เผยแผนเส้นทาง GMM บทพิสูจน์หนึ่งเดียวที่ยืนหยัดในธุรกิจบันเทิงไทย



GMM Grammy โชว์บทพิสูจน์เส้นทางธุรกิจบันเทิงยุค Digital Disruption พร้อมเปิด 4 กลยุทธ์หลักนำพา Grammy สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมโชว์ความเติบโตที่ก้าวข้ามผ่านตลาดโลก มั่นใจนอกจากจะไม่ถูก Disrupt ธุรกิจ แต่เทคโนโลยี Digital จะช่วยส่งเสริมธุรกิจของของ Grammy ให้พัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมดันธุรกิจโชว์และงานอีเว้นท์ให้เติบโตเทียบเท่าธุรกิจด้านเทคโนโลยี

จากอดีตถึงปัจจุบันต้องยอมรับว่า GMM Grammy เป็นธุรกิจบันเทิงที่ยังคงยืนหยัดตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน ทั้งที่อยู่ในยุคของ Disruption ที่สำคัญ GMM Grammy ผ่านยุค Technology Disruption มาอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ Tape Cassette จนมาถึงยุค Streaming ในขณะที่ค่ายเพลงอื่นๆ ในประเทศไทยเริ่มล้มหายตายจาก หรือมีขนาดเล็กลง

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ GMM Grammy ยังคงยืนหยัดได้ในยุคปัจจุบัน คือการเข้าใจตลาดและเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค Digital รวมไปถึงการปรับปรุงกลยุทธ์และแผนการตลาดเพื่อให้สอดรับกับสภาพของตลาดในช่วงเวลานั้นๆ นั่นจึงทำให้ชื่อของ GMM Grammy ยังคงยืนหยัดและแข็งแรงอยู่ในธุรกิจบันเทิงของไทย และอาจจะรวมไปถึงความเป็นค่ายเพลงในระดับสากล โดยในปีที่ผ่านมา GMM Music มีการเติบโตเฉลี่ย 22% โตกว่าตลาดเพลงโลกที่เติบโตเพียง 8.1%
 
Video Content เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่
ภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ชี้ว่า ในปีที่ผ่านมา GMM Music เติบโต 22% คิดเป็นรายได้ 3,738 ล้านบาทมากกว่าปี 2560 ที่มีรายได้เพียง 3,061 ล้านบาท เป็นผลมาจากการเติบโตของธุรกิจ Digital โดยเฉพาะในกลุ่ม VDO Content ผ่านช่องทาง YouTube เป็นหลัก

ส่งผลให้ GMM Music ครองอันดับ 1 ของมิวสิคแชนแนลด้วยยอดวิวกว่า 15,000 ล้านวิวเติบโตเฉลี่ย 29% และมีผู้ติดตามมากกว่า 53 ล้าน Subscribers เติบโตขึ้น 20 ล้าน Subscribers หรือเติบโตเฉลี่ย 88% ขณะที่ยอด Watch Time ใน YouTube เติบโตขึ้น 65,000 ล้านนาที คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย 37%

ขณะที่ธุรกิจ Showbiz ก็เติบโตสูงถึง 113% ด้านธุรกิจลิขสิทธิ์เติบโตเพียง 19% ส่วนธุรกิจบริหารศิลปินและงานจ้างเติบโตขึ้น 10% โดยสัดส่วนรายใหญ่ของ GMM Music เกิดขึ้นจาก 3 ธุรกิจใหญ่ ทั้งธุรกิจงานจ้างและสปอนเซอร์ชิปมีสัดส่วนรายได้ 40% ส่วนธุรกิจ Digital มัสัดส่วนรายได้อยู่ที่ 25% และธุรกิจ Showbiz มีสัดส่วนรายได้อยู่ที่ 15%
 
ศิลปินยังอยู่คู่งานโชว์
ในด้านธุรกิจเพลงนั้น คุณภาวิตเห็นว่าเป็นธุรกิจที่ไม่แตกต่างไปจากธุรกิจอื่นๆ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ถูกเทคโนโลยี Disrupt มาตลอด ดังนั้น GMM Music จึงต้องมีการวางแผนกลยุทธ์เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจเพลง โดยแบ่งกลยุทธ์ในการทำการตลาด 4 ด้านด้วยกัน โดยหัวใจสำคัญของของกลยุทธ์ในธุรกิจเพลงคือ การสร้างเพลงฮิตและศิลปินที่มีชื่อเสียง เนื่องจากเพลงยังถือเป็นสินค้าหลักของธุรกิจเพลง

นอกจากนี้ศิลปินที่มีเพลงฮิตจำนวนมากจะช่วยให้มูลค่าของยตัวศิลปินมีมากขึ้นและมีมูลค่าอย่างยั่งยืนและยาวนาน ยกตัวอย่างเช่น เจ เจตริน, คริสติน่า อากีล่าร์, ไมโคร เป็นต้น ซึ่งเป้นศิลปินที่มีเพลงฮิตและจำนวนมาก และสามารถสร้างรายได้ทุกครั้งที่มีการแสดงคอนเสิร์ต นอกจากนี้ Original Content ก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญ

โดย GMM Music ที่มีพันธมิตรหลาย Platform อย่าง Joox, Spotify, LINE TV, Netflix และ AIS Play เตรียมสร้าง Original Content เพื่อรองรับในแต่ละ Platform ที่แตกต่างกัน และการสร้าง Original Content เหล่านั้นสามารถร่วมมือกับพันธมิตร รวมไปถึงศิลปินทั้งในและนอกค่าย Grammy อีกด้วย
แน่นอนว่าเมื่อมีศิลปินและคอนเท้นต์ที่ดี การจัดการแสดงคือลำดับขั้นต่อไป นั่นจึงเป็นการเตรียมกลยุทธ์ด้าน Showbiz ซึ่งปัจจุบัน GMM Music มีการจัด Festival ด้านดนตรีตลอดทั้งปี 3 งานเท่านั้นประกอบไปด้วย Big Mountain, นั่งเล่น (สำหรับงานดนตรีแนว Indy) และ What the Fest โดย GMM Music มีแผนที่จะเพิ่มปริมาณงาน Music Festival
 
ลิขสิทธิ์และช่องทางออนไลน์
และเมื่อมีศิลปิน มีช่องทางนำเสนอและมีงานจัดแสดง การบริการจัดการด้านลิขสิทธิ์ (Right Management) จึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ ในการสร้างรายได้ให้เกิดย้อนกลับมาสู่ผู้ที่ทำงานอยู่เบื้องหลังกระบวนการผลิตเพลง รวมไปถึงการร่วมมือกับพันธมิตรอย่าง Facebook ในการเปิดให้ใช้เพลงในอย่างถูกต้องในช่องทาง Social Media

นอกจากนี้การพัฒนา Online Content เต็มตัว เป็นกลยุทธ์เพื่อขยายฐานลูกค้า โดยมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการค้นหาความสนใจของผู้บริโภคในการต้องการรับชมคอนเท้นต์อย่างไร เพื่อตอบโจทย์ Online Consumer ได้มากขึ้น โดยการนำจุดแข็งคือการเป็น Music Aggregator ที่แข็งแกร่งที่สุดในประเทศไทย รวมถึงการเปิด Unit ใหม่ “ซน” Online Creator Hub ที่มีจุดยืนในตลาดชัดเจนว่าเป็น Hub ของคนรุ่นใหม่ ที่คิดและสร้างสรรค์ออนไลน์คอนเทนต์ของศิลปินครบทุก Segment ทั้งในและนอกค่าย
 
เพลงกับการ Disruption
สำหรับภาพรวมธุรกิจเพลง คุณภาวิตเล่าว่า ธุรกิจเพลงถูกเทคโนโลยี Disrupt มาตั้งแต่อดีต ดังนั้นในยุคที่หลายคนตื่นตัวเรื่อง Disruption ทาง GMM Grammy ไม่ได้ตื่นตระหนกหรือหวั่นเกรง เพราะนับตั้งแต่ Tape Cassette ก็ถูกเทคโนโลยี CD เข้ามา Disrupt ซึ่งมีการปรับตัวให้เข้าสู่ยุคของ CD แต่อีกไม่นานเทคโนโลยีก็ Disrypt อีกครั้ง

โดยครั้งนี้มาในรูปแบบ MP3 ซึ่ง GMM Grammy ก็ปรับตัวทั้งรวมอัลบั้ม หรือการรวมซิงเกิ้งเพลง แต่ก็ถูก Disrupt ด้วยเทคโนโลยีการ Download แน่นอนว่า GMM Grammy ก็ร่วมมือกับพันธมิตรในการเปิดให้ดาวน์โหลดเพลงได้ แต่แล้วเทคโนโลยี Streaming ก็เข้ามา Disrupt ธุรกิจอีกครั้ง ซึ่งนั่นทำให้ GMM Grammy ต้องปรับตัวอีกครั้ง
 
นี่จึงเป็นบทพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่า GMM Grammy
จะสามารถก้าวข้ามผ่านยุค Disrupt ได้อย่างแข็งแรง

ที่มา https://www.marketingoops.com/news/brand-move/gmm-business/


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่