โพสท์โดย น้องเถิก 23/3/2562
#การประหารในยุโรป
การตัดคอด้วยกิโยตินไม่ทรมานใช่หรือไม่? มันก็ไม่แน่เสมอไป บางครั้งตัดคอไปแล้วยังไม่ตายสนิทอีกต่างหาก
มีบันทึกระบุว่า ศีรษะของนักโทษที่ถูกประหารด้วยกิโยตินยังมีปฏิกิริยาหลังจากถูกบั่นคอไปแล้ว กรณีที่โด่งดังที่สุดคือ ชาร์ล็อตต์ กอร์เดย์ (Charlotte Corday) มือสังหารแกนนำทางการเมืองหลังปฏิวัติฝรั่งเศส
กอร์เดย์ ถูกพาตัวไปประหารวันที่ 17 กรกฎาคม 1793 เมื่อคอหลุดจากบ่าแล้ว เพชฌฆาตหยิบศีรษะเธอขึ้นมาจากตะกร้า แล้วนึกยังไงไม่ทราบถึงเงื้อมือตบหน้าของเธอ
แต่กอร์เดย์ตายแต่ตัว หัวยังมีชีวิต! เพราะมีคนเห็นว่าใบหน้าของกอร์เดย์แสดงอาการโกรธขึ้งอย่างรุนแรงทันที่ถูกตบ
ในภายหลังคนที่ตบ ต้องไปนอนในซังเตนานถึง 3 เดือนเพราะหลู่ศักดิ์ศรีนักโทษหญิง
แน่นอนว่า กอร์เดย์ตายไปแล้ว แต่ยังมีปฏิกิริยาจากสมองอยู่ และมีการศึกษาเรื่องนี้โดยนายแพทย์โบริเยอซ์ (Gabriel Beaurieux) ในการประหารนักโทษชื่ออองรี ลองกีลย์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1905 คุณหมอบันทึกไว้ว่า สังเกตเห็นเปลือกตาและริมฝีปากของนักโทษที่ถูกตัดหัวแล้ว ยังมีอาการกระตุกแปลกๆ ราว 5 - 6 วินาที คาดว่าเป็นเพราะนักโทษตื่นตระหนกเมื่อตระหนักว่าหัวตัวเองหลุดแล้ว คุณหมอบันทึกอีกว่า
"ผมรออยู่หลายวินาที อาการกระตุกก็หยุดลง จากนั้นผมก็เรียกชื่อเสียงดังๆ ว่า - ลองกีลย์! - ผมเห็นเปลือกตาของเขาค่อยๆ เปิดออกโดยไม่มีอาการกระตุก ... แล้วนัยตาของเขาก็จับจ้องมาที่ผม สายตาที่จ้องมาไม่ใช่แววตาที่สิ้นเรี่ยวแรงไร้พลังเหมือนแววตาคนตาย แต่เป็นสายตาของคนที่ยังมีชีวิตอยู่อย่างแน่แท้ หลังจากผ่านไปหลายวินาทีเปลือกตาก็ค่อยๆปิดลงอีกครั้ง"
จากนั้น โบริเยอซ์เรียกครั้งที่ 2 ไม่มีปฏิกิริยาอีก โบริเยอซ์เข้าตรวจนัยตา ก็พบว่ากลายเป็นตาที่เลื่อนลอยของคนตายในที่สุด
ส่วนพระเศียรของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่มีโอกาสได้แสดงปฏิกิริยาหลังความตาย เพราะแทนที่คมมีดจะตัดพระศอให้เรียบร้อย กลับไปสับลงที่ท้ายกระหม่อม ผ่านขากรรไกร สวรรคตอย่างน่าสยดสยอง
#ส่วนการประหารในเอเชีย
เครื่องประหารที่ศาลไคฟง เป็นประดิษฐกรรมจากนิยายเปาบุ้นจิ้น เรื่อง "เจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม" สมัยราชวงศ์ชิง ในเรื่องนี้ริเริ่มเครื่องประหารหัวสุนัข หัวพยัคฆ์ และหัวมังกร เข้ามาในฉาก ทำให้คนรู้จักกันทั่วบ้านทั่วเมือง แต่ในประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยฉินจนถึงซ่งไม่มีเครื่องประหารแบบนี้เลย
แต่ที่จีนมีเครื่องประหารแบบหนึ่งเรียกว่า "ตัดเอว" (腰斩) เริ่มใช้สมัยราชวงศ์โจว โดยในสมัยฉินและฮั่นเพียงแต่จับนักโทษนอนบน "เขียง" แล้วเพชฌฆาตใช้ขวานสับลงไปตรงกลางตัวให้ขาด 2 ท่อน ต่อมานักโทษจะนอนคว่ำกับม้านั่งยาว บนม้านั่งมีคมมีดยาวติดไว้เหมือนที่ตัดกระดาษที่ทุกวันนี้ เพียงแต่มีขนาดใหญ่พอที่จะหั่นสันหลังให้ขาดได้เป็น 2 ท่อนได้
บางครั้งไม่ได้ตัดเที่ยวเดียว หั่นฉึบไปแล้วรอบหนึ่ง ยังจับมาหั่นต่ออีก เช่นกรณีของ เกาฉี่ บัณฑิตเอกสมัยหมิง ไปพัวพันกับกรณีขบถ ถูกพระเจ้าหงอู่ จูหยวนจาง สั่งให้หั่น 8 ท่อน
พวกที่ถูกหั่น 2 ท่อนไม่ตายทันที กว่าจะสิ้นใจทุกข์ทรมานแสนสาหัส พวกโดน 8 ท่อนจะน่าสยดสยองสักแค่ไหน จินตนาการกันดูเถิด
การประหารแบบนี้มาเลิกเอาในรัชสมัยยงเจิ้งปีที่ 12 (ค.ศ. 1734) หลังเกิดเหตุประหารบัณฑิตผู้หนึ่งที่เหอหนาน นักโทษถูกสับเป็น 2 ท่อนแล้ว ยังไม่ตายสนิท มีแรงเขียนตัวอักษรคำว่า "อำมหิต" (慘) ที่พื้นได้ 7 ตัวแล้วสิ้นใจอย่างทรมาน
อักษรคำว่า "ฉาน" มีเส้นที่ต้องเขียน 14 เส้น 14 คูณ 7 ได้ 98 เส้น โอโห้ กว่าจะตาย
ยงเจิ้ง ได้ยินแล้วเห็นว่าโหดเหี้ยมนัก จึงทรงสั่งให้เลิก (แต่เพราะพฤติกรรมอื่นๆ คนสมัยนี้กลับคิดว่ายงเจิ้งเป็นคนอำมหิตเสียอย่างนั้น)
ได้ยินมาว่า สมัยสงครามจีน-ญี่ปุ่น พวกกองทัพแมนจูกัว (คนจีนสมุนญี่ปุ่น) ใช้ "จ๋า" ขนาดใหญ่ ตัดหัวทหารอาสาชาวจีนด้วยกันเอง มีภาพถ่ายให้เห็นว่าเป็นจ๋าขนาดใหญ่ เหมือนในซีรีส์เปาบุ้นจิ้น เพียงแต่ไม่ได้ประดับหัวอะไรทั้งสิ้น
เครื่องประหารหัวต่างๆ ในศาลไคฟง น่าจะได้แรงบันดาลใจจากเครื่องตัดเอวนี่เอง และเครื่องตัดเอวได้แรงบันดาลใจมาจากมีดตัดฟางข้าว หรือ จ๋า (鍘) ซึ่งเป็นเครื่องมือในครัวเรือน ขนาดประมาณศอกหนึ่ง
สมัยซ่ง หรือสมัยของท่านเปา โทษประหารสูงสุดจะไม่ใช้วิธีตัดเอวหรือตัดหัวเหมือนในทีวี แต่ใช้วิธีเฉือนพันชิ้น คือจับคนโทษมาตรึงกับเสา แล้วใช้มีดเฉือนชิ้นเนื้อทีละน้อยๆ ให้ค่อยๆ ตาย บางครั้งนานข้ามวันกว่าจะตาย
เครดิต Kornkit Disthan
ขอบคุณที่มา:
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=623112731483867&set=pcb.2319712081599427&type=3&theater&ifg=1
POSTJUNG
การประหารสุดโหดในอดีต
#การประหารในยุโรป
การตัดคอด้วยกิโยตินไม่ทรมานใช่หรือไม่? มันก็ไม่แน่เสมอไป บางครั้งตัดคอไปแล้วยังไม่ตายสนิทอีกต่างหาก
มีบันทึกระบุว่า ศีรษะของนักโทษที่ถูกประหารด้วยกิโยตินยังมีปฏิกิริยาหลังจากถูกบั่นคอไปแล้ว กรณีที่โด่งดังที่สุดคือ ชาร์ล็อตต์ กอร์เดย์ (Charlotte Corday) มือสังหารแกนนำทางการเมืองหลังปฏิวัติฝรั่งเศส
กอร์เดย์ ถูกพาตัวไปประหารวันที่ 17 กรกฎาคม 1793 เมื่อคอหลุดจากบ่าแล้ว เพชฌฆาตหยิบศีรษะเธอขึ้นมาจากตะกร้า แล้วนึกยังไงไม่ทราบถึงเงื้อมือตบหน้าของเธอ
แต่กอร์เดย์ตายแต่ตัว หัวยังมีชีวิต! เพราะมีคนเห็นว่าใบหน้าของกอร์เดย์แสดงอาการโกรธขึ้งอย่างรุนแรงทันที่ถูกตบ
ในภายหลังคนที่ตบ ต้องไปนอนในซังเตนานถึง 3 เดือนเพราะหลู่ศักดิ์ศรีนักโทษหญิง
แน่นอนว่า กอร์เดย์ตายไปแล้ว แต่ยังมีปฏิกิริยาจากสมองอยู่ และมีการศึกษาเรื่องนี้โดยนายแพทย์โบริเยอซ์ (Gabriel Beaurieux) ในการประหารนักโทษชื่ออองรี ลองกีลย์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1905 คุณหมอบันทึกไว้ว่า สังเกตเห็นเปลือกตาและริมฝีปากของนักโทษที่ถูกตัดหัวแล้ว ยังมีอาการกระตุกแปลกๆ ราว 5 - 6 วินาที คาดว่าเป็นเพราะนักโทษตื่นตระหนกเมื่อตระหนักว่าหัวตัวเองหลุดแล้ว คุณหมอบันทึกอีกว่า
"ผมรออยู่หลายวินาที อาการกระตุกก็หยุดลง จากนั้นผมก็เรียกชื่อเสียงดังๆ ว่า - ลองกีลย์! - ผมเห็นเปลือกตาของเขาค่อยๆ เปิดออกโดยไม่มีอาการกระตุก ... แล้วนัยตาของเขาก็จับจ้องมาที่ผม สายตาที่จ้องมาไม่ใช่แววตาที่สิ้นเรี่ยวแรงไร้พลังเหมือนแววตาคนตาย แต่เป็นสายตาของคนที่ยังมีชีวิตอยู่อย่างแน่แท้ หลังจากผ่านไปหลายวินาทีเปลือกตาก็ค่อยๆปิดลงอีกครั้ง"
จากนั้น โบริเยอซ์เรียกครั้งที่ 2 ไม่มีปฏิกิริยาอีก โบริเยอซ์เข้าตรวจนัยตา ก็พบว่ากลายเป็นตาที่เลื่อนลอยของคนตายในที่สุด
ส่วนพระเศียรของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่มีโอกาสได้แสดงปฏิกิริยาหลังความตาย เพราะแทนที่คมมีดจะตัดพระศอให้เรียบร้อย กลับไปสับลงที่ท้ายกระหม่อม ผ่านขากรรไกร สวรรคตอย่างน่าสยดสยอง
#ส่วนการประหารในเอเชีย
เครื่องประหารที่ศาลไคฟง เป็นประดิษฐกรรมจากนิยายเปาบุ้นจิ้น เรื่อง "เจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม" สมัยราชวงศ์ชิง ในเรื่องนี้ริเริ่มเครื่องประหารหัวสุนัข หัวพยัคฆ์ และหัวมังกร เข้ามาในฉาก ทำให้คนรู้จักกันทั่วบ้านทั่วเมือง แต่ในประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยฉินจนถึงซ่งไม่มีเครื่องประหารแบบนี้เลย
แต่ที่จีนมีเครื่องประหารแบบหนึ่งเรียกว่า "ตัดเอว" (腰斩) เริ่มใช้สมัยราชวงศ์โจว โดยในสมัยฉินและฮั่นเพียงแต่จับนักโทษนอนบน "เขียง" แล้วเพชฌฆาตใช้ขวานสับลงไปตรงกลางตัวให้ขาด 2 ท่อน ต่อมานักโทษจะนอนคว่ำกับม้านั่งยาว บนม้านั่งมีคมมีดยาวติดไว้เหมือนที่ตัดกระดาษที่ทุกวันนี้ เพียงแต่มีขนาดใหญ่พอที่จะหั่นสันหลังให้ขาดได้เป็น 2 ท่อนได้
บางครั้งไม่ได้ตัดเที่ยวเดียว หั่นฉึบไปแล้วรอบหนึ่ง ยังจับมาหั่นต่ออีก เช่นกรณีของ เกาฉี่ บัณฑิตเอกสมัยหมิง ไปพัวพันกับกรณีขบถ ถูกพระเจ้าหงอู่ จูหยวนจาง สั่งให้หั่น 8 ท่อน
พวกที่ถูกหั่น 2 ท่อนไม่ตายทันที กว่าจะสิ้นใจทุกข์ทรมานแสนสาหัส พวกโดน 8 ท่อนจะน่าสยดสยองสักแค่ไหน จินตนาการกันดูเถิด
การประหารแบบนี้มาเลิกเอาในรัชสมัยยงเจิ้งปีที่ 12 (ค.ศ. 1734) หลังเกิดเหตุประหารบัณฑิตผู้หนึ่งที่เหอหนาน นักโทษถูกสับเป็น 2 ท่อนแล้ว ยังไม่ตายสนิท มีแรงเขียนตัวอักษรคำว่า "อำมหิต" (慘) ที่พื้นได้ 7 ตัวแล้วสิ้นใจอย่างทรมาน
อักษรคำว่า "ฉาน" มีเส้นที่ต้องเขียน 14 เส้น 14 คูณ 7 ได้ 98 เส้น โอโห้ กว่าจะตาย
ยงเจิ้ง ได้ยินแล้วเห็นว่าโหดเหี้ยมนัก จึงทรงสั่งให้เลิก (แต่เพราะพฤติกรรมอื่นๆ คนสมัยนี้กลับคิดว่ายงเจิ้งเป็นคนอำมหิตเสียอย่างนั้น)
ได้ยินมาว่า สมัยสงครามจีน-ญี่ปุ่น พวกกองทัพแมนจูกัว (คนจีนสมุนญี่ปุ่น) ใช้ "จ๋า" ขนาดใหญ่ ตัดหัวทหารอาสาชาวจีนด้วยกันเอง มีภาพถ่ายให้เห็นว่าเป็นจ๋าขนาดใหญ่ เหมือนในซีรีส์เปาบุ้นจิ้น เพียงแต่ไม่ได้ประดับหัวอะไรทั้งสิ้น
เครื่องประหารหัวต่างๆ ในศาลไคฟง น่าจะได้แรงบันดาลใจจากเครื่องตัดเอวนี่เอง และเครื่องตัดเอวได้แรงบันดาลใจมาจากมีดตัดฟางข้าว หรือ จ๋า (鍘) ซึ่งเป็นเครื่องมือในครัวเรือน ขนาดประมาณศอกหนึ่ง
สมัยซ่ง หรือสมัยของท่านเปา โทษประหารสูงสุดจะไม่ใช้วิธีตัดเอวหรือตัดหัวเหมือนในทีวี แต่ใช้วิธีเฉือนพันชิ้น คือจับคนโทษมาตรึงกับเสา แล้วใช้มีดเฉือนชิ้นเนื้อทีละน้อยๆ ให้ค่อยๆ ตาย บางครั้งนานข้ามวันกว่าจะตาย
เครดิต Kornkit Disthan
ขอบคุณที่มา: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=623112731483867&set=pcb.2319712081599427&type=3&theater&ifg=1
POSTJUNG