วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562 - 00:03 น.
ผู้เขียน
สุรีย์ประภา
Replicas เมื่อวิทยาศาสตร์ปะทะธรรมชาติ!
Replicas เป็นหนังที่ได้คะแนนวิจารณ์จากต่างประเทศน้อยมาก จนถ้าใครดูหนังตามคำวิจารณ์ก็คงไม่ดูเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่หนังมีพล็อตเรื่องที่ล้ำและน่าสนใจ หนังตั้งคำถามเชิงศีลธรรมกับคนดูหลายประเด็น หากเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เจริญสู่จุดสูงสุด แม้มันจะฝืนโชคชะตาและกฎแห่งธรรมชาติ คุณจะใช้ความรู้นั้นเพื่อปกป้องคนที่คุณรักหรือไม่?
หนังเป็นแนวไซไฟดรามา ที่โยงวิทยาศาสตร์เข้ากับประเด็นครอบครัวได้อย่างกดดันทั้งตัวละครและคนดู ผู้กำกับหนัง เจฟฟรีย์ แนชมานอฟ พูดถึงหนังเรื่องนี้ว่า
“บางคนอาจมองว่า นี่เป็นเรื่องราวของแฟรงเกนสไตน์ฉบับโมเดิร์น เพราะมันคือเรื่องราวของชายคนหนึ่งที่ใช้ทักษะความรู้ของตนเอง ท้าทายกฎเกณฑ์ธรรมชาติ นั่นคือการชุบชีวิตคนที่ตนรัก”
วิล ฟอสเตอร์ (คีอานู รีฟส์) เป็นนักประสาทวิทยา ที่กำลังทดลองเปลี่ยนถ่ายข้อมูลจากสมองมนุษย์ที่ตายแล้ว สู่ร่างใหม่ที่เป็นหุ่นยนต์ (ปัญญาประดิษฐ์) โดยมีเพื่อนซี้ เอ็ด (โธมัส มิดเดิลดิทช์) ที่รอบรู้เรื่องการโคลนนิ่ง ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด
แต่ขณะเดินทางไปพักผ่อน เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เมียและลูกของวิลทั้งสามคนเสียชีวิต วิลรับความจริงนี้ไม่ได้ เขาตัดสินใจโคลนนิ่งครอบครัวขึ้นมา แต่อุปกรณ์ในการชุบชีวิตมีเพียงแค่สามชิ้น วิลจำใจต้องตัดลูกคนหนึ่งออกไป
การกระทำที่ท้าทายทั้งศีลธรรมและจริยธรรมที่ฝืนกฎแห่งธรรมชาตินี้ ทำให้เขาต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามา จนท้ายสุดถูกไล่ล่าจากผู้บริหารโครงการทดลอง ที่มุ่งแต่จะเอาประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงชีวิตมนุษย์
หนังมีช่องโหว่มากมาย มีศัพท์แสงทางวิทยาศาสตร์และบางช่วงอืดไปหน่อย แต่พอเริ่มเข้ากระบวนการโคลนนิ่งคนในครอบครัวทั้งสามราย หนังสนุกและเดาไม่ได้ว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร
ปัญหาต่างๆ ที่ประดังเข้าหาวิล จากเรื่องนี้ไปเรื่องนั้น ทำเอาคนดูใจหายใจคว่ำ ลุ้นเอาใจช่วยจนเหนื่อย ดูไปก็ตั้งคำถามไป สิ่งที่พระเอกทำนี้ถูกต้องแล้วหรือ? แล้วเรื่องจะลงเอยอย่างไร?
การแสดงในเรื่องนี้ของ คีอานู รีฟส์ แตกต่างจากเรื่องอื่นๆ แม้เป็นหนังไซไฟ แต่ไม่ใช่แนวบู๊แบบ The Matrix และไม่ใช่หนังแอคชั่นมันระห่ำแบบ John Wick บทไล่ล่าวิลและครอบครัวมีพอตื่นเต้น หนังค่อนข้างดาร์กและเครียด หนักไปทางดราม่ามากกว่าแอคชั่น
คีอานูแบกหนังไว้ทั้งเรื่อง หน้าตาไร้ความสุข มีทั้งความวิตกกังวลและความขัดแย้งในใจ ระหว่างความรู้สึกที่ว่าสิ่งที่ตนทำนั้นแหกกฎธรรมชาติ กับอารมณ์ส่วนตัวที่ไม่อาจตัดใจจากสิ่งที่ตนรัก
โทนของหนังให้อารมณ์หม่นหมองที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ฉากส่วนใหญ่ถ่ายทำช่วงกลางคืน ซึ่งยิ่งทวีความอึมครึมและอึดอัด โดยเฉพาะฉากห้องใต้ดินที่วิลใช้โคลนนิ่งครอบครัว แสงสีภายในห้องสื่อถึงอารมณ์ที่สับสนและบรรยากาศที่ไม่น่าไว้วางใจ
ระยะเวลาการโคลนนิ่ง 17 วัน เป็นระยะเวลาที่ไม่ใช่แต่วิลเท่านั้นที่จดจ่อว่าการโคลนจะสำเร็จใหม คนดูก็พลอยเอาใจช่วยให้การฝืนโชคชะตานี้ประสบผลสำเร็จ แม้จะรู้สึกว่ามันเวอร์และเป็นไปไม่ได้
บทสรุปของหนังค่อนข้างจะขัดแย้งกับประเด็นต่างๆ ที่ปูทางไว้ การฝืนกฎแห่งความตาย ทำให้เกิดความเดือดร้อนและเกิดปัญหาตามมามากมาย หนังเหมือนพยายามบอกคนดูว่าวิทยาศาสตร์ควรมีขีดจำกัดที่ไม่ควรละเมิดกฎแห่งธรรมชาติ แต่ท้ายเรื่องกลับจบแบบง่ายๆ ไม่สมเหตุสมผล
แต่คนดูคงจะแอบชอบเพราะจบแบบโลกสวย และทำให้ความอึดอัดจากการดูหนังตลอดเรื่อง กลายเป็นความสบายใจเดินออกจากโรงได้แบบชิลๆ
มติชนออนไลน์
Replicas เมื่อวิทยาศาสตร์ปะทะธรรมชาติ!
ผู้เขียน
สุรีย์ประภา
Replicas เมื่อวิทยาศาสตร์ปะทะธรรมชาติ!
Replicas เป็นหนังที่ได้คะแนนวิจารณ์จากต่างประเทศน้อยมาก จนถ้าใครดูหนังตามคำวิจารณ์ก็คงไม่ดูเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่หนังมีพล็อตเรื่องที่ล้ำและน่าสนใจ หนังตั้งคำถามเชิงศีลธรรมกับคนดูหลายประเด็น หากเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เจริญสู่จุดสูงสุด แม้มันจะฝืนโชคชะตาและกฎแห่งธรรมชาติ คุณจะใช้ความรู้นั้นเพื่อปกป้องคนที่คุณรักหรือไม่?
หนังเป็นแนวไซไฟดรามา ที่โยงวิทยาศาสตร์เข้ากับประเด็นครอบครัวได้อย่างกดดันทั้งตัวละครและคนดู ผู้กำกับหนัง เจฟฟรีย์ แนชมานอฟ พูดถึงหนังเรื่องนี้ว่า “บางคนอาจมองว่า นี่เป็นเรื่องราวของแฟรงเกนสไตน์ฉบับโมเดิร์น เพราะมันคือเรื่องราวของชายคนหนึ่งที่ใช้ทักษะความรู้ของตนเอง ท้าทายกฎเกณฑ์ธรรมชาติ นั่นคือการชุบชีวิตคนที่ตนรัก”
วิล ฟอสเตอร์ (คีอานู รีฟส์) เป็นนักประสาทวิทยา ที่กำลังทดลองเปลี่ยนถ่ายข้อมูลจากสมองมนุษย์ที่ตายแล้ว สู่ร่างใหม่ที่เป็นหุ่นยนต์ (ปัญญาประดิษฐ์) โดยมีเพื่อนซี้ เอ็ด (โธมัส มิดเดิลดิทช์) ที่รอบรู้เรื่องการโคลนนิ่ง ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด
แต่ขณะเดินทางไปพักผ่อน เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เมียและลูกของวิลทั้งสามคนเสียชีวิต วิลรับความจริงนี้ไม่ได้ เขาตัดสินใจโคลนนิ่งครอบครัวขึ้นมา แต่อุปกรณ์ในการชุบชีวิตมีเพียงแค่สามชิ้น วิลจำใจต้องตัดลูกคนหนึ่งออกไป
การกระทำที่ท้าทายทั้งศีลธรรมและจริยธรรมที่ฝืนกฎแห่งธรรมชาตินี้ ทำให้เขาต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามา จนท้ายสุดถูกไล่ล่าจากผู้บริหารโครงการทดลอง ที่มุ่งแต่จะเอาประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงชีวิตมนุษย์
หนังมีช่องโหว่มากมาย มีศัพท์แสงทางวิทยาศาสตร์และบางช่วงอืดไปหน่อย แต่พอเริ่มเข้ากระบวนการโคลนนิ่งคนในครอบครัวทั้งสามราย หนังสนุกและเดาไม่ได้ว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร
ปัญหาต่างๆ ที่ประดังเข้าหาวิล จากเรื่องนี้ไปเรื่องนั้น ทำเอาคนดูใจหายใจคว่ำ ลุ้นเอาใจช่วยจนเหนื่อย ดูไปก็ตั้งคำถามไป สิ่งที่พระเอกทำนี้ถูกต้องแล้วหรือ? แล้วเรื่องจะลงเอยอย่างไร?
การแสดงในเรื่องนี้ของ คีอานู รีฟส์ แตกต่างจากเรื่องอื่นๆ แม้เป็นหนังไซไฟ แต่ไม่ใช่แนวบู๊แบบ The Matrix และไม่ใช่หนังแอคชั่นมันระห่ำแบบ John Wick บทไล่ล่าวิลและครอบครัวมีพอตื่นเต้น หนังค่อนข้างดาร์กและเครียด หนักไปทางดราม่ามากกว่าแอคชั่น
คีอานูแบกหนังไว้ทั้งเรื่อง หน้าตาไร้ความสุข มีทั้งความวิตกกังวลและความขัดแย้งในใจ ระหว่างความรู้สึกที่ว่าสิ่งที่ตนทำนั้นแหกกฎธรรมชาติ กับอารมณ์ส่วนตัวที่ไม่อาจตัดใจจากสิ่งที่ตนรัก
โทนของหนังให้อารมณ์หม่นหมองที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ฉากส่วนใหญ่ถ่ายทำช่วงกลางคืน ซึ่งยิ่งทวีความอึมครึมและอึดอัด โดยเฉพาะฉากห้องใต้ดินที่วิลใช้โคลนนิ่งครอบครัว แสงสีภายในห้องสื่อถึงอารมณ์ที่สับสนและบรรยากาศที่ไม่น่าไว้วางใจ
ระยะเวลาการโคลนนิ่ง 17 วัน เป็นระยะเวลาที่ไม่ใช่แต่วิลเท่านั้นที่จดจ่อว่าการโคลนจะสำเร็จใหม คนดูก็พลอยเอาใจช่วยให้การฝืนโชคชะตานี้ประสบผลสำเร็จ แม้จะรู้สึกว่ามันเวอร์และเป็นไปไม่ได้
บทสรุปของหนังค่อนข้างจะขัดแย้งกับประเด็นต่างๆ ที่ปูทางไว้ การฝืนกฎแห่งความตาย ทำให้เกิดความเดือดร้อนและเกิดปัญหาตามมามากมาย หนังเหมือนพยายามบอกคนดูว่าวิทยาศาสตร์ควรมีขีดจำกัดที่ไม่ควรละเมิดกฎแห่งธรรมชาติ แต่ท้ายเรื่องกลับจบแบบง่ายๆ ไม่สมเหตุสมผล
แต่คนดูคงจะแอบชอบเพราะจบแบบโลกสวย และทำให้ความอึดอัดจากการดูหนังตลอดเรื่อง กลายเป็นความสบายใจเดินออกจากโรงได้แบบชิลๆ
มติชนออนไลน์