อินเดียกำลังเผชิญความขัดแย้งกับทางด้านปากีสถานอย่างหนัก อีกด้านหนึ่งนั้นก็ยังคงมีความขัดแย้งกับจีนเรื่องของพื้นที่ชายแดนเช่นเดียวกัน ทำให้เวลานี้อินเดีย จำเป็นต้องจัดการด้านความมั่นคงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งล่าสุดทางด้านอินเดียได้ลงนามข้อตกลงมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 95,000 ล้านบาท เพื่อเช่าเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์จากรัสเซีย เป็นเวลา 10 ปี
สื่อต่างประเทศได้รายงานข่าวกรณีทางด้านกระทรวงกลาโหมของอินเดีย ได้ตกลงทำสัญญามูลค่ากว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อเช่าเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์จากรัสเซียเป็นเวลา 10 ปี หลังจากที่ทางอินเดียและปากีสถาน ได้เกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง และทวีความตึงเครียดครั้งใหญ่สุดในรอบหลายปี และในขณะที่การแผ่นขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคกำลังเพิ่มมากขึ้น
จากเหตุการณ์เมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ทางด้านอินเดีย ได้ส่งเครื่องบินขับไล่ของพวกเขาเข้าโจมตีค่ายกลุ่มติดอาวุธในปากีสถาน เพื่อเป็นการตอบโต้เหตุระเบิดฆ่าตัวตายในแคชเมียร์ที่ทำให้เจ้าหน้าเสียชีวิตกว่า 40 คนและถูกอ้างความรับผิดชอบโดยกลุ่มติดอาวุธที่มีฐานปฎิบัติการอยู่ในปากีสถาน และวันต่อมาทางด้านปากีสถานก็ดำเนินปฏิบัติการทางอากาศเช่นกัน ทำให้เกิดการต่อสู้กันอย่างดุเดือด และเครื่องบินขับไล่อินเดียลำหนึ่งถูกยิงตก อินเดียยังระบุด้วยว่า พวกเขาได้ยิงเครื่องบินปากีสถานลำหนึ่งตกแต่ปากีสถานได้ปฎิเสธ เรื่องดังกล่าว
ความตึงเครียดเหมือนจะคลี่คลายลงเมื่อทางด้านปากีสถานได้ส่งนักบินคืนให้กับอินเดีย แต่ทว่าไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อการสู้รบภาคพื้นดินก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริเวณชายแดนแคชเมียร์ แม้ว่ารัสเซีย ได้เสนอตัวเข้ามาหย่าศึกครั้งนี้แต่ทว่ายังคงไม่เป็นผล
นอกจากนั้นแล้วอินเดีย ก็ยังมีความกังวลเกี่ยวกับความก้าวร้าวมากขึ้นของจีนในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งก่อนหน้านี้อินเดียเป็นผู้ที่มีอิทธิพลอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนั้นแล้ว ในปี 2017 อินเดียและจีนมีความตึงเครียดทางทหารบริเวณที่ราบสูงหิมาลัยที่ถูกอ้างสิทธิโดยจีน และภูฏาน พันธมิตรใกล้ชิดของอินเดีย มากไปกว่านั้น จีนล่วงล้ำเข้าไปในศรีลังกาและมัลดีฟ ประเทศที่อินเดียมองว่าอยู่ในเขตอิทธิพลของพวกเขา ผ่านโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง อินเดียแสดงความกังวลเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวเนื่องจากมีส่วนสำคัญตัดผ่านแคชเมียร์ฝั่งปากีสถาน พื้นที่พิพาทที่เป็นตัวจุดชนวนวิกฤตครั้งล่าสุดอีกด้วย
ในขณะที่ทางด้านรัสเซีย ยังคงเป็นผู้จัดหาอาวุธรายใหญ่ให้กับอินเดีย สร้างความไม่พอใจให้กับสหรัฐฯ ที่บังคับใช้การคว่ำบาตรต่อหลายประเทศที่ซื้อยุทโธปกรณ์จากรัสเซีย โดยเมื่อเดือนตุลาคม ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซียและนายกรัฐมนตรี นเรนธรา โมดี พบกันและลงนามข้อตกลงสำหรับซื้อระบบขีปนาวุธภาคพื้นสู่อากาศ S-400 ของรัสเซียมูลค่า 5,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการลงนามเช่าเรือดำน้ำของรัสเซียครั้งนี้ก็สร้างความไม่พอใจให้กับสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน และอาจจะพาลที่จะหาเรื่องคว่ำบาตรอินเดียต่อไป
ที่มา ©
http://www.nationtv.tv
(คลิปข่าว) อินเดียเช่าเรือดำน้ำของรัสเซีย ด้านสหรัฐฯจ้องคว่ำบาตร
อินเดียกำลังเผชิญความขัดแย้งกับทางด้านปากีสถานอย่างหนัก อีกด้านหนึ่งนั้นก็ยังคงมีความขัดแย้งกับจีนเรื่องของพื้นที่ชายแดนเช่นเดียวกัน ทำให้เวลานี้อินเดีย จำเป็นต้องจัดการด้านความมั่นคงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งล่าสุดทางด้านอินเดียได้ลงนามข้อตกลงมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 95,000 ล้านบาท เพื่อเช่าเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์จากรัสเซีย เป็นเวลา 10 ปี
สื่อต่างประเทศได้รายงานข่าวกรณีทางด้านกระทรวงกลาโหมของอินเดีย ได้ตกลงทำสัญญามูลค่ากว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อเช่าเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์จากรัสเซียเป็นเวลา 10 ปี หลังจากที่ทางอินเดียและปากีสถาน ได้เกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง และทวีความตึงเครียดครั้งใหญ่สุดในรอบหลายปี และในขณะที่การแผ่นขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคกำลังเพิ่มมากขึ้น
จากเหตุการณ์เมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ทางด้านอินเดีย ได้ส่งเครื่องบินขับไล่ของพวกเขาเข้าโจมตีค่ายกลุ่มติดอาวุธในปากีสถาน เพื่อเป็นการตอบโต้เหตุระเบิดฆ่าตัวตายในแคชเมียร์ที่ทำให้เจ้าหน้าเสียชีวิตกว่า 40 คนและถูกอ้างความรับผิดชอบโดยกลุ่มติดอาวุธที่มีฐานปฎิบัติการอยู่ในปากีสถาน และวันต่อมาทางด้านปากีสถานก็ดำเนินปฏิบัติการทางอากาศเช่นกัน ทำให้เกิดการต่อสู้กันอย่างดุเดือด และเครื่องบินขับไล่อินเดียลำหนึ่งถูกยิงตก อินเดียยังระบุด้วยว่า พวกเขาได้ยิงเครื่องบินปากีสถานลำหนึ่งตกแต่ปากีสถานได้ปฎิเสธ เรื่องดังกล่าว
ความตึงเครียดเหมือนจะคลี่คลายลงเมื่อทางด้านปากีสถานได้ส่งนักบินคืนให้กับอินเดีย แต่ทว่าไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อการสู้รบภาคพื้นดินก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริเวณชายแดนแคชเมียร์ แม้ว่ารัสเซีย ได้เสนอตัวเข้ามาหย่าศึกครั้งนี้แต่ทว่ายังคงไม่เป็นผล
นอกจากนั้นแล้วอินเดีย ก็ยังมีความกังวลเกี่ยวกับความก้าวร้าวมากขึ้นของจีนในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งก่อนหน้านี้อินเดียเป็นผู้ที่มีอิทธิพลอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนั้นแล้ว ในปี 2017 อินเดียและจีนมีความตึงเครียดทางทหารบริเวณที่ราบสูงหิมาลัยที่ถูกอ้างสิทธิโดยจีน และภูฏาน พันธมิตรใกล้ชิดของอินเดีย มากไปกว่านั้น จีนล่วงล้ำเข้าไปในศรีลังกาและมัลดีฟ ประเทศที่อินเดียมองว่าอยู่ในเขตอิทธิพลของพวกเขา ผ่านโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง อินเดียแสดงความกังวลเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวเนื่องจากมีส่วนสำคัญตัดผ่านแคชเมียร์ฝั่งปากีสถาน พื้นที่พิพาทที่เป็นตัวจุดชนวนวิกฤตครั้งล่าสุดอีกด้วย
ในขณะที่ทางด้านรัสเซีย ยังคงเป็นผู้จัดหาอาวุธรายใหญ่ให้กับอินเดีย สร้างความไม่พอใจให้กับสหรัฐฯ ที่บังคับใช้การคว่ำบาตรต่อหลายประเทศที่ซื้อยุทโธปกรณ์จากรัสเซีย โดยเมื่อเดือนตุลาคม ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซียและนายกรัฐมนตรี นเรนธรา โมดี พบกันและลงนามข้อตกลงสำหรับซื้อระบบขีปนาวุธภาคพื้นสู่อากาศ S-400 ของรัสเซียมูลค่า 5,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการลงนามเช่าเรือดำน้ำของรัสเซียครั้งนี้ก็สร้างความไม่พอใจให้กับสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน และอาจจะพาลที่จะหาเรื่องคว่ำบาตรอินเดียต่อไป
ที่มา © http://www.nationtv.tv