–7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ดอก ขนาดเล็กสีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบ และตามปลายกิ่ง ผล เป็นฝักรูปขอบขนานแบนบางขนาดกว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 4–6 เซนติเมตร มีเมล็ด 1–4 เมล็ด (https://bit.ly/2Wnz9PU)
ไม้อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ชิงชัน เป็นชื่อของไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ประเภทไม้ผลัดใบที่อยู่ในวงศ์ Leguminosae ชนิดหนึ่ง (อยู่ในวงศ์เดียวกับประดู่) ต้นไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยเมล็ดและก็สามารถแพร่กระจายพันธุ์ตามป่าดิบแล้งตลอดจนถึงป่าเบญจพรรณทั่วไปยกเว้นเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้นที่ไม่สามารถแพร่กระจายพันธุ์ได้เป็นไม้กลางแจ้งที่สามารถขึ้นได้ดีในดินทุกประเภทและต้องการน้ำเพียงปานกลาง เนื่องจากไม้ชิงชันนั้นมีลักษณะที่แข็งและเหนียวรวมถึงมีลักษณะที่ดูสวยงามมากดังนั้นจึงนิยมนำมาทำเป็น เครื่องเรือน เครื่องดนตรีต่าง ๆ ฯลฯ นอกจากประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมพื้นบ้านแล้วต้นไม้ชิงชันยังให้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร (https://bit.ly/2FAvFnG)
แนวคิดในการประเมินมูลค่าต้นไม้ ขึ้นอยู่กับ
1. ชนิด เช่น พะยูงย่อมแพงกว่าสัก เป็นต้น
2. ขนาด เช่น สักตอนแรกปลูกอาจมีการปลูกไร่ละ 100 ต้น แต่เมื่อโตควรตัดลงครึ่งหนึ่ง และสุดท้ายมีเพียงไร่ละ 25 ต้น ซึ่งจะทำให้ขนาดค้นเหมาะสม อย่างกรณีไม้สัก พิจารณาจากความยาวท่อนและเส้นรอบวง
3. คุณภาพ โดยเฉพาะต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง-ช้า รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูง (มาก) ในกรณีไม้สัก ถ้าแก่นมีขนาด 80% จะมีราคาแพงสุด ถ้าแก่นมีสัดส่วนน้อย มูลค่าก็จะมีน้อย หรือมีรูตรงกลาง หรือมีตำหนิหรือไม่ หรือไม้โตเร็วเกินไป ความหนาแน่นของเนื้อไม้ก็ต่ำ เป็นต้น
4. ความนิยมตามยุคสมัย ซึ่งอาจทำให้ราคาแตกต่างกันไปได้
ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการประเมินมูลค่าต้นไม้ มีหลายประการ เช่น
1. ความเสี่ยงประการหนึ่งที่ต้นไม้อาจตายได้ เช่น โรค ไฟไหม้ หรืออื่นๆ เราจึงควรพิจารณาการลดความเสี่ยงด้วยการซื้อประกันในกรณีที่อาจสูญเสียไม้ไปได้
2. ส่วนในกรณีไม้ประดับ ไม้ล้อมอาจแตกต่างกัน เนื่องจากไม่ได้พิจารณาจากเนื้อไม้ที่จะใช้หลังการตัดฟัน
3. พันธุกรรมโดยการปรับปรุงพันธุ์ที่ดีด้วยการ Clone เป็นต้น
4. การจัดการ หรือวิธีปฏิบัติทางวนวัฒน เช่น การใส่ปุ๋ย
อนึ่งบทสรุปนี้เพียงเขียนมาจากการฟังบรรยาย และเป็นรายงานเฉพาะหน้าเท่านั้น คงต้องนำเสนอท่าน ผศ.ดร.สาพิศ ได้ช่วยทบทวนอีกครั้งหนึ่ง
ที่มา : https://bit.ly/2UVMvCP