วิธีแก้อาการโมโหของเด็ก และทำให้เด็กมี EQ สูง เห็นผล แก้ได้จริง!

วิธีแก้อาการโมโหของเด็ก และทำให้เด็กมี EQ สูง เห็นผล แก้ได้จริง!
เขียนจากประสบการณ์ตรง ดิฉันมีลูกสองคนขี้โมโหทั้งคู่ มีวิธีการพูดกับลูกดังนี้
1)ลูกคนโตตอนประมาณหกขวบซึ่งอยู่ในวัยร้าย ที่เค้าเรียกกันว่าวายร้ายสามขวบ คือลูกเป็นนานมากน่าจะมาจากพื้นฐานเป็นคนขี้หงุดหงิดเอาแต่ใจ วันหนึ่งเขาเกิดโกรธขึ้นมายกของจะขว้างใส่คุณแม่ ก็เลยพูดกับเขาว่า"เห็นมั้ยว่าจิตกำลังโกรธ ดูจิตซิ!" เค้าก็เอามือลง คือความโกรธหายไป! เค้าบอก"ไม่โกรธแล้ว" เคล็ดลับคือการย้อนดูอารมณ์ตนเอง (การตั้งสติให้อยู่กับตัว) ลองนำไปใช้กับตอนเราขับรถก็ได้ค่ะ ตอนที่มีคนปาดหน้าเรารู้สึกโกรธมาก รู้สึกต้องแก้แค้นหรือต้องทำอะไรซักอย่างเพื่อระบายความโกรธนั้น ลองย้อนมามองที่ใจของตนเองว่ารู้สึกยังไง ตอนนี้สติก็กลับมาที่ตัวแล้ว คุณก็หายโกรธแล้ว หรือถ้าไม่หายก็ให้กลับมาดูใหม่ อย่าไปมองคนที่ปาดหน้าเรา (มองด้วยใจ)
2.เด็กโมโหจากการอิจฉาน้องหรือพี่ ถ้าคุณมีลูกหลายคนลองแยกเขามาเลี้ยงคนเดียวซักครึ่งวัน(พ่อพาไปเที่ยวคน แม่พาไปเที่ยวอีกคน) ก็เห็นแล้วค่ะว่าพฤติกรรมเปลี่ยนไปเลย ดังนั้นการเข้าใจลูกในเรื่องนี้ก็ทำให้คุณระมัดระวังในการพูดกับลูกทั้งสองมากขึ้น เช่นไม่พูดเปรียบเทียบในพี่น้อง ชมคนเล็กต้องชมคนโตด้วย
3.ให้เด็กนอนให้พอก็จะช่วยได้มาก คนนอนไม่อิ่มจะขี้โมโหเป็นธรรมดา ลองให้ลูกนอนเร็วขึ้น และลองดูผลลัพธ์
4.เด็กโมโหจากการหิว คนหิวบางคนอาการรุนแรงมาก อย่างนิทานเรื่องกล่องข้าวน้อยฆ่าแม่ เป็นต้น บางคนหิวก็ไม่แสดงอาการมากมาย ควรสังเกตลูกเราค่ะ เราจะได้เข้าใจไม่ดุเขามากในช่วงที่เค้าหิวจัด ให้รีบหาอะไรให้ทานก็จะหายโมโหไปได้ อย่างเด็กเล็กๆที่เขายังพูดไม่ได้ ถ้าเค้าร้องไห้หงุดหงิดให้สงสัยไว้เลยว่าไม่ง่วงก็หิว นี่คือพื้นฐานของเด็กที่จะมีอารมณ์ขึ้นมา
5.การที่ให้เด็กอยู่กับเกมส์จะช้าจะนานก็ทำให้เด็กหงุดหงิด ลองสังเกตตอนให้ลูกเล่นเกมแล้วพอดึงออกจากมือจะมีอารมณ์โกรธรุนแรงกว่าปกติเพราะอยากเล่นต่อ และบางเกมส์ที่เป็นการต่อสู้ก็ทำให้เด็กนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ส่วนเกมส์รถแข่งก็ทำให้เด็กเป็นคนไม่อดทนเพราะเลียนแบบพฤติกรรมการเอาชนะด้วยการพุ่งไปข้างหน้าจะชนจะพุ่งอย่างเดียว เด็กที่กลับบ้านเล่นเกมส์ เวลาอยู่ที่โรงเรียนมักจะไม่ได้ฟังครูพูด มักจะอยู่ในจินตนาการของตนเองถึงเกมส์ที่ตัวเองเล่น เด็กจะขาดสติเหม่อทำให้เสียการเรียน
6.คำพูดบางคำทำร้ายจิตใจเด็กทำให้เขาหงุดหงิดเช่นการว่ากล่าวเด็กว่า เป็นคนขี้หงุดหงิด เป็นคนเจ้าอารมณ์ใจร้อน อันนี้ทำให้เด็กเข้าใจผิด ฝังใจและเชื่อมั่นว่าตนเองเป็นคนอย่างนั้นจริงๆ
7.การกอดช่วยได้ การกอดถือเป็นการแสดงความรักความเข้าใจในสิ่งที่เด็กกำลังเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นความกลัวความอิจฉาความโกรธแค้นพอเข้าไปกอด เด็กจะรู้สึกผ่อนคลายค่อยเริ่มคุยกับเขาว่า"แม่รักลูกนะ อะไรที่ทำให้ลูกโกรธเดี๋ยวเรามาคุยกันได้ อยากให้หนูรู้ว่าแม่รักและอยากเข้าใจหนูนะ" เมื่อเด็กได้ระบายความทุกข์ของตนเองเด็กก็จะไม่เป็นคนเก็บกด
8.อย่าคาดหวังว่าเด็กจะเลิกโกรธ เลิกอิจฉา เลิกกลัว เพราะสิ่งเหล่านี้มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน แต่เราช่วยให้เด็กผ่อนคลายและรู้จักกลับมามีสติกับตัวเองได้ เขาก็จะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่จัดการกับอารมณ์ตัวเองได้เมื่อมันเกิดขึ้น ควรให้ลูกฝึกดูอารมณ์ตัวเองบ่อยๆ เช่นพูดกับลูกว่า "เวลาอยู่ที่โรงเรียนเพื่อนทำให้โกรธให้ย้อนกลับมาดูที่ใจของตัวเองว่าใจกำลังโกรธอย่าไปดูคนที่ทำให้โกรธนะ" ลองสอนให้เขาทำทุกวัน อันนี้ลองใช้จริงแล้วลูกเรามีความสุขมากขึ้นเป็นคนที่มีEQสูง สามารถอยู่กับเพื่อนที่โรงเรียนได้อย่างมีความสุข เป็นที่รักของเพื่อนมากมายทั้งสองคน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่