เมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว
คุณทวด (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เป็นผู้ครอบครองที่ดิน เป็นเอกสารสิทธิ์ สค.1
คุณทวดติดหนี้ข้าวเปลือกนายทุน 9 กระสอบ
ที่ดินส่วนที่ 1 เกือบ 30 ไร่ ถูกนายทุนยึดครอง (ข้าวเปลือกไม่พอใช้หนี้)
มีชาวบ้านผลัดเปลี่ยนหลายคนหลายรุ่น ที่เข้ามาใช้ประโยชน์ทำนา เก็บเกี่ยวได้ข้าว นายทุนก็มาแบ่งขนข้าวไป เป็นเช่นนั้นจนถึงปัจจุบัน
ที่ดินส่วนที่ 2 ตกทอดสู่ลูกหลาน
(ลูกหลานขายที่ จนปัจจุบันเหลือแค่ 8 ไร่ อยู่ติดกับส่วนที่ 1 ผู้ถือครองเพียงคนเดียว คือ คุณแม่ของผม)
ที่ดินทั้ง 2 ส่วน ผู้ครอบครอง คือ นายทุน กับ แม่ของผม ไม่มีเอกสารสิทธิ์ใดๆ เหมือนเป็นที่ดินว่างเปล่า
แต่มี สค.1 อยู่ที่กรมที่ดิน ยังเป็นชื่อคุณทวด
ปี พ.ศ. 2553 มีนโยบายเปลี่ยน สค.1 เป็น ฉโนด
คุณแม่ในฐานะสืบสายเลือดจากคุณทวด ไปขอค้น สค. 1 และยื่นเรื่องขอออกโฉนดในส่วนที่ครอบครอง 8 ไร่
หลังนายทุนทราบเรื่อง ได้ขอให้มีการรังวัดเพื่อออกโฉนด ครอบรวมกับส่วนที่ 1 ส่วนของนายทุนด้วย
ออกโฉนดเป็นชื่อร่วม 2 ชื่อ ในโฉนดใบเดียว
หลังได้โฉนดมาแล้ว
ก่อนไปยื่นเรื่องรังวัดแบ่งที่ดิน
1. คุณแม่ของผมสามารถเจรจาต่อรองเรื่องหนี้สินเก่าของคุณทวดกับนายทุนได้หรือไม่ ซึ่งนายทุนยึดครองหลายปี เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้มากกว่าหนี้ข้าวเปลือกแค่ 9 กระสอบตั้งมากแล้ว
2. หรืออีกความคิดหนึ่ง ที่ดินส่วนที่ 1 นายทุนมีชื่อเป็นผู้เสียภาษีมาหลายปีแล้ว คุณแม่ผมไม่สิทธิ์เรียกร้องใดๆ แล้วใช่หรือไม่
3. (ตั้งแต่นายทุนยึดที่ดิน ไม่ใช่การซื้อขาย ก็ไม่ได้เรียกร้องใดๆจากนายทุน) เมื่อมีการรังวัดแบ่งที่ดิน ผู้สืบสายเลือดจากคุณทวดคือคุณแม่ของผม ถ้าไม่ยินยอมระบุการแบ่งที่ดินให้นายทุนโดยความเสน่หา ฝ่ายนายทุนจะระบุเหตุผลใดได้บ้าง (ถ้าระบุว่าได้มาโดยการซื้อ คุณแม่ของผมจะเสนอราคาขายได้หรือไม่ เพราะพยานคือชาวบ้านในหมู่บ้านก็ทราบเรื่องว่าที่ถูกยึด นายทุนไม่ได้ซื้อไป)
4. ถ้าตกลงกันไม่ได้ เรื่องต้องถึงศาล ความรู้(แค่ความคิด)แค่หางอึ่งของผม ถ้าอ้างสิทธิ์การสืบสายเลือด ฝ่ายนายทุนจะอ้างอะไรได้หรือไม่ ถ้านายทุนไม่ยินยอมจ่ายเงินซื้อ ศาลตัดสินตามกฎหมายผลน่าจะออกเป็นแบบไหนครับ
* เจตนาจริงไม่อยากช่วงชิงเอาที่ดินคืนทั้งหมด
แต่ความยากจน พ่อแม่ทำนาก็มีแต่หนี้สิน ทั้ง ธกส. ทั้งสหกรณ์
เป็นเหตุให้อยากรู้ในสิทธิ์พึงได้ในกรณีนี้ เรียกร้องอะไรได้บ้างไหมครับ
ขอสอบถามกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดินครับ
คุณทวด (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เป็นผู้ครอบครองที่ดิน เป็นเอกสารสิทธิ์ สค.1
คุณทวดติดหนี้ข้าวเปลือกนายทุน 9 กระสอบ
ที่ดินส่วนที่ 1 เกือบ 30 ไร่ ถูกนายทุนยึดครอง (ข้าวเปลือกไม่พอใช้หนี้)
มีชาวบ้านผลัดเปลี่ยนหลายคนหลายรุ่น ที่เข้ามาใช้ประโยชน์ทำนา เก็บเกี่ยวได้ข้าว นายทุนก็มาแบ่งขนข้าวไป เป็นเช่นนั้นจนถึงปัจจุบัน
ที่ดินส่วนที่ 2 ตกทอดสู่ลูกหลาน
(ลูกหลานขายที่ จนปัจจุบันเหลือแค่ 8 ไร่ อยู่ติดกับส่วนที่ 1 ผู้ถือครองเพียงคนเดียว คือ คุณแม่ของผม)
ที่ดินทั้ง 2 ส่วน ผู้ครอบครอง คือ นายทุน กับ แม่ของผม ไม่มีเอกสารสิทธิ์ใดๆ เหมือนเป็นที่ดินว่างเปล่า
แต่มี สค.1 อยู่ที่กรมที่ดิน ยังเป็นชื่อคุณทวด
ปี พ.ศ. 2553 มีนโยบายเปลี่ยน สค.1 เป็น ฉโนด
คุณแม่ในฐานะสืบสายเลือดจากคุณทวด ไปขอค้น สค. 1 และยื่นเรื่องขอออกโฉนดในส่วนที่ครอบครอง 8 ไร่
หลังนายทุนทราบเรื่อง ได้ขอให้มีการรังวัดเพื่อออกโฉนด ครอบรวมกับส่วนที่ 1 ส่วนของนายทุนด้วย
ออกโฉนดเป็นชื่อร่วม 2 ชื่อ ในโฉนดใบเดียว
หลังได้โฉนดมาแล้ว
ก่อนไปยื่นเรื่องรังวัดแบ่งที่ดิน
1. คุณแม่ของผมสามารถเจรจาต่อรองเรื่องหนี้สินเก่าของคุณทวดกับนายทุนได้หรือไม่ ซึ่งนายทุนยึดครองหลายปี เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้มากกว่าหนี้ข้าวเปลือกแค่ 9 กระสอบตั้งมากแล้ว
2. หรืออีกความคิดหนึ่ง ที่ดินส่วนที่ 1 นายทุนมีชื่อเป็นผู้เสียภาษีมาหลายปีแล้ว คุณแม่ผมไม่สิทธิ์เรียกร้องใดๆ แล้วใช่หรือไม่
3. (ตั้งแต่นายทุนยึดที่ดิน ไม่ใช่การซื้อขาย ก็ไม่ได้เรียกร้องใดๆจากนายทุน) เมื่อมีการรังวัดแบ่งที่ดิน ผู้สืบสายเลือดจากคุณทวดคือคุณแม่ของผม ถ้าไม่ยินยอมระบุการแบ่งที่ดินให้นายทุนโดยความเสน่หา ฝ่ายนายทุนจะระบุเหตุผลใดได้บ้าง (ถ้าระบุว่าได้มาโดยการซื้อ คุณแม่ของผมจะเสนอราคาขายได้หรือไม่ เพราะพยานคือชาวบ้านในหมู่บ้านก็ทราบเรื่องว่าที่ถูกยึด นายทุนไม่ได้ซื้อไป)
4. ถ้าตกลงกันไม่ได้ เรื่องต้องถึงศาล ความรู้(แค่ความคิด)แค่หางอึ่งของผม ถ้าอ้างสิทธิ์การสืบสายเลือด ฝ่ายนายทุนจะอ้างอะไรได้หรือไม่ ถ้านายทุนไม่ยินยอมจ่ายเงินซื้อ ศาลตัดสินตามกฎหมายผลน่าจะออกเป็นแบบไหนครับ
* เจตนาจริงไม่อยากช่วงชิงเอาที่ดินคืนทั้งหมด
แต่ความยากจน พ่อแม่ทำนาก็มีแต่หนี้สิน ทั้ง ธกส. ทั้งสหกรณ์