สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
มาลองคำนวณกันครับ
เครื่องบินจะบินที่ความสูงประมาณ 10 km โลกมีรัศมี 6371 km
ถ้าบินกรุงเทพ-โตเกียว 4,650 km
บินที่ความสูง 10 km ระยะทางจะเพิ่มเป็น 4,657 km
เพิ่มแค่ 7 กิโล!
จะเห็นว่าระยะทางเพิ่มน้อยมาก เนื่องจากความสูง 10 km เมื่อเทียบกับรัศมีโลกมันน้อยมาก
แต่สิ่งที่เครื่องบินได้กลับมาเมื่อบินที่ความสูง 10 km นั้น มีเยอะมาก ทั้ง
1. อากาศยิ่งสูงยิ่งเบาบางลงทำให้บินได้เร็วขึ้น(เร็วขึ้นกว่าเยอะจนลืม7กิโลนั่นไปได้เลย)และประหยัดน้ำมัน
2. มี jet stream
3. ไม่มีสภาพอากาศต่างๆ
นอกจากนี้เครื่องบินทางไกลยังทำ step climb
คือเมื่อบินไปซักระยะ เครื่องจะเบาลงเพราะน้ำมันถูกใช้ไปแล้ว
เครื่องก็จะเพิ่มความสูงขึ้นไปอีก เพื่อประหยัดน้ำมัน
อย่างไฟลท์ sq21 ที่บิน new york -> singapore ทำ step climb ถึง 3 ครั้ง
เครื่องบินจะบินที่ความสูงประมาณ 10 km โลกมีรัศมี 6371 km
ถ้าบินกรุงเทพ-โตเกียว 4,650 km
บินที่ความสูง 10 km ระยะทางจะเพิ่มเป็น 4,657 km
เพิ่มแค่ 7 กิโล!
จะเห็นว่าระยะทางเพิ่มน้อยมาก เนื่องจากความสูง 10 km เมื่อเทียบกับรัศมีโลกมันน้อยมาก
แต่สิ่งที่เครื่องบินได้กลับมาเมื่อบินที่ความสูง 10 km นั้น มีเยอะมาก ทั้ง
1. อากาศยิ่งสูงยิ่งเบาบางลงทำให้บินได้เร็วขึ้น(เร็วขึ้นกว่าเยอะจนลืม7กิโลนั่นไปได้เลย)และประหยัดน้ำมัน
2. มี jet stream
3. ไม่มีสภาพอากาศต่างๆ
นอกจากนี้เครื่องบินทางไกลยังทำ step climb
คือเมื่อบินไปซักระยะ เครื่องจะเบาลงเพราะน้ำมันถูกใช้ไปแล้ว
เครื่องก็จะเพิ่มความสูงขึ้นไปอีก เพื่อประหยัดน้ำมัน
อย่างไฟลท์ sq21 ที่บิน new york -> singapore ทำ step climb ถึง 3 ครั้ง
ความคิดเห็นที่ 7
รัศมีโลก 6371 กม
ระยะทาง กรุงเทพ-นิวยอร์ก 13964 กม (BKK-JFK)
คิดเป็นระยะเชิงมุม 13964 ÷ (2×3.14159×6371) × 360 = 125.5814 °
ปกติเครื่องบินระยะไกลบินที่ความสูงราว 12 กม ซึ่งจะมีระยะทาง ณ ความสูงนั้นคือ
125.5814 × (2×3.14159×6383) ÷ 360 = 13990.30 กม คือระยะทางมากขึ้น 26.30 กม หรือ 0.1884%
เอ... จริงๆ แค่เอา 6383 ÷ 6371 ก็ได้เหมือนกัน คิดอะไรให้ยาว.... 555
ระยะทางที่เพิ่มขึ้นมาแค่นี้ เรียกได้ว่าไม่มีผลอะไรเลยครับ
ในทางตรงกันข้าม สิ่งที่ทำใหเครื่องบินกินน้ำมันมากๆ อย่างหนึ่งก็คือแรงต้านอากาศ ซึ่งอากาศข้างบนที่เบาบาง จะทำให้แรงต้านทานลดลงไปมาก และทำให้ประหยัดน้ำมันได้มาก และเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งที่เครื่องบินบินที่ความสูงในทุกวันนี้
ระยะทาง กรุงเทพ-นิวยอร์ก 13964 กม (BKK-JFK)
คิดเป็นระยะเชิงมุม 13964 ÷ (2×3.14159×6371) × 360 = 125.5814 °
ปกติเครื่องบินระยะไกลบินที่ความสูงราว 12 กม ซึ่งจะมีระยะทาง ณ ความสูงนั้นคือ
125.5814 × (2×3.14159×6383) ÷ 360 = 13990.30 กม คือระยะทางมากขึ้น 26.30 กม หรือ 0.1884%
เอ... จริงๆ แค่เอา 6383 ÷ 6371 ก็ได้เหมือนกัน คิดอะไรให้ยาว.... 555
ระยะทางที่เพิ่มขึ้นมาแค่นี้ เรียกได้ว่าไม่มีผลอะไรเลยครับ
ในทางตรงกันข้าม สิ่งที่ทำใหเครื่องบินกินน้ำมันมากๆ อย่างหนึ่งก็คือแรงต้านอากาศ ซึ่งอากาศข้างบนที่เบาบาง จะทำให้แรงต้านทานลดลงไปมาก และทำให้ประหยัดน้ำมันได้มาก และเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งที่เครื่องบินบินที่ความสูงในทุกวันนี้
แสดงความคิดเห็น
ถ้าเครื่องบิน บินต่ำมันจะเดินทางเร็วกว่าไหม