สงสัยเรื่อง การกล่าวคำสาบานหรือปฏิญาณตนในศาลก่อนพิจารณาคดี ครับ

สวัสดีครับ ผมเป็นมือใหม่กำลังเรียนด้านกฎหมายได้ไม่นาน เรียนถึงเรื่องกระบวณการศาลเรื่องหนึ่ง ก็เกิดข้อสงสัยบางอย่างขึ้นมาครับ

คือ พยานบุคคลก่อนเบิกความจะต้องกล่าวคำสาบานต่อศาลตาม ลัทธิ ศาสนา หรือ จารีตประเพณีแห่งชาติของตน ซึ่งกฎหมายไทยนั้นหากไม่กล่าวคำสาบานหรือกล่าวปฏิญาณตนคำเบิกความนั้นจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ สำหรับคนทั่วไปดูเหมือนจะไม่มีปัญหาใช่มั้ยครับ?

หากแต่ถ้าพยานคนนั้น เป็นคนที่ไม่เชื่อในเทวสิทธิ์ (Atheistic) หรือไม่มีศาสนา หรือไม่นับถือศาสนาใดเป็นพิเศษ การกล่าวคำสาบานในศาลจะเป็นไปในแนวทางไหนครับ เรื่องนี้ทางศาลไทยบ้านเรามีทางออกให้กับคนกลุ่มนี้หรือไม่ครับ?

จากการสอบถามเพื่อนหลายคนที่เป็นทนายความรวมถึงแฟนของผม ก็ยังไม่เคยเจอเหตุการณ์เช่นนี้เหมือนกัน บางคนก็บอกว่า ก็คงสาบานตามศาสนาใดศาสนาหนึ่งให้มันจบๆไป แต่ผมสงสัยว่าหากตัวพยานเขาไม่สะดวกใจที่จะให้สาบานตามหลักศาสนาจริงๆ จะมีทางออกอย่างไรครับ


ปล. โพสนี้ขอคุยในเรื่องกระบวณการศาลอย่างเดียวนะครับ รบกวนไม่แปะข้อธรรมะคำสอนอะไรยาวๆ นอกเรื่อง ขอบคุณครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ต้องปฎฺิญานตน ว่า

(ตัวอย่าง) ข้าพเจ้า นาย/นาง/นางสาว ...... ขอให้คำสัตย์ปฎิญาน  ด้วยความจงรักภักดีต่อ  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อพระบรมฉายาลักษณ์ -พระบรมฉายาสาทิศลักษณ์  ว่า ข้าพเจ้า...........จะให้การด้วยความสัตย์จริง ทุกประการ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่