By เหมียวฝึกหัดหมายเลข 24 -
11/02/2019
เมื่อประมาณ 70 ปีที่แล้ว มีนวนิยายเรื่องหนึ่ง ชื่อว่า ‘Reason’ แต่งโดย Isaac Asimov เป็นเรื่องราวเกี่ยวโลกในอนาคต ที่มนุษย์ต้องพึ่งพาพลังงานแสงอาทิตย์จากดาวเทียมบนอวกาศ และส่องลงมายังโลก
โดยเรื่องราวนี้อาจจะไม่เป็นเพียงแค่นิยายวิทยาศาตร์เท่านั้น เมื่อเทคโนโลยีในอนาคตข้างหน้า อาจสร้างพลังงานแสดงอาทิตย์ใช้ได้เองก็เป็นได้…
ในปัจจุบันได้มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์กันอย่างมากในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีนที่มีการใช้พลังงานด้านนี้มาเป็นอันดับหนึ่งในปัจจุบัน ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีพลังงานสะอาดนี้
มีการวิเคราะห์อีกว่าในอนาคตดวงอาทิตย์จะดับภายใน ‘หมื่นล้านปี’ ข้างหน้า จึงเป็นที่มาของความพยายามในการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นมาเอง
โดยทางนาซ่าได้ใช้เวลาหลายปีในการวิเคราะห์การหาทางสร้างเทคโนโลยีดังกล่าว ทำให้เกิดโปรเจกต์ทั้ง ‘โปรเจกต์สร้างแหล่งพลังงานจากดาวเทียม’ และ ‘การค้นหาแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ และเทคโนโลยีแสงอาทิตย์’
แต่ทั้งสองโปรเจต์นั้นทำให้นักวิทยาศาสตร์ เห็นถึงปัญหาหลายอย่าง
“การสร้างเครื่องให้พลังงานอาทิตย์ขนาดใหญ่ เป็นอะไรที่ซับซ้อนมาก ต้องใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่าตอนนี้หลายเท่า แต่อย่างไรก็ตามได้มีการวางแผนการไว้บ้างแล้ว แม้ว่าอาจจะต้องใช้เวลาถึงหลายสิบปี…” กล่าวโดย John C. Mankins อดีตนักฟิสิกส์จากนาซ่า
และแผนการ ‘การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตเองจากสถานีอวกาศ’ ของนักวิทยาศาสตร์ตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว?
อย่างแรก สถานที่ คือปัจจัยสำคัญ เพราะนักวิทยาศาสตร์ต่างต้องใช้เวลาในการคำนวณทิศทาง และระยะทางในการขนส่งพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่นี้ในอวกาศ รวมไปถึงการเคลื่อนที่ระหว่างการสร้างบนพื้นโลก
อย่างที่ 2 คือ การออกแบบโครงสร้าง ว่าจะใช้วัสดุแบบใดบ้าง? จากที่ไหน? และการจะก่อสร้างควรจะสร้างบนอวกาศ หรือบนโลกจะดีกว่ากัน?
อย่างที่ 3 คือ รูปแบบของการกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ ที่คาดการณ์ไว้เป็นสองอย่าง คือ แบบแผงโซลาร์ หรือ แบบแผงโซลาร์เทอร์มอล์ที่ใช้น้ำในเป็นตัวนำความร้อนเป็นหลัก
อย่างที่ 4 คือ การส่งผ่านของพลังงานไปยังโลก โดยใช้คลื่นความถึ่ไมโครเวฟเป็นทางเลือกตอนนี้ แต่ขณะเดียวกันก็มีการแนะนำให้ใช้ ลำแสงเลเซอร์แทนในการส่งผ่านพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากน้ำหนักที่เบากว่า และราคาถูกลง
อย่างที่ 5 คือ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดทั้งมวล ตั้งแต่ราคาต่ำสุดที่วิเคราะห์ไว้ คือ 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราวหนึ่งแสนล้านบาท) และราคาสูงสุด คือ 3,440 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราวหนึ่งแสนล้านล้านบาท)
โดยนักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาความเป็นไปได้ ให้สามารถที่จะใช้ค่าใช้จ่ายได้น้อยที่สุด และอาจจะเป็นไปได้หากนำวัสดุจาก SpaceX กลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง
ที่มา: universal, eia, @WorldAndScience, altenergymag
CatDumb
ในอนาคตอาจจะต้องใช้ ‘แสงอาทิตย์จากดาวเทียมในอวกาศ’ ในการเอาตัวรอดหากดวงอาทิตย์ดับ
11/02/2019
เมื่อประมาณ 70 ปีที่แล้ว มีนวนิยายเรื่องหนึ่ง ชื่อว่า ‘Reason’ แต่งโดย Isaac Asimov เป็นเรื่องราวเกี่ยวโลกในอนาคต ที่มนุษย์ต้องพึ่งพาพลังงานแสงอาทิตย์จากดาวเทียมบนอวกาศ และส่องลงมายังโลก
โดยเรื่องราวนี้อาจจะไม่เป็นเพียงแค่นิยายวิทยาศาตร์เท่านั้น เมื่อเทคโนโลยีในอนาคตข้างหน้า อาจสร้างพลังงานแสดงอาทิตย์ใช้ได้เองก็เป็นได้…
ในปัจจุบันได้มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์กันอย่างมากในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีนที่มีการใช้พลังงานด้านนี้มาเป็นอันดับหนึ่งในปัจจุบัน ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีพลังงานสะอาดนี้
มีการวิเคราะห์อีกว่าในอนาคตดวงอาทิตย์จะดับภายใน ‘หมื่นล้านปี’ ข้างหน้า จึงเป็นที่มาของความพยายามในการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นมาเอง
โดยทางนาซ่าได้ใช้เวลาหลายปีในการวิเคราะห์การหาทางสร้างเทคโนโลยีดังกล่าว ทำให้เกิดโปรเจกต์ทั้ง ‘โปรเจกต์สร้างแหล่งพลังงานจากดาวเทียม’ และ ‘การค้นหาแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ และเทคโนโลยีแสงอาทิตย์’
แต่ทั้งสองโปรเจต์นั้นทำให้นักวิทยาศาสตร์ เห็นถึงปัญหาหลายอย่าง
“การสร้างเครื่องให้พลังงานอาทิตย์ขนาดใหญ่ เป็นอะไรที่ซับซ้อนมาก ต้องใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่าตอนนี้หลายเท่า แต่อย่างไรก็ตามได้มีการวางแผนการไว้บ้างแล้ว แม้ว่าอาจจะต้องใช้เวลาถึงหลายสิบปี…” กล่าวโดย John C. Mankins อดีตนักฟิสิกส์จากนาซ่า
และแผนการ ‘การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตเองจากสถานีอวกาศ’ ของนักวิทยาศาสตร์ตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว?
อย่างแรก สถานที่ คือปัจจัยสำคัญ เพราะนักวิทยาศาสตร์ต่างต้องใช้เวลาในการคำนวณทิศทาง และระยะทางในการขนส่งพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่นี้ในอวกาศ รวมไปถึงการเคลื่อนที่ระหว่างการสร้างบนพื้นโลก
อย่างที่ 2 คือ การออกแบบโครงสร้าง ว่าจะใช้วัสดุแบบใดบ้าง? จากที่ไหน? และการจะก่อสร้างควรจะสร้างบนอวกาศ หรือบนโลกจะดีกว่ากัน?
อย่างที่ 3 คือ รูปแบบของการกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ ที่คาดการณ์ไว้เป็นสองอย่าง คือ แบบแผงโซลาร์ หรือ แบบแผงโซลาร์เทอร์มอล์ที่ใช้น้ำในเป็นตัวนำความร้อนเป็นหลัก
อย่างที่ 4 คือ การส่งผ่านของพลังงานไปยังโลก โดยใช้คลื่นความถึ่ไมโครเวฟเป็นทางเลือกตอนนี้ แต่ขณะเดียวกันก็มีการแนะนำให้ใช้ ลำแสงเลเซอร์แทนในการส่งผ่านพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากน้ำหนักที่เบากว่า และราคาถูกลง
อย่างที่ 5 คือ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดทั้งมวล ตั้งแต่ราคาต่ำสุดที่วิเคราะห์ไว้ คือ 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราวหนึ่งแสนล้านบาท) และราคาสูงสุด คือ 3,440 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราวหนึ่งแสนล้านล้านบาท)
โดยนักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาความเป็นไปได้ ให้สามารถที่จะใช้ค่าใช้จ่ายได้น้อยที่สุด และอาจจะเป็นไปได้หากนำวัสดุจาก SpaceX กลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง
ที่มา: universal, eia, @WorldAndScience, altenergymag
CatDumb