ถ้าผู้ใดกล่าวว่า ไม่มีโลกนี้ หรือไม่มีโลกหน้า เมื่อยังมีกิเลสต้ณหาอยู่ ก็จัดว่าผู้นั้นยังมีมิจฉาทิฏฐิอยู่ิเป็นธรรมดา นั้นเอง.
โลกนี้และโลกหน้าเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นั้นมีอยู่ในพุทธพจน์ ดังนี้
จากพระไตรปิฎกเล่มที่ 11
--------------------------------
ว่าด้วยกรรมกิเลส ๔
[๑๗๔] ดูกรคฤหบดีบุตร ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เราจักกล่าว ฯ
สิงคาลกคฤหบดีบุตร ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสว่า ดูกรคฤหบดีบุตร อริยสาวกละกรรมกิเลสทั้ง ๔ ได้แล้ว ไม่ทำบาปกรรมโดยฐานะ ๔
และไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖ อริยสาวกนั้นเป็นผู้ปราศจากกรรมอันลามก ๑๔ อย่างนี้
แล้ว ย่อมเป็นผู้ปกปิดทิศ ๖ ย่อมปฏิบัติเพื่อชำนะโลกทั้งสอง และเป็นอันอริยสาวกนั้นปรารภแล้ว
ทั้งโลกนี้และโลกหน้าเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
กรรมกิเลส ๔ เป็นไฉน ที่อริยสาวกละได้แล้ว ดูกรคฤหบดีบุตร กรรมกิเลส
คือ ปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ๑ มุสาวาท ๑ กรรมกิเลส ๔ เหล่านี้
ที่อริยสาวกนั้นละได้แล้ว ฯ
---------------------------------
จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 20
-------------------------------
อยสูตร
[๕๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ศีลวิบัติ ๑
จิตตวิบัติ ๑ ทิฐิวิบัติ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ศีลวิบัติเป็นไฉนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น
ผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ศีลวิบัติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จิตตวิบัติเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เป็นคนมักโลภมีจิตพยาบาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า จิตตวิบัติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ทิฐิวิบัติเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้
แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่ว
ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์พวกที่ผุดเกิดไม่มี สมณพราหมณ์
ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนหมู่
สัตว์ให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทิฐิวิบัติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ
ศีลวิบัติเป็นเหตุสัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกหรือว่า
เพราะจิตตวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก
หรือว่าเพราะทิฐิวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่าง
เป็นไฉน คือศีลสัมปทา ๑จิตตสัมปทา ๑ ทิฏฐิสัมปทา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ศีลสัมปทา
เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากลักการทรัพย์ เว้นขาด
จากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำหยาบ
เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ศีลสัมปทา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จิตต
สัมปทาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มักโลภ ไม่มีจิตพยาบาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่า จิตตสัมปทา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทิฐิสัมปทาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นสัมมาทิฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวง
มีผล ผลวิบากของกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์พวกที่
ผุดเกิดขึ้นมี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญา
อันยิ่งเองแล้ว สอนหมู่สัตว์ให้รู้ตาม มีอยู่ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า ทิฐิสัมปทา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะศีลสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์ หรือว่าเพราะจิตตสัมปทาเป็นเหตุสัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อม
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หรือว่าเพราะทิฐิสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อม
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ อย่างนี้แล ฯ
------------------------------
เมื่อโลกนี้มี โลกหน้ามี หรือ การเวียนว่ายตายเกิดมี พระพุทธเจ้าให้วางทาที หรือปฏิบัติอย่างไร ต่อความจริงนั้นดังพระไตรปิฏกเล่มที่ 17
--------------------------------
๕. นัตถิทินนสูตร
ว่าด้วยนัตถิกทิฏฐิ
[๔๒๕] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรหนอ
มีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มี
ผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดา
ไม่มี บิดาไม่มี สัตว์โอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้
และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ไม่มีในโลก คนเรานี้เป็นแต่
ประชุมมหาภูตรูปทั้ง ๔ เมื่อใด ทำกาลกิริยา เมื่อนั้น ธาตุดินก็ไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำก็ไปตาม
ธาตุน้ำ ธาตุไฟก็ไปตามธาตุไฟ ธาตุลมก็ไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปใน
อากาศ บุรุษ ๔ คน รวมเป็น ๕ ทั้งเตียง จะหามเขาไป รอยเท้าปรากฏอยู่เพียงแค่ป่าช้า (ต่อมา)
ก็กลายเป็นกระดูกสีเทาสีนกพิลาป การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้ คำของ
คนบางพวกที่พูดว่ามีผล ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ เพราะกายสลาย ทั้งพาล ทั้งบัณฑิต
ย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้น
อย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญ
พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี. เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขาร
มีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิอย่างนี้ว่า
ทานไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญ
พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี.
[๔๒๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง
หรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิต
ย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้ง
บัณฑิตย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. แม้สิ่งที่บุคคลเห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว
ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ สิ่งนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้ง
บัณฑิตย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ เหล่านี้ ชื่อว่า
เป็นอันละความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ
เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๕.
----------------------------------
อธิบาย คือ โลกนี้โลกหน้ามีจริง หรือการเวียนว่ายตายเกิดนั้นมี ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงให้มีท่าที ไม่ยึดมั่นถือมั่น แต่ไม่ใช่การปฏิเสธ โลกนี้โลกหน้า หรือการเวียนว่ายตายเกิดนั้นเอง
โลกนี้โลกหน้ามีอยู่ในพุทธพจน์ก็คือการเวียนว่ายตายเกิดของผู้ยังมีอวิชชาอยู่นั้นเอง
โลกนี้และโลกหน้าเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นั้นมีอยู่ในพุทธพจน์ ดังนี้
จากพระไตรปิฎกเล่มที่ 11
--------------------------------
ว่าด้วยกรรมกิเลส ๔
[๑๗๔] ดูกรคฤหบดีบุตร ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เราจักกล่าว ฯ
สิงคาลกคฤหบดีบุตร ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสว่า ดูกรคฤหบดีบุตร อริยสาวกละกรรมกิเลสทั้ง ๔ ได้แล้ว ไม่ทำบาปกรรมโดยฐานะ ๔
และไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖ อริยสาวกนั้นเป็นผู้ปราศจากกรรมอันลามก ๑๔ อย่างนี้
แล้ว ย่อมเป็นผู้ปกปิดทิศ ๖ ย่อมปฏิบัติเพื่อชำนะโลกทั้งสอง และเป็นอันอริยสาวกนั้นปรารภแล้ว
ทั้งโลกนี้และโลกหน้าเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
กรรมกิเลส ๔ เป็นไฉน ที่อริยสาวกละได้แล้ว ดูกรคฤหบดีบุตร กรรมกิเลส
คือ ปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ๑ มุสาวาท ๑ กรรมกิเลส ๔ เหล่านี้
ที่อริยสาวกนั้นละได้แล้ว ฯ
---------------------------------
จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 20
-------------------------------
อยสูตร
[๕๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ศีลวิบัติ ๑
จิตตวิบัติ ๑ ทิฐิวิบัติ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ศีลวิบัติเป็นไฉนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น
ผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ศีลวิบัติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จิตตวิบัติเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เป็นคนมักโลภมีจิตพยาบาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า จิตตวิบัติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ทิฐิวิบัติเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้
แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่ว
ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์พวกที่ผุดเกิดไม่มี สมณพราหมณ์
ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนหมู่
สัตว์ให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทิฐิวิบัติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ
ศีลวิบัติเป็นเหตุสัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกหรือว่า
เพราะจิตตวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก
หรือว่าเพราะทิฐิวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่าง
เป็นไฉน คือศีลสัมปทา ๑จิตตสัมปทา ๑ ทิฏฐิสัมปทา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ศีลสัมปทา
เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากลักการทรัพย์ เว้นขาด
จากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำหยาบ
เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ศีลสัมปทา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จิตต
สัมปทาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มักโลภ ไม่มีจิตพยาบาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่า จิตตสัมปทา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทิฐิสัมปทาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นสัมมาทิฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวง
มีผล ผลวิบากของกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์พวกที่
ผุดเกิดขึ้นมี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญา
อันยิ่งเองแล้ว สอนหมู่สัตว์ให้รู้ตาม มีอยู่ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า ทิฐิสัมปทา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะศีลสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์ หรือว่าเพราะจิตตสัมปทาเป็นเหตุสัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อม
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หรือว่าเพราะทิฐิสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ย่อม
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ อย่างนี้แล ฯ
------------------------------
เมื่อโลกนี้มี โลกหน้ามี หรือ การเวียนว่ายตายเกิดมี พระพุทธเจ้าให้วางทาที หรือปฏิบัติอย่างไร ต่อความจริงนั้นดังพระไตรปิฏกเล่มที่ 17
--------------------------------
๕. นัตถิทินนสูตร
ว่าด้วยนัตถิกทิฏฐิ
[๔๒๕] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรหนอ
มีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มี
ผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดา
ไม่มี บิดาไม่มี สัตว์โอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้
และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ไม่มีในโลก คนเรานี้เป็นแต่
ประชุมมหาภูตรูปทั้ง ๔ เมื่อใด ทำกาลกิริยา เมื่อนั้น ธาตุดินก็ไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำก็ไปตาม
ธาตุน้ำ ธาตุไฟก็ไปตามธาตุไฟ ธาตุลมก็ไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปใน
อากาศ บุรุษ ๔ คน รวมเป็น ๕ ทั้งเตียง จะหามเขาไป รอยเท้าปรากฏอยู่เพียงแค่ป่าช้า (ต่อมา)
ก็กลายเป็นกระดูกสีเทาสีนกพิลาป การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้ คำของ
คนบางพวกที่พูดว่ามีผล ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ เพราะกายสลาย ทั้งพาล ทั้งบัณฑิต
ย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้น
อย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญ
พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี. เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขาร
มีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิอย่างนี้ว่า
ทานไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญ
พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี.
[๔๒๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง
หรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิต
ย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้ง
บัณฑิตย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. แม้สิ่งที่บุคคลเห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว
ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ สิ่งนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้ง
บัณฑิตย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ เหล่านี้ ชื่อว่า
เป็นอันละความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ
เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๕.
----------------------------------
อธิบาย คือ โลกนี้โลกหน้ามีจริง หรือการเวียนว่ายตายเกิดนั้นมี ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงให้มีท่าที ไม่ยึดมั่นถือมั่น แต่ไม่ใช่การปฏิเสธ โลกนี้โลกหน้า หรือการเวียนว่ายตายเกิดนั้นเอง