ผ่านพ้นไปแล้วกับ "โทรทัศน์ทองคำ" รางวัลดีเด่นด้านผลงานทางโทรทัศน์ที่จัดกันมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานถึง 33 ปี เราก็ขอแสดงความยินดีให้แก่ผู้ได้รับรางวัลทุกท่านที่ขยันสร้างผลงานดี ๆ ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมไทย
เป็นที่รับรู้กันว่าโทรทัศน์ทองคำเป็นงานประกาศรางวัลที่จัดขึ้นโดย "ชมรมส่งเสริมโทรทัศน์" ซึ่งหากใครได้อ่านประวัติของรางวัลผ่านทางวิกิพีเดียก็ทราบดีว่าในระยะแรกเริ่มของการจัดรางวัลนั้นมี "หนังสือพิมพ์ อินไซด์ทีวี" เป็นผู้ร่วมดำเนินการจัดงานด้วย
เชื่อว่าคนดูรุ่นหลังคงไม่ค่อยรู้ว่าหน้าตาของ "อินไซด์ทีวี" เป็นอย่างไร แต่ถ้าใครที่มีอายุ 30 อัพคงเคยได้ยินและต้องรู้จัก...หรือเคยซื้อมาอ่านแน่นอน ในฐานะหนังสือพิมพ์ข่าวบันเทิงทางโทรทัศน์ที่ขายดีที่สุดในยุคนั้น
หากย้อนไปเมื่อต้นปี 2529 คุณธเรศวร์ สุศิวะ หรือ "ไพลิน สีน้ำเงิน" ได้เกิดความคิดขึ้นว่า ในฐานะผู้สื่อข่าวได้เห็นความเป็นไปในแวดวงหนังสือและโทรทัศน์ แม้ว่าหนังสือคู่มือรายการของสถานีโทรทัศน์หลายแห่งจะปิดตัวลง และหนังสือพิมพ์หลายแห่งให้เนื้อที่การเสนอข่าวเกี่ยวกับวงการโทรทัศน์อยู่น้อย ก็ยังไม่สามารถหาใครมาอุดช่องว่างของหนังสือให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง โดยครอบคลุมข้อมูลรายการโทรทัศน์ครบทุกช่องในเล่มเดียวกัน (สมัยนั้นมีฟรีทีวีแค่ 4 ช่อง คือ 3 5 7 9 รวมไปถึงทีวีส่วนภูมิภาค)
นั่นคือที่มาของ "อินไซด์ทีวี" หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ปกสี่สีรายแรกของเมืองไทยที่เสนอข่าวความเคลื่อนไหวในวงการบันเทิงทางโทรทัศน์เป็นหลัก โดยเนื้อหาในเล่มอัดแน่นไปด้วยข่าวและข้อมูลต่าง ๆ อย่างรอบด้านทั้งเบื้องหน้า-เบื้องหลัง เรื่องย่อรายการ ประวัติรายการ องค์กร และคนทำงาน การแสดงความคิดเห็นของผู้ชมต่อรายการนั้น ๆ ฯลฯ ด้วยลูกเล่นและสีสันอันแพรวพราว หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการเปิดมิติใหม่ของวงการสื่อสิ่งพิมพ์ยุคไฮเทค
นับแต่นั้นมา "อินไซด์ทีวี" กลายเป็นหนังสือพิมพ์ที่ขายดีและมียอดผู้อ่านที่ค่อนข้างมหาศาล ท่ามกลางการขยายตัวของสื่อโทรทัศน์เมืองไทย อินไซด์ทีวีก็ยังคงรับใช้ผู้อ่านมาตลอด แม้จะมีหนังสือพิมพ์รายอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงออกมาวางขายแข่งกัน แต่ก็ไม่มีใครหยุดยั้งความเป็นที่หนึ่งได้เท่าอินไซด์ทีวี
แต่น่าเสียดายที่ผู้นำหนังสือพิมพ์ข่าวบันเทิงมิติใหม่อย่าง "อินไซด์ทีวี" ต้องปิดฉากอำลาผู้อ่านเมื่ออายุได้ 8 ปีเท่านั้น เช่นเดียวกับการจัดรางวัลโทรทัศน์ทองคำก็ต้องเปลี่ยนมือผู้ร่วมดูแลงานไปด้วย ก็ไม่รู้ว่าสาเหตุที่อินไซด์ทีวีเลิกทำเป็นเพราะเหตุใดกันแน่?
จวบถึงวันนี้ คำถามข้อนั้นยังค้างคาใจกันอยู่ และ "อินไซด์ทีวี" ก็กลายเป็นหนังสือพิมพ์ที่น้อยคนนักยังคงเก็บรักษาไว้ หรือเป็นเพียงหนังสือพิมพ์ที่หาพบหาเจอได้ยากมาก เท่าที่ฉันไปเสาะหาก็ยังไม่พบหนังสือพิมพ์เต็มฉบับสักที แต่มาเจอที่โลกออนไลน์ พบได้เพียงแค่ชิ้นส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น
ก็ไม่แน่ว่า...ท่ามกลางสภาวะตกต่ำของสื่อสิ่งพิมพ์ไทย เราอาจได้เห็นการพลิกฟื้นของหนังสือที่มีรูปแบบเช่นเดียวกับที่อินไซด์ทีวีเคยทำไว้ ไม่เล่มใดก็เล่มหนึ่ง เพื่อกระจายสู่ผู้อ่านที่อยากจะเป็นผู้ชม เรตติ้งของรายการที่คุณอยากชมคงจะดีขึ้นกว่าเดิม วงการทีวีดิจิตอลจะไม่ลำบากไปกว่านี้
แต่สำหรับตรงนี้ จึงอยากให้ใครก็ได้ที่ยังเก็บอินไซด์ทีวีอยู่มาแชร์ภาพ หรือจะหาสาเหตุที่ว่านั่น ส่วนฉันหามาได้เท่านี้แหละ...
ชุมนุมข่าววงการทีวีและดาราทั่วฟ้าเมืองไทย
หน้าตาของอินไซด์ทีวีต้องเป็นแบบนี้ (ภาพจากสแกน)
โฉมหน้าฉบับปฐมฤกษ์
ด้านใน
(ภาพจาก kaiida.lnwshop.com)
เรื่องย่อรายการเด่น (ภาพจากสแกน)
เรื่องย่อละครดี (ภาพจาก อนาฆิส)
นี่แหละ...บันเทิงสี่สีฉบับแรกของไทย
- - - - - - - - - - สวัสดี - - - - - - - - - -
หาอดีต: "อินไซด์ทีวี" หนังสือพิมพ์ดี ๆ ที่หายไป ใครเก็บไว้มาร่วมแชร์กัน
เป็นที่รับรู้กันว่าโทรทัศน์ทองคำเป็นงานประกาศรางวัลที่จัดขึ้นโดย "ชมรมส่งเสริมโทรทัศน์" ซึ่งหากใครได้อ่านประวัติของรางวัลผ่านทางวิกิพีเดียก็ทราบดีว่าในระยะแรกเริ่มของการจัดรางวัลนั้นมี "หนังสือพิมพ์ อินไซด์ทีวี" เป็นผู้ร่วมดำเนินการจัดงานด้วย
เชื่อว่าคนดูรุ่นหลังคงไม่ค่อยรู้ว่าหน้าตาของ "อินไซด์ทีวี" เป็นอย่างไร แต่ถ้าใครที่มีอายุ 30 อัพคงเคยได้ยินและต้องรู้จัก...หรือเคยซื้อมาอ่านแน่นอน ในฐานะหนังสือพิมพ์ข่าวบันเทิงทางโทรทัศน์ที่ขายดีที่สุดในยุคนั้น
หากย้อนไปเมื่อต้นปี 2529 คุณธเรศวร์ สุศิวะ หรือ "ไพลิน สีน้ำเงิน" ได้เกิดความคิดขึ้นว่า ในฐานะผู้สื่อข่าวได้เห็นความเป็นไปในแวดวงหนังสือและโทรทัศน์ แม้ว่าหนังสือคู่มือรายการของสถานีโทรทัศน์หลายแห่งจะปิดตัวลง และหนังสือพิมพ์หลายแห่งให้เนื้อที่การเสนอข่าวเกี่ยวกับวงการโทรทัศน์อยู่น้อย ก็ยังไม่สามารถหาใครมาอุดช่องว่างของหนังสือให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง โดยครอบคลุมข้อมูลรายการโทรทัศน์ครบทุกช่องในเล่มเดียวกัน (สมัยนั้นมีฟรีทีวีแค่ 4 ช่อง คือ 3 5 7 9 รวมไปถึงทีวีส่วนภูมิภาค)
นั่นคือที่มาของ "อินไซด์ทีวี" หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ปกสี่สีรายแรกของเมืองไทยที่เสนอข่าวความเคลื่อนไหวในวงการบันเทิงทางโทรทัศน์เป็นหลัก โดยเนื้อหาในเล่มอัดแน่นไปด้วยข่าวและข้อมูลต่าง ๆ อย่างรอบด้านทั้งเบื้องหน้า-เบื้องหลัง เรื่องย่อรายการ ประวัติรายการ องค์กร และคนทำงาน การแสดงความคิดเห็นของผู้ชมต่อรายการนั้น ๆ ฯลฯ ด้วยลูกเล่นและสีสันอันแพรวพราว หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการเปิดมิติใหม่ของวงการสื่อสิ่งพิมพ์ยุคไฮเทค
นับแต่นั้นมา "อินไซด์ทีวี" กลายเป็นหนังสือพิมพ์ที่ขายดีและมียอดผู้อ่านที่ค่อนข้างมหาศาล ท่ามกลางการขยายตัวของสื่อโทรทัศน์เมืองไทย อินไซด์ทีวีก็ยังคงรับใช้ผู้อ่านมาตลอด แม้จะมีหนังสือพิมพ์รายอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงออกมาวางขายแข่งกัน แต่ก็ไม่มีใครหยุดยั้งความเป็นที่หนึ่งได้เท่าอินไซด์ทีวี
แต่น่าเสียดายที่ผู้นำหนังสือพิมพ์ข่าวบันเทิงมิติใหม่อย่าง "อินไซด์ทีวี" ต้องปิดฉากอำลาผู้อ่านเมื่ออายุได้ 8 ปีเท่านั้น เช่นเดียวกับการจัดรางวัลโทรทัศน์ทองคำก็ต้องเปลี่ยนมือผู้ร่วมดูแลงานไปด้วย ก็ไม่รู้ว่าสาเหตุที่อินไซด์ทีวีเลิกทำเป็นเพราะเหตุใดกันแน่?
จวบถึงวันนี้ คำถามข้อนั้นยังค้างคาใจกันอยู่ และ "อินไซด์ทีวี" ก็กลายเป็นหนังสือพิมพ์ที่น้อยคนนักยังคงเก็บรักษาไว้ หรือเป็นเพียงหนังสือพิมพ์ที่หาพบหาเจอได้ยากมาก เท่าที่ฉันไปเสาะหาก็ยังไม่พบหนังสือพิมพ์เต็มฉบับสักที แต่มาเจอที่โลกออนไลน์ พบได้เพียงแค่ชิ้นส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น
ก็ไม่แน่ว่า...ท่ามกลางสภาวะตกต่ำของสื่อสิ่งพิมพ์ไทย เราอาจได้เห็นการพลิกฟื้นของหนังสือที่มีรูปแบบเช่นเดียวกับที่อินไซด์ทีวีเคยทำไว้ ไม่เล่มใดก็เล่มหนึ่ง เพื่อกระจายสู่ผู้อ่านที่อยากจะเป็นผู้ชม เรตติ้งของรายการที่คุณอยากชมคงจะดีขึ้นกว่าเดิม วงการทีวีดิจิตอลจะไม่ลำบากไปกว่านี้
แต่สำหรับตรงนี้ จึงอยากให้ใครก็ได้ที่ยังเก็บอินไซด์ทีวีอยู่มาแชร์ภาพ หรือจะหาสาเหตุที่ว่านั่น ส่วนฉันหามาได้เท่านี้แหละ...
ชุมนุมข่าววงการทีวีและดาราทั่วฟ้าเมืองไทย
หน้าตาของอินไซด์ทีวีต้องเป็นแบบนี้ (ภาพจากสแกน)
โฉมหน้าฉบับปฐมฤกษ์
ด้านใน
(ภาพจาก kaiida.lnwshop.com)
เรื่องย่อรายการเด่น (ภาพจากสแกน)
เรื่องย่อละครดี (ภาพจาก อนาฆิส)
นี่แหละ...บันเทิงสี่สีฉบับแรกของไทย