ผู้ไทมาจากไหน

"ผู้ไท" คำนี้ เป็นทั้งชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ ชื่อทางวัฒนธรรม และระบบภาษา เกืดขึ้นจากคำ 2 คำมารวมกัน คือคำว่า "ผู้" และคำว่า "ไท" ทั้งสองคำมีหน้าที่เหมือนกัน คือ ใช้แทนคนหรือแทนตัวบุคคลเมื่อคนไปเกี่ยวข้องกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เมื่อแปลออกมาก็จะได้คำว่า คน, ชาว, หมู่, พวก​ ในภาษาไทยราชการ โดยคำว่า ชาว จะใช้เมื่อคนไปเกี่ยวข้องกับพื้นที่, แผ่นดิน, แม่น้ำ, อาณาเขต, ที่อยู่อาศัย เช่นคำว่า ไทกรุงเทพ ก็แปลว่า ชาวกรุงเทพ ไทนครพนม ก็แปลว่า ชาวนครพนม

แต่ทั้ง "ผู้" และ "ไท" ก็จะมีความแตกต่างกันในแง่ของ สาธารณะนาม กับ อสาธารณะนาม คือ ใช้พูดเจาะจง กับไม่เจาะจง มีรายละเอียดดังนี้

"ไท" เป็นสาธารณะนาม คือใช้พูดอย่างไม่เจาะจงว่าเป็นใคร พูดอย่างลอยๆ หรือสื่อถึงคนส่วนใหญ่ คนทั่วไป คนทั้งหมด และจะเกี่ยวข้องกับพื้นที่, อาณาเขต, ที่อยู่อาศัย เช่น ไททั้งหลาย ไทบ้านไทเมือง ไทขาย ไทซื้อ (คนขาย คนซื้อ แต่ไม่ได้เจาะจงว่าคนที่ขาย คนที่ซื้อเป็นใครกันแน่) ดังนั้น คำว่า ไท จึงมีความหมายที่กว้างกว่าคำว่า ผู้​ อาจจะแปลตามบริบททางภาษาได้ว่า​ "ทั่วไป" อย่างเช่นวลีที่ว่า​ "เป็นไทไม่เป็นทาส​" ก็ไม่ได้หมายความว่า​ "ไท" จะต้องแปลว่า​ อิสระ​ การที่แปลว่าอิสระ​นั้นเป็นการแปลตามบริบทของสำนวน​ ทั้งที่ความหมายโดยแท้จริง​ของสำนวนนี้​ มันก็คือ​ "เป็นคนทั่วไปไม่เป็นคนรับใช้อีกแล้ว"

"ผู้" เป็นอสาธารณะนาม คือใช้พูดอย่างจำเพาะเจาะจงไปที่ตัวคนๆ นั้น เป็นรายบุคคลไป เช่น ผู้นั้น (คนนั้น), ผู้ไท (ผู้คน คือ พูดถึงตัวเองหรือคนอื่น แปลว่า คนที่นี่, คนที่อยู่ตรงไหนสักแห่ง มักจะมีชื่อสถานที่ตามหลัง เช่น ผู้ไทนครพนม ก็จะแปลว่า คนนี้, คนนั้น, ตัวเอง เป็นชาวนครพนม) ผู้ขาย (คนนั้น, คนนี้, ตัวเองเป็นคนขาย)

จากคำอธิบายเบื้องต้น ก็ทำให้ทราบว่า ทั้ง "ผู้" และ "ไท" ต่างก็มีใช้กันทุกกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได เพราะเป็นส่วนหนึ่งของระบบภาษาตระกูลนี้ ซึ่งอาจจะพูดแตกต่างกันหลายสำเนียง บางท้องที่อาจพูดว่า ปู้ ปู๋ ปู่ บางท้องที่อาจพูดว่า ผู้ ผู๋ ผู่ ซึ่งหลักๆ แล่วนักวิชาการทางภาษาก็จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มพูดพ่นลม กับ กลุ่มที่พูดไม่พ่นลม
--------
ในแง่ของชื่อกลุ่มย่อยทางชาติพันธุ์ ก็จะมี "ผู้ไท" ที่ชาวไทยและชาวลาวรู้จักกันดี คือ ผู้ไทที่อยู่อาศัยอยู่ตอนกลางของประเทศลาวและภาคอีสานประเทศไทย แบ่งย่อยตามเสียงวรรณยุกต์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ไทวัง กับ ผู้ไทเซโปน ซึ่งผู้ไททั้งสองกลุ่มนี้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะไดกลุ่มหนึ่งที่มีความหลากหลายในเรื่องของหลักภาษา สำเนียง เสียงวรรณยุกต์ และคำศัพท์ ความหลากหลายด้านภาษาดังกล่าว บ่งบอกถึงการอพยพเคลื่อนย้ายของคนกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถสืบค้นไปจนถึงรากเหง้าว่า คนกลุ่มนี้มาจากไหน?

ภาษาผู้ไทนั้นเป็นภาษาที่มีความสัมพันธ์กับหลายกลุ่มภาษา ไม่ว่าจะเป็น ลื้อ, จ้วง, ลาวหลวงพระบาง, ลาวเวียง, พวน, ญ้อ, ไทภาคเหนือ, ไทถิ่นภาคกลาง, ไทภาคใต้ แต่กลุ่มที่มีความใกล้ชิดมากที่สุดคือ "กลุ่มภาษาพวน" ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าทั้งสองกลุ่มนี้เคยเป็นภาษาเดียวกันมาก่อน หรืออาจจะอยู่ด้วยกันมาก่อน เพราะมีระบบการออกเสียงพยัญชนะเหมือนกัน คำศัพท์หลายคำก็ใช้เหมือนกัน เสียงวรรณยุกต์ก็ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ "ผู้ไทเซโปน" ส่วนกลุ่มผู้ไทวังจะเป็นกลุ่มที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของภาษานี้ อาจจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ดั้งเดิม แต่ก็จะมีเสียงวรรณยุกต์บางเสียงร่วมกับภาษาลาว ภาษาเหนือ ภาษาใต้และภาษาไทถิ่นภาคกลางด้วย

(เพลงภาษาจ้วง คำว่า 不 (ปู้) แปลว่า​ ไม่ ภาษาจ้วง จะพูดว่า มี, หมี่​ เหมือนกับภาษาผู้ไท)
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
เพลงนี้มีหลายคำที่คนไทยต้องฟังเข้าใจ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ภาษาลื้อ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอคลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ส่วนที่ใช้ร่วมกันกับพวนมีดังนี้
1. ข ออกเสียงเป็น ห เช่น ข้าว เป็น เห้า, เขียง เป็น เหง, ข้าม เป็น ห้าม การออกเสียงอย่างนี้ยังพบได้ในกลุ่มภาษาจ้วง เช่น "กินข้าว" ภาษาจ้วงจะพูดว่า "เกินเห๋า"

2. คำที่ผสมสระเสียวยาวแล้วสะกดด้วย "ก" จะเปลี่ยเป็นเสียงสั้นแล้วตัด "ก" ทิ้งโดยอัตโนมัติ เช่น ดอกไม้ เป็น เด๊าะไม้, ลูก เป็น ลุ การออกเสียงแบบนี้ พบได้ในภาษาใต้ฝั่งตะวันตก อ้างอิงจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89

3. สระ "ใ,ไ" เป็นสระเออ เช่น ใคร เป็น เพอ, ลูกสะใภ้ เป็น ลุเภ้อ

4. คำว่า "อะไร" จะพูดว่า "ผะเหลอ, ผิเหลอ"

5. คำว่า "ไหน" ภาษาผู้ไทใช้คำว่า "ซิเลอ, สะเลอ" ภาษาพวนใช้คำว่า "กะเลอ" เช่นเดียวกับ ไทดำ ญ้อ ซึ่งคำนี้มีใช้ร่วมกันกับภาษาจ้วงบางท้องที่ ซึ่งจะใช้คำว่า "กิ๊หละื" (อะกับอือ พูดควบกัน)

6.คำว่า "ใคร" ก็จะพูดว่า "เพอ,เผ๋อ,เผ่อ"

ส่วนที่มีความแตกต่างจากภาษาพวนมีดังนี้
1. การปฏิเสธ ภาษาพวนจะใช้คำว่า "่บ่" เหมือนภาษาอื่นๆ แต่ภาษาผู้ไทจะใช้คำว่า "มี" เหมือนชาวลื้อบางกลุ่ม, และชาวจ้วงบางกลุ่ม เหมือนกับคำว่า "มิ" ในภาษาไทยสมัยโบราณ

2. เสียงสระ ภาษาพวนจะมีทั้งสระเดี่ยวและสระผสม แต่ภาษาผู้ไทจะไม่มีสระผสมที่ออกเสียง "อัว, เอีย, เอือ" แต่จะใช้ "โอ, เอ, เออ" แทน ซึ่งการใช้สระดังกล่าวนี้ก็มีความสัมพันธ์กับภาษาลื้อ, ไทขาวในเวียดนาม และภาษาไตอื่นๆ ทางตอนใต้ของจีน เช่น ผัว เป็น โผ, เมีย เป็น เม และยังมีคำศัพท์บางคำที่ใช้ร่วมกับภาษาลื้อ คือคำว่า "โซ" ที่แปลว่า ชวน ภาษาลื้อจะพูดว่า "โจ"

ภาษาลาวหลวงพระบาง
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ภาษาพวน
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอคลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ภาษาผู้ไทเซโปน
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอคลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ผู้ไทวัง
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอคลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอคลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ภาษาไทภาคใต้ มีเสียงวรรณยุกต์ร่วมกันกับกลุ่มผู้ไทวัง
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอคลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ชาวผู้ไทและชาวพวน เคยมีถิ่นฐานอยู่ร่วมกับชาวลื้อและชาวจ้วงทางตอนใต้ของประเทศจีน โดยชาวผู้ไทจะอยู่ใกล้ชิตกับสองภาษานี้มากที่สุด และเคยอยู่ร่วมกับกลุ่มเชียงแสน กลุ่มล้านข้าง ก่อนที่จะอพยพถอยร่อนลงมาทางใต้ โดยชาวพวนถอยลงมาปักหลักที่เมืองเขียงขวาง เรียกว่า "เมืองพวน" มีเสียงวรรณยุกต์ร่วมกับลาวหลวงพระบาง ส่วนชาวผู้ไทจากเดิมที่เคยอยู่ทางตอนเหนือติดกับกลุ่มจ้วงและพวนก็อพยพถ่อยลงมาปักหลักอยู่บริเวณที่อยู่ก้ำกึ่งระหว่าง​ แขวงคำม่วน-สะหวันนะเขตติดกับประเทศเวียดนามในปัจจุบัน (ไม้เนิ้งแดนแกว-ไม้ล้มแดนญวน)​เรียกว่า "เมืองวัง เมืองเซโปน" ก่อนจะมีเมืองอื่นๆ ตามมา และถูกกวาดต้อนเข้ามาประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนกลุ่มเขียงแสนและกลุ่มล้านช้างบางส่วนก็อพยลงมาปักหลักสร้างบ้านแปงเมืองอยู่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเรื่อยลงไปจนถึงภาคใต้ของประเทศไทย กลายเป็นชาวสยามและชาวไทยในปัจจุบัน

ประเด็นที่นักวิชาการสมัยปัจจุบันสันนิษฐานกันว่า​ (ยังไม่สรุป/ยังไม่ฟันธง)​  กลุ่มชาติพันธุ์นี้มาจาก​ "นา/น้ำน้อยหนู"  ที่เป็นเมืองเดียนเบียนฟูของเวียดนามนั้น​ ก็อาจจะเป็นจริง​ก็ได้​ แต่เราต้องคำนึงถึง​ "พื้นที่ที่เป็นจุดร่วมทางภาษา" ด้วย​ ว่ามันจะต้องอยู่จุดไหน​ พิกัดไหนกันแน่​ เพราะภาษาผู้ไท​ มีรากภาษาร่วมกับลื้อและจ้วง​ในสมัยโบราณ​
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่