ทุกวันนี้มีศาสตร์เลขมงคลจากหลายสำนักเพื่อช่วยเข้ามาเสริมเติมแต่งให้ชีวิตแต่ละคนมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ก็มีผู้คนหลายกลุ่มที่เชื่อเรื่องราวเหล่านี้ และนำสิ่งเหล่านี้เข้ามาช่วยผลักดันให้ชีวิตประสบความสำเร็จในด้านต่างๆที่ตัวเองต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งชื่อ ฮวงจุ้ย ลายเซ็น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนรถ เบอร์โทรศ้พท์ ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่ความเชื่อส่วนบุคคล ใครทำอะไรแล้วสบายใจก็ทำไป ใครทำอะไรแล้วรู้สึกว่าชีวิตดีกว่าเก่าก็ทำไป
แต่การถือเอาเลขมงคลเป็นหลัก นั่นเราได้รับมงคลที่สมบูรณ์แบบแล้วหรือ และจะดีหรือไม่ หากเราไปให้ความสำคัญกับโหราศาสตร์มากกว่าคำสอนพระพุทธเจ้า ซึ่งก็จะมีคนบางกลุ่มที่เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงชีวิตตนเอง ก็จะพูดเรื่องเลขมงคลมากกว่าคำสอนพระพุทธองค์ มากกว่าคำสอนเหตุต้นผลกรรม หรือบางคนไม่พูดถึงคำสอนพระพุทธเจ้าเลย ทั้งๆที่หลายคนก็รู้ดีว่า การเปลี่ยนแปลงพัฒนาชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรมที่ได้ผลดีสุด ก็คือ ประพฤติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ หรือประพฤติตามหลักมงคล 38 ประการ แต่คำสอนเหล่านี้กลับเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้ามและไม่ยอมนำมาปฏิบัติให้เห็นผลจริง
ซึ่งก็จะมีคนอยู่บางกลุ่มที่นำโหราศาสตร์มาช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตตนไม่ว่าเรื่องการงาน การเงิน ความรักด้วยการเปลี่ยนชื่อบ้าง เปลี่ยนเบอร์บ้าง ปรับแต่งฮวงจุ้ยบ้าง แต่เมื่อบางคนเห็นผลการเปลี่ยนแปลงช้าหรือไม่เห็นผล ก็ยอมเสียเงินเพิ่มกับโหราศาสตร์อีก เพื่อให้วิชาโหราศาสตร์ช่วยบันดาลสิ่งที่ต้องการมาให้ได้โดยเร็วที่สุดอย่างใจหวัง จะดีกว่ามั้ยหากตัวเราใส่ใจปฏิบัติตามคำสอนพระพุทธศาสนาให้ได้มากขึ้น เเต่เรื่องการเสียเงินไปกับวิชาโหราศาสตร์ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคล ถ้าเสียเงินแล้วไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใครและรู้สึกสบายใจก็ทำไป เพียงแต่ควรระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าและนำไปปฏิบัติให้ได้จริงเป็นสิ่งที่ชาวพุทธควรให้ความสำคัญมากกว่าสิ่งอื่น
ยกตัวอย่าง หลักคำสอนข้อนึงที่ชี้นำถึงปัญหาเรื่องทรัพย์และชาวพุทธควรหลีกเลี่ยง และข้อประพฤติที่ชาวพุทธควรศึกษาและปฏิบัติตาม
พระคุณแห่งบิดามารดาและผลร้ายแห่งการไม่บำรุงบิดามารดา
มารดาหวังผลคือบุตร จึงนอบน้อมแก่เทวดา และไต่ถามถึงฤกษ์ ฤดูและปีทั้งหลาย เมื่อมารดานั้นมีระดู ความก้าวลงแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ก็ย่อมมี เพราะสัตว์เกิดในครรภ์นั้นมารดาจึงแพ้ท้อง
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่าเป็นผู้มีใจดี มารดาบริหารครรภ์อยู่หนึ่งปีหรือหย่อนกว่าปีแล้วจึงคลอด เหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า ชนยนตีและชเนตตี ผู้ยังบุตรให้เกิด มารดาย่อมปลอบบุตรผู้ร้องไห้อยู่ให้รื่นเริง ด้วยการให้ดื่มน้ำนมบ้าง ด้วยการขับกล่อมบ้าง ด้วยการอุ้มแนบไว้กับอกบ้าง เหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า ปลอบบุตรให้รื่นเริง ต่อแต่นั้น มารดาเห็นบุตรผู้ยังเป็นเด็กอ่อน ไม่รู้จักเดียงสาเล่นอยู่ท่ามกลางสายลมและแสงแดดอันกล้าก็เข้ารับขวัญ
เพราะเหตุนั้นบัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า โปเสนตี ผู้เลี้ยงดูบุตร มารดาย่อมคุ้มครองทรัพย์แม้ทั้งสองฝ่าย คือ ทรัพย์ของมารดาและทรัพย์ของบิดาเพื่อบุตรนั้น ด้วยตั้งใจว่า ทรัพย์ทั้งสองฝ่ายพึงเป็นของบุตรแห่งเรา มารดายังบุตรให้ศึกษาดังนี้ว่า อย่างนี้ซิลูกอย่างโน้นซิลูก ย่อมลำบาก เมื่อบุตรกำลังรุ่นหนุ่มคะนอง มารดาย่อมคอยมองดูบุตรผู้หลงเพลิดเพลินในภรรยาผู้อื่น จนพลบค่ำก็ยังไม่กลับมาย่อมเดือดร้อนด้วยประการ
ฉะนี้ บุตรผู้อันมารดาเลี้ยงดูมาแล้วด้วยความลำบากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดา บุตรนั้นชื่อว่าประพฤติผิดในมารดา ย่อมเข้าถึงนรก บุตรผู้อันบิดาเลี้ยงมาด้วยความลำบากอย่างนี้ ไม่บำรุงบิดา บุตรนั้นชื่อว่า ประพฤติผิดในบิดา ย่อมเข้าถึงนรก เราได้สดับมาว่า เพราะไม่บำรุงมารดา แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาทรัพย์ย่อม
หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึงความยากแค้น เราได้สดับมาว่า เพราะไม่บำรุงบิดา. แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาทรัพย์ย่อม
หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึงความยากแค้น ความรื่นเริง ความบันเทิงและความหัวเราะเล่นหัวกันทุกเมื่อ
บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงมารดา ความรื่นเริงความบันเทิงและความหัวเราะเล่นหัวกันทุกเมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงบิดา สังคหวัตถุ 4 ประการนี้คือทาน การให้ ๑ ปิยวาจา เจรจาคำน่ารัก ๑ อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ ๑ สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลาย
ตามสมควร ในที่นั้นๆ ๑ ย่อมมีในโลกนี้ เหมือนเพลารถย่อมมีแก่รถที่กำลังแล่นไป
ฉะนั้น ถ้าว่าสังคหวัตถุเหล่านี้ไม่พึงมีไซร้ มารดาก็จะไม่พึงได้รับความนับถือหรือการบูชา เพราะเหตุแห่งบุตร หรือบิดาก็จะไม่พึงได้ความนับถือหรือการบูชา เพราะเหตุแห่งบุตร
ก็เพราะบัณฑิตทั้งหลายย่อมพิจารณาเห็นสังคหวัตถุนี้ ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านั้นย่อมถึงความเป็นผู้ประเสริฐ และเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์พึงสรรเสริญ มารดาและบิดาบัณฑิตเรียกว่าเป็นพรหมของบุตร เป็นบุรพาจารย์ของบุตร เป็นผู้ควรรับของคำนับของบุตร และว่าเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร
เพราะเหตุนั้นแล บุตรผู้เป็นบัณฑิต พึงนอบน้อมและสักการะมารดาบิดาทั้ง ๒ นั้นด้วย ข้าว น้ำ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นอน การขัดสี การให้อาบน้ำและการล้างเท้า บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุตรนั้นด้วยการบำรุงในมารดาบิดาในโลกนี้ ครั้นบุตรนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
ใครจะทำเลือกเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ทรัพย์สินดีขึ้น การเงินดีขึ้น ด้วยโหราศาตร์การตั้งชื่อ เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ก็ทำไป แต่อย่าลืมทำตามคำสอนพระพุทธเจ้า อย่าลืมการสร้างเหตุต้นผลกรรมให้ดี จึงจะได้มงคลที่สมบูรณ์แบบจริงๆ
พุทธศาสตร์ มงคล 38 ประการ กับ โหราศาสตร์ เลขมงคล คุณให้ความสำคัญกับสิ่งไหนมากกว่ากัน
แต่การถือเอาเลขมงคลเป็นหลัก นั่นเราได้รับมงคลที่สมบูรณ์แบบแล้วหรือ และจะดีหรือไม่ หากเราไปให้ความสำคัญกับโหราศาสตร์มากกว่าคำสอนพระพุทธเจ้า ซึ่งก็จะมีคนบางกลุ่มที่เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงชีวิตตนเอง ก็จะพูดเรื่องเลขมงคลมากกว่าคำสอนพระพุทธองค์ มากกว่าคำสอนเหตุต้นผลกรรม หรือบางคนไม่พูดถึงคำสอนพระพุทธเจ้าเลย ทั้งๆที่หลายคนก็รู้ดีว่า การเปลี่ยนแปลงพัฒนาชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรมที่ได้ผลดีสุด ก็คือ ประพฤติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ หรือประพฤติตามหลักมงคล 38 ประการ แต่คำสอนเหล่านี้กลับเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้ามและไม่ยอมนำมาปฏิบัติให้เห็นผลจริง
ซึ่งก็จะมีคนอยู่บางกลุ่มที่นำโหราศาสตร์มาช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตตนไม่ว่าเรื่องการงาน การเงิน ความรักด้วยการเปลี่ยนชื่อบ้าง เปลี่ยนเบอร์บ้าง ปรับแต่งฮวงจุ้ยบ้าง แต่เมื่อบางคนเห็นผลการเปลี่ยนแปลงช้าหรือไม่เห็นผล ก็ยอมเสียเงินเพิ่มกับโหราศาสตร์อีก เพื่อให้วิชาโหราศาสตร์ช่วยบันดาลสิ่งที่ต้องการมาให้ได้โดยเร็วที่สุดอย่างใจหวัง จะดีกว่ามั้ยหากตัวเราใส่ใจปฏิบัติตามคำสอนพระพุทธศาสนาให้ได้มากขึ้น เเต่เรื่องการเสียเงินไปกับวิชาโหราศาสตร์ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคล ถ้าเสียเงินแล้วไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใครและรู้สึกสบายใจก็ทำไป เพียงแต่ควรระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าและนำไปปฏิบัติให้ได้จริงเป็นสิ่งที่ชาวพุทธควรให้ความสำคัญมากกว่าสิ่งอื่น
ยกตัวอย่าง หลักคำสอนข้อนึงที่ชี้นำถึงปัญหาเรื่องทรัพย์และชาวพุทธควรหลีกเลี่ยง และข้อประพฤติที่ชาวพุทธควรศึกษาและปฏิบัติตาม
พระคุณแห่งบิดามารดาและผลร้ายแห่งการไม่บำรุงบิดามารดา
มารดาหวังผลคือบุตร จึงนอบน้อมแก่เทวดา และไต่ถามถึงฤกษ์ ฤดูและปีทั้งหลาย เมื่อมารดานั้นมีระดู ความก้าวลงแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ก็ย่อมมี เพราะสัตว์เกิดในครรภ์นั้นมารดาจึงแพ้ท้อง
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่าเป็นผู้มีใจดี มารดาบริหารครรภ์อยู่หนึ่งปีหรือหย่อนกว่าปีแล้วจึงคลอด เหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า ชนยนตีและชเนตตี ผู้ยังบุตรให้เกิด มารดาย่อมปลอบบุตรผู้ร้องไห้อยู่ให้รื่นเริง ด้วยการให้ดื่มน้ำนมบ้าง ด้วยการขับกล่อมบ้าง ด้วยการอุ้มแนบไว้กับอกบ้าง เหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า ปลอบบุตรให้รื่นเริง ต่อแต่นั้น มารดาเห็นบุตรผู้ยังเป็นเด็กอ่อน ไม่รู้จักเดียงสาเล่นอยู่ท่ามกลางสายลมและแสงแดดอันกล้าก็เข้ารับขวัญ
เพราะเหตุนั้นบัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า โปเสนตี ผู้เลี้ยงดูบุตร มารดาย่อมคุ้มครองทรัพย์แม้ทั้งสองฝ่าย คือ ทรัพย์ของมารดาและทรัพย์ของบิดาเพื่อบุตรนั้น ด้วยตั้งใจว่า ทรัพย์ทั้งสองฝ่ายพึงเป็นของบุตรแห่งเรา มารดายังบุตรให้ศึกษาดังนี้ว่า อย่างนี้ซิลูกอย่างโน้นซิลูก ย่อมลำบาก เมื่อบุตรกำลังรุ่นหนุ่มคะนอง มารดาย่อมคอยมองดูบุตรผู้หลงเพลิดเพลินในภรรยาผู้อื่น จนพลบค่ำก็ยังไม่กลับมาย่อมเดือดร้อนด้วยประการ
ฉะนี้ บุตรผู้อันมารดาเลี้ยงดูมาแล้วด้วยความลำบากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดา บุตรนั้นชื่อว่าประพฤติผิดในมารดา ย่อมเข้าถึงนรก บุตรผู้อันบิดาเลี้ยงมาด้วยความลำบากอย่างนี้ ไม่บำรุงบิดา บุตรนั้นชื่อว่า ประพฤติผิดในบิดา ย่อมเข้าถึงนรก เราได้สดับมาว่า เพราะไม่บำรุงมารดา แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาทรัพย์ย่อมหรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึงความยากแค้น เราได้สดับมาว่า เพราะไม่บำรุงบิดา. แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาทรัพย์ย่อม หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึงความยากแค้น ความรื่นเริง ความบันเทิงและความหัวเราะเล่นหัวกันทุกเมื่อ
บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงมารดา ความรื่นเริงความบันเทิงและความหัวเราะเล่นหัวกันทุกเมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงบิดา สังคหวัตถุ 4 ประการนี้คือทาน การให้ ๑ ปิยวาจา เจรจาคำน่ารัก ๑ อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ ๑ สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลาย
ตามสมควร ในที่นั้นๆ ๑ ย่อมมีในโลกนี้ เหมือนเพลารถย่อมมีแก่รถที่กำลังแล่นไป
ฉะนั้น ถ้าว่าสังคหวัตถุเหล่านี้ไม่พึงมีไซร้ มารดาก็จะไม่พึงได้รับความนับถือหรือการบูชา เพราะเหตุแห่งบุตร หรือบิดาก็จะไม่พึงได้ความนับถือหรือการบูชา เพราะเหตุแห่งบุตร
ก็เพราะบัณฑิตทั้งหลายย่อมพิจารณาเห็นสังคหวัตถุนี้ ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านั้นย่อมถึงความเป็นผู้ประเสริฐ และเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์พึงสรรเสริญ มารดาและบิดาบัณฑิตเรียกว่าเป็นพรหมของบุตร เป็นบุรพาจารย์ของบุตร เป็นผู้ควรรับของคำนับของบุตร และว่าเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร
เพราะเหตุนั้นแล บุตรผู้เป็นบัณฑิต พึงนอบน้อมและสักการะมารดาบิดาทั้ง ๒ นั้นด้วย ข้าว น้ำ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นอน การขัดสี การให้อาบน้ำและการล้างเท้า บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุตรนั้นด้วยการบำรุงในมารดาบิดาในโลกนี้ ครั้นบุตรนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
ใครจะทำเลือกเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ทรัพย์สินดีขึ้น การเงินดีขึ้น ด้วยโหราศาตร์การตั้งชื่อ เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ก็ทำไป แต่อย่าลืมทำตามคำสอนพระพุทธเจ้า อย่าลืมการสร้างเหตุต้นผลกรรมให้ดี จึงจะได้มงคลที่สมบูรณ์แบบจริงๆ