(Disclaimer - เนื้อหากระทู้นี้ตั้งใจจะแบ่งเป็นความรู้กับคนที่กำลังหาหนทางเป็นหลักนะครับ จะได้เป็นประโยชน์กับผู้ที่แวะเวียนมายังพันทิพ ดังเช่นที่ผมเคยทำหลายครั้งในช่วงที่ผ่าน ๆ มาครับ )
ตั้งใจเขียนกระทู้นี้เพราะหวังว่าจะมีประโยชน์กับคนที่กำลังหาทุนเรียนต่อ โดยเฉพาะสายที่อาจจะไม่ได้ทำเงินมากนักและหาทุนยาก โดยเฉพาะสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ครับ
หลังจากผ่านมาเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ผมดั้นด้นจนหาทุนไปเรียน ป.โท จนสำเร็จสักที หากจำกันได้ ตอนผมเคยตั้งกระทู้ถามในพันทิพด้วยอีกล็อกอินนึงล่ะครับว่าจะทำยังไงดีกับ offer ป.โท ที่จะได้มาจาก Cambridge เพราะหาทุนไม่ได้ ที่บ้านส่งไม่ไหว มืดไปแปดด้านหลายตอนเหมือนกันตอนนั้น
สุดท้ายก็ต้องปล่อยครับ ในเมื่อพยายามหลายทางแล้ว แต่หลังจากนั้นผมก็ลุกขึ้นใหม่ ตั้ง condition ในใจว่าอย่างน้อยที่สุด หากจะได้ทุน ต้องเป็นทุนที่มีค่าเทอม + เงินเดือนให้ แต่กว่าจะได้ก็ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะ วันนี้จะลองมาเล่าให้ฟังว่าทำยังไงไปบ้าง มีโอกาสทางไหนให้ลองบ้างนะครับ แต่จะเน้นไปที่มหาวิทยาลัยในอังกฤษและอเมริกาเป็นหลัก เพราะคุ้นชินกับระบบการสมัครของสองประเทศนี้ครับ
0.) ด้วยว่าด้านที่ผมอยากไปเรียนเป็นอะไรที่ specific มาก และไม่ตรงกับสิ่งที่รัฐบาลไทยต้องการมากนัก [ด้านลาตินอเมริกาศึกษา/Latin American Studies -- เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาภูมิภาคนี้จากมุมมองหลาย ๆ ศาสตร์ ก็แล้วแต่เราว่าอยากจะมองจากมุมไหนเป็นพิเศษไหม อย่างผมคือตั้งใจจะศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองกับเศรษฐกิจ ตั้งใจอยากเป็นอาจารย์ครับ] จึงทำให้ไม่มีทุนรัฐบาลไทยสาขาไหนที่เปิดให้ด้านนี้ในระดับปอโท-เอกเลย ดังนั้นสำหรับคนที่อยากไปสายวิชาการอื่น ๆ ที่ specific มาก ๆ แต่ไม่มีทุนทรัพย์ คิดว่าโพสต์นี้น่าจะเป็นประโยชน์ จะพยายามเขียนให้คนสายอื่น ๆ รีเลทได้ครับ
1.) ก่อนจะไปถึงกรณีที่หาทุนยาก พูดถึงทุนที่หาง่ายก่อนแล้วกัน คนที่จะไปเรียนในสายที่ตรงกับที่ทุนรัฐบาลไทยเปิดหรือของบริษัทเอกชนให้ (เช่นแบงค์ต่าง ๆ) เช่น นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเงิน บริหาร วิศวะ คอม การจัดการ ฯลฯ พวกนี้ที่สำคัญคือแค่รอดูประกาศของแต่ละปีว่าทุนอันไหนของ รัฐบาลหรือหน่วยงานนั้น ๆ ฟิตกับตัวเองสุด จากนั้นก็สมัคร แล้วก็พยายามสอบให้ได้เป็นพอ จากนั้นก็ค่อยเตรียมตัวทำคะแนนสอบต่าง ๆ (เช่น TOEFL IELTS GMAT GRE) ให้ดีเพื่อสมัครมหาลัยให้ได้ หากได้ทุนจากตรงนี้ เค้าจะจ่ายให้หมดเลย ทั้งค่าเทอม ค่ากินอยู่ ยันเครื่องบินไปกลับ ส่วนใหญ่ที่สำคัญคือกลุ่มนี้ต้องใช้ทุนให้กับคนที่ให้ตังค์เรามา จะกี่เท่าก็ว่ากันไป ถ้าไม่มายกับตรงนี้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีครับ กลับมาแล้วก็จะไม่เฟ้งฟ้าง กรณีนี้ที่ฟิตกับข้อนี้ หาข้อมูลไม่ยาก เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ในนี้เยอะแยะมากที่ไปเรียนต่อในลักษณะนี้ ลองกูเกิ้ลเอานะครับ
2.) กรณีที่สองนี้แหละที่ยาก หากเป็นสายวิชาการที่ specific มาก ๆ ไม่ได้เป็นสายที่ทำเงินหรือสายที่รัฐไทยต้องการมากนัก (เช่น วรรณคดีศึกษา ภาษาศาสตร์ อาณาบริเวณศึกษา สังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ฯลฯ) การหาทุนจะยากขึ้นมาหลายเท่าตัว ให้ลองค้นให้ได้มากที่สุดว่ามีช่องทางไหนบ้าง เรื่องจะง่ายขึ้นมากหากเราสามารถตอบตัวเราเองว่า "เราอยากจะเรียนโทอะไร" (ถ้าตอบได้ว่าเรียนไปเพื่ออะไรได้ด้วยก็ยิ่งดีครับ แต่ยังไม่จำเป็นหรอก5555) มีหัวข้อที่อยากศึกษาวิจัยประมาณไหน หากเรามีไอเดียตรงนี้แล้ว มันจะทำให้เราสามารถตอบได้คร่าว ๆ ว่าอยากเรียนที่มหาลัยใด มออะไร ประเทศอะไร อาจจะไปถึงขนาดกับอาจารย์คนไหนด้วยซ้ำ ถ้าตอบพวกนี้ได้ ทางจะเริ่มง่ายขึ้นบ้างครับ
3.) จากข้อสอง ถ้าได้ประเทศแล้ว ลองเช็คดูกับประเทศนั้น ๆ ว่ามีทุนรัฐบาลหรือเปล่า ถ้าเป็นประเทศโลกที่หนึ่งทั้งหลายส่วนใหญ่ก็มักจะมีครับ ฟุลไบรท์เอย (อเมริกา) ชีฟนิ่งเอย (อังกฤษ) ทุน รบ. ฝรั่งเศสเอย ฯลฯ ส่วนมากข้อดีคือพวกนี้ไม่ค่อยจำกัดสาขา แล้วก็มักจะจ่ายให้เกือบหมดทุกอย่าง มีเงินเดือนให้ (น่าจะเว้นทุน รบ ฝรั่งเศสหรือเปล่านี่แหละครับที่มันแปลก ๆ ให้ค่ากินอยู่แต่จ่ายค่าเทอมเองหรืออะไรประมาณนี้นี่แหละครับ ต้องเช็คอีกทีหนึ่ง) แต่จะมีการแข่งขันสูงมากเพราะเปิดให้คนจากทุกสาขา ทำให้จำนวนทุนมีไม่ได้เยอะมากต่อปี โดยมากทุนรัฐบาลพวกนี้ไม่ขอให้มีออฟเฟอร์/หนังสือตอบรับเข้าเรียนจากมหาลัยก่อน เค้าจะให้สมัครกับเค้าก่อน แล้วถ้าได้ ก็ค่อยสมัครมหาลัยอีกทีหนึ่ง (เว้นชีฟนิ่ง อันนั้นให้สมัครมหาลัยไปพร้อม ๆ กับสมัครทุนเลย) แต่ถ้ามีออฟเฟอร์แล้วก็จะเป็นศรีแก่ใบสมัครประมาณหนึ่ง
4.) ในกรณีฟุลไบรท์ผมอาจจะเล่าได้นิดหนึ่งเพราะเข้าไปถึงรอบสัมภาษณ์ รอบแรกเขาจะให้ส่งเรียงความและคะแนนโทเฟล ใบเกรดด้วยมั้งนะครับ ลืมแล้ว5555 แต่คือใจความสำคัญอยู่ที่เรียงความที่เขียนครับ ถ้าคุณสมบัติเบื้องต้นผ่าน มันก็ตัดกันตรงเรียงความนั้นแหละ เขียนให้น่าอ่าน ดึงดูด แล้วก็ให้ชัดที่สุดว่าเรามี passion กับด้านที่เราจะไปเรียนจริง ๆ อย่างไรบ้าง ไม่จำเป็นต้องมีออฟเฟอร์มหาลัยนะครับ เพราะยังไงถ้าได้ เขาก็จะให้คนทีได้ทุนเขาไปสมัครมหาลัยหลังได้ทุนอีกทีหนึ่ง ไม่ใช่สมัครมหาลัยพร้อมสมัครทุนแบบชีฟนิ่ง เพราะฉะนั้นจึงแปลว่าถ้าได้ฟุลไบรท์ในปีนี้ ก็จะได้ไปเรียนปีหน้านั่นเอง ถ้าได้ออฟเฟอร์มาก่อนแล้วก่อนได้ทุน ก็ต้องดีเฟอร์ไปเรียนปีหน้าครับ
5.) ถ้ายังวืดจากทุนรัฐบาลต่างประเทศ (เช่นผม5555) แต่ทำการบ้านเรื่องมหาลัยไว้แล้ว ก็เอาการบ้านนั้นมาต่อยอดเสียนะครับ กรณีนี้ขอเล่าแค่เรื่องการหาทุนจากมหาลัยในอเมริกากับอังกฤษ เพราะมีประสบการณ์แค่กับสองที่นี้ครับ
6.) อย่างแรกเรามาดูมหาลัยในอังกฤษกันก่อน ซึ่งโดยทั่วไปปอโทมักเรียนแค่ปีเดียวครับ ส่วนเรื่องทุนของตัวมหาลัยเอง ถ้าไปเรียนด้านวิชาการมาก ๆ ในมอทั่วไปที่ไม่ใช่ Oxford กับ Cambridge จะหาทุนยากมาก ไม่รู้ทำไมเหมือนกันครับ จริงอยู่ว่ามีทุนให้ระดับ university-wide แต่นั้นก็แปลว่าเราจะต้องมีโปรไฟล์ที่เด็ดพอจะไปแข่งกับเด็ก นศ อังกฤษคนอื่น ๆ ได้อย่างดุ ๆ ด้วย ถ้าเกรดกลาง ๆ (เช่นผมอีกนั่นแหละ5555) ก็อาจจะลำบากหน่อย เพราะฉะนั้นทำไง? ไปดูระดับ Department ครับ อิงจากหลักสูตรที่เราอยากจะไปเรียนว่าขึ้นอยู่กับ Department ไหน
7.) แต่ละ Department ของแต่ละมออาจจะได้รับเงินทุนบางอย่างมาให้กับ นศ ครับ แต่เงินจะหนาแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับแต่ละ Dept. เองด้วย อันนี้ต้องไปดูเองเลย แต่โดยมากมักไม่หนามาก ยกตัวอย่างเช่นมอดังสองที่ในลอนดอน LSE กับ UCL ที่ผมได้มา ทั้งสองที่ทุนในระดับ Department สำหรับนักศึกษาต่างชาติคือแทบไม่มีเลย มีแต่ university-wide หรือไม่ก็คือทุนให้กับ นศ ที่ถือสัญชาติประเทศในอียูบ้าง uk บ้าง อะไรก็ว่าไป ซึ่งเราไม่ applied ด้วย และถึงจะมีทุนประเภทนั้นให้ มันก็ไม่ได้ cover เงินเดือนให้ (monthly stipend) ด้วย โดยมากก็แค่เว้นหรือลดค่าเทอมครับ
8.) ถ้าบังเอิญว่าได้ออฟเฟอร์จากอังกฤษมาเป็น Oxford หรือ Cambridge ชีวิตก็จะง่ายขึ้นไปเปลาะใหญ่ ๆ เลยครับ เพราะสองที่นี้ทุนเยอะมาก เยอะanimal dog เลยครับ แต่ก็ขึ้นอยู่กับหลาย condition มากเหมือนกัน ผมเองโดนรีเจกจาก Oxford แต่ได้ออฟเฟอร์จาก Cambridge ครับ เพราะฉะนั้นเลยพอจะเล่าของ Cambridge ได้อยู่ (แต่กับ Ox ก็คิดว่าไม่น่าต่างกันมาก) เราอาจจะแบ่งได้เป็นสามระดับครับ หนึ่งคือทุนระดับ university-wide ซึ่งก็ให้พวกตัวพ่อตัวแม่จากทั่วโลกเค้าชิงกัน คนโปรไฟล์กลาง ๆ อาจจะลำบากหน่อย คล้าย ๆ กับมอในอังกฤษที่อื่น ๆ ครับ สองคือทุนระดับ College คือเจ้าสองมอนี้จะมีระบบคอลเลจที่คล้าย ๆ บ้านในแฮร์รี่ พอตเตอร์ครับ เราสามารถเลือกไว้ได้ 3 หรือ 2 ที่นี่แหละ ผมจำไม่ได้ แล้วเค้าจะคัดให้เราว่าเราจะได้ไปบ้านไหน คอลเลจพวกนี้เป็น entity ที่มีทรัพย์สินและการเงินที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับมหาลัยครับ เพราะฉะนั้นแต่ละคอลเลจเลยมีแหล่งเงินทุนที่มาจากหลายทางมาก คอลเลจแต่ละที่จะรวยไม่เท่ากัน มี funds เยอะมากไหมก็จะแตกต่างกันไป บ้างก็เป็นของโปรเฟสเซอร์นู้นนี่นั่น ของศิษย์เก่าที่เคยอยู่บ้านนี้บ้าง ก็ต้องดูดี ๆ ว่าทุนนั้นกำหนดคอนดิชั่นอะไรไว้ไหม (เช่น country of origin) ถ้าไม่ เราก็มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณา และสามคือทุนระดับ Department ซึ่งก็เหมือนกับที่บอกไว้ก่อนแล้ว มันแล้วแต่ว่า dept นั้นมีทุนไหมยังไงครับ ต้องดูเอาเองครับผม
9.) ยังไม่หมดสำหรับ Oxbridge ครับ ที่น่าสนใจเป็นพิเศษสำหรับคนไทยคือในทั้งสองมอมีสมาคมศิษย์เก่าคนไทยอยู่ ซึ่งใหญ่พอสมควร แล้วเค้ามี partial funding ให้กับเด็กไทยทุกปี ปีละกี่คนก็ว่าไป กรณี Cambridge จะมี Cambridge Thai Foundation ซึ่งไม่ต้องสมัครไรเพิ่มเติมเลยครับ ก็ติ้กไปตอนสมัครมหาลัยปกติ แล้วถ้าสมัครทันเวลาเค้า เค้าก็จะเรียกสัมภาษณ์หลังได้ offer อีกทีหนึ่ง โดยมากได้กันคนละเท่าไหร่ไม่รู้ จำไม่ได้แหะ ประมาณ 1 ใน 3 ของค่าเทอมทั้งหมดมั้งนะครับ ผมเองสมัครช้าไป แม้จะได้ออฟเฟอร์ แต่ไม่ได้ทุนครับ เลยวืดครับ5555
เดี๋ยวมาต่อกันกับในอเมริกานะครับ อันนี้จะเป็น land of opportunities ของจริงเลย
เรื่องเล่าและข้อแนะนำเรื่องการหาทุนเรียนต่อโท/เอก 18 ข้อ
ตั้งใจเขียนกระทู้นี้เพราะหวังว่าจะมีประโยชน์กับคนที่กำลังหาทุนเรียนต่อ โดยเฉพาะสายที่อาจจะไม่ได้ทำเงินมากนักและหาทุนยาก โดยเฉพาะสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ครับ
หลังจากผ่านมาเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ผมดั้นด้นจนหาทุนไปเรียน ป.โท จนสำเร็จสักที หากจำกันได้ ตอนผมเคยตั้งกระทู้ถามในพันทิพด้วยอีกล็อกอินนึงล่ะครับว่าจะทำยังไงดีกับ offer ป.โท ที่จะได้มาจาก Cambridge เพราะหาทุนไม่ได้ ที่บ้านส่งไม่ไหว มืดไปแปดด้านหลายตอนเหมือนกันตอนนั้น
สุดท้ายก็ต้องปล่อยครับ ในเมื่อพยายามหลายทางแล้ว แต่หลังจากนั้นผมก็ลุกขึ้นใหม่ ตั้ง condition ในใจว่าอย่างน้อยที่สุด หากจะได้ทุน ต้องเป็นทุนที่มีค่าเทอม + เงินเดือนให้ แต่กว่าจะได้ก็ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะ วันนี้จะลองมาเล่าให้ฟังว่าทำยังไงไปบ้าง มีโอกาสทางไหนให้ลองบ้างนะครับ แต่จะเน้นไปที่มหาวิทยาลัยในอังกฤษและอเมริกาเป็นหลัก เพราะคุ้นชินกับระบบการสมัครของสองประเทศนี้ครับ
0.) ด้วยว่าด้านที่ผมอยากไปเรียนเป็นอะไรที่ specific มาก และไม่ตรงกับสิ่งที่รัฐบาลไทยต้องการมากนัก [ด้านลาตินอเมริกาศึกษา/Latin American Studies -- เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาภูมิภาคนี้จากมุมมองหลาย ๆ ศาสตร์ ก็แล้วแต่เราว่าอยากจะมองจากมุมไหนเป็นพิเศษไหม อย่างผมคือตั้งใจจะศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองกับเศรษฐกิจ ตั้งใจอยากเป็นอาจารย์ครับ] จึงทำให้ไม่มีทุนรัฐบาลไทยสาขาไหนที่เปิดให้ด้านนี้ในระดับปอโท-เอกเลย ดังนั้นสำหรับคนที่อยากไปสายวิชาการอื่น ๆ ที่ specific มาก ๆ แต่ไม่มีทุนทรัพย์ คิดว่าโพสต์นี้น่าจะเป็นประโยชน์ จะพยายามเขียนให้คนสายอื่น ๆ รีเลทได้ครับ
1.) ก่อนจะไปถึงกรณีที่หาทุนยาก พูดถึงทุนที่หาง่ายก่อนแล้วกัน คนที่จะไปเรียนในสายที่ตรงกับที่ทุนรัฐบาลไทยเปิดหรือของบริษัทเอกชนให้ (เช่นแบงค์ต่าง ๆ) เช่น นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเงิน บริหาร วิศวะ คอม การจัดการ ฯลฯ พวกนี้ที่สำคัญคือแค่รอดูประกาศของแต่ละปีว่าทุนอันไหนของ รัฐบาลหรือหน่วยงานนั้น ๆ ฟิตกับตัวเองสุด จากนั้นก็สมัคร แล้วก็พยายามสอบให้ได้เป็นพอ จากนั้นก็ค่อยเตรียมตัวทำคะแนนสอบต่าง ๆ (เช่น TOEFL IELTS GMAT GRE) ให้ดีเพื่อสมัครมหาลัยให้ได้ หากได้ทุนจากตรงนี้ เค้าจะจ่ายให้หมดเลย ทั้งค่าเทอม ค่ากินอยู่ ยันเครื่องบินไปกลับ ส่วนใหญ่ที่สำคัญคือกลุ่มนี้ต้องใช้ทุนให้กับคนที่ให้ตังค์เรามา จะกี่เท่าก็ว่ากันไป ถ้าไม่มายกับตรงนี้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีครับ กลับมาแล้วก็จะไม่เฟ้งฟ้าง กรณีนี้ที่ฟิตกับข้อนี้ หาข้อมูลไม่ยาก เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ในนี้เยอะแยะมากที่ไปเรียนต่อในลักษณะนี้ ลองกูเกิ้ลเอานะครับ
2.) กรณีที่สองนี้แหละที่ยาก หากเป็นสายวิชาการที่ specific มาก ๆ ไม่ได้เป็นสายที่ทำเงินหรือสายที่รัฐไทยต้องการมากนัก (เช่น วรรณคดีศึกษา ภาษาศาสตร์ อาณาบริเวณศึกษา สังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ฯลฯ) การหาทุนจะยากขึ้นมาหลายเท่าตัว ให้ลองค้นให้ได้มากที่สุดว่ามีช่องทางไหนบ้าง เรื่องจะง่ายขึ้นมากหากเราสามารถตอบตัวเราเองว่า "เราอยากจะเรียนโทอะไร" (ถ้าตอบได้ว่าเรียนไปเพื่ออะไรได้ด้วยก็ยิ่งดีครับ แต่ยังไม่จำเป็นหรอก5555) มีหัวข้อที่อยากศึกษาวิจัยประมาณไหน หากเรามีไอเดียตรงนี้แล้ว มันจะทำให้เราสามารถตอบได้คร่าว ๆ ว่าอยากเรียนที่มหาลัยใด มออะไร ประเทศอะไร อาจจะไปถึงขนาดกับอาจารย์คนไหนด้วยซ้ำ ถ้าตอบพวกนี้ได้ ทางจะเริ่มง่ายขึ้นบ้างครับ
3.) จากข้อสอง ถ้าได้ประเทศแล้ว ลองเช็คดูกับประเทศนั้น ๆ ว่ามีทุนรัฐบาลหรือเปล่า ถ้าเป็นประเทศโลกที่หนึ่งทั้งหลายส่วนใหญ่ก็มักจะมีครับ ฟุลไบรท์เอย (อเมริกา) ชีฟนิ่งเอย (อังกฤษ) ทุน รบ. ฝรั่งเศสเอย ฯลฯ ส่วนมากข้อดีคือพวกนี้ไม่ค่อยจำกัดสาขา แล้วก็มักจะจ่ายให้เกือบหมดทุกอย่าง มีเงินเดือนให้ (น่าจะเว้นทุน รบ ฝรั่งเศสหรือเปล่านี่แหละครับที่มันแปลก ๆ ให้ค่ากินอยู่แต่จ่ายค่าเทอมเองหรืออะไรประมาณนี้นี่แหละครับ ต้องเช็คอีกทีหนึ่ง) แต่จะมีการแข่งขันสูงมากเพราะเปิดให้คนจากทุกสาขา ทำให้จำนวนทุนมีไม่ได้เยอะมากต่อปี โดยมากทุนรัฐบาลพวกนี้ไม่ขอให้มีออฟเฟอร์/หนังสือตอบรับเข้าเรียนจากมหาลัยก่อน เค้าจะให้สมัครกับเค้าก่อน แล้วถ้าได้ ก็ค่อยสมัครมหาลัยอีกทีหนึ่ง (เว้นชีฟนิ่ง อันนั้นให้สมัครมหาลัยไปพร้อม ๆ กับสมัครทุนเลย) แต่ถ้ามีออฟเฟอร์แล้วก็จะเป็นศรีแก่ใบสมัครประมาณหนึ่ง
4.) ในกรณีฟุลไบรท์ผมอาจจะเล่าได้นิดหนึ่งเพราะเข้าไปถึงรอบสัมภาษณ์ รอบแรกเขาจะให้ส่งเรียงความและคะแนนโทเฟล ใบเกรดด้วยมั้งนะครับ ลืมแล้ว5555 แต่คือใจความสำคัญอยู่ที่เรียงความที่เขียนครับ ถ้าคุณสมบัติเบื้องต้นผ่าน มันก็ตัดกันตรงเรียงความนั้นแหละ เขียนให้น่าอ่าน ดึงดูด แล้วก็ให้ชัดที่สุดว่าเรามี passion กับด้านที่เราจะไปเรียนจริง ๆ อย่างไรบ้าง ไม่จำเป็นต้องมีออฟเฟอร์มหาลัยนะครับ เพราะยังไงถ้าได้ เขาก็จะให้คนทีได้ทุนเขาไปสมัครมหาลัยหลังได้ทุนอีกทีหนึ่ง ไม่ใช่สมัครมหาลัยพร้อมสมัครทุนแบบชีฟนิ่ง เพราะฉะนั้นจึงแปลว่าถ้าได้ฟุลไบรท์ในปีนี้ ก็จะได้ไปเรียนปีหน้านั่นเอง ถ้าได้ออฟเฟอร์มาก่อนแล้วก่อนได้ทุน ก็ต้องดีเฟอร์ไปเรียนปีหน้าครับ
5.) ถ้ายังวืดจากทุนรัฐบาลต่างประเทศ (เช่นผม5555) แต่ทำการบ้านเรื่องมหาลัยไว้แล้ว ก็เอาการบ้านนั้นมาต่อยอดเสียนะครับ กรณีนี้ขอเล่าแค่เรื่องการหาทุนจากมหาลัยในอเมริกากับอังกฤษ เพราะมีประสบการณ์แค่กับสองที่นี้ครับ
6.) อย่างแรกเรามาดูมหาลัยในอังกฤษกันก่อน ซึ่งโดยทั่วไปปอโทมักเรียนแค่ปีเดียวครับ ส่วนเรื่องทุนของตัวมหาลัยเอง ถ้าไปเรียนด้านวิชาการมาก ๆ ในมอทั่วไปที่ไม่ใช่ Oxford กับ Cambridge จะหาทุนยากมาก ไม่รู้ทำไมเหมือนกันครับ จริงอยู่ว่ามีทุนให้ระดับ university-wide แต่นั้นก็แปลว่าเราจะต้องมีโปรไฟล์ที่เด็ดพอจะไปแข่งกับเด็ก นศ อังกฤษคนอื่น ๆ ได้อย่างดุ ๆ ด้วย ถ้าเกรดกลาง ๆ (เช่นผมอีกนั่นแหละ5555) ก็อาจจะลำบากหน่อย เพราะฉะนั้นทำไง? ไปดูระดับ Department ครับ อิงจากหลักสูตรที่เราอยากจะไปเรียนว่าขึ้นอยู่กับ Department ไหน
7.) แต่ละ Department ของแต่ละมออาจจะได้รับเงินทุนบางอย่างมาให้กับ นศ ครับ แต่เงินจะหนาแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับแต่ละ Dept. เองด้วย อันนี้ต้องไปดูเองเลย แต่โดยมากมักไม่หนามาก ยกตัวอย่างเช่นมอดังสองที่ในลอนดอน LSE กับ UCL ที่ผมได้มา ทั้งสองที่ทุนในระดับ Department สำหรับนักศึกษาต่างชาติคือแทบไม่มีเลย มีแต่ university-wide หรือไม่ก็คือทุนให้กับ นศ ที่ถือสัญชาติประเทศในอียูบ้าง uk บ้าง อะไรก็ว่าไป ซึ่งเราไม่ applied ด้วย และถึงจะมีทุนประเภทนั้นให้ มันก็ไม่ได้ cover เงินเดือนให้ (monthly stipend) ด้วย โดยมากก็แค่เว้นหรือลดค่าเทอมครับ
8.) ถ้าบังเอิญว่าได้ออฟเฟอร์จากอังกฤษมาเป็น Oxford หรือ Cambridge ชีวิตก็จะง่ายขึ้นไปเปลาะใหญ่ ๆ เลยครับ เพราะสองที่นี้ทุนเยอะมาก เยอะanimal dog เลยครับ แต่ก็ขึ้นอยู่กับหลาย condition มากเหมือนกัน ผมเองโดนรีเจกจาก Oxford แต่ได้ออฟเฟอร์จาก Cambridge ครับ เพราะฉะนั้นเลยพอจะเล่าของ Cambridge ได้อยู่ (แต่กับ Ox ก็คิดว่าไม่น่าต่างกันมาก) เราอาจจะแบ่งได้เป็นสามระดับครับ หนึ่งคือทุนระดับ university-wide ซึ่งก็ให้พวกตัวพ่อตัวแม่จากทั่วโลกเค้าชิงกัน คนโปรไฟล์กลาง ๆ อาจจะลำบากหน่อย คล้าย ๆ กับมอในอังกฤษที่อื่น ๆ ครับ สองคือทุนระดับ College คือเจ้าสองมอนี้จะมีระบบคอลเลจที่คล้าย ๆ บ้านในแฮร์รี่ พอตเตอร์ครับ เราสามารถเลือกไว้ได้ 3 หรือ 2 ที่นี่แหละ ผมจำไม่ได้ แล้วเค้าจะคัดให้เราว่าเราจะได้ไปบ้านไหน คอลเลจพวกนี้เป็น entity ที่มีทรัพย์สินและการเงินที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับมหาลัยครับ เพราะฉะนั้นแต่ละคอลเลจเลยมีแหล่งเงินทุนที่มาจากหลายทางมาก คอลเลจแต่ละที่จะรวยไม่เท่ากัน มี funds เยอะมากไหมก็จะแตกต่างกันไป บ้างก็เป็นของโปรเฟสเซอร์นู้นนี่นั่น ของศิษย์เก่าที่เคยอยู่บ้านนี้บ้าง ก็ต้องดูดี ๆ ว่าทุนนั้นกำหนดคอนดิชั่นอะไรไว้ไหม (เช่น country of origin) ถ้าไม่ เราก็มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณา และสามคือทุนระดับ Department ซึ่งก็เหมือนกับที่บอกไว้ก่อนแล้ว มันแล้วแต่ว่า dept นั้นมีทุนไหมยังไงครับ ต้องดูเอาเองครับผม
9.) ยังไม่หมดสำหรับ Oxbridge ครับ ที่น่าสนใจเป็นพิเศษสำหรับคนไทยคือในทั้งสองมอมีสมาคมศิษย์เก่าคนไทยอยู่ ซึ่งใหญ่พอสมควร แล้วเค้ามี partial funding ให้กับเด็กไทยทุกปี ปีละกี่คนก็ว่าไป กรณี Cambridge จะมี Cambridge Thai Foundation ซึ่งไม่ต้องสมัครไรเพิ่มเติมเลยครับ ก็ติ้กไปตอนสมัครมหาลัยปกติ แล้วถ้าสมัครทันเวลาเค้า เค้าก็จะเรียกสัมภาษณ์หลังได้ offer อีกทีหนึ่ง โดยมากได้กันคนละเท่าไหร่ไม่รู้ จำไม่ได้แหะ ประมาณ 1 ใน 3 ของค่าเทอมทั้งหมดมั้งนะครับ ผมเองสมัครช้าไป แม้จะได้ออฟเฟอร์ แต่ไม่ได้ทุนครับ เลยวืดครับ5555
เดี๋ยวมาต่อกันกับในอเมริกานะครับ อันนี้จะเป็น land of opportunities ของจริงเลย