คนโสด ถึงมีเงินใช้หลังเกษียณตามเป้า ก็ต้องพึ่งคนอื่น ณ จุดหนึ่งอยู่ดี

ผมนั่งไตร่ตรองมาสักพักแล้ว และจากประสบการณ์ที่เห็นกับครอบครัวตนเอง และครอบครัวคนอื่น

ถึงจุดหนึ่งในชีวิต เราจะสุขภาพไม่แข็งแรงพอที่จะทำอะไรเองได้มากนัก สุดท้ายเราจะต้องพึ่งพิงคนอื่นอยู่ดี ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร: พี่ น้อง หลาน เพื่อน คนรับจ้างดูแลคนป่วย พยาบาล ฯลฯ เท่าที่หามาได้ และไว้ใจได้

ถ้าเป็นอัมพฤกษ์/อัมพาต อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน จะยิ่งหนักหนาสาหัส ใครจะคอยดูแล ใครจะกดเงินมาให้ใช้ ไว้ใจได้แค่ไหน

ขนาดตาไม่ดี หูไม่ดี มือสั่น เดินไม่ค่อยมีแรง ก็ยังลำบากแล้วเลย

ผมว่าเป็นความมั่นใจเกินไปว่า ถ้าเราเป็นโสดแล้วเรามีเงินถึงจุดหนึ่ง เราจะรอดในช่วงท้ายของชีวิต

นี่ยังไม่นับประเด็นเชิงสังคม (ไร้ญาติขาดมิตร)  จิตใจ (ซึมเศร้า)

ยิ่งอ่านข่าวผู้สูงอายุในประเทศเจริญแล้ว ที่สวัสดิการผู้สูงอายุดีกว่าเรามาก ยิ่งรู้สึกว่า เงินเพียงอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบ

นอกจากเตรียมเงิน เราต้องเตรียมอีกเยอะเลยครับ สำหรับคนโสดที่คิดว่าจะอยู่อย่าง (ค่อนข้าง) ดี หลังเกษียณ หรือวัยชรา

ระบบครอบครัวขยายของสังคมไทยก็ล่มสลายไปแล้ว สวัสดิการรัฐเราก็ยังไม่ดี ประชากรวัยเด็กหดตัว

คิดว่าประเทศเราต้องเผชิญสถานการณ์คนแก่ตายอย่างโดดเดี่ยว การฆ่าตัวตายในวัยสูงอายุ หรือคนแก่ขโมยของเพื่อให้ได้ติดคุกแน่นอน (ผมเดาว่าคนแก่โสดน้อยรายมากจะเก็บเงินได้ถึงเป้าหมายที่จะอยู่ได้อย่างดีเท่า ๆ กับวัยทำงานของตัวเอง)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่