ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนครับว่า การที่ผมมาเขียนกระทู้นี้ไม่ได้เป็นการบอกว่า เด็กที่เกิดในยุค90 โชคร้ายที่ต้องเกิดมาพบกับความยากลำบาก หดหู่ หรือผิดหวัง เพียงแต่อยากแจกแจงและแชร์ประสบการณ์กับเพื่อนๆที่เป็นเด็กยุคเดียวกันถึงโจทย์ที่เราได้รับจากสังคม ผมเขียนกระทู้นี้ด้วยความรู้สึก ไม่ได้อ้างอิงจากงานวิชาการ หรืองานวิจัย เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้ เป็นเพียงมุมมองของคนคนหนึ่ง อาจจะมีผิดบ้าง ถูกบ้าง ถือว่าเป็นการแชร์การคุยกันในกลุ่มเพื่อนก็แล้วกันครับ หากผู้อ่านมีงานวิชาการใด หรือหลักฐานใดๆที่น่าเชื่อถือ จะมาสนับสนุน หรือ แย้งกระทู้นี้ ผมยินดีที่จะมีส่วนร่วมในการดิสคัส ครับ
ต้องท้าวความไปถึงข้อเท็จจริงของการเปลี่ยนผ่านสู่สมัยใหม่ ซึ่งหลายครั้งในงานเขียนหลายต่อหลายชิ้น การจบลงของสงครามโลกครั้งที่2มักมีบทบาทเป็นหมุดที่ใช้กำหนดการเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ แน่นอนว่า เจเนอเรชั่นของเด็กที่เกิดจากประชากรที่มีชีวิตในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ถูกเรียกว่า Baby Boomers ไอเดียของชื่อนี้คือ การบูมของอัตราการเกิดเด็กทารก ประชากรหลายล้านตายไปในสงคราม ทั้งทหารและพลเรือน จึงมีความจำเป็นต้อง"ผลิต"มนุษย์ขึ้นมาทดแทน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทุกท่านอาจจะเคยได้ยินคนในยุคนั้น มีลูก5-10คน ซึ่งผมมองว่าเป็นการเกิดมาด้วยการ Mass Production คือการผลิตเน้นปริมาณ ไม่ได้สนใจคุณภาพชีวิตของเด็กที่เกิดมา ซึ่งสอดรับกับข้อเท็จจริงที่ว่า เด็กในยุคนั้นมีอัตราการตายสูง ทั้งเพราะโรคระบาด สุขอนามัย และอุบัติเหตุจากการมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำ
พ่อแม่ของเด็กยุค 90 คือคนกลุ่มนี้นั่นเอง คือผลผลิตของคนที่ผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง (ไทยเองแม้ไม่ได้สัมผัสกับสงครามโลกแบบเต็มรูปแบบ แต่ก็ได้รับผลกระทบจากการขับเคี่ยวกันระหว่างสองขั้วอำนาจ การเป็นเป้าหมายของการทิ้งระเบิด ภาวะขาดแคลนอาหารและทรัพยากร) สิ่งเหล่านี้นี่เองแม้หลงเหลือเป็นเพียงประสบการณ์ แต่มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะส่งผ่านมายัง เหล่า Baby Boomers
จากความคิดเห็นของผมเอง ผมมองว่า Baby Boomers เป็นเจเนอเรชั่นที่ "รอดพ้น" จากความโหดร้ายของสงคราม พ่อแม่ของเจเนอเรชั่นนี้ (คือรุ่นปู่ย่าตายายของเรา) ให้ความสำคัญกับการมีชีวิตรอดจากการขาดแคลนอาหาร และเงิน
Baby Boomers เกิดมาท่ามกลางการมีพี่น้องที่เสียชีวิตเพราะโรคระบาด ผมมองว่าพวกเขาอาจจะรู้สึกว่า เขาโชคดีที่ได้มีชีวิตรอด
อีกประการหนึ่ง เมื่อสงครามโลกจบลง เศรษฐกิจก็ได้รับการฟื้นฟู มีทุนต่างชาติเข้ามาในเมืองไทย
จะเห็นได้ว่าหลายๆบริษัทยักษ์ใหญ่ก็ก่อตั้งในยุคนี้ ผมมองว่า Baby Boomers แม้จะเกิดมาในสภาวะยากลำบาก มีข้อจำกัดหลายๆด้าน แต่ก็เป็นยุคที่เปี่ยมไปด้วยความหวัง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อจิตใจมนุษย์ในการมีชีวิตอยู่ พวกเขาหวังว่าชีวิตจะดีขึ้นเรื่อยๆ เศรษฐกิจที่ขยาย สอดรับกับการเปิดประเทศของยักษ์ใหญ่อย่างจีน ในช่วงที่พวกเขาเป็นเด็ก ยิ่งเป็นการเปิดกว้างโอกาสในการค้าของคนในยุคนี้
ผมขอถือวิสาสะสรุปว่า
Baby Boomers แม้จะเกิดมาในช่วงที่สังคมยังบกพร่อง ข้าวยังกินอิ่มบ้าง ไม่อิ่มบ้าง ของเล่นมีชิ้นสองชิ้นบ้าง แต่ก็เป็นเจเนอเรชั่นที่มองว่า ตนเอง "โชคดี" แค่ไหนแล้วที่มีชีวิตอยู่ อีกทั้งก็ยังมองเห็นเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นฟู มองเห็นผู้คนมากมายประสบความสำเร็จ การเปิดประเทศของจีน และยุคของทุนญี่ปุ่นที่เข้ามาในประเทศไทย พวกเขามี "ความหวัง" ว่าชีวิตในอนาคตเขาต้องดีขึ้น ถ้าพวกเขาไม่ย่อท้อ อนาคตของเขามัน Promising
Baby Boomers เริ่มตั้งตัวได้ในยุค 90 ซึ่งเป็นยุคที่พวกเขาเริ่มคิดจะสร้างครอบครัว การล่มสลายของขั้วอำนาจคอมมิวนิสต์อย่างโซเวียต ทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นขั้วอำนาจเดี่ยวในการนำกระแสโลก ยิ่งตอกย้ำไอเดียของประชาธิปไตยและการค้าเสรี ทั้งนี้ เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ การเข้ามาของเพจเจอร์ โทรศัพท์รุ่นกระดูกหมา Baby Boomers มองว่าลูกของพวกเขา "โชคดี" ที่ไม่ต้องเกิดมาในยุคที่ยากลำบาก มีชีวิตที่เพียบพร้อม อยากได้อะไรก็ได้ สิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่ล้วนแล้วจะมีมากขึ้นและพัฒนาประสิทธิภาพมากขึ้น
ผม และ "พวกเรา" คือผลผลิตแห่งยุค90
พวกเราเกิดมาท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี จากโทรศัพท์กระดูกหมามาสู่สมาร์ทโฟน
แต่นั่นไม่ใช่สิ่งใหม่สิ่งเดียวที่เด็กยุค90ต้องเผชิญ เด็กยุค90 เติบโตมาพร้อม "ความคาดหวัง"
บริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้มีสงคราม หรือโรคระบาดให้ต้องลุ้นว่าเราจะตายเมื่อไร
เด็กรุ่นนี้ไม่ได้เห็นตัวอย่างของการตายของพี่น้อง หรือเพื่อนรุ่นเดียวกันจากโรคระบาด
ไม่มีปัจจัยของการขาดแคลนเงิน หรือ อาหาร พวกเขาก็ท้องอิ่มได้ทุกวันโดยไม่ต้องทำอะไร
พ่อแม่ประคบประหงม อยากได้อะไรก็ต้องได้
แต่นั่นก็เป็นเหมือนแพคเกจที่มาพร้อมกับ "ความคาดหวัง" ที่สูงลิ่ว
จากข้อเท็จจริงที่เด็กยุค90 ไม่ต้องกังวลเรื่องใดเลย ความสนใจทั้งหมดมุ่งตรงไปที่ "การเรียน"
Baby Boomers เป็นเจเนอเรชั่นที่ผ่านความไม่พร้อมและปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน
ที่บ้านเงินไม่พอต้องออกมาทำงานเสริมบ้าง ต้องช่วยงานที่บ้านบ้าง
การเรียนของพวกเขามีอุปสรรคทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ
เมื่อมีลูก Baby Boomers ก็มองว่า เมื่อลูกๆของเขาไม่มีอุปสรรคจากปัจจัยภายนอกอะไรเลย ก็ควรที่จะทำหน้าที่ "เพียงประการเดียว" ของพวกเขาให้ดี และคำว่าดีคือดีกว่าที่พวกเขาทำ (เพราะพวกเขาทำมันทั้งๆที่มีอุปสรรค)
นี่เป็นผลที่โรงเรียนกวดวิชา บูมมากในยุคของพวกเรา
เกิด Mindset และค่านิยมต่างๆ ต้องเป็นหมอนะ ต้องเป็นวิศวะนะ ต่อไปต้องเข้ามหาลัยxxxนะ
ในขณะที่เด็กยุค90เกิดมาพร้อมความเพียบพร้อมทางกายภาพ แต่ถูกกดดันในจิตใจ
คนทุกคนไม่ได้เก่งไปซะทุกอย่าง เราถูกประเมินค่าด้วยการเรียน ได้วิทย์คะแนนเท่าไร ได้เลขคะแนนเท่าไร
ต่อไปต้องเป็นหมอนะ ต่อไปต้องเป็นวิศวะนะ
ไม่ว่าคุณจะทำดีสักแค่ไหน จะมีคนทำได้ดีกว่าคุณเสมอ และคนที่ทำได้ดีที่สุดเท่านั้นควรจะได้รับคำชม
พวกเราเติบโตมาในยุคแห่งการเปรียบเทียบ ทั้งกับเพื่อนๆ ญาติๆ ด้วยความสามารถทางการเรียน (ซึ่งไม่ใช่ทุกอย่างในโลกแห่งความเป็นจริง)
นี่เป็นสิ่งที่ทำให้คำจำกัดความของคำว่า"คุณค่า"ของเด็กในยุคนี้เปลี่ยนไป คุณค่าของพวกเขาคือสิ่งที่สามารถแสดงเป็นตัวเลขได้
และแตกต่างกับคนในยุคก่อนๆ เขาไม่ได้รู้สึกถึง "ความโชคดี"ของการมีชีวิตอยู่ เพราะนั่นเป็นสิ่งที่ทุกคนได้มาอย่างง่ายๆ และไม่ต้องทำอะไร
แต่กลับโฟกัสกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า พวกเขาเกิดมาแล้ว "มีอะไร" ในเชิงวัตถุมากกว่า
นอกจากความคาดหวังของพ่อแม่ในการเรียนแล้ว เด็กยุค90ขาด"ความหวัง"ว่าชีวิตของเขาต้องดีขึ้น วิกฤตเศรษฐกิจเอเชียในปี 2540 ทำให้เศรษฐกิจประเทศไทยและหลายๆประเทศถดถอย สิ่งที่เคยได้ เคยมี กลับไม่มี ซึ่งแตกต่างกับยุคของพ่อแม่พวกเขา ที่มีความหวังว่าชีวิตจะต้องดีขึ้นเรื่อยๆ
และนั่นก็สอดรับกับการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี อินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนจะแสดงด้านดีๆของตัวเองในโลกโซเชียล ทำให้พวกเขามองว่า ชีวิตของเขาแย่ ไม่มีความหวัง และน่าหดหู่
สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดของการวัดคุณค่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นตัวเลข คือ ยอดไลค์ พวกเขาทำทุกอย่างเพื่อจะได้ยอดไลค์มากๆ ซึ่งเป็นเสมือนมาตรวัดคุณค่าของคนหนึ่งคน
ในวันนี้ เด็กยุค90 คือ น้องใหม่ในที่ทำงาน คือ เด็กที่กำลังศึกษาต่อในต่างประเทศ ภายใต้ฉากหน้าว่ามีชีวิตที่มีความสุขในเฟสบุ๊คและอินสตาแกรม พวกเขาเหงาและโดดเดี่ยวยิ่งกว่าใครๆ
เขาเจอกับโจทย์เดิมๆ เช่นการแข่งขันกันในที่ทำงาน ในการเรียน การเซตความฝันไว้สูง แต่ก็ยังทำไม่ได้สักที ทำแล้วก็ล้มเหลว ลุกขึ้นใหม่ เพื่อจะล้มเหลวอีกครั้ง
ภายใต้ความเพียบพร้อมของรูปโปรไฟล์เฟสบุ๊ค ที่เป็นรูปตอนไปเที่ยวยุโรป แต่พวกเขากลับไม่มีความพอใจในสิ่งที่ตนมี
เขาไม่ได้พอใจการมีชีวิตอยู่ เพราะนั่นเป็นสิ่งที่ทุกคนมี และได้มาง่าย
แต่เขามองว่า การมีชีวิตอยู่นั้น เป็นชีวิตที่ "มี" อะไร "ได้"อะไร และสิ่งที่"ได้"ที่"มี"คือสิ่งที่วัดคุณค่า ถ้าไม่ "ได้" ไม่"มี" คุณค่านั้นก็ไม่มีอยู่
พวกเขาไม่ได้ appreciate สิ่งที่ตนมีเท่าใดนัก เนื่องจากเป็นคนตั้งความหวังไว้สูง เมื่อทำได้อย่างหนึ่ง ก็จะบอกว่ อีกอย่างที่สูงกว่านั้น ฉันยังทำไม่ได้
ในขณะที่พวกเขาถีบตัวเองไปข้างหน้าขึ้นเรื่อยๆ ก็เหมือนกับหมาไล่ฟัดหางตัวเองไม่มีวันสิ้นสุด
แต่สิ่งที่ได้มากลับเป็นความ "ผิดหวัง" ว่าฉันยังทำได้ไม่ดีพอ ฉันควรทำดีกว่านี้
และนี่คือโจทย์ของเด็กยุค90 ที่กำลังทำงานและกำลังจะเริ่มทำงาน
อยากให้เข้าใจพวกเรากันด้วยนะครับ
พวกเราไม่ใช่คนที่โชคดีขนาดนั้น
และความอุ่นใจ สบายใจ ในการทำอะไร เป็นสิ่งที่พวกเราให้ความสำคัญมาก
ไม่ต้องการการบังคับ แม้จะแลกมาด้วยเงิน
และคำชมเล็กๆน้อยๆ มีความหมายกับพวกเรามากครับ
เสียงจากเด็กยุค 90 โจทย์ที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ความคาดหวังของสังคม และความเป็นไปได้ในยุคแห่งการแข่งขัน
ต้องท้าวความไปถึงข้อเท็จจริงของการเปลี่ยนผ่านสู่สมัยใหม่ ซึ่งหลายครั้งในงานเขียนหลายต่อหลายชิ้น การจบลงของสงครามโลกครั้งที่2มักมีบทบาทเป็นหมุดที่ใช้กำหนดการเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ แน่นอนว่า เจเนอเรชั่นของเด็กที่เกิดจากประชากรที่มีชีวิตในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ถูกเรียกว่า Baby Boomers ไอเดียของชื่อนี้คือ การบูมของอัตราการเกิดเด็กทารก ประชากรหลายล้านตายไปในสงคราม ทั้งทหารและพลเรือน จึงมีความจำเป็นต้อง"ผลิต"มนุษย์ขึ้นมาทดแทน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทุกท่านอาจจะเคยได้ยินคนในยุคนั้น มีลูก5-10คน ซึ่งผมมองว่าเป็นการเกิดมาด้วยการ Mass Production คือการผลิตเน้นปริมาณ ไม่ได้สนใจคุณภาพชีวิตของเด็กที่เกิดมา ซึ่งสอดรับกับข้อเท็จจริงที่ว่า เด็กในยุคนั้นมีอัตราการตายสูง ทั้งเพราะโรคระบาด สุขอนามัย และอุบัติเหตุจากการมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำ
พ่อแม่ของเด็กยุค 90 คือคนกลุ่มนี้นั่นเอง คือผลผลิตของคนที่ผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง (ไทยเองแม้ไม่ได้สัมผัสกับสงครามโลกแบบเต็มรูปแบบ แต่ก็ได้รับผลกระทบจากการขับเคี่ยวกันระหว่างสองขั้วอำนาจ การเป็นเป้าหมายของการทิ้งระเบิด ภาวะขาดแคลนอาหารและทรัพยากร) สิ่งเหล่านี้นี่เองแม้หลงเหลือเป็นเพียงประสบการณ์ แต่มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะส่งผ่านมายัง เหล่า Baby Boomers
จากความคิดเห็นของผมเอง ผมมองว่า Baby Boomers เป็นเจเนอเรชั่นที่ "รอดพ้น" จากความโหดร้ายของสงคราม พ่อแม่ของเจเนอเรชั่นนี้ (คือรุ่นปู่ย่าตายายของเรา) ให้ความสำคัญกับการมีชีวิตรอดจากการขาดแคลนอาหาร และเงิน
Baby Boomers เกิดมาท่ามกลางการมีพี่น้องที่เสียชีวิตเพราะโรคระบาด ผมมองว่าพวกเขาอาจจะรู้สึกว่า เขาโชคดีที่ได้มีชีวิตรอด
อีกประการหนึ่ง เมื่อสงครามโลกจบลง เศรษฐกิจก็ได้รับการฟื้นฟู มีทุนต่างชาติเข้ามาในเมืองไทย
จะเห็นได้ว่าหลายๆบริษัทยักษ์ใหญ่ก็ก่อตั้งในยุคนี้ ผมมองว่า Baby Boomers แม้จะเกิดมาในสภาวะยากลำบาก มีข้อจำกัดหลายๆด้าน แต่ก็เป็นยุคที่เปี่ยมไปด้วยความหวัง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อจิตใจมนุษย์ในการมีชีวิตอยู่ พวกเขาหวังว่าชีวิตจะดีขึ้นเรื่อยๆ เศรษฐกิจที่ขยาย สอดรับกับการเปิดประเทศของยักษ์ใหญ่อย่างจีน ในช่วงที่พวกเขาเป็นเด็ก ยิ่งเป็นการเปิดกว้างโอกาสในการค้าของคนในยุคนี้
ผมขอถือวิสาสะสรุปว่า
Baby Boomers แม้จะเกิดมาในช่วงที่สังคมยังบกพร่อง ข้าวยังกินอิ่มบ้าง ไม่อิ่มบ้าง ของเล่นมีชิ้นสองชิ้นบ้าง แต่ก็เป็นเจเนอเรชั่นที่มองว่า ตนเอง "โชคดี" แค่ไหนแล้วที่มีชีวิตอยู่ อีกทั้งก็ยังมองเห็นเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นฟู มองเห็นผู้คนมากมายประสบความสำเร็จ การเปิดประเทศของจีน และยุคของทุนญี่ปุ่นที่เข้ามาในประเทศไทย พวกเขามี "ความหวัง" ว่าชีวิตในอนาคตเขาต้องดีขึ้น ถ้าพวกเขาไม่ย่อท้อ อนาคตของเขามัน Promising
Baby Boomers เริ่มตั้งตัวได้ในยุค 90 ซึ่งเป็นยุคที่พวกเขาเริ่มคิดจะสร้างครอบครัว การล่มสลายของขั้วอำนาจคอมมิวนิสต์อย่างโซเวียต ทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นขั้วอำนาจเดี่ยวในการนำกระแสโลก ยิ่งตอกย้ำไอเดียของประชาธิปไตยและการค้าเสรี ทั้งนี้ เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ การเข้ามาของเพจเจอร์ โทรศัพท์รุ่นกระดูกหมา Baby Boomers มองว่าลูกของพวกเขา "โชคดี" ที่ไม่ต้องเกิดมาในยุคที่ยากลำบาก มีชีวิตที่เพียบพร้อม อยากได้อะไรก็ได้ สิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่ล้วนแล้วจะมีมากขึ้นและพัฒนาประสิทธิภาพมากขึ้น
ผม และ "พวกเรา" คือผลผลิตแห่งยุค90
พวกเราเกิดมาท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี จากโทรศัพท์กระดูกหมามาสู่สมาร์ทโฟน
แต่นั่นไม่ใช่สิ่งใหม่สิ่งเดียวที่เด็กยุค90ต้องเผชิญ เด็กยุค90 เติบโตมาพร้อม "ความคาดหวัง"
บริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้มีสงคราม หรือโรคระบาดให้ต้องลุ้นว่าเราจะตายเมื่อไร
เด็กรุ่นนี้ไม่ได้เห็นตัวอย่างของการตายของพี่น้อง หรือเพื่อนรุ่นเดียวกันจากโรคระบาด
ไม่มีปัจจัยของการขาดแคลนเงิน หรือ อาหาร พวกเขาก็ท้องอิ่มได้ทุกวันโดยไม่ต้องทำอะไร
พ่อแม่ประคบประหงม อยากได้อะไรก็ต้องได้
แต่นั่นก็เป็นเหมือนแพคเกจที่มาพร้อมกับ "ความคาดหวัง" ที่สูงลิ่ว
จากข้อเท็จจริงที่เด็กยุค90 ไม่ต้องกังวลเรื่องใดเลย ความสนใจทั้งหมดมุ่งตรงไปที่ "การเรียน"
Baby Boomers เป็นเจเนอเรชั่นที่ผ่านความไม่พร้อมและปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน
ที่บ้านเงินไม่พอต้องออกมาทำงานเสริมบ้าง ต้องช่วยงานที่บ้านบ้าง
การเรียนของพวกเขามีอุปสรรคทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ
เมื่อมีลูก Baby Boomers ก็มองว่า เมื่อลูกๆของเขาไม่มีอุปสรรคจากปัจจัยภายนอกอะไรเลย ก็ควรที่จะทำหน้าที่ "เพียงประการเดียว" ของพวกเขาให้ดี และคำว่าดีคือดีกว่าที่พวกเขาทำ (เพราะพวกเขาทำมันทั้งๆที่มีอุปสรรค)
นี่เป็นผลที่โรงเรียนกวดวิชา บูมมากในยุคของพวกเรา
เกิด Mindset และค่านิยมต่างๆ ต้องเป็นหมอนะ ต้องเป็นวิศวะนะ ต่อไปต้องเข้ามหาลัยxxxนะ
ในขณะที่เด็กยุค90เกิดมาพร้อมความเพียบพร้อมทางกายภาพ แต่ถูกกดดันในจิตใจ
คนทุกคนไม่ได้เก่งไปซะทุกอย่าง เราถูกประเมินค่าด้วยการเรียน ได้วิทย์คะแนนเท่าไร ได้เลขคะแนนเท่าไร
ต่อไปต้องเป็นหมอนะ ต่อไปต้องเป็นวิศวะนะ
ไม่ว่าคุณจะทำดีสักแค่ไหน จะมีคนทำได้ดีกว่าคุณเสมอ และคนที่ทำได้ดีที่สุดเท่านั้นควรจะได้รับคำชม
พวกเราเติบโตมาในยุคแห่งการเปรียบเทียบ ทั้งกับเพื่อนๆ ญาติๆ ด้วยความสามารถทางการเรียน (ซึ่งไม่ใช่ทุกอย่างในโลกแห่งความเป็นจริง)
นี่เป็นสิ่งที่ทำให้คำจำกัดความของคำว่า"คุณค่า"ของเด็กในยุคนี้เปลี่ยนไป คุณค่าของพวกเขาคือสิ่งที่สามารถแสดงเป็นตัวเลขได้
และแตกต่างกับคนในยุคก่อนๆ เขาไม่ได้รู้สึกถึง "ความโชคดี"ของการมีชีวิตอยู่ เพราะนั่นเป็นสิ่งที่ทุกคนได้มาอย่างง่ายๆ และไม่ต้องทำอะไร
แต่กลับโฟกัสกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า พวกเขาเกิดมาแล้ว "มีอะไร" ในเชิงวัตถุมากกว่า
นอกจากความคาดหวังของพ่อแม่ในการเรียนแล้ว เด็กยุค90ขาด"ความหวัง"ว่าชีวิตของเขาต้องดีขึ้น วิกฤตเศรษฐกิจเอเชียในปี 2540 ทำให้เศรษฐกิจประเทศไทยและหลายๆประเทศถดถอย สิ่งที่เคยได้ เคยมี กลับไม่มี ซึ่งแตกต่างกับยุคของพ่อแม่พวกเขา ที่มีความหวังว่าชีวิตจะต้องดีขึ้นเรื่อยๆ
และนั่นก็สอดรับกับการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี อินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนจะแสดงด้านดีๆของตัวเองในโลกโซเชียล ทำให้พวกเขามองว่า ชีวิตของเขาแย่ ไม่มีความหวัง และน่าหดหู่
สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดของการวัดคุณค่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นตัวเลข คือ ยอดไลค์ พวกเขาทำทุกอย่างเพื่อจะได้ยอดไลค์มากๆ ซึ่งเป็นเสมือนมาตรวัดคุณค่าของคนหนึ่งคน
ในวันนี้ เด็กยุค90 คือ น้องใหม่ในที่ทำงาน คือ เด็กที่กำลังศึกษาต่อในต่างประเทศ ภายใต้ฉากหน้าว่ามีชีวิตที่มีความสุขในเฟสบุ๊คและอินสตาแกรม พวกเขาเหงาและโดดเดี่ยวยิ่งกว่าใครๆ
เขาเจอกับโจทย์เดิมๆ เช่นการแข่งขันกันในที่ทำงาน ในการเรียน การเซตความฝันไว้สูง แต่ก็ยังทำไม่ได้สักที ทำแล้วก็ล้มเหลว ลุกขึ้นใหม่ เพื่อจะล้มเหลวอีกครั้ง
ภายใต้ความเพียบพร้อมของรูปโปรไฟล์เฟสบุ๊ค ที่เป็นรูปตอนไปเที่ยวยุโรป แต่พวกเขากลับไม่มีความพอใจในสิ่งที่ตนมี
เขาไม่ได้พอใจการมีชีวิตอยู่ เพราะนั่นเป็นสิ่งที่ทุกคนมี และได้มาง่าย
แต่เขามองว่า การมีชีวิตอยู่นั้น เป็นชีวิตที่ "มี" อะไร "ได้"อะไร และสิ่งที่"ได้"ที่"มี"คือสิ่งที่วัดคุณค่า ถ้าไม่ "ได้" ไม่"มี" คุณค่านั้นก็ไม่มีอยู่
พวกเขาไม่ได้ appreciate สิ่งที่ตนมีเท่าใดนัก เนื่องจากเป็นคนตั้งความหวังไว้สูง เมื่อทำได้อย่างหนึ่ง ก็จะบอกว่ อีกอย่างที่สูงกว่านั้น ฉันยังทำไม่ได้
ในขณะที่พวกเขาถีบตัวเองไปข้างหน้าขึ้นเรื่อยๆ ก็เหมือนกับหมาไล่ฟัดหางตัวเองไม่มีวันสิ้นสุด
แต่สิ่งที่ได้มากลับเป็นความ "ผิดหวัง" ว่าฉันยังทำได้ไม่ดีพอ ฉันควรทำดีกว่านี้
และนี่คือโจทย์ของเด็กยุค90 ที่กำลังทำงานและกำลังจะเริ่มทำงาน
อยากให้เข้าใจพวกเรากันด้วยนะครับ
พวกเราไม่ใช่คนที่โชคดีขนาดนั้น
และความอุ่นใจ สบายใจ ในการทำอะไร เป็นสิ่งที่พวกเราให้ความสำคัญมาก
ไม่ต้องการการบังคับ แม้จะแลกมาด้วยเงิน
และคำชมเล็กๆน้อยๆ มีความหมายกับพวกเรามากครับ