สูตรการลงทุนหุ้น วิเคราะห์งบการเงินแบบ Hong Value ขออนุญาตนำมาแชร์ให้เพื่อนๆครับ

กระทู้คำถาม
#สูตรเล่นหุ้น
#การวิเคราะห์งบการเงิน โดย Hong Value
ขอนำมาแชร์เผื่อเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ นักลงทุนนะครับ
.
นักลงทุนที่ไม่เคยศึกษาวิธีการอ่านงบการเงินพอเปิดงบมาดูคงจะงงกับตัวเลขอะไรก็ไม่รู้เต็มไปหมดวันนี้ผมมีวิธีดูงบแบบเริ่มต้นมาเล่าให้ฟังวิธีคือ
.
ขั้นตอนแรก ... “ดูว่ายอดขายโตกี่ % เทียบกับลูกหนี้โตกี่ %”
.
ให้ดูว่า ยอดขายโตเป็นกี่ % ถ้าเทียบกับปีที่แล้วทำได้โดยการนำเอา ยอดขายของปีนี้ตั้ง –ยอดขายของปีที่แล้ว และหารด้วยยอดขายของปีที่แล้ว สมมุติว่า ยอดขายออกมาโต 10% วิธีดูต่อไปให้ไปดูในงบดุลแล้วดูว่าลูกหนี้โตกี่% ถ้าลูกหนี้โตเป็น % สูงกว่ายอดขายก็ไม่ดีเพราะหมายความว่าขายของเก็บเงินไม่ได้
.
ขั้นตอนที่สอง ... “ดูว่าสินค้าคงเหลือโตกี่ %”
.
ให้ไปดูว่าสินค้าคงเหลือโตกี่ % ถ้าสินค้าคงเหลือโตเยอะกว่า ยอดขายก็สะท้อนว่า ซื้อของมาเก็บไว้เยอะแต่ขายได้ไม่เร็วพอทำให้ Stock เยอะขึ้น
.
ขั้นตอนที่สาม ... “ดูอัตราการทำกำไรสุทธิ”
.
ให้ดูอัตรากำไรสุทธิของบริษัทว่าโตกี่% สมมุติยอดขายโต 10% แต่กำไรโตแค่ 5% เราต้องไปดูว่าเกิดจากอะไร

- อาจเกิดจากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารโตเร็วกว่าก็สะท้อนการจัดการที่ไม่ดีของบริษัท
- อาจเกิดจาก gross margin ลดลง ซึ่งสะท้อนการควบคุมต้นทุนที่ไม่ดี
- อาจเกิดจากรายการอื่นๆเช่น ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ขาดทุนจากการด้อยค่าแบบนี้ก็ไม่ค่อยมีนัยยะ ให้นำรายการพวกนี้บวกกลับเข้าไปที่กำไรสะสม

.
ขั้นตอนที่สี่ ... “ดูกระแสเงินสดของกิจการ”
.
การดูว่าธุรกิจมีกำไรเท่าไหร่ไม่สะท้อนที่คุณภาพของบริษัทมากนักนักลงทุนเวลาดูกำไรจึงควรดูตัวเลขที่ชื่อ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ไปด้วยถ้าบริษัทมีกำไร 100 ล้าน แต่ดำเนินงานแล้วมีเงินสดแค่ 50 ล้านเราจะบอกว่าบริษัทนี้มีความสามารถหรือไม่ การเป็นแบบนี้แสดงว่าธุรกิจสภาพคล่องไม่ดีนัก เงินสดน่าจะหายไปจากไหนซักที่ เช่น ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ ถ้ากลับกันบริษัทเดิมมีกำไร 100 ล้านแต่ธุรกิจทำเงินสดได้200 ล้านแบบนี้ มันก็สะท้อนให้เห็นว่ากำไรของบริษัทที่สองมีคุณภาพมากกว่า
.
กรณีศึกษา
.
สมัยก่อนมีการปั่นหุ้นตัวหนึ่งในตลาด mai กำไรโตมากๆ คร่าวๆว่ามากกว่า 10 เท่าแต่ว่าลูกหนี้บริษัทโตเร็วมากเช่นกัน กลายเป็นว่า กระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบ ทั้งๆที่กำไรโตเยอะแบบนี้ก็ไม่ดี สุดท้ายหุ้นตัวนี้ก็เข้าทำนอง สูงสุดคืนสู่สามัญ
.
ถึงกระแสเงินสดการดำเนินงานจะสูงก็ยังไม่พอ ควรดูว่า free cash flow เยอะไหม โดยดูจาก กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน – กระแสเงินสดจากการลงทุน
.
เพราะว่าบางธุรกิจดำเนินงานได้เยอะก็จริงแต่ต้องลงทุนหนักก็คงไม่ดีนักผมถามท่านว่า ถ้าท่านเลือกหุ้นสองบริษัท
บริษัทแรกมีกระแสดเงินสดจากการดำเนินงาน 100 ล้าน แต่ต้องลงทุน150 ล้าน
บริษัทที่สอง กระแสดเงินสดจากการดำเนินงาน100 ล้านแต่ลงทุน 75 ล้าน
.
ท่านจะเลือกอะไรก็ต้องบริษัทที่สองเพราะสุดท้าย ผู้ถือหุ้นบริษัทนี้ยังได้อะไรกลับเข้าตัวเองมากกว่าเพราะ free cash flow ที่เป็นบวก สามารถนำไปคืนหนี้ และ จ่ายปันผล ได้หรือจะซื้อหุ้นคืนก็ได้เหมือนกัน
.
ดังนั้นต่อจากตอนแรก เมื่อเราวิเคราะห์งบดุล กำไรขาดทุนแล้ว ต้องวิเคราะห์กระแสเงินสดบริษัทคู่ไปด้วย เพราะดูภาพของบริษัทให้ครบถ้วน
.
ขั้นตอนที่ห้า ... “ดูหนี้สินของกิจการ”
.
ถ้าเรารู้ว่าบริษัทมี free cash flow เยอะแล้วจะต้องชอบบริษัทที่หนี้ธนาคารน้อยกว่า เพราะ fcf เยอะแต่หนี้เยอะเขาต้องไปคืนหนี้ ทำให้มีเงินปันผลน้อยลง
.
ถ้าเราอยากเก็งกำไรหุ้นที่คิดว่ากำไรจะโตแล้วจะปันผลได้เยอะๆ เราต้องหาหุ้นที่มี free cash flow ที่สูงและมีหนี้ธนาคารน้อยหุ้นเหล็กหลายตัวมีหนี้เยอะมาก เรียกว่าเยอะกว่า market cap ด้วยซ้ำประมาณว่า คำนวณ ev จะมากเป็น 2 เท่าของ market cap เลยแบบนี้มี free cash flow เราคงได้ปันผลน้อย
.
ขั้นตอนที่หก ... “การดู Gross Margin”
.
Gross margin การดู gross margin นั้นควรดูในแง่เทียบกับบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันว่ามีมากกว่าหรือน้อยกว่าเช่น
.
สมมุติว่าบริษัท a กับ b อยู่อุตสาหกรรมเดียวกันแต่ a มี gross margin 35% b มี 25% แบบนี้เบื้องต้นแสดงว่า a มีการบริหารจัดการที่ดีกว่า b ทำให้ได้กำไรขั้นต้นที่สูงกว่า
.
ข้อควรระวังในการดู Gross margin ก็คือถ้าดูกับบริษัทที่เป็นวัฏจักร หรือ cyclical Gross margin จะสูงมาก แต่นั้นหมายความว่าราคาหุ้นตอนนั้นมีโอกาสตอบรับวัฏจักราขาขึ้นไปแล้ว ถ้าเป็นหุ้นวัฏจักรเราควรดูว่าในรอบวัฏจักรของเขาเคยมี gross margin ต่ำสุดเท่าไหร่ และสูงสุดเท่าไหร่ และซื้อตอน gross margin ต่ำๆ
.
ขั้นตอนที่เจ็ด ... “ดู asset turnover”
.
Asset turnover ก็คือ การดูว่ายอดขายของบริษัทนั้นสามารถนำมาหมุนได้กี่รอบ ถ้าเทียบกับขนาดของสินทรัพย์ถ้า a มีสินทรัพย์ 1 ล้านบาท มียอดขาย 2 ล้านบาท b มีมีสินทรัพย์ 1 ล้านบาท มียอดขาย 3 ล้านบาท ในกรณีแบบนี้นักลงทุนคงอยากเป็นเจ้าของบริษัท b มากกว่าเพราะว่ามีความสามารถในการขายที่สูงกว่าภายใต้แนวคิดมีสินทรัพย์ขนาดเท่ากัน ส่วนใหญ่หุ้นที่มีลักษณะ asset turnover สูงมักจะเป็นหุ้นค้าปลีกเช่น #se-ed #MAKRO #HMPRO เป็นต้น
.
ที่นี้มีคำถามว่าสมมุติว่าเราดูหุ้นโรงแรมสองตัว ตัวแรก gross margin สูงกว่าตัวที่สองเราจะตัดสินว่าตัวแรกดีกว่าไหม
.
คำตอบคือยัง เพราะว่าโรงแรมแรกอาจจะจับลูกค้าระดับบนที่มีการใช้จ่ายต่อหัวสูงทำให้ กำไรขั้นต้นสูงกว่าแต่ว่าเขาไม่ได้มี asset turnover สูง แต่โรงแรมที่สองจับลูกค้าระดับล่างดังนั้น gross margin จึงต่ำกว่า แต่ว่าเขาได้ asset turnover สูงกว่าแบบนี้การเปรียบเทียบระหว่างบริษัทเราจะต้องดูที่ business model ว่าใครจับลูกค้าแบบไหน ไม่ใช่ใช้อัตราส่วนทางการเงินไปตัดสินเลยว่าใครเป็นอย่างไรดีหรือไม่ดี ดังนั้นก่อนวิเคราะห์เราต้องรู้ตัวธุรกิจก่อนจึงจะวิเคราะห์งบการเงินได้ดี
.
ขั้นตอนที่แปด “ดู account receivable”
.
อัตราส่วนต่อมาที่ต้องดูคือ account receivable สมมุติว่าเราคำนวณออกมาว่าได้กี่เท่าปล่อยเครดิตกี่วันก็ไม่ควรเอาตัวเลขมาเป็นนัยยะทันที
.
เนื่องจากว่าไส้ในของลูกหนี้แต่ละบริษัทอาจจะมีอายุไม่เท่ากันลูกหนี้ของบริษัทแรกส่วนใหญ่อาจจะเป็นเกินกำหนดชำระเป็นเวลา 3 เดือนส่วนใหญ่แต่บริษัทที่สองอาจจะเกินกำหนดชำระแล้ว 1 ปีเป็นส่วนใหญ่เราต้องไปดูว่าบริษัทนั้นได้ตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญสมเหตุสมผลกับยอดหนี้ที่เกินกำหนดชำระไหม และถ้าบริษัทไหนยอดหนี้ส่วนใหญ่เป็นประเภทยังไม่ถึงกำหนดชำระเป็นส่วนใหญ่ลูกหนี้ก็จะมีความ safety สูงกว่า
.
การดู PE
.
PE ก็คือ price/earning มันคือการเทียบว่าที่ราคากี่บาทเราจะต้องคืนทุนในกี่ปีถ้ากำไรของบริษัทจะทะเบียนทำได้เท่าเดิมทุกปี เวลาจะคำนวณก็ให้ใช้ 100 ตั้งแล้วหารด้วยตัวเลข PE ก็จะได้ออกมาว่าแต่ละปีเราจะได้ earning yield เท่าไหร่ เช่น ถ้า PE 10 ก็เอา 100 ตั้งหารด้วย 10 ก็จะได้ว่า 10 ปีคืนทุนเท่ากับเราได้ yield ปีละ 10%
.
การดู PE นั้นมีข้อจำกัดมากมายที่ต้องระวังเช่น แต่ละบริษัทใช้นโยบายในการทำบัญชีไม่เหมือนกันก็ทำให้ตัวเลข e ที่ได้ของแต่ละบริษัทจะไม่เท่ากัน แต่ละบริษัทจะมี PE ที่ตลาดให้ไม่เท่ากัน หลักการง่ายๆก็คือบริษัทที่มีคุณภาพสูงกว่าจะมี PE ที่ตลาดให้สูงกว่า มีความสม่ำเสมอของกำไรสูงกว่า PE สูงกว่า PE ไม่ได้บอกถึงกระแสเงินสดของบริษัทที่ทำได้
.
การดู P/BV
.
ตัวต่อมาเป็น P/BV , P/BV ก็คือ ราคาหุ้นเทียบกับมูลค่าทางบัญชีซึ่งมูลค่าทางบัญชีของบางบริษัท อาจจะมีการตี ราคาที่ดินใหม่ก็ได้ หรือ BV ของบริษัทที่มีแต่ทุนจะทะเบียนกับ อีกบริษัทมีกำไรสะสมเยอะถ้าเทียบเป็น % ต่อ BV ทั้งหมด บริษัทที่สองย่อมน่าสนใจกว่าบริษัทแรก
.
แต่จริงๆแล้ว P/BV เป็นตัวเลขที่ผมใช้ค่อนข้างน้อยกว่า PE เพราะว่า P/BV มักไม่ได้บอกถึง growth ของบริษัทซึ่งนี้เป็นสิ่งที่ตลาดให้ความสนใจ P/BV ที่ต่ำนั้นถ้ากำไรโตหรือมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางธุรกิจที่ดีขึ้น น่าจะให้ upside ต่อผู้ลงทุนได้ค่อนข้างสูงเนื่องจากว่า ราคาที่เราจ่ายไม่แพงถ้าเทียบกับเจ้าของธุรกิจ
.
ถ้าบริษัทสองแห่งมี Roe 20 % แต่ P/BV ของบริษัทแรก 1 เท่าบริษัทที่สอง 0.5 เท่า ถ้าอย่างอื่นเหมือนกันผมย่อยต้องการเป็นเจ้าของบริษัทที่สองมากกว่าเพราะว่า มีผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น 20% แต่ว่าผมจ่ายราคาครึ่งหนึ่งของผู้ถือหุ้นเท่านั้นเอง
.
ROA
.
ROA คือกำไรที่ได้เทียบกับสินทรัพย์ที่มี แต่ละตำราจะใช้ ROA ไม่เหมือนกัน บางตำราจะใช้ กำไรสุทธิ/สินทรัพย์ แต่บางตำราจะใช้ earning before interest after tax เพื่อ adjust เรื่องเอกเบี้ยจ่ายซึ่งเป็นการ finance ของบริษัทที่อาจจะไม่สะท้อนภาพของบริษัทโดยตรง
.
ตัวเลข ROA ยิ่งมากก็ยิ่งดี โดย ROA เท่ากับ asset turnover*net margin อย่างที่เคยเขียนไปแล้ว บริษัทที่ชอบเช่าที่ไม่ลงทุนสินทรัพย์ด้วยตัวเองตัวเลข ROA มักจะสูงเพราะว่า asset จะน้อย
.
Ev/ebitda
.
Ev/ebitda โดย Ev เป็นวิวัฒนาการมาจาก marketcap ซึ่งจะสะท้อนภาพที่แท้จริงมากขึ้น เพราะ ev = marketcap+debt-cash
.
ซึ่งถ้าบริษัทมีหนี้เยอะ ev ก็จะเยอะตามไปด้วย ส่วน ebitda เป็นการ adjust มาตรฐานทางบัญชีที่ต่างกันอย่าง หุ้นโรงพยาบาล 2 ตัวสร้างตึกแต่ตัดค่าเสื่อมไม่เท่ากัน โรงพยาบาลแรกตัด 15 ปี โรงพยาบาลที่ 2 ตัด 20 ปี net profit ก็จะไม่สะท้อนความต่างของอายุการตัด แต่ ebitda จะสะท้อนในส่วนนี้ ถ้า ev/ebitda 3 ย่อมถูกกว่า pe 3 เท่า แต่ข้อควรระวังคือ ebitda ก็ยังไม่ใช่เงินสดอยู่ดี
.
Current ratio
.
Current ratio เป็นการดูว่าสินทรัพย์หมุนเวียนถ้าเทียบกันหนี้สินหมุนเวียนของบริษัท อะไรเยอะกว่า ถ้ามากกว่า 1 เท่าแสดงว่า สภาพคล่องค่อนข้างดีแต่ว่า Current ratio ของแต่ละธุรกิจจะไม่ nature ไม่เหมือน
.
อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ลงทุนของผม ผมมีความเห็นว่างบการเงิน มีความสำคัญน้อยกว่าการดูแนวโน้มของธุรกิจ หรือการเปลี่ยนแปลงของ model ธุรกิจ
.
อย่างเหมือนก่อนที่ #TICON จะขายเข้า t-fund pe ที่ตลาดให้ก็จะเป็นแบบหนึ่ง พอเปลี่ยน model แล้ว ratio ต่างๆของ ticon ก็ดีขึ้น ทำให้ถูก re-rating value ของหุ้นขึ้นมาใหม่เป็นต้น
.
สมัยก่อนพี่สุมาอี้ซื้อ #BH ตอน 12 บาท pe ก็ 20 กว่าเท่าแต่พี่เขามองศักยภาพการเติบโตแล้วก็ไม่ได้ยึดติดกับตัวเลข pe หลังจากซื้อไปไม่นานก็ไปขายได้ 32 บาทก่อนจะ switch มาเล่น ps ที่ 5.5 เพราะตอนนั้น #PSH ก็มี model การทำธุรกิจที่น่าสนใจ
.
การดูงบการเงินถ้าไม่เข้าใจเรื่องลูกเล่นทางบัญชีก็เป็นเรื่องอันตรายเพราะว่า ตัวเลขดีเกินจริงหรือแย่เกินจริง ผู้บริหารก็สามารถเล่นตัวเลขได้
.
(จบ) ... เรียบเรียงโดย #นายแว่นลงทุน

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่