สวัสดีทุกคน วันนี้เอาความรู้เรื่องคัมภีร์พระเวทมาฝาก ถ้าขอมูลผิดหรืออย่างไรขออภัยด้วยนะคะ
คัมภีร์พระเวทถือเป็นคัมภีร์สำคัญของศาสนาพราหมณ์ที่ต่างก็รู้จักเป็นอย่างดีในยุคพระเวท ( Vedie Period - Veda Period ) ในยุคนี้ได้มีคัมภีร์พระเวทซึ่งถือว่าเป็นวรรณคดีที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเกิดขึ้น ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวิชาการว่า เป็นวรรณคดีที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
คัมภีร์พระเวทคืออะไร?
"พระเวท” หมายถึงคัมภีร์ของทางอินเดีย มาจากคำสันสกฤตว่า “เวทฺ” (veda) มีรากคำหรือธาตุว่า “วิทฺ” แปลว่า “ความรู้” เหมือนคำว่า “วิทยา”
ดังนั้นพระเวท จึงหมายถึง ความรู้ศักดิ์สิทธิ์ เพราะ วิทยาที่ได้รับฟังมาจากเทวะ คือ ความรู้ที่พระผู้เป็นเจ้าแสดงให้ปรากฏ โดยบรรดา ฤษี รับการถ่ายทอดมาโดยตรง แล้วนำมาเผยแพร่ด้วยการท่องจำแบบปากเปล่าในเฉพาะหมู่ของพวกพราหมณ์
คัมภีร์พระเวทนั้นถือเป็นแหล่งอันสูงสุดในการพิจารณาตัดสินปัญหาในทางปรัชญาและศาสนา ชาวอารยันได้รวบรวมบทสวดอ้อนวอนเทวะที่ใช้กันมาในวงศ์ตระกูลขึ้นเป็นหมวดหมู่ ความรู้เช่นนี้จะเรียนกันเฉพาะหมู่ของบุคคลที่เลือกสรรแล้ว ดังนั้น คัมภีร์พระเวทเป็นคัมภีร์สำคัญที่มีอิทธิพลต่อระบบความคิด ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรมของอินเดียที่สุดคัมภีร์หนึ่ง ซึ่งเป็นรากฐานของระบบความคิดทางศาสนา และปรัชญาของอินเดียทั้งหมด
คัมภีร์พระเวทมีกี่เล่ม?
คัมภีร์พระเวทมีทั้งหมด 4 เล่ม ได้แก่
1. ฤคเวท
นับเป็นคัมภีร์เล่มแรกในวรรณคดีพระเวท เป็นตำราทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ประกอบไปด้วยบทสวดที่วางท่วงทำนองในการสวดไว้อย่างตายตัว กล่าวถึงบทสรรเสริญคุณ อำนาจแห่งเทวะ และประวัติการสร้างโลก รวมถึงหน้าที่ของพระพรหมผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่ง ซึ่งจะใช้ในพิธีการบรวงสรวงเทพเจ้าต่างๆ ของชาวอารยัน ตามประเพณีของฮินดูแล้ว การแบ่งหมวดหมู่ของคัมภีร์พระเวทนี้ วยาส ( ผู้แต่งมหากาพย์ มหาภารตะ ) เป็นผู้ทำขึ้นโดยรับคำสั่งจากพระพรหมณ์ การจัดรวบรวมบทสวดในคัมภีร์ฤคเวทนี้ เรียกว่า ฤคเวทสังหิตา
2.ยชุรเวท
แสดงถึงพิธีกรรมต่างๆ ทั้งการบูชาและการบวงสรวง เป็นคัมภีร์ที่พวกพราหมณ์ ใช้ในการทำพิธีบูชา รจนาขึ้นราว 1-2 ศตวรรษหลังจากฤคเวท โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งได้มาจากฤคเวท นำมาดัดแปลงและเรียบเรียงขึ้นใหม่ อีกส่วนเป็นบทร้องกรองที่ใช้ในพิธีบูชาโดยเฉพาะ
3.สามเวท
เนื้อหาส่วนใหญ่ของสามเวทนี้จะได้มาจากฤคเวท นำมาร้อยกรองเป็นบทสวด เป็นเนื้อหาในส่วนที่ใช้ในการแสดงกลศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ รวมถึงสังคีตอันเป็นบทสวดสรรเสริญคุณและฤทธิ์ของเทวะ ใช้เฉพาะในหมู่ของพวกพราหมณ์ อุทคาตรี4 สำหรับการทำพิธีบูชาน้ำโสม สังหิตาของสามเวทนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ' อรชิต ' มีบทร้อยกรอง 585 บท และ ' อุตตรารชิต ' มีบทร้อยกรอง 1,225 บท
รู้หรือไม่?
คัมภีร์พระเวทสามเล่มแรกนี้ หมายถึง ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท นับเป็นสามเล่มหลักรวมเรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมาในภายหลังมีเวทเกิดขึ้นตามมา คือ อถรวเวท หรือ อถรรพเวท
4.อถรรพเวท
ประกอบด้วยบทสวดคาถาเกี่ยวกับไสยศาสตร์ เป็นพระเวทย์ชนิดพิเศษเรียกว่า ' ฉันท์ ' อันมิได้ถูกจัดอยู่ในไตรเวทเพราะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีบูชายันแต่อย่างใด อาถรรพเวทนี้ถือว่าเป็นความรู้ที่ปรากฏแก่พวกพราหมณ์อัธวรรยุ พระเวทตอนนี้มีความเกี่ยวของกับไสยศาสตร์บทสวดต่างๆ อันมีจุดประสงค์เพื่อขจัดโรคและภัยพิบัติ ทั้งกล่าวรวมถึงหน้าที่ของกษัตริย์และสัจธรรมขั้นสูง
องค์ประกอบของคัมภีร์พระเวทมีอะไรบ้าง?
คัมภีร์พระเวทจะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
1.มันตระ หรือ มนต์ จะรวบรวมบทสวดที่กล่าวถึงเทพเจ้าแห่งปัญญา สุขภาพ ความมั่งคั่ง และความมีอายุยืน รวมถึงบทสวดอ้อนวอนเพื่อขอทาสบริวาร สัตว์เลี้ยง บุตร ชัยชนะในสงคราม หรือแม้กระทั่งการของให้ยกเลิกซึ่งบาปทั้งปวงอันได้กระทำลงไป บางทีก็เรียกว่า สังหิตา หมายถึง บทสวดหรือมนต์ที่ใช้ในการทำพิธีบูชานั่นเอง โดยคัมภีร์ทั้ง 4 เล่มที่กล่าวมาในตอนต้น ล้วนแต่เป็นประเภทมันตระทั้งสิ้น สามารถแจกแจงได้ดังนี้
คัมภีร์ ฤคเวท 'มันตระ' จะเรียกว่า ฤค อันเป็นร้อยกรองที่มีใจความในการสรรญเสริญพระเจ้า เป็นท่วงทำนองเพื่อการอ่านออกเสียงในการทำพิธีบรวงสรวง
คัมภีร์ ยชุรเวท 'มันตระ' เรียกว่า ยชุส เป็นร้อยแก้ว ที่ใช้สวดออกเสียงค่อยๆ ในการประกอบศาสนพิธี
คัมภีร์ สามเวท 'มันตระ' จะเรียกว่า สามัน อันเป็นบทสวดมีทำนอง แต่ใช้เฉพาะในพิธีบูชาน้ำโสม
ส่วนใน อถรรพเวทนั้น มันตระ ไม่มีชื่อเรียกโดยเฉพาะ
มันตระ
2.พราหมณะ เป็นส่วนที่อธิบายถึงวิธีและรายละเอียดในการจัดศาสนพิธิที่ต้องสวดมันตระ และอธิบายเรื่องราวต่างๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องกับมันตระ คัมภีร์พระเวทเฉพาะตอนของ พราหมณะ นี้ ยังสามารถแยกออกเป็นแขนงสำคัญได้อีก 2 แขนงคือ อารัณยกะ และ อุปนิษัท
พราหมณะ
อารัณยกะ คือหนังสือคำสอนสำหรับใช้ในป่า ซึ่งเป็นภาคผนวกของพราหมณะ มีภาษาสำนวนและแม้แต่เนื้อความคล้ายกับพราหมณะ แต่ให้ความสนใจแก่ความหมายของพิธีกรรมและความหมายในสัมหิตา มากกว่าพราหมณะที่สนใจแต่กฎเกณฑ์ของการประกอบพิธีกรรม
อารัณยกะ
อุปนิษัท เป็นการค้นหาทางแห่งความหลุดพ้นโดยสิ้นเชิงจากการเวียนว่ายตายเกิด ในสมัยนี้มีคนจำนวนมากออกกระทำทุกขกริยา หรือมิฉะนั้นก็ออกไปแสวงหาสมณธรรมตามป่าเขา โดยตัวคนเดียวบ้างเป็นหมู่คณะบ้าง แล้วเที่ยวประกาศคำสอนอย่างใหม่ในที่ต่าง ๆ คำสอนนี้แม้ว่าจะมีความสำคัญต่างไปจากพระเวท แต่ก็หาได้ปฏิเสธพระเวทยังไม่ยอมรับความสำคัญของ พิธีกรรมสังเวยเทพยดาของพราหมณ์อยู่ เป็นแต่เพียงไม่เห็นว่าจะเป็นช่องทางนำไปสู่ความหลุดพ้นเท่านั้น
รู้หรือไม่?
ในสมัยต่อมา มีคัมภีร์ใหม่เกิดขึ้นอีกเล่มหนึ่งคือ อิติหาส หรือบางทีก็เรียกว่าเป็นพระเวทที่ 5 ประกอบด้วยบทร้อยกรอง เรื่องราวเก่าแก่ และปุราณะ นอกจากนี้ยังมีพระเวทชั้นสองที่เรียกว่า อุปเวท เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับดนตรี ยารักษาโรค ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีมหากาพย์โด่งดังทั่วโลกที่สอดแทรกคำสอนต่าง ๆ ของศาสนาพราหมณ์- ฮินดูเข้าไป นั่นก็คือ
มหากาพย์รามายณะ และ มหาภารตะ
ก็รวบรวมและสรุปข้อมูลมาได้แค่นี้ ถ้าผิดพลากยังไงก็ขอโทษด้วยนะคะ พอดีว่าช่วงนี้เรียนเรื่องปรัชญาฮินดู แล้วอยากเอาสิ่งที่ตัวเองสรุปไว้มาแบ่งให้คนอื่นอ่าน 55555555
อ้างอิง
เรียบเรียงโดย LALOLA
ว่าด้วยเรื่องของ คัมภีร์พระเวท
คัมภีร์พระเวทคืออะไร?
ดังนั้นพระเวท จึงหมายถึง ความรู้ศักดิ์สิทธิ์ เพราะ วิทยาที่ได้รับฟังมาจากเทวะ คือ ความรู้ที่พระผู้เป็นเจ้าแสดงให้ปรากฏ โดยบรรดา ฤษี รับการถ่ายทอดมาโดยตรง แล้วนำมาเผยแพร่ด้วยการท่องจำแบบปากเปล่าในเฉพาะหมู่ของพวกพราหมณ์
คัมภีร์พระเวทนั้นถือเป็นแหล่งอันสูงสุดในการพิจารณาตัดสินปัญหาในทางปรัชญาและศาสนา ชาวอารยันได้รวบรวมบทสวดอ้อนวอนเทวะที่ใช้กันมาในวงศ์ตระกูลขึ้นเป็นหมวดหมู่ ความรู้เช่นนี้จะเรียนกันเฉพาะหมู่ของบุคคลที่เลือกสรรแล้ว ดังนั้น คัมภีร์พระเวทเป็นคัมภีร์สำคัญที่มีอิทธิพลต่อระบบความคิด ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรมของอินเดียที่สุดคัมภีร์หนึ่ง ซึ่งเป็นรากฐานของระบบความคิดทางศาสนา และปรัชญาของอินเดียทั้งหมด
คัมภีร์พระเวทมีกี่เล่ม?
คัมภีร์พระเวทมีทั้งหมด 4 เล่ม ได้แก่
1. ฤคเวท
นับเป็นคัมภีร์เล่มแรกในวรรณคดีพระเวท เป็นตำราทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ประกอบไปด้วยบทสวดที่วางท่วงทำนองในการสวดไว้อย่างตายตัว กล่าวถึงบทสรรเสริญคุณ อำนาจแห่งเทวะ และประวัติการสร้างโลก รวมถึงหน้าที่ของพระพรหมผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่ง ซึ่งจะใช้ในพิธีการบรวงสรวงเทพเจ้าต่างๆ ของชาวอารยัน ตามประเพณีของฮินดูแล้ว การแบ่งหมวดหมู่ของคัมภีร์พระเวทนี้ วยาส ( ผู้แต่งมหากาพย์ มหาภารตะ ) เป็นผู้ทำขึ้นโดยรับคำสั่งจากพระพรหมณ์ การจัดรวบรวมบทสวดในคัมภีร์ฤคเวทนี้ เรียกว่า ฤคเวทสังหิตา
แสดงถึงพิธีกรรมต่างๆ ทั้งการบูชาและการบวงสรวง เป็นคัมภีร์ที่พวกพราหมณ์ ใช้ในการทำพิธีบูชา รจนาขึ้นราว 1-2 ศตวรรษหลังจากฤคเวท โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งได้มาจากฤคเวท นำมาดัดแปลงและเรียบเรียงขึ้นใหม่ อีกส่วนเป็นบทร้องกรองที่ใช้ในพิธีบูชาโดยเฉพาะ
เนื้อหาส่วนใหญ่ของสามเวทนี้จะได้มาจากฤคเวท นำมาร้อยกรองเป็นบทสวด เป็นเนื้อหาในส่วนที่ใช้ในการแสดงกลศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ รวมถึงสังคีตอันเป็นบทสวดสรรเสริญคุณและฤทธิ์ของเทวะ ใช้เฉพาะในหมู่ของพวกพราหมณ์ อุทคาตรี4 สำหรับการทำพิธีบูชาน้ำโสม สังหิตาของสามเวทนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ' อรชิต ' มีบทร้อยกรอง 585 บท และ ' อุตตรารชิต ' มีบทร้อยกรอง 1,225 บท
รู้หรือไม่?
คัมภีร์พระเวทสามเล่มแรกนี้ หมายถึง ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท นับเป็นสามเล่มหลักรวมเรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมาในภายหลังมีเวทเกิดขึ้นตามมา คือ อถรวเวท หรือ อถรรพเวท
ประกอบด้วยบทสวดคาถาเกี่ยวกับไสยศาสตร์ เป็นพระเวทย์ชนิดพิเศษเรียกว่า ' ฉันท์ ' อันมิได้ถูกจัดอยู่ในไตรเวทเพราะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีบูชายันแต่อย่างใด อาถรรพเวทนี้ถือว่าเป็นความรู้ที่ปรากฏแก่พวกพราหมณ์อัธวรรยุ พระเวทตอนนี้มีความเกี่ยวของกับไสยศาสตร์บทสวดต่างๆ อันมีจุดประสงค์เพื่อขจัดโรคและภัยพิบัติ ทั้งกล่าวรวมถึงหน้าที่ของกษัตริย์และสัจธรรมขั้นสูง
องค์ประกอบของคัมภีร์พระเวทมีอะไรบ้าง?
คัมภีร์พระเวทจะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
1.มันตระ หรือ มนต์ จะรวบรวมบทสวดที่กล่าวถึงเทพเจ้าแห่งปัญญา สุขภาพ ความมั่งคั่ง และความมีอายุยืน รวมถึงบทสวดอ้อนวอนเพื่อขอทาสบริวาร สัตว์เลี้ยง บุตร ชัยชนะในสงคราม หรือแม้กระทั่งการของให้ยกเลิกซึ่งบาปทั้งปวงอันได้กระทำลงไป บางทีก็เรียกว่า สังหิตา หมายถึง บทสวดหรือมนต์ที่ใช้ในการทำพิธีบูชานั่นเอง โดยคัมภีร์ทั้ง 4 เล่มที่กล่าวมาในตอนต้น ล้วนแต่เป็นประเภทมันตระทั้งสิ้น สามารถแจกแจงได้ดังนี้
คัมภีร์ ฤคเวท 'มันตระ' จะเรียกว่า ฤค อันเป็นร้อยกรองที่มีใจความในการสรรญเสริญพระเจ้า เป็นท่วงทำนองเพื่อการอ่านออกเสียงในการทำพิธีบรวงสรวง
คัมภีร์ ยชุรเวท 'มันตระ' เรียกว่า ยชุส เป็นร้อยแก้ว ที่ใช้สวดออกเสียงค่อยๆ ในการประกอบศาสนพิธี
คัมภีร์ สามเวท 'มันตระ' จะเรียกว่า สามัน อันเป็นบทสวดมีทำนอง แต่ใช้เฉพาะในพิธีบูชาน้ำโสม
ส่วนใน อถรรพเวทนั้น มันตระ ไม่มีชื่อเรียกโดยเฉพาะ
2.พราหมณะ เป็นส่วนที่อธิบายถึงวิธีและรายละเอียดในการจัดศาสนพิธิที่ต้องสวดมันตระ และอธิบายเรื่องราวต่างๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องกับมันตระ คัมภีร์พระเวทเฉพาะตอนของ พราหมณะ นี้ ยังสามารถแยกออกเป็นแขนงสำคัญได้อีก 2 แขนงคือ อารัณยกะ และ อุปนิษัท
ในสมัยต่อมา มีคัมภีร์ใหม่เกิดขึ้นอีกเล่มหนึ่งคือ อิติหาส หรือบางทีก็เรียกว่าเป็นพระเวทที่ 5 ประกอบด้วยบทร้อยกรอง เรื่องราวเก่าแก่ และปุราณะ นอกจากนี้ยังมีพระเวทชั้นสองที่เรียกว่า อุปเวท เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับดนตรี ยารักษาโรค ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีมหากาพย์โด่งดังทั่วโลกที่สอดแทรกคำสอนต่าง ๆ ของศาสนาพราหมณ์- ฮินดูเข้าไป นั่นก็คือ