อัปเดตข้อมูลการถือครองทองคำของธนาคารกลางทั่วโลกประจำเดือนพฤศจิกายน 2024 เผยสัดส่วนการสำรองทองคำต่อสินทรัพย์ต่างประเทศ
ข้อมูลวิเคราะห์ ราคาทองคำ จากฮั่วเซ่งเฮง ระบุว่า ราคาทองคำคืนที่ผ่านมาได้รับแรงหนุนจาก 2 ปัจจัยสำคัญ คือ การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความตึงเครียดของสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน หลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน อนุมัติให้ยูเครนใช้ขีปนาวุธ ATACMS ของสหรัฐฯ โจมตีเข้าไปในดินแดนรัสเซีย ส่งผลให้ตลาดกลับมากังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งที่อาจทวีความรุนแรงขึ้น
ด้าน ราคาทองคำโลก ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 2,620 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และกำลังทดสอบแนวเส้นค่าเฉลี่ย 200 ชั่วโมง โดยคาดว่าราคาอาจมีการย่อตัวในระยะสั้นก่อนที่จะฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง หากยังไม่มีปัจจัยใหม่ที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ราคาทองคำ อาจเผชิญแรงต้านสำคัญที่ระดับ 2,642 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเป็นระดับที่คาดว่าจะผ่านขึ้นไปได้ยาก
ล่าสุด โกลด์แมน แซคส์ สถาบันการเงินชั้นนำของโลก ได้ออกมาแนะนำให้ "ลงทุนในทองคำ" พร้อมคาดการณ์ว่าราคาทองคำมีโอกาสพุ่งแตะระดับ 3,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ภายในเดือนธันวาคม 2568
โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นของธนาคารกลาง และแรงหนุนจากเม็ดเงินที่จะไหลเข้าสู่กองทุน ETF ทองคำ เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย
ราคาทองวันนี้ 19 พฤศจิกายน 2567 ปรับเพิ่มขึ้น 250 บาท
ทองคำ เป็นองค์ประกอบสำคัญของเงินสำรองของ ธนาคารกลาง เนื่องจากความปลอดภัย สภาพคล่อง และผลตอบแทน ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์การลงทุนที่สำคัญสามประการของธนาคารกลาง ดังนั้น ธนาคารกลางจึงถือครองทองคำจำนวนมาก โดยคิดเป็นประมาณหนึ่งในห้าของทองคำทั้งหมดที่ขุดได้ตลอดประวัติศาสตร์
เพื่อช่วยให้เข้าใจภาคส่วนนี้ของ ตลาดทองคำ สภาทองคำโลก จึงเผยแพร่ข้อมูลสำรองทองคำ ซึ่งรวบรวมโดยใช้สถิติ IFS ของ IMF ซึ่งติดตามการซื้อและการขายที่ธนาคารกลาง (และสถาบันทางการอื่นๆ ตามความเหมาะสม) พร้อมกับทองคำเป็นเปอร์เซ็นต์ของเงินสำรองระหว่างประเทศ
สถิติการถือครองทองคำทางการของโลก เดือนพฤศจิกายน 2024
(หน่วย : ตัน)
สหรัฐอเมริกา 8,133.5
เยอรมันนี 3,351.5
IMF 2,814
อิตาลี 2,451.8
ฝรั่งเศส 2,436.9
รัสเซีย 2,335.9
จีน 2,264.3
สวิตเซอร์แลนด์ 1,039.9
อินเดีย 854.7
ญี่ปุ่น 846
เนเธอร์เเลนด์ 612.5
ตุรกี 595.4
ธนาคารกลางยุโรป 506.5
ไต้หวัน 422.7
โปแลนด์ 419.7.7
โปรตุเกส 382
อุซเบกิสถาน 373.9
ซาอุดีอาระเบีย 323.1
สหราชอาณาจักร 310.3
เลบานอน 286.8
คาซัคสถาน 285.9
สเปน 281.6
ออสเตรเลีย 280
ไทย 234.5
Cr.
https://www.thansettakij.com/business/economy/612284
ส่องคลังทองคำธนาคารกลางทั่วโลก แรงหนุนราคาทองพุ่ง
ข้อมูลวิเคราะห์ ราคาทองคำ จากฮั่วเซ่งเฮง ระบุว่า ราคาทองคำคืนที่ผ่านมาได้รับแรงหนุนจาก 2 ปัจจัยสำคัญ คือ การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความตึงเครียดของสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน หลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน อนุมัติให้ยูเครนใช้ขีปนาวุธ ATACMS ของสหรัฐฯ โจมตีเข้าไปในดินแดนรัสเซีย ส่งผลให้ตลาดกลับมากังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งที่อาจทวีความรุนแรงขึ้น
ด้าน ราคาทองคำโลก ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 2,620 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และกำลังทดสอบแนวเส้นค่าเฉลี่ย 200 ชั่วโมง โดยคาดว่าราคาอาจมีการย่อตัวในระยะสั้นก่อนที่จะฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง หากยังไม่มีปัจจัยใหม่ที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ราคาทองคำ อาจเผชิญแรงต้านสำคัญที่ระดับ 2,642 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเป็นระดับที่คาดว่าจะผ่านขึ้นไปได้ยาก
ล่าสุด โกลด์แมน แซคส์ สถาบันการเงินชั้นนำของโลก ได้ออกมาแนะนำให้ "ลงทุนในทองคำ" พร้อมคาดการณ์ว่าราคาทองคำมีโอกาสพุ่งแตะระดับ 3,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ภายในเดือนธันวาคม 2568
โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นของธนาคารกลาง และแรงหนุนจากเม็ดเงินที่จะไหลเข้าสู่กองทุน ETF ทองคำ เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย
ราคาทองวันนี้ 19 พฤศจิกายน 2567 ปรับเพิ่มขึ้น 250 บาท
ทองคำ เป็นองค์ประกอบสำคัญของเงินสำรองของ ธนาคารกลาง เนื่องจากความปลอดภัย สภาพคล่อง และผลตอบแทน ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์การลงทุนที่สำคัญสามประการของธนาคารกลาง ดังนั้น ธนาคารกลางจึงถือครองทองคำจำนวนมาก โดยคิดเป็นประมาณหนึ่งในห้าของทองคำทั้งหมดที่ขุดได้ตลอดประวัติศาสตร์
เพื่อช่วยให้เข้าใจภาคส่วนนี้ของ ตลาดทองคำ สภาทองคำโลก จึงเผยแพร่ข้อมูลสำรองทองคำ ซึ่งรวบรวมโดยใช้สถิติ IFS ของ IMF ซึ่งติดตามการซื้อและการขายที่ธนาคารกลาง (และสถาบันทางการอื่นๆ ตามความเหมาะสม) พร้อมกับทองคำเป็นเปอร์เซ็นต์ของเงินสำรองระหว่างประเทศ
สถิติการถือครองทองคำทางการของโลก เดือนพฤศจิกายน 2024
(หน่วย : ตัน)
สหรัฐอเมริกา 8,133.5
เยอรมันนี 3,351.5
IMF 2,814
อิตาลี 2,451.8
ฝรั่งเศส 2,436.9
รัสเซีย 2,335.9
จีน 2,264.3
สวิตเซอร์แลนด์ 1,039.9
อินเดีย 854.7
ญี่ปุ่น 846
เนเธอร์เเลนด์ 612.5
ตุรกี 595.4
ธนาคารกลางยุโรป 506.5
ไต้หวัน 422.7
โปแลนด์ 419.7.7
โปรตุเกส 382
อุซเบกิสถาน 373.9
ซาอุดีอาระเบีย 323.1
สหราชอาณาจักร 310.3
เลบานอน 286.8
คาซัคสถาน 285.9
สเปน 281.6
ออสเตรเลีย 280
ไทย 234.5
Cr. https://www.thansettakij.com/business/economy/612284