เมื่อวันสำคัญที่สุดในชีวิตอย่าง 'วันแต่งงาน' ใกล้เข้ามาถึง เรื่องใหญ่ประการหนึ่งสำหรับผู้หญิงทุกคนคงหนีไม่พ้นเรื่องของ 'ชุดแต่งงาน' เพราะสิ่งนี้คือความฝันของว่าที่เจ้าสาวทุกคนที่อยากเป็นเจ้าสาวในชุดที่สวยที่สุดและเหมาะที่สุดสำหรับตนเองในงานแต่งงานครั้งหนึ่งในชีวิต แต่ก็นั่นล่ะค่ะ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจรายละเอียดอย่างมาก เชื่อว่า..ว่าที่เจ้าสาวหลายคนคงอาจประสบปัญหาการคิดไม่ตกว่า จะใส่ชุดแต่งงานแบบไหน สีอะไร จะตัดหรือเช่าที่ไหน? และเช่นกัน เจ้าของกระทู้ก็เป็นหนึ่งในว่าที่เจ้าสาวที่เคยประสบปัญหาดังกล่าวค่ะ
แต่ในวันนี้ผ่านพ้นวันสำคัญในชีวิตมาแล้ว ผ่านการตัดสินใจและเลือกเฟ้นชุดแต่งงานที่เป็นตัวเองในแบบที่ตัวเราเองชอบและแฟนพอใจจึงอยากจะมาแบ่งปันประสบการณ์นี้เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับว่าที่เจ้าสาวทุกท่านค่ะ
หลังจากได้กฤษ์แต่งงานเรียบร้อยแล้วได้มีโอกาสเดินทางไปบ้านว่าที่เจ้าบ่าว ได้เห็นรูปแต่งงานของคุณแม่ เจ้าบ่าว ที่ติดอยู่ผนังบ้าน ก็ได้พูดคุยกับคุณแม่ถึงชุดแต่งงานของคุณแม่และสอบถามรูปแบบการแต่งงานของท่าน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เห็นสีหน้าแม่มั้ยค่ะ...นางไม่ได้ร้องไห้นะคะอย่าเข้าใจผิด...นางกลัวได้เงินผูกแขนน้อยค่ะ555
คุณแม่เล่าว่า "การแต่งงานของแม่จัดขึ้นในแบบเรียบง่าย ยึดหลักประเพณีอีสานที่สร้างความรักและความอบอุ่น ในส่วนของชุดก็ได้ตัดตามรูปแบบของผู้หญิงพื้นบ้านสมัยก่อน" ชุดของแม่ยังมีอยู่และเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี
พอได้ฟังคุณแม่เล่าแล้ว รุ้สึกว่างานแต่งดูอบอุ่นมีความเป็นพื้นบ้าน เราจึงได้เอ่ยปากขอดูชุดแต่งงานของคุณแม่ ซึ่งคุณแม่ก็ตื่นเต้นที่จะได้นำชุดออกมาให้ดูเพราะชุดถูกเก็บไว้ในตู้มานานกว่า 30ปี
คุณแม่ได้นำชุดแต่งงานออกจากตู้มาให้เราดู ความรู้สึกแรกที่ได้เห็นคือ...สัมผัสได้ถึงความรักและความสุขจากชุดของแม่ เราจึงมีความคิดที่อยากจะต่อยอด...โดยการขอชุดแต่งงานของแม่และแน่นอนค่ะคุณแม่เองก็ยินดี
ไหนๆ.....คุณแม่ก็ให้ชุดมาแล้วเราก็ไปให้สุดค่ะ...
... หลังจากที่ได้ฟังคุณแม่เล่าเรื่องพิธีแต่งงานก่อนหน้านี้ ยอมรับเลยว่ารู้สึกถึงความอบอุ่นในใจคิดว่าเราจะต้องจัดงานออกมาแบบที่ท่านจัด (จากที่เชฟรูปแบบการแต่งงานไว้ในโทรศัพท์ หลายร้อยงานตอนนี้ได้ฟอร์แมตเครื่องโทรศัพท์ไปเลยค่ะ
)
เราจึงเริ่มต้นกับการหาข้อมูลรูปแบบชุดการแต่งกายของหญิงพื้นถิ่นสมัยก่อน (เจ้าของกระทู้เป็นคนจังหวัดอุดรธานีโดยกำเนิด) การแต่งกายของหญิงในมณฑลอุดรธานีสมัยก่อน ผู้หญิงจะสวมผ้าถุงยาวถึงข้อเท้า ด้านบนจะสวมเสื้อแขนยาวทรงกระบอกและมีการคลุมผ้าสไบทับ ส่วนเครื่องประดับจะตกแต่งด้วยเครื่องเงิน เจ้าของกระทู้จึงได้นำการแต่งกายของผุ้หญิงพื้นถิ่นอุดรดังกล่าว มาเปรียบเทียบกับเสื้อของคุณแม่ที่ได้มานั้นมีลักษณะ
คล้ายคลึงกัน จึงได้แนวคิดในการทำชุดแต่งงานของตนเอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขอบคุณภาพจาก สำนักศิลปและวัฒนธรรมอุดรธานี ด้วยนะคะ
สิ่งที่อยู่ในหัวตอนนั้นนึกถึง หมู่บ้านนาข่าอุดรธานีเป็นอับดับแรก ซึ่งเป็นแหล่งรวมผ้าทอมือลายมัดหมี่ เพราะสิ่งที่กำลังตามหาคือผ้าที่ใช้ตัดผ้าถุงและผ้าสไบที่จะมาใช้ประกอบกับเสื้อที่คุณแม่ให้มา ส่วนผ้าที่ตามหานั้นจะต้องเป็นผ้าฝ้ายทอมือสีชมพูพาสเทลซึ่งเป็นสีใกล้เคียงกับเสื้อที่คุณแม่ให้มา ผ้าที่ใช้จะใช้ทั้งหมด 2 ผืน การที่จะได้ผ้า 2ผืนในลายผ้าแบบเดียวกันนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลยค่ะ
เพราะผ้าทอมือนั้นแต่ละผืนจะมีลายไม่เหมือนกัน
ปวดหัวมากค่ะ...
....แต่.....ในที่สุดก็ได้ผ้ามาแล้วค่ะ หลังจากเดินรอบหมุ่บ้าน 1 วันเต็ม นับว่าคุ้มค่ากับ 1 วันที่เสียไปจริงๆ ค่ะ เมื่อได้ผ้าแบบที่ต้องการพร้อมสรรพแล้ว ทีนี้ก็มาว่าด้วยเรื่องการตัดเย็บค่ะ
ได้ผ้าแล้วก้ยังไม่จบนะค่ะ...
..เจ้าของกระทู้ต้องกลับไปถามคุณแม่อีกครั้งว่าท่านตัดชุดที่ไหน? แม่บอกว่าชุดของคุณแม่ คุณป้าเป็นคนตัดให้แม่จึงแนะนำให้ไปปรึกษากับคุณป้าดู เผื่อคุณป้าจะได้แนะนำ (เราก็ตกใจที่คนตัดชุดแต่งงานคุณแม่ยังมีชีวิตอยุ่
)
ไม่รอช้าค่ะไปบ้านคุณป้ากัน พอได้พูดคุยกับคุณป้า คุณป้ายังแข็งแรงดีค่ะ แต่ป้าบอกว่าป้าไม่ได้ตัดผ้ามานานแล้ว แต่ป้าจะยอมปัดฝุ่นจักรให้อีกครั้งเพื่องานของหลาน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขอบคุณ คุณป้าปอง ที่สุดเลยค่ะ ที่ทำให้เราได้ชุดที่ใส่แล้วมีความสุขได้ขนาดนี้
Timeless design ในครั้งนี้คือได้รับชุดแต่งงานจากคุณแม่ของเจ้าบ่าวเป็นเสื้อแขนกระบอกสีชมพู เราจึงได้ต่อยอดเพิ่มเติมโดยการนำเสื้อที่คุณเม่ให้มาดีไซน์ใหม่โดยยึดหลักคือ ต้องเป็นชุดแต่งงานแบบอีสานเท่านั้น จึงได้เลือกผ้าฝ้ายทอมือลายมัดหมี่จากหมู่บ้านนาข่ามาผสมผสานกับเสื้อที่มีอยู่ เนื่องจากสีของเสื้อเป้นสีชมพู เหตุผลหลักในการเลือกสีของผ้าฝ้ายจึงต้องเป็นสีชมพูเช่นกัน ซึ่งผ้าฝ้ายที่เราได้มานั้นแบ่งเป็นสองผืน ผืนแรกเรานำมาตัดเป็นผ้าถุง ส่วนอีกผืนนำมาตัดเป็นผ้าสไบ โดยในการออกแบบชุดนั้นเน้นการนำเสนอลวดลายของผ้าทอ (จากฝีมือและภูมิปัญญาของชาวบบ้านนาข่า) ให้ดูโดดเด่นและสง่างาม ทำให้เมื่อสวมใส่แล้วเจ้าของกระทู้ได้ลุคที่ดูสุภาพและกลมกลืนกับตรีมงานของเรา ส่วนเครื่องประดับที่ใช้เราใช้เครื่องประดับโบราณ อภินันทนาการจากช่างแต่งหน้าและทำผม มาดูกันได้เลยว่าชุดที่นำมาต่อยอดจะเป็นอย่างไร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขอบคุณ น้องโด่ง (ช่างทำผมและเจ้าของเครื่องประดับโบราณสวยๆ) น้องนัทที (ช่างแต่งหน้าที่ทำให้ลุคที่เราต้องการออกมาสมบูรณ์มากที่สุด) และขอคุณที่ดูแลอยู่กับเราตั้งแต่งานพรี จนถึงวันจริง ชุดจะออกมาสวยไม่ได้หากขาดผู้เติมแต่ง ยืนหนึ่งจริงๆทีมงานนี้
ปล.ชุดที่นำเสนอเป็นชุดใส่ทำบุญตักบาตรช่วงเช้าค่ะ ส่วนชุดที่ใช้ในพิธีบายศรีสู่ขวัญเดี่ยวจะหาเวลามารีวิวอีกรอบนะคะ
[CR] รีวิวชุดแต่งงานแบบอีสาน "มรดกจากแม่ย่าถึงว่าที่ลูกสะใภ้"
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้