สวัสดีครับ พบกันอีกครั้งกับพวกเรา “หมีสร้างบ้าน”
“แค่เชื่อว่าเราทำได้ เราก็จะได้ทำ” สโลแกนใหม่ของเรานั่นเอง"
หลังจากห่างหายจากห้องชายคาไปนานพอสมควร ด้วยติดภาระกิจตกแต่งบ้านและงานทำสวนครัว วันนี้พอจะมีเวลา เลยตั้งใจมาเขียนรีวิวการสร้างโต๊ะคอมสำหรับห้องทำงาน เผื่อมีคนสนใจและกำลังหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจอยู่ครับ
สำหรับรีวิวนี้ก็ยังคง Concept เดิมของหมีสร้างบ้าน คือ เน้นรีวิวแบบละเอียดที่สุดเท่าที่พอจะจำขั้นตอนได้ เผื่อใครอยากทำตามจะได้ไม่ต้องเสียเวลามากนัก ไปเริ่มกันเลยครับ
สรุปย่อๆเป็น VDO ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://youtu.be/kyeTk4Py56g
Fanpage ของหมีสร้างบ้านครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.facebook.com/bearbuilder
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ 1 : ออกแบบให้ดี จะทำงานได้ง่าย
เริ่มต้นก็เขียนแบบกันก่อนเลย ด้วยโปรแกรม Google SketchUP เป็นโปรแกรมที่ดี ที่สำคัญยังเป็นของฟรีอยู่ ส่วนไอเดียร์ก็มีอยู่ในมือถือ กดเข้าไปที่ https://www.pinterest.com แล้วใช้คำค้นประมาณ working, room, decoration ก็จะมีแบบห้องให้เลือกเยอะแยะเลยครับ
จากนั้นก็ทำการวัดขนาดห้องให้เรียบร้อย จุดประสงค์ก็เพื่อนำมาจำลองในโปรแกรมด้วยสัดส่วน 1:1 เวลาเราออกแบบในโปรแกรมเสร็จก็จะได้ขนากของชิ้นงานจริงๆที่เราต้องการจะตัดครับ แล้วก็จะประเมินได้เลยว่าต้องซื้ออะไร เท่าไหร่ จะใช้งบรวมทั้งหมดกี่บาท คุ้มหรือไม่คุ้มก็ติดสินได้เลยที่ขั้นตอนนี้ครับ
สำหรับหมีสร้างบ้านแล้ว งานนี้เป็นงานแรกที่ตัดสินใจเสี่ยงทำงานเหล็ก ด้วยความที่ไม่เคยจับงานด้านนี้เลย ตอนแรกก็มีฝ่อๆกันบ้าง กลัวว่าจะทำไม่สำเร็จ ด้วยเสียงลือเสียงเล่าว่างานเหล็กทำยาก อันตราย สกปรก การเชื่อมเหล็กก็ทำยากถ้าไม่เคยมีประสบการณ์ ไม่รู้วิธีปรับไฟเหมาะสม แรงเกินก็ทะลุ เบาเกินก็เชื่อมไม่แข็งแรง แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจจะลองเรียนรู้ดู เพราะว่าถ้าจะแต่งบ้านเองจริงๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นงานแบบนี้ สุดท้ายก็ตัดสินใจซื้อเครื่องมือใหม่มาอีกสองชิ้น (แท่นตัด กับ ตู้เชื่อม)
เมื่อตกลงปลงใจให้พร้อมลุยงานแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็มุ่งหน้าไปซื้อของ แล้วก็ลงมือทำงานกันได้เลยครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ 2 : ค่าเสียหาย
ราคาของที่เราใช้กับงานนี้ อ้างอิงราคาตามตารางด้านล่างได้เลยครับ (ราคาอาจแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ครับ)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ 3 : กาง Drawing และ ตัดตามแบบ
ด้วยสไตล์การทำงานของพวกเราที่เน้นการออกแบบหน้าคอมมากๆ เพราะเราชื่อว่าถ้าเตรียมตัวดี เราจะทำงานได้เร็ว และทุกๆครั้งก็เป็นแบบนั้นจริงๆ นี่อาจะจะเป็นเทคนิคนึงที่พอจะแชร์ให้กับเพื่อนๆได้ว่า ถ้าเราออกแบบ วางแผนขั้นตอนการทำงานมาดีตั้งแต่ต้น เราจะเจอปัญหาหน้างานน้อย และเราจะทำงานได้เร็ว
เริ่มตัดเหล็กเลยดีกว่า 555
ขั้นแรกก็วัดเหล็กให้ได้ความยาวตามแบบ แล้วขีดเส้นให้ได้มุม 45 องศาสำหรับเป็นเส้นตัด สาเหตุที่ต้องเป็นมุม 45 องศาเพราะว่า ถ้าตัดมุม 90 องศา เวลาประกอบกันจะทำให้ตัวงานเป็นรู ไม่ได้เข้ากันพอดี ถ้าเป็นงานที่ใช้ภายนอกก็จะเป็นตัวเริ่มต้นของสนิม แต่งานภายใน เรากลัว่าอีกหน่อย เจ้าช่องนี้จะเป็นบ้านหลังใหม่ให้กองทัพจิ้งจกในบ้านเรา
ขั้นตอนการตัดก็ไม่ยาก แต่ต้องระวังกว่าการตัดไม้ ที่สำคัญหาอุปกรณ์ป้องกันด้วยจะดีกับร่างายมากๆ
อุปกรณ์ป้องกันที่สำคัญ มีดังนี้ 1) ผ้าปิดจมูก 2) แว่นตาเซฟตี้ 3) ที่อุดหู
หลังจากนั้นก็เอาเหล็กกล่องวางบนแท่นตัดไฟเบอร์ หมุนตัวล็อคที่ติดมากับเครื่องให้บีบเหล็กให้แนบสนิท จากนั้นเปิดเครื่องแล้วค่อยๆ กดคันโยกลงบนชิ้นงาน
หลักการของแท่นตัดไฟเบอร์ คือ การขัดชิ้นส่วนเหล็กออกจากท่อนเหล็กทีละน้อย ดังนั้นจะเกิดประกายไฟขึ้น และความหนาของใบตัดก็จะมีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร เพราะฉะนั้น ในขั้นตอนการวัดและติดตั้งบนแท่นจับต้องเผื่อระยะการกินนี้เหล็กนี้ด้วย ไม่งั้นงานที่ออกมาจะไม่ตรงตามที่วางแผนไว้ นอกจากนั้น การกดคันโยกต้องทำช้าๆ ค่อยๆกด และยกคันโยกเล็กน้อยเสมอ กดๆ ปล่อยๆเป็นระยะจนเหล็กขาดออกจากกัน อย่ากดคันโยกลงทีเดียว เพราะมีโอกาสที่ใบเลื่อยจะแตกออกและมาทำอันตรายกับร่างกายได้
ข้อเสียอีกข้อ คือ การกดเร็วจะทำให้รอยตัดไม่ได้ฉาก อันนี้ค่อนข้างหลีกเลี่ยงยากแต่ก็พอช่วยได้จากการค่อยๆกดคันโยกขณะตัด
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ 4 : เริ่มประกอบขาโต๊ะ
หลังจากได้ชิ้นส่วนครบตามที่วางแผนไว้ ขั้นตอนต่อไปก็ถึงเวลาประกอบด้วยการเชื่อมให้ติดกัน
สำหรับขั้นตอนนี้คงไม่อธิบายรายละเอียดทางเทคนิคเยอะเพราะว่าทุกวันนี้ก็เน้นลองถูกลองผิดตลอดทั้งมือสั่นเชื่อมแล้วทะลุเชื่อมแล้วแนวนูนไปไม่เสม่ำเสมอ
แต่สำหรับหรับคนนับหนึ่งเหมือนกัน ก็จะแนะนำว่าให้ซื้อเหล็กแผ่นขนาด 10X10 เซนติเมตร ที่มีขายตามร้านวัสุทั่วไปมาลองเชื่อมเล่นๆดูก่อน ให้รู้สึกชินมือก่อนลงมือจริงก็ช่วยได้เยอะ สำหรับเรายังเดินแนวเชื่อมไม่ได้ ก็ใช้วิธีแต้มเป็นจุดๆเอา เรื่องความแข็งแรงเราไม่ค่อยกังวล เพราะ ดูจากการใช้งานแล้วก็ไม่ได้ส่งผลอะไรมากนัก รอยเชื่อมแบบนี้ก็พอถูไถไปได้ครับ
แต่ข้อนึงที่พอบอกได้ คือ เวลาเชื่อมอย่าเชื่อมที่รอยต่อเดียวจบ เพราะ เหล็กเวลาโดนความร้อนจะขยายตัวและจะเกิดการหดตัวหลังจากที่เหล็กเย็นตัว ซึ่งจะทำให้งานเราบิด ประกอบกันยาก ควรใช้วิธีแต้มทีละนิด แต้มเป็นจุดๆ ให้ทั่วทั้งชิ้นงาน เอาแค่พอประคองตัวงานได้เป็นรูปเป็นร่างก่อน หลังจากนั้นค่อยเชื่อมทุกรอยต่อแบบที่เป็นแนวๆทีหลัง เพราะเวลาเหล็กหดตัว จะได้ดึงกันไปมา โครงสร้างของชิ้นงานเราก็จะเบี้ยวไม่มากนักครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ 5 :
เริ่มงานสีจ้า
หลังจากเชื่อมและขัดแต่งชิ้นงานเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการทำสีโครงเหล็กที่ทำหน้าที่เป็นส่วนฐานและส่วนรับท๊อปโต๊ะ โดยเริ่มต้นจากการทาสีรองพื้นเหล็กก่อน เวลาซื้อก็ลองถามพนักงานขายได้ว่าต้องการซื้อสีรองพื้นเหล็ก เค้าก็จะพาไปดูชั้นวาง ส่วนใหญ่แล้วเราจะเห็นได้ 2 สีในท้องตลาด คือ สีแดงกับสีเทา ไม่รู้ว่าสองแบบนี้ต่องกันแบบไหน แต่เห็นคนขายบอกว่าถ้าจะทำสีดำก็ใช้สีเทารองพื้นเพราะจะให้สีดำที่ชัดมากๆหลังจากลงสีเสร็จ
หลังจากเลือกสีรองพื้นได้ขั้นตอนต่อไปก็เป็นการลงสีน้ำมันก่อนจะทาสีน้ำมันก็ต้องผสมเล็กน้อยเพราะสีที่เราซื้อมานั้นจะมีความหนืดมากๆทาไปก็จะเป็นรอยแปรงทาสีติดที่ชิ้นงานดังนั้นควรซื้อทินเนอร์มาผสมด้วยนิดหน่อยเพื่อปรับความหนืดส่วนเหตุผลอื่นๆอันนี้ก็ไม่เคยศึกษาไว้เลยครับคงต้องรอผู้รู้มาแนะนำเพิ่มเติมสำหรับสุดส่วนการผสมก็จะติดไว้ข้างๆกระป๋องสีทำตามได้เลยง่ายๆครับ
ทาสีให้ครบทุกชิ้นส่วน ทาจากด้านบนลงล่า งเพราะสีน้ำมันจะไหลลงมารวมกัน ถ้าไม่ปาดหรือทาหนาเกินไป สีน้ำมันจะมารวมกันเป็นหยดน้ำเลย ทำให้ชิ้นงานไม่สวยงามครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ 6 :
เตรียมท๊อปโต๊ะให้พร้อม
ขั้นตอนนี้จะเป็นการเตียมส่วนที่เป็น๊อปโต๊ะ หรือ พื้นผิวโต๊ะ วัสดุหลักก็คือเป็นไม้ยางพาราประสาน ข้อดี คือ ลายไม้สวย ข้อเสีย คือ ราคาแรง ถ้าใครไม่ชอบลายไม้ก็ใช้ไม้อัดแทนก็ได้ เลือกใช้เกรดดีๆหน่อย ผิวค่อนข้างเรียบ สามารถทำสีและเก็บผิวได้เนียนๆเลยครับ สำหรับเราสองคนใช้ไม้ยางประสานเพราะว่าเป็นไม้เหลือตั้งแต่โปรเจคทำห้องครัว ก็เลยพอมีอยู่บ้าง
วีธีการส่วนนี้ไม่มีอะไรครับ วัสดุประเภทไม้จะตัดง่าย ไม่อันตรายเท่าเหล็ก แค่ตั้งรั้วและเผื่อระยะตัดให้ดีๆ ก็จะได้ชินงานท๊อปโต๊ะแล้ว จากนั้นก็นำไปขัด้วยกระดาษทรายให้ผิวเรียบ เทท่านี้ ชิ้นงานไม้ก็พร้อมที่จะทำสีแล้วครับ
ขั้นตอนทำสีก็ไม่ซับซ้อนครับ เลือกซื้อสีย้อมไม้ตามโทนที่ถูกใจตัวเองจากนั้นก็ทำการย้อมสีลงบนไม้ แล้วปิดท้ายด้วยการเคลือบทับด้านหน้าป้องการความชื้น หรือ หยดน้ำในระหว่างการใช้งาน
สำหรับการเลือกสีก็จะมีหลายระบบการทำสี มีตั้งแต่เปิดกระป๋องแล้วทา เขย่าแล้วพ่น หรือ ผสมด้วยสาร A+B+C+ บลาๆ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความถนัดแล้วความต้องการส่วนบุคคลครับ ถ้าต้องการงานที่เคลือบแล้วเห็นเป็นฟิล์มเงาๆเหมือนกระจก อันนี้จะยุ่งยากพอสมควร แต่เอาแค่เน้นโทนสีตามชอบใช้งานง่ายๆ ก็ใช้แค่สีย้อม+สีเคลือบประเภท Polyurethane (A+B) ก็ปิดงานได้ง่ายๆครับ
หลักจากเคลือบเสร็จก็ปิดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 600 ซักครั้งนึงก็จะได้ท๊อปโต๊ะเนียนๆลื่นๆแล้วครับ
ถ้าท่านใดอยากได้รายละเอียดเพิ่มสามารถตามอ่านได้ที่รีวิวการทำห้องครัว หรือ Comment ถามก็ได้ครับ
หมีสร้างบ้าน : แชร์ประสบการณ์ DIY ห้องทำงานด้วยตัวเองด้วยงบหลักพัน (Built-in โต๊ะทำงาน) l จัดเต็มรูป+รายละเอียด
“แค่เชื่อว่าเราทำได้ เราก็จะได้ทำ” สโลแกนใหม่ของเรานั่นเอง"
หลังจากห่างหายจากห้องชายคาไปนานพอสมควร ด้วยติดภาระกิจตกแต่งบ้านและงานทำสวนครัว วันนี้พอจะมีเวลา เลยตั้งใจมาเขียนรีวิวการสร้างโต๊ะคอมสำหรับห้องทำงาน เผื่อมีคนสนใจและกำลังหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจอยู่ครับ
สำหรับรีวิวนี้ก็ยังคง Concept เดิมของหมีสร้างบ้าน คือ เน้นรีวิวแบบละเอียดที่สุดเท่าที่พอจะจำขั้นตอนได้ เผื่อใครอยากทำตามจะได้ไม่ต้องเสียเวลามากนัก ไปเริ่มกันเลยครับ
สรุปย่อๆเป็น VDO ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
Fanpage ของหมีสร้างบ้านครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ 1 : ออกแบบให้ดี จะทำงานได้ง่าย
เริ่มต้นก็เขียนแบบกันก่อนเลย ด้วยโปรแกรม Google SketchUP เป็นโปรแกรมที่ดี ที่สำคัญยังเป็นของฟรีอยู่ ส่วนไอเดียร์ก็มีอยู่ในมือถือ กดเข้าไปที่ https://www.pinterest.com แล้วใช้คำค้นประมาณ working, room, decoration ก็จะมีแบบห้องให้เลือกเยอะแยะเลยครับ
จากนั้นก็ทำการวัดขนาดห้องให้เรียบร้อย จุดประสงค์ก็เพื่อนำมาจำลองในโปรแกรมด้วยสัดส่วน 1:1 เวลาเราออกแบบในโปรแกรมเสร็จก็จะได้ขนากของชิ้นงานจริงๆที่เราต้องการจะตัดครับ แล้วก็จะประเมินได้เลยว่าต้องซื้ออะไร เท่าไหร่ จะใช้งบรวมทั้งหมดกี่บาท คุ้มหรือไม่คุ้มก็ติดสินได้เลยที่ขั้นตอนนี้ครับ
สำหรับหมีสร้างบ้านแล้ว งานนี้เป็นงานแรกที่ตัดสินใจเสี่ยงทำงานเหล็ก ด้วยความที่ไม่เคยจับงานด้านนี้เลย ตอนแรกก็มีฝ่อๆกันบ้าง กลัวว่าจะทำไม่สำเร็จ ด้วยเสียงลือเสียงเล่าว่างานเหล็กทำยาก อันตราย สกปรก การเชื่อมเหล็กก็ทำยากถ้าไม่เคยมีประสบการณ์ ไม่รู้วิธีปรับไฟเหมาะสม แรงเกินก็ทะลุ เบาเกินก็เชื่อมไม่แข็งแรง แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจจะลองเรียนรู้ดู เพราะว่าถ้าจะแต่งบ้านเองจริงๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นงานแบบนี้ สุดท้ายก็ตัดสินใจซื้อเครื่องมือใหม่มาอีกสองชิ้น (แท่นตัด กับ ตู้เชื่อม)
เมื่อตกลงปลงใจให้พร้อมลุยงานแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็มุ่งหน้าไปซื้อของ แล้วก็ลงมือทำงานกันได้เลยครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ 2 : ค่าเสียหาย
ราคาของที่เราใช้กับงานนี้ อ้างอิงราคาตามตารางด้านล่างได้เลยครับ (ราคาอาจแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ครับ)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ 3 : กาง Drawing และ ตัดตามแบบ
ด้วยสไตล์การทำงานของพวกเราที่เน้นการออกแบบหน้าคอมมากๆ เพราะเราชื่อว่าถ้าเตรียมตัวดี เราจะทำงานได้เร็ว และทุกๆครั้งก็เป็นแบบนั้นจริงๆ นี่อาจะจะเป็นเทคนิคนึงที่พอจะแชร์ให้กับเพื่อนๆได้ว่า ถ้าเราออกแบบ วางแผนขั้นตอนการทำงานมาดีตั้งแต่ต้น เราจะเจอปัญหาหน้างานน้อย และเราจะทำงานได้เร็ว
เริ่มตัดเหล็กเลยดีกว่า 555
ขั้นแรกก็วัดเหล็กให้ได้ความยาวตามแบบ แล้วขีดเส้นให้ได้มุม 45 องศาสำหรับเป็นเส้นตัด สาเหตุที่ต้องเป็นมุม 45 องศาเพราะว่า ถ้าตัดมุม 90 องศา เวลาประกอบกันจะทำให้ตัวงานเป็นรู ไม่ได้เข้ากันพอดี ถ้าเป็นงานที่ใช้ภายนอกก็จะเป็นตัวเริ่มต้นของสนิม แต่งานภายใน เรากลัว่าอีกหน่อย เจ้าช่องนี้จะเป็นบ้านหลังใหม่ให้กองทัพจิ้งจกในบ้านเรา
ขั้นตอนการตัดก็ไม่ยาก แต่ต้องระวังกว่าการตัดไม้ ที่สำคัญหาอุปกรณ์ป้องกันด้วยจะดีกับร่างายมากๆ
อุปกรณ์ป้องกันที่สำคัญ มีดังนี้ 1) ผ้าปิดจมูก 2) แว่นตาเซฟตี้ 3) ที่อุดหู
หลังจากนั้นก็เอาเหล็กกล่องวางบนแท่นตัดไฟเบอร์ หมุนตัวล็อคที่ติดมากับเครื่องให้บีบเหล็กให้แนบสนิท จากนั้นเปิดเครื่องแล้วค่อยๆ กดคันโยกลงบนชิ้นงาน
หลักการของแท่นตัดไฟเบอร์ คือ การขัดชิ้นส่วนเหล็กออกจากท่อนเหล็กทีละน้อย ดังนั้นจะเกิดประกายไฟขึ้น และความหนาของใบตัดก็จะมีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร เพราะฉะนั้น ในขั้นตอนการวัดและติดตั้งบนแท่นจับต้องเผื่อระยะการกินนี้เหล็กนี้ด้วย ไม่งั้นงานที่ออกมาจะไม่ตรงตามที่วางแผนไว้ นอกจากนั้น การกดคันโยกต้องทำช้าๆ ค่อยๆกด และยกคันโยกเล็กน้อยเสมอ กดๆ ปล่อยๆเป็นระยะจนเหล็กขาดออกจากกัน อย่ากดคันโยกลงทีเดียว เพราะมีโอกาสที่ใบเลื่อยจะแตกออกและมาทำอันตรายกับร่างกายได้
ข้อเสียอีกข้อ คือ การกดเร็วจะทำให้รอยตัดไม่ได้ฉาก อันนี้ค่อนข้างหลีกเลี่ยงยากแต่ก็พอช่วยได้จากการค่อยๆกดคันโยกขณะตัด
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ 4 : เริ่มประกอบขาโต๊ะ
หลังจากได้ชิ้นส่วนครบตามที่วางแผนไว้ ขั้นตอนต่อไปก็ถึงเวลาประกอบด้วยการเชื่อมให้ติดกัน
สำหรับขั้นตอนนี้คงไม่อธิบายรายละเอียดทางเทคนิคเยอะเพราะว่าทุกวันนี้ก็เน้นลองถูกลองผิดตลอดทั้งมือสั่นเชื่อมแล้วทะลุเชื่อมแล้วแนวนูนไปไม่เสม่ำเสมอ
แต่สำหรับหรับคนนับหนึ่งเหมือนกัน ก็จะแนะนำว่าให้ซื้อเหล็กแผ่นขนาด 10X10 เซนติเมตร ที่มีขายตามร้านวัสุทั่วไปมาลองเชื่อมเล่นๆดูก่อน ให้รู้สึกชินมือก่อนลงมือจริงก็ช่วยได้เยอะ สำหรับเรายังเดินแนวเชื่อมไม่ได้ ก็ใช้วิธีแต้มเป็นจุดๆเอา เรื่องความแข็งแรงเราไม่ค่อยกังวล เพราะ ดูจากการใช้งานแล้วก็ไม่ได้ส่งผลอะไรมากนัก รอยเชื่อมแบบนี้ก็พอถูไถไปได้ครับ
แต่ข้อนึงที่พอบอกได้ คือ เวลาเชื่อมอย่าเชื่อมที่รอยต่อเดียวจบ เพราะ เหล็กเวลาโดนความร้อนจะขยายตัวและจะเกิดการหดตัวหลังจากที่เหล็กเย็นตัว ซึ่งจะทำให้งานเราบิด ประกอบกันยาก ควรใช้วิธีแต้มทีละนิด แต้มเป็นจุดๆ ให้ทั่วทั้งชิ้นงาน เอาแค่พอประคองตัวงานได้เป็นรูปเป็นร่างก่อน หลังจากนั้นค่อยเชื่อมทุกรอยต่อแบบที่เป็นแนวๆทีหลัง เพราะเวลาเหล็กหดตัว จะได้ดึงกันไปมา โครงสร้างของชิ้นงานเราก็จะเบี้ยวไม่มากนักครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ 5 : เริ่มงานสีจ้า
หลังจากเชื่อมและขัดแต่งชิ้นงานเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการทำสีโครงเหล็กที่ทำหน้าที่เป็นส่วนฐานและส่วนรับท๊อปโต๊ะ โดยเริ่มต้นจากการทาสีรองพื้นเหล็กก่อน เวลาซื้อก็ลองถามพนักงานขายได้ว่าต้องการซื้อสีรองพื้นเหล็ก เค้าก็จะพาไปดูชั้นวาง ส่วนใหญ่แล้วเราจะเห็นได้ 2 สีในท้องตลาด คือ สีแดงกับสีเทา ไม่รู้ว่าสองแบบนี้ต่องกันแบบไหน แต่เห็นคนขายบอกว่าถ้าจะทำสีดำก็ใช้สีเทารองพื้นเพราะจะให้สีดำที่ชัดมากๆหลังจากลงสีเสร็จ
หลังจากเลือกสีรองพื้นได้ขั้นตอนต่อไปก็เป็นการลงสีน้ำมันก่อนจะทาสีน้ำมันก็ต้องผสมเล็กน้อยเพราะสีที่เราซื้อมานั้นจะมีความหนืดมากๆทาไปก็จะเป็นรอยแปรงทาสีติดที่ชิ้นงานดังนั้นควรซื้อทินเนอร์มาผสมด้วยนิดหน่อยเพื่อปรับความหนืดส่วนเหตุผลอื่นๆอันนี้ก็ไม่เคยศึกษาไว้เลยครับคงต้องรอผู้รู้มาแนะนำเพิ่มเติมสำหรับสุดส่วนการผสมก็จะติดไว้ข้างๆกระป๋องสีทำตามได้เลยง่ายๆครับ
ทาสีให้ครบทุกชิ้นส่วน ทาจากด้านบนลงล่า งเพราะสีน้ำมันจะไหลลงมารวมกัน ถ้าไม่ปาดหรือทาหนาเกินไป สีน้ำมันจะมารวมกันเป็นหยดน้ำเลย ทำให้ชิ้นงานไม่สวยงามครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ 6 : เตรียมท๊อปโต๊ะให้พร้อม
ขั้นตอนนี้จะเป็นการเตียมส่วนที่เป็น๊อปโต๊ะ หรือ พื้นผิวโต๊ะ วัสดุหลักก็คือเป็นไม้ยางพาราประสาน ข้อดี คือ ลายไม้สวย ข้อเสีย คือ ราคาแรง ถ้าใครไม่ชอบลายไม้ก็ใช้ไม้อัดแทนก็ได้ เลือกใช้เกรดดีๆหน่อย ผิวค่อนข้างเรียบ สามารถทำสีและเก็บผิวได้เนียนๆเลยครับ สำหรับเราสองคนใช้ไม้ยางประสานเพราะว่าเป็นไม้เหลือตั้งแต่โปรเจคทำห้องครัว ก็เลยพอมีอยู่บ้าง
วีธีการส่วนนี้ไม่มีอะไรครับ วัสดุประเภทไม้จะตัดง่าย ไม่อันตรายเท่าเหล็ก แค่ตั้งรั้วและเผื่อระยะตัดให้ดีๆ ก็จะได้ชินงานท๊อปโต๊ะแล้ว จากนั้นก็นำไปขัด้วยกระดาษทรายให้ผิวเรียบ เทท่านี้ ชิ้นงานไม้ก็พร้อมที่จะทำสีแล้วครับ
ขั้นตอนทำสีก็ไม่ซับซ้อนครับ เลือกซื้อสีย้อมไม้ตามโทนที่ถูกใจตัวเองจากนั้นก็ทำการย้อมสีลงบนไม้ แล้วปิดท้ายด้วยการเคลือบทับด้านหน้าป้องการความชื้น หรือ หยดน้ำในระหว่างการใช้งาน
สำหรับการเลือกสีก็จะมีหลายระบบการทำสี มีตั้งแต่เปิดกระป๋องแล้วทา เขย่าแล้วพ่น หรือ ผสมด้วยสาร A+B+C+ บลาๆ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความถนัดแล้วความต้องการส่วนบุคคลครับ ถ้าต้องการงานที่เคลือบแล้วเห็นเป็นฟิล์มเงาๆเหมือนกระจก อันนี้จะยุ่งยากพอสมควร แต่เอาแค่เน้นโทนสีตามชอบใช้งานง่ายๆ ก็ใช้แค่สีย้อม+สีเคลือบประเภท Polyurethane (A+B) ก็ปิดงานได้ง่ายๆครับ
หลักจากเคลือบเสร็จก็ปิดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 600 ซักครั้งนึงก็จะได้ท๊อปโต๊ะเนียนๆลื่นๆแล้วครับ
ถ้าท่านใดอยากได้รายละเอียดเพิ่มสามารถตามอ่านได้ที่รีวิวการทำห้องครัว หรือ Comment ถามก็ได้ครับ