เผยแพร่: 23 ก.พ. 2562 00:08 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ภาพจรวดฟอลคอน 9 ทะยานจากฐานปล่อยเพื่อขนส่งยานอวกาศและดาวเทียมเมื่อเช้าวันที่ 22 ก.พ.2019 ตามเวลาประเทศไทย (HO / SPACEX / AFP)
ลุ้นยานอิสราเอลลงจอดดวงจันทร์ 11 เม.ย.นี้ ทำสถิติ 2 ต่อ เป็นทั้งยานจากภาคเอกชนลำแรกที่จะลงจอดดวงจันทร์ และยังเป็นยานอวกาศจากรัฐยิวลำแรก
ยานอวกาศเบเรชีท (Beresheet) ของอิสราเอล ได้ทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าพร้อมจรวดไร้คนขับฟอลคอน 9 (Falcon 9) จากฐานปล่อยจรวดของสเปกซเอกซ์ (SpaceX) บริษัทเอกชนของเศรษฐีนักลงทุน อีลอน มัสก์ (Elon Musk) เมื่อเช้าวันที่ 22 ก.พ.2019 ตามเวลาประเทศไทย
รายงานจากเอเอฟพีระบุว่า ยานอวกาศหนัก 585 กิโลกรัมที่มีความหมายตามภาษาฮิบรูว่า “ต้นกำเนิด” จะสร้างประวัติศาสตร์ 2 ต่อ ต่อแรกคือยานของภาคเอกชนลำแรกที่จะลงจอดบนดวงจันทร์ และต่อที่สองคือเป็นยานจากรัฐยิวลำแรก
นายเบนจามิน เนทันยาฮู (Minister Benjamin) นายกรัฐมนตรีของอิสราเอลได้ร่วมชมการนำส่งยานอวกาศเบเรชีทนี้ พร้อมๆ กับวิศวกรในศูนย์ควบคุมของอิสราเอลแอโรสเปซอินดัสทรีส์ (Israel Aerospace Industries: IAI) บริษัทการบินอวกาศและป้องกันตนเองของอิสราเอล
ยานอวกาศของอิสราเอลนี้จะถูกส่งไปวางที่วงโคจรของโลก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ยานจะใช้พลังงานของตัวเองนำส่งตัวเองในการเดินทางนาน 7 สัปดาห์สู่ดวงจันทร์ และจะลงจอดบนที่ราบขนาดใหญ่ของดวงจันทร์ในวันที่ 11 เม.ย.นี้
นอกจากนำส่งยานอวกาศลงจอดดวงจันทร์ของอิสราเอลแล้ว จรวดฟอลคอน 9 ยังขนส่งดาวเทียมของอินโดนีเซียและดาวเทียมของห้องปฏิบัติการวิจัยกองทัพอากาศสหรัฐฯ (US Air Force Research Laboratory) ด้วย
ถึงตอนนี้มีเพียงรัสเซีย สหรัฐฯ และจีนที่ส่งยานเดินทางไกล 384,000 กิโลเมตร และลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ โดยที่จีนเป็นชาติแรกที่ส่งยานไปลงจอดด้านไกลของดวงจันทร์เมื่อ 3 ม.ค.ที่ผ่านมา และก่อนหน้านั้นเมื่อปี 2013 จีนก็ยังส่งยานลงจอดดวงจันทร์มาแล้วครั้งหนึ่งด้วย ขณะที่สหรัฐฯ ยังคงเป็นชาติเดียวที่ส่งคนไปลงพื้นผิวดวงจันทร์ แต่ก็ไม่ได้ส่งใครไปอีกนับแต่ปี 1972
สำหรับอิสราเอลนั้นการลงจอดพื้นผิวดวงจันทร์ได้เป็นภารกิจที่สำคัญที่สุดของยานเบเรชีท แม้ว่ายานจะติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เพื่อวัดสนามแม่เหล็กดวงจันทร์ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจถึงกำเนิดของดวงจันทร์ แต่รายงานข่าวระบุว่า ในทางเทคนิคแล้วไม่ใช่ภารกิจที่สำคัญนัก
ภารกิจส่งยานไปดวงจันทร์ของอิสราเอลนี้ได้รักการสนับสนุนจากนักลงทุนชื่อ มอรริส คาห์น (Morris Kahn) ผู้ให้เงินสนับสนุนการพัฒนายานที่ใช้เครื่องยนต์ของอังกฤษ โดยนักลงทุนผู้นี้ได้ให้ทุนสนับสนุนเบื้องต้น 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่งบได้บานปลายไปถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่ช่วยพัฒนายานอวกาศลำนี้ คือ บริษัทอิสราเอลแอโรสเปซอินดัสทรีส์และสำนักงานอวกาศจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอิสราเอล
หลังจากจรวดฟอลคอน 9 นำส่งสู่ตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว เครื่องยนต์ของยานเบเรชีทจะจุดระเบิดอีกหลายครั้งเพื่อให้ยานเข้าสู่วิถีที่เหมาะสมเพื่อมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ และเมื่อไปถึงแล้ว เกียร์ลงจอดจะทำหน้าที่รองรับการกระแทกระหว่างการดิ่งตัวสู่พื้นผิวดวงจันทร์ เพื่อป้องกันยานพุ่งชนพื้นผิวด้านล่าง
ยานเบเรชีทยังบรรทุก “แคปซูลเวลา” ที่โหลดไฟล์ดิจิทัลซึ่งมีทั้งคัมภีร์ไบเบิล ภาพวาดของเด็กๆ เพลงของอิสราเอล อนุสรณ์จากผู้รอดชีวิตในเหตุการณ์ฮอโลคอสต์ (Holocaust) หรือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมถึงธงชาติอิสราเอล
อิสราเอลแอโรสเปซอินดัสทรีส์ แถลงว่าการใช้งบ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นี้ถือเป็นงบที่น้อยที่สุดสำหรับภารกิจประเภทเดียวกันนี้ มหาอำนาจหลายรายต้องใช้งบหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยอาศัยเงินลงทุนจากภาครัฐ แต่สำหรับภารกิจส่งยานไปลงจอดดวงจันทร์ของอิสราเอลนี้นำโดยภาคเอกชน
ทางด้าน จิม ไบรเดนสไตน์ (Jim Bridenstine) ผู้อำนวยการองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) แสดงความยินดีต่อทีมอิสราเอล และบอกว่าเป็นก้าวประวัติศาสตร์สำหรับทุกชาติ รวมถึงธุรกิจอวกาศเชิงพาณิชย์ เนื่องจากนาซานั้นต้องการขยายความร่วมมือในภารกิจที่สูงกว่าระดับวงโคจรต่ำของโลกและไปยังดวงจันทร์
หลังจากจีนและอิสราเอลนำไปก่อนในปีนี้ ทางด้านอินเดียก็ตั้งเป้าที่จะเป็นชาติที่ 5 ในการส่งยานลงจอดดวงจันทร์ โดยในช่วงฤดูใบไม้ผลินั้นอินเดียจะทำภารกิจจันทรา 2 (Chandrayaan-2) เพื่อส่งยานอวกาศไปยังดวงจันทร์ พร้อมกับยานโรเวอร์ที่จะลงจอดพื้นผิวดวงจันทร์เพื่อเก็บตัวอย่าง และยังมีญี่ปุ่นที่จะส่งยานลงจอดขนาดเล็กชื่อสลิม (SLIM) ไปยังดวงจันทร์เพื่อศึกษาบริเวณพื้นที่ภูเขาไฟในช่วงปี 2010-2021
ลุ้นยานอิสราเอลลงจอดดวงจันทร์ 11 เม.ย.นี้
ภาพจรวดฟอลคอน 9 ทะยานจากฐานปล่อยเพื่อขนส่งยานอวกาศและดาวเทียมเมื่อเช้าวันที่ 22 ก.พ.2019 ตามเวลาประเทศไทย (HO / SPACEX / AFP)
ลุ้นยานอิสราเอลลงจอดดวงจันทร์ 11 เม.ย.นี้ ทำสถิติ 2 ต่อ เป็นทั้งยานจากภาคเอกชนลำแรกที่จะลงจอดดวงจันทร์ และยังเป็นยานอวกาศจากรัฐยิวลำแรก
ยานอวกาศเบเรชีท (Beresheet) ของอิสราเอล ได้ทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าพร้อมจรวดไร้คนขับฟอลคอน 9 (Falcon 9) จากฐานปล่อยจรวดของสเปกซเอกซ์ (SpaceX) บริษัทเอกชนของเศรษฐีนักลงทุน อีลอน มัสก์ (Elon Musk) เมื่อเช้าวันที่ 22 ก.พ.2019 ตามเวลาประเทศไทย
รายงานจากเอเอฟพีระบุว่า ยานอวกาศหนัก 585 กิโลกรัมที่มีความหมายตามภาษาฮิบรูว่า “ต้นกำเนิด” จะสร้างประวัติศาสตร์ 2 ต่อ ต่อแรกคือยานของภาคเอกชนลำแรกที่จะลงจอดบนดวงจันทร์ และต่อที่สองคือเป็นยานจากรัฐยิวลำแรก
นายเบนจามิน เนทันยาฮู (Minister Benjamin) นายกรัฐมนตรีของอิสราเอลได้ร่วมชมการนำส่งยานอวกาศเบเรชีทนี้ พร้อมๆ กับวิศวกรในศูนย์ควบคุมของอิสราเอลแอโรสเปซอินดัสทรีส์ (Israel Aerospace Industries: IAI) บริษัทการบินอวกาศและป้องกันตนเองของอิสราเอล
ยานอวกาศของอิสราเอลนี้จะถูกส่งไปวางที่วงโคจรของโลก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ยานจะใช้พลังงานของตัวเองนำส่งตัวเองในการเดินทางนาน 7 สัปดาห์สู่ดวงจันทร์ และจะลงจอดบนที่ราบขนาดใหญ่ของดวงจันทร์ในวันที่ 11 เม.ย.นี้
นอกจากนำส่งยานอวกาศลงจอดดวงจันทร์ของอิสราเอลแล้ว จรวดฟอลคอน 9 ยังขนส่งดาวเทียมของอินโดนีเซียและดาวเทียมของห้องปฏิบัติการวิจัยกองทัพอากาศสหรัฐฯ (US Air Force Research Laboratory) ด้วย
ถึงตอนนี้มีเพียงรัสเซีย สหรัฐฯ และจีนที่ส่งยานเดินทางไกล 384,000 กิโลเมตร และลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ โดยที่จีนเป็นชาติแรกที่ส่งยานไปลงจอดด้านไกลของดวงจันทร์เมื่อ 3 ม.ค.ที่ผ่านมา และก่อนหน้านั้นเมื่อปี 2013 จีนก็ยังส่งยานลงจอดดวงจันทร์มาแล้วครั้งหนึ่งด้วย ขณะที่สหรัฐฯ ยังคงเป็นชาติเดียวที่ส่งคนไปลงพื้นผิวดวงจันทร์ แต่ก็ไม่ได้ส่งใครไปอีกนับแต่ปี 1972
สำหรับอิสราเอลนั้นการลงจอดพื้นผิวดวงจันทร์ได้เป็นภารกิจที่สำคัญที่สุดของยานเบเรชีท แม้ว่ายานจะติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เพื่อวัดสนามแม่เหล็กดวงจันทร์ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจถึงกำเนิดของดวงจันทร์ แต่รายงานข่าวระบุว่า ในทางเทคนิคแล้วไม่ใช่ภารกิจที่สำคัญนัก
ภารกิจส่งยานไปดวงจันทร์ของอิสราเอลนี้ได้รักการสนับสนุนจากนักลงทุนชื่อ มอรริส คาห์น (Morris Kahn) ผู้ให้เงินสนับสนุนการพัฒนายานที่ใช้เครื่องยนต์ของอังกฤษ โดยนักลงทุนผู้นี้ได้ให้ทุนสนับสนุนเบื้องต้น 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่งบได้บานปลายไปถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่ช่วยพัฒนายานอวกาศลำนี้ คือ บริษัทอิสราเอลแอโรสเปซอินดัสทรีส์และสำนักงานอวกาศจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอิสราเอล
หลังจากจรวดฟอลคอน 9 นำส่งสู่ตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว เครื่องยนต์ของยานเบเรชีทจะจุดระเบิดอีกหลายครั้งเพื่อให้ยานเข้าสู่วิถีที่เหมาะสมเพื่อมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ และเมื่อไปถึงแล้ว เกียร์ลงจอดจะทำหน้าที่รองรับการกระแทกระหว่างการดิ่งตัวสู่พื้นผิวดวงจันทร์ เพื่อป้องกันยานพุ่งชนพื้นผิวด้านล่าง
ยานเบเรชีทยังบรรทุก “แคปซูลเวลา” ที่โหลดไฟล์ดิจิทัลซึ่งมีทั้งคัมภีร์ไบเบิล ภาพวาดของเด็กๆ เพลงของอิสราเอล อนุสรณ์จากผู้รอดชีวิตในเหตุการณ์ฮอโลคอสต์ (Holocaust) หรือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมถึงธงชาติอิสราเอล
อิสราเอลแอโรสเปซอินดัสทรีส์ แถลงว่าการใช้งบ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นี้ถือเป็นงบที่น้อยที่สุดสำหรับภารกิจประเภทเดียวกันนี้ มหาอำนาจหลายรายต้องใช้งบหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยอาศัยเงินลงทุนจากภาครัฐ แต่สำหรับภารกิจส่งยานไปลงจอดดวงจันทร์ของอิสราเอลนี้นำโดยภาคเอกชน
ทางด้าน จิม ไบรเดนสไตน์ (Jim Bridenstine) ผู้อำนวยการองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) แสดงความยินดีต่อทีมอิสราเอล และบอกว่าเป็นก้าวประวัติศาสตร์สำหรับทุกชาติ รวมถึงธุรกิจอวกาศเชิงพาณิชย์ เนื่องจากนาซานั้นต้องการขยายความร่วมมือในภารกิจที่สูงกว่าระดับวงโคจรต่ำของโลกและไปยังดวงจันทร์
หลังจากจีนและอิสราเอลนำไปก่อนในปีนี้ ทางด้านอินเดียก็ตั้งเป้าที่จะเป็นชาติที่ 5 ในการส่งยานลงจอดดวงจันทร์ โดยในช่วงฤดูใบไม้ผลินั้นอินเดียจะทำภารกิจจันทรา 2 (Chandrayaan-2) เพื่อส่งยานอวกาศไปยังดวงจันทร์ พร้อมกับยานโรเวอร์ที่จะลงจอดพื้นผิวดวงจันทร์เพื่อเก็บตัวอย่าง และยังมีญี่ปุ่นที่จะส่งยานลงจอดขนาดเล็กชื่อสลิม (SLIM) ไปยังดวงจันทร์เพื่อศึกษาบริเวณพื้นที่ภูเขาไฟในช่วงปี 2010-2021