[SR] ปทุมธานี วันเดียวเที่ยวสบาย (สนับสนุนโดย ททท.)


ปทุมธานี จังหวัดที่ใกล้กรุงเทพแค่ปลายจมูก มีสถานที่น่าสนใจให้เที่ยวสบายๆ ใน 1 วัน
ถูกใจทั้งสายกิน สายกระบองเพชร สายเข้าวัดทำบุญ หรือจะดูพิพิธภัณฑ์ เค้ามีครบ
แถมใครเป็นแฟน “ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง” ยิ่งห้ามพลาดเลย เพราะเราจะพาคุณไปตามรอยละครเรื่องนี้ด้วยครับ

⭐กระท่อมลุงจรณ์

สวรรค์ของคนรักกระบองเพชร จะมองไปทางไหนก็เจอพวกมันเต็มไปหมด บางต้นขนปุยน่าจิ้มเล่น
บางต้นเป็นเกลียวเหมือนขนม บางต้นมีดอกกระจิ๋วน่ารัก

กระบองเพชรกว่า 2000 สายพันธุ์ในสวนแห่งนี้จะทำให้ใจคุณละลาย
ถ้าอยากเอากลับบ้าน ก็เลือกซื้อกันได้ตั้งแต่ราคา 20 บาทเป็นต้นไปจ้า

ที่นี่ยังไม่เปิดให้เที่ยวอย่างเต็มตัว แต่โทรแจ้งล่วงหน้าก็สามารถเข้าชมได้ ไม่มีค่าใช้จ่ายฮะ

🌎 พิกัด
http://bit.ly/2TiMiwG

🕘 เวลา
• พฤหัส – อังคาร, 08.00 – 17.00 • อาทิตย์, 08.00 – 16.00
• กรุณาโทรนัดล่วงหน้าก่อนเข้าชม

💰 ราคา
• เข้าฟรี
• ราคากระบองเพชรเริ่มต้น 20 บาท

📞 ติดต่อ
• คุณภูเขา 086 525 6874

⭐ตลาดอิงน้ำสามโคก

ตลาดริมน้ำที่มีกลิ่นอายชุมชนเก่าลอยอ้อยอิ่ง ร้านอาหารหลายเจ้าขายอยู่ตรงนี้มาแล้วหลายสิบปี


แน่นอนว่ามีของอร่อยทีเด็ด อย่างน้ำตาลสดหอมหวาน สเต๊ะไม้โตกับน้ำจิ้มรสเปรี้ยวนำ เมี่ยงคำหวานมันกินง่าย
ขนมขาหมูสูตรโบราณ ราดซอสมะขามเปียกโรยถั่วป่น พริกแห้ง กรอบสะใจ
และห้ามพลาดเอแคลร์แป้งบางเฉียบไส้ทะลักทะลัก


อิ่มแล้วลองเดินย้อนไปดูด้านหน้า เค้ามีที่ว่าการอำเภอหลังเก่าสีพาสเทลน่ารัก
รูปปั้นสุนทรภู่ และกลอนที่ท่านแต่งไว้เมื่อคราวล่องเรือผ่านอำเภอสามโคก

🌎 พิกัด
https://bit.ly/2H9kCTy

🕘 เวลา
• เปิดทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์, 9.00 – 16.00

📞 ติดต่อ • 081 441 4449

⭐วัดสิงห์ สามโคก

แค่คุณก้าวเข้าไปในเขตพระอุโบสถ ก็เหมือนหลุดเข้าไปอีกยุคหนึ่ง อาคารหลังใหญ่เป็นพระอุโบสถทรงตกท้องสำเภาหาดูยาก
ถัดมาเป็นวิหารน้อยหลังเล็ก และโกศ“พญากราย” โกศทรงมอญขนาดใหญ่ ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)
ทรงสร้างถวายพญากราย พระมอญรูปสำคัญ และเจ้าอาวาสวัดในสมัยนั้น


สำหรับสายบุญ ชอบไหว้พระ ต้องสักการะพระประธาน 5 องค์ ที่หันหน้า ไป 4 ทิศ โดย 2 องค์อยู่ในพระอุโบสถ 1 องค์
อยู่ในวิหารน้อย และอีก 2 องค์อยู่บนศาลา ซึ่งก็เป็นสิ่งก่อสร้างเก่าแก่สมัยอยุธยาเหมือนกัน

สันนิษฐานว่าแห่งนี้สร้างขึ้นช่วงปี พ.ศ. 2202 – 2210 เก่าแก่คลาสสิคขนาดนี้เลยได้ต้อนรับกองถ่ายละครอย้อนยุคหลายเรื่อง
ล่าสุดคือทองเอก หมอยา ท่าโฉลง ที่กำลังฮอตฮิตไปทั่วบ้านทั่วเมืองนั่นเอง

🌎 พิกัด
http://bit.ly/2J53WPE

🕘 เวลา
• ทุกวัน, เช้า – เย็น
• วัดสิงห์จะเปิดให้ประชาชนสักการะรอยพระพุทธบาทไม้ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี แต่สำหรับปี 2562 นี้
จะเปิดให้สักการะเป็นเวลา 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม ถึงวันที่ 22 มีนาคม

🔖 อื่นๆ
• เป็นหนึ่งในสถานที่ถ่ายทำละคร ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง

⭐โบราณสถานเตาโอ่งอ่าง

เตาโบราณขนาดใหญ่ที่สมบูรณ์ที่สุด ขนาด 30 x 40 เมตร คาดว่าเป็นแหล่งเตาเผาแห่งแรกของชาวมอญที่อพยพมาจากพม่า
สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ใช้ผลิตโอ่ง “อีเลิ้ง”ก่อนจะนำไปขายจนโด่งดัง เป็นที่มาของชื่อตลาดนางเลิ้งนั่นเอง

🌎 พิกัด
http://bit.ly/2tSOxb6
• อยู่ห่างวัดสิงห์ประมาณ 300 เมตร

🕘 เวลา • ทุกวัน, เช้า – เย็น

⭐ วัดโบสถ์ สามโคก

ที่นี่มีหลวงพ่อโตองค์ใหญ่จนะการตา สูง 28 เมตร และหลวงพ่อโสธรที่ใหญ่อลังการไม่แพ้กัน ภายในสะอาดเป็นระเบียบ

ถึงจะเห็นแบบนี้ อันที่จริงวัดโบสถ์มีชื่อเดิมว่า “วัดสร้อยนางหงส์” สร้างเมื่อพ.ศ. 2164 โดยชาวมอญที่อพยพมาจากพม่านู้นเลย
นอกจากองค์พระขนาดใหญ่ทั้งสอง “หลวงพ่อเหลือ” พระศักสิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองปทุมธานี ก็ประดิษฐานอยู่ที่นี่

มีเรื่องเล่าว่า ก่อนหน้านี้ที่นี่เป็นวัดยากจนมาก ของมีค่าในวัดก็โดนขโมยตัดเศียรไปขายจนหมด เหลือพระแค่องค์เดียว
จนเป็นที่มาของชื่อ “หลวงพ่อเหลือ” นั่นเอง

🌎 พิกัด
http://bit.ly/2XIDheP

🕘 เวลา
• ทุกวัน, เช้า – เย็น

⭐ พิพิธภัณฑ์หินแปลก
  
“โหววว” ผมเผลอร้องออกมาเมื่อเห็นหินก้อนหนึ่งที่มีซากเปลือกหอยลายสวยติดอยู่ในนั้น
นอกจากนี้ยังมีหินลักษณะปุยแบบสำลี หินที่มีหนามแหลมเล็กๆ เป็นพุ่ม

หินหน้าตาคล้ายหมู่โสร่งเรียงต่อกันเป็นชั้น หินที่ดูน่ากลัวคล้ายหัวกระโหลก หรือหินที่ดูคล้ายนกฮูกสีขาว
นี่เป็นพิพิธภัณฑ์หินแห่งเดียวของประเทศ ให้อารมณ์สงบนิ่ง เยือกเย็น แต่มีเวทย์มนตร์ที่จะปลุกจินตนาการของคุณให้ลุกโชน

🌎 พิกัด
http://bit.ly/2ESuDmH

🕘 เวลา
• ทุกวัน, 09.00 – 17.00

💰 ราคา
• เด็ก นักเรียน / นักศึกษา 40 บาท
• บุคคลทั่วไป 60 บาท
• ชาวต่างชาติ 100 บาท
ชื่อสินค้า:   ปทุมธานี
คะแนน:     

SR - Sponsored Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ SR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - ได้รับสินค้าหรือบริการมาใช้รีวิวฟรี โดยไม่ต้องคืนสินค้าหรือบริการนั้น
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่