เอ๊!!......ทำไมชีต้าคันหูจังเลยลูก
ไหนแม่ขอดูหน่อยซิ โอ้โห 😲 เกาจนหูแดง
หูช้ำไปหมดแล้วเนี่ย มันคันมากเลยเหรอลูก
หือ...ขี้หูคล้ำๆอ่ะ เหม็นๆนิดนึง ผิดปกติแน่ๆเลย
แต่เดี๋ยวแม่แคะขี้หูออกให้นะ
จากนั้น ก็ไปดูหูอีกข้าง เอ๊า!!...ข้างนี้สะอาดอ่ะ
ไม่มีกลิ่นด้วย แม่ว่าเราไปหาหมอกันดีกว่ามั้ยลูก
เพิ่งเริ่มเป็น รีบหาหมอ รีบรักษา
จะได้รักษาง่ายๆไม่เรื้อรังเนอะ
คุณหมอบอกว่าชีต้าเป็นยีสต์ค่ะ
คุณหมอก็ทำความสะอาดหูและทายาให้
พร้อมกับสอนวิธีการนวดหู และ
การทำความสะอาดช่องหูอย่างถูกต้อง
เพราะตุ๊กตาไม่เคยทำเลยค่ะ
ทุกอย่างให้กรูมเมอร์ทำให้หมดเลย 😅
#โรคช่องหูส่วนนอกอักเสบ (#OtitisExterna)
เจ้าของสุนัขมักจะนำสุนัขของตนเอง
มาพบสัตวแพทย์และมักจะมาบ่นให้ฟังอยู่เสมอว่า
"หูสุนัขของตนเองมีกลิ่นที่เหม็น
น่ารังเกียจมากเลย มันเป็นอะไรหรือคะ/ครับ?"
หรือ
"แมวของฉันชอบเกาหูมากเลย
มีขี้หูดำมาก ฉันจะทำอย่างไรดี"
หรือ
"สุนัขของผมชอบเอาหูไปถูไปกับพรม
แต่ผมไม่พบว่ามีความผิดปกติใดๆเลย
ทำไมเจ้าตูบของผมจึงเป็นอย่างนั้น"
เหล่านี้ เป็นคำถามที่สัตวแพทย์ได้ยิน
ได้ฟังอยู่เสมอ #อาการของโรคหู
สุนัขหรือแมวที่มีอาการของโรคในช่องหู
เราอาจจะพบว่าอาการเหล่านี้ได้ เช่น
มีกลิ่น มีการเกาหู หรือ เอาหู (หัว) ไปถูกับวัตถุ
มีสิ่งคัดหลั่งออกมาจากช่องหู
ช่องหู หรือ ใบหูมีสีแดง หรือ บวม
มีการสั่นหัว หรือเอียงหัวไปด้านใดด้านหนึ่ง
มีอาการเจ็บรอบๆหู มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป
เช่น ซึม หรือ หงุดหงิด
#โรคของช่องหู เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมากที่สุด
ในสัตว์เลี้ยง (ทั้งสุนัขและแมว)
ส่วนใหญ่เป็นการอักเสบของช่องหูภายนอก
ที่เรียกว่า "Otitis Externa" ปัญหาช่องหูอักเสบ
พบได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์
ของจำนวนสุนัขทั้งหมด
จากการศึกษาสถิติการพบปัญหาช่องหูอักเสบ
ในแมวพบได้ประมาณ 2-6.6 เปอร์เซ็นต์
สาเหตุของการเกิดช่องหูอักเสบ
ปัญหาโรคช่องหูสามารถเกิดขึ้นได้
จากหลายสาเหตุ เมื่อเราพบว่าสัตว์เลี้ยงของเรา
มีปัญหาโรคของช่องหู สิ่งที่ต้องคิดถึง
และเป็นสาเหตุโน้มนำที่เป็นไปได้
ที่ทำให้เกิดปัญหาโรคของช่องหูภายนอก
ได้แก่ #การแพ้ (#Allergies) เช่น
พยาธิภายนอก เช่น #ไรในหู (#EarMites)
จุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย และ #ยีสต์ (#Yeast)
สิ่งแปลกปลอม เช่น เกสรดอกไม้
หรือ หนามของพืช การได้รับบาดเจ็บ (#Trauma)
มีความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น #Hypothyroidism
สิ่งแวดล้อมภายในช่องหูที่ผิดปกติ เช่น
มีความชื้นมากเกินไป และ
ความผิดปกติทางกายวิภาคของช่องหู
มีความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือ ทางภูมิคุ้มกัน
(#ImmuneConditions) และ การเกิดเนื้องอก
การแพ้ (Allergies)
สุนัขที่มีอาการแพ้ ไม่ว่าจะเป็น
การแพ้อาหาร (Food Allergy) หรือ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มันหายใจเอาเข้าไปในร่างกาย
พบว่ามีบ่อยครั้งเหมือนกันที่ก่อให้เกิดปัญหา
ของช่องหูได้ ในความเป็นจริงปัญหาของช่องหู
อาจจะเป็นอาการเริ่มแรกของอาการแพ้ด้วยซ้ำไป
เนื่องจากการแพ้ที่เกิดขึ้น จะมีผลไปเปลี่ยนแปลง
สิ่งแวดล้อมภายในช่องหู ซึ่งเป็นเหตุโน้มนำ
ทำให้มีการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ ยีสต์
แทรกซ้อนขึ้นมาได้ ถ้าเรารักษาแต่เพียง
ปัญหาการติดเชื้อแทรกซ้อน
เราจะไม่สามารถกำจัดสาเหตุของปัญหานั้นได้
เราจำเป็นต้องรักษาปัญหาการแพ้ของสุนัขด้วย
พยาธิ (Parasites)
ไรในหู หรือ Ear Mite
ที่ชื่อว่า Otodectes Cynotis เป็นไรที่พบว่า
เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาของช่องหูในลูกแมว
ที่พบได้บ่อยมากที่สุด สัตว์เลี้ยงบางตัว
มีภาวะภูมิไวเกินไป (Hypersensitivity)
ต่อตัวไรมาก และ มักทำให้เกิดอาการคัน
อย่างรุนแรง สัตว์เลี้ยงเหล่านี้จะมีการเกา
อย่างรุนแรง จนทำให้ใบหูและช่องหู
เกิดบาดแผลจากการเกาได้
แบคทีเรียและยีสต์ (Bacteria and Yeast)
มี แบคทีเรีย และ ยีสต์ มากมายหลายชนิด
เช่น ยีสต์ Malassezia pachydermatis
เป็นตัวสาเหตุของการติดเชื้อในช่องหูที่สำคัญ
โดยปกติหูที่มีสุขภาพดีจะมีความสามารถ
ในการป้องกันจากการติดเชื้อจุลินทรีย์นี้ได้ดี
แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมในช่องหู มีการเปลี่ยนแปลงไป
อันเนื่องมาจากการแพ้ หรือ
มีความผิดปกติทางฮอร์โมน หรือ มีความชื้น
เชื้อแบคทีเรีย และ ยีสต์
จะสามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี
เป็นผลทำให้ไปทำลายกลไกการป้องกัน
การติดเชื้อที่ร่างกายมีอยู่
สิ่งแปลกปลอม (Foreign Bodies)
เกสรดอกไม้ หรือ หนามของพืช (Plant Awns)
ซึ่งอาจจะหักติดค้างที่เสื้อผ้าของเจ้าของ หรือ
ที่ขนของมัน (แม้ว่าเป็นเพียงหนามสั้นๆก็ตาม)
สามารถที่จะตกเข้าไปในช่องหูได้
ทำให้เกิดความระคายเคืองต่อช่องหู
สัตว์จะเกา ทำให้เกิดบาดแผลจากการเกา
และ ติดเชื้อแทรกซ้อน
ก่อนที่เจ้าของจะทราบเสียอีก
ดังนั้น เจ้าของควรทำความสะอาดตัวสัตว์เลี้ยง
ภายหลังจากที่นำมันไปเดินเล่นนอกบ้าน
รวมทั้งจะได้ตรวจสอบหูไปในตัวด้วย
การได้รับบาดเจ็บ (Trauma)
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น การทำร้ายตัวเอง
จนเกิดบาดแผลที่ใบหู หรือ ช่องหู
มักเป็นผลมาจากการเกาอย่างรุนแรงมากกว่า
ความผิดปกติทางฮอร์โมน
(Hormonal Abnormalitites)
ภาวะการขาดฮอร์โมน (Deficiencies) หรือ
มีฮอร์โมนชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป (Excesses)
จะสามารถทำให้เกิดปัญหาของผิวหนัง
และช่องหูได้ ไธรอยด์ฮอร์โมน กลูโคคอร์ติคอร์ย
ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมหมวกไต
และฮอร์โมนเพศเหล่านี้ล้วนมีอิทธิพล
ต่อสุขภาพของผิวหนังและหูทั้งสิ้น
สิ่งแวดล้อมในช่องหู (Ear Environment)
แบคทีเรียและยีสต์ชอบที่อาศัยอยู่ในช่องหู
ที่ซึ่งมีความอบอุ่น มืด และมีความชื้น
สุนัขที่มีน้ำหนักมาก หรือ อ้วน ใบหูพับลง
อย่างเช่นสุนัขพันธุ์ค๊อกเกอร์สเปเนียล
อาจจะพบว่ามีปัญหาของช่องหู
มากกว่าสุนัขพันธุ์อื่นๆ เพราะช่องหูมีความชื้นมาก
สาเหตุอื่นๆ (Other Cause)
สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาทางช่องหู
ที่พบได้ คือ ปัญหาที่เกิดจากพันธุกรรรม
แต่พบได้ยาก และมักพบได้ในบางพันธุ์เท่านั้น
ซึ่งรวมถึง ปัญหาโรค Dermatomyositis
ในสุนัขพันธุ์คอลลี่ (Collies) และ
Shetland Sheepdog และ
ผิวหนังอักเสบแบบเปียก (Seborrhea)
ในสุนัขพันธุ์ Shar Peis และ
West Highland White Terriers
ส่วนปัญหาโรค Eosinophilic Granulomas
จะมีความเกี่ยวพันกับความผิดปกติ
ของระบบภูมิคุ้มกันและสามารถทำให้เกิดปัญหา
ในช่องหูของแมวได้เช่นกัน ภาวะเนื้องอกอื่นๆ
หรือ เนื้อร้ายอย่าง Squamous Cell Carcinomas, Melanoma สามารถพบได้ในช่องหูเช่นกัน
การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหา
และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น การให้ยาปฏิชีวนะ
จะใช้สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรีย
ส่วนยาต้านเชื้อราจะใช้สำหรับการติดเชื้อยีสต์
การให้ยากลูโคคอร์ติคอร์ย เช่น เด็กซาเมธาโซน
มักจะใช้เพื่อลดการอักเสบในช่องหู
(ยาหยอด หรือ ยากิน) กรณีปัญหาช่องหู
ที่เกิดมาจากโรคอื่นๆในร่างกาย เช่น
ความผิดปกติทางฮอร์โมน หรือ การแพ้
จะต้องให้การรักษาสัตว์ทั้งตัว
ไม่เฉพาะแต่ช่องหู เช่น การเสริมฮอร์โมน
หรือตรวจทดสอบการแพ้ เป็นต้น
การแพ้ (Allergies)
การรักษาการแพ้มักจะรักษาด้วยการ
หมั่นทำความสะอาดช่องหูอย่างสม่ำเสมอ
ด้วยน้ำยาทำความสะอาดหู
(Ear Cleaning Solution)
ยาแก้แพ้ (Antihistamine) และ
การเสริมกรดไขมันบางชนิด
ในบางครั้ง อาจจะมีความจำเป็นต้องให้
คอร์ติโคสเตรียร์รอยด์ ยาเหล่านี้
อาจจะให้สัตว์ด้วยการป้อนให้กิน
หรือ ในรูปฉีดก็ได้ หรือ อาจจะให้ในรูป
ที่ใช้ทาภายนอกร่างกายก็ได้
การตรวจทดสอบการแพ้
และการทำ Immunotherapy (Hyposensitization)
อาจจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด
ในการรักษาปัญหาในช่องหู
ไรในหู (Ear Mites)
ปัญหาไรในช่องหู มักทำให้ช่องหูแห้ง ดำ
มีเศษเนื้อเยื่อเล็กๆ นิ่มๆ
มีลักษณะคล้ายผงกาแฟอยู่ในช่องหู
ปัญหาไรในช่องหูพบได้ในแมวมากกว่าในสุนัข
(แล้วแต่พื้นที่) ภาวะดังกล่าวนี้
ให้การรักษาด้วยการทำความสะอาดช่องหู
และให้ยาฆ่าไรก็จะสามารถจัดการกับปัญหาได้
แม้ว่าการรักษาอาจจะต้องใช้เวลานาน
(อาจเป็นสัปดาห์ในบางราย)
ยีสต์ (Yeast)
ยีสต์สามารถก่อให้เกิดปัญหาช่องหู
ที่มีความรุนแรงได้ เรามักจะพบว่า
มีสิ่งคัดหลั่งในช่องหูมีลักษณะเป็นไข
คล้ายขี้ผึ้ง สีน้ำตาล และมีกลิ่นเหม็นมาก
การทำความสะอาดช่องหูทุกวัน
อาจจะช่วยลดปัญหากลิ่นได้บ้าง
แต่การติดเชื้อยีสต์ในช่องหู
เป็นปัญหาที่ไม่สามารถที่จะกำจัด
หรือรักษาให้หายได้ง่ายนัก
การรักษาการติดเชื้อยีสต์ในช่องหู
อาจจะต้องมีการรักษาที่พิเศษกว่า
การรักษาตามปกติ เนื่องจากการให้ยาปฏิชีวนะ
ไม่สามารถฆ่าเชื้อยีสต์ได้ ถ้าสงสัยว่า
มีการติดเชื้อยีสต์ในช่องหู
ควรนำสุนัขไปปรึกษาสัตวแพทย์
การติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Infections)
การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องหู
สามารถทำให้มีกลิ่นเหม็นในช่องหูได้
รวมทั้งอาจจะพบว่ามีสิ่งคัดหลั่งสีเหลืองด้วย
ถ้าปัญหามีความรุนแรงและเรื้อรัง
การทำความสะอาดช่องหูเพียงอย่างเดียว
ไม่เพียงพอสำหรับการจัดการกับปัญหา
และการให้ยาปฏิชีวนะเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด
ของการรักษา และควรอยู่ในความดูแล
ของสัตวแพทย์ ถ้าการติดเชื้อในช่องหู
มีความรุนแรงมาก การติดเชื้อนั้นมีโอกาสแพร่
หรือรุกลามเข้าไปในช่องหูส่วนกลาง
หรือส่วนในได้ การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
ของปัญหาให้เร็วที่สุดเป็นสิ่งที่จำเป็น
โดยปกติการรักษาสภาพช่องหู
ให้มีความสะอาดอยู่เสมอ จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
ในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดกับสัตว์เลี้ยง
การทำความสะอาดหู
หูของสัตว์เลี้ยงมักจะเป็นรูปตัว "L"
มากกว่าหูของคนและเศษเนื้อเยื่อ หรือ ขี้หู
จึงมักจะถูกเก็บสะสมอยู่บริเวณมุมของตัว "L"
การกำจัดขี้หูที่สะสมในช่องหู สามารถทำได้
ด้วยการใส่น้ำยาสำหรับทำความสะอาดหู
(น้ำยาที่ดี) ลงไปในช่องหู น้ำยาล้างหูที่ดี
ควรมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ
แต่ไม่ควรใช้วิธีการแทง กระแทก
ควรบีบนวดบริเวณโคนหูประมาณ 20-30 วินาที
เพื่อทำให้เศษเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มและหลุดออกมา
ทำการเช็ดเอาเศษเนื้อเยื่อที่หลุดออก
และใช้ก้านไม้ที่พันด้วยสำลีที่ชุบให้ชุ่ม
ไปด้วยน้ำยาทำความสะอาดช่องหู ให้ทำซ้ำๆกัน
จนไม่พบว่ามีเศษเนื้อเยื่อ หรือ ขี้หู
หลงเหลืออยู่ในช่องหูอีก ถ้าสภาพภายในช่องหู
มีเนื่อเยื่อ หรือ ขี้หูมาก อาจจะทำความสะอาด
ตามวิธีดังกล่าววันละ 2 ครั้ง
อาจจะใช้ก้านไม้พันด้วยสำลี หรือ Cotton Bud
ในการทำความสะอาดช่องหู และด้านในของใบหู
แต่ไม่ควรแหย่ให้ลึกเข้าไปในช่องหูมากนัก
เพราะจะทำให้ขี้หู หรือเศษเนื้อเยื่อ
อัดกันแน่นภายในช่องหู
มากกว่าเป็นการเขี่ยเอามันออกมา
สัตว์บางตัวพบมีว่าปัญหาของช่องหูที่เกิดขึ้น
ทำให้เกิดความเจ็บปวด การทำความสะอาด
หรือขณะให้การรักษา อาจจะมีความจำเป็น
ต้องทำให้สลบเสียก่อน แต่ในบางครั้ง
สัตว์จะไม่ยอมให้ทำความสะอาดหูของมัน
เพราะมันไม่ชอบ มันรำคาญ
เจ้าของจะต้องพูดคุยกับมัน ให้มันผ่อนคลาย
ในระหว่างที่ทำความสะอาด ถ้ามันเชื่อฟัง
ควรต้องชมเชย ให้รางวัล
หลังจากทำความสะอาดหูแล้ว ปล่อยให้มันสั่น
หรือสะบัดหัวได้และปล่อยให้แห้ง
หลังจากนั้นจึงค่อยใส่ยาให้
อย่ามองข้ามเมื่อน้องหมา น้องแมว คันหู
เอ๊!!......ทำไมชีต้าคันหูจังเลยลูก
ไหนแม่ขอดูหน่อยซิ โอ้โห 😲 เกาจนหูแดง
หูช้ำไปหมดแล้วเนี่ย มันคันมากเลยเหรอลูก
หือ...ขี้หูคล้ำๆอ่ะ เหม็นๆนิดนึง ผิดปกติแน่ๆเลย
แต่เดี๋ยวแม่แคะขี้หูออกให้นะ
จากนั้น ก็ไปดูหูอีกข้าง เอ๊า!!...ข้างนี้สะอาดอ่ะ
ไม่มีกลิ่นด้วย แม่ว่าเราไปหาหมอกันดีกว่ามั้ยลูก
เพิ่งเริ่มเป็น รีบหาหมอ รีบรักษา
จะได้รักษาง่ายๆไม่เรื้อรังเนอะ
คุณหมอบอกว่าชีต้าเป็นยีสต์ค่ะ
คุณหมอก็ทำความสะอาดหูและทายาให้
พร้อมกับสอนวิธีการนวดหู และ
การทำความสะอาดช่องหูอย่างถูกต้อง
เพราะตุ๊กตาไม่เคยทำเลยค่ะ
ทุกอย่างให้กรูมเมอร์ทำให้หมดเลย 😅
#โรคช่องหูส่วนนอกอักเสบ (#OtitisExterna)
เจ้าของสุนัขมักจะนำสุนัขของตนเอง
มาพบสัตวแพทย์และมักจะมาบ่นให้ฟังอยู่เสมอว่า
"หูสุนัขของตนเองมีกลิ่นที่เหม็น
น่ารังเกียจมากเลย มันเป็นอะไรหรือคะ/ครับ?"
หรือ
"แมวของฉันชอบเกาหูมากเลย
มีขี้หูดำมาก ฉันจะทำอย่างไรดี"
หรือ
"สุนัขของผมชอบเอาหูไปถูไปกับพรม
แต่ผมไม่พบว่ามีความผิดปกติใดๆเลย
ทำไมเจ้าตูบของผมจึงเป็นอย่างนั้น"
เหล่านี้ เป็นคำถามที่สัตวแพทย์ได้ยิน
ได้ฟังอยู่เสมอ #อาการของโรคหู
สุนัขหรือแมวที่มีอาการของโรคในช่องหู
เราอาจจะพบว่าอาการเหล่านี้ได้ เช่น
มีกลิ่น มีการเกาหู หรือ เอาหู (หัว) ไปถูกับวัตถุ
มีสิ่งคัดหลั่งออกมาจากช่องหู
ช่องหู หรือ ใบหูมีสีแดง หรือ บวม
มีการสั่นหัว หรือเอียงหัวไปด้านใดด้านหนึ่ง
มีอาการเจ็บรอบๆหู มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป
เช่น ซึม หรือ หงุดหงิด
#โรคของช่องหู เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมากที่สุด
ในสัตว์เลี้ยง (ทั้งสุนัขและแมว)
ส่วนใหญ่เป็นการอักเสบของช่องหูภายนอก
ที่เรียกว่า "Otitis Externa" ปัญหาช่องหูอักเสบ
พบได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์
ของจำนวนสุนัขทั้งหมด
จากการศึกษาสถิติการพบปัญหาช่องหูอักเสบ
ในแมวพบได้ประมาณ 2-6.6 เปอร์เซ็นต์
สาเหตุของการเกิดช่องหูอักเสบ
ปัญหาโรคช่องหูสามารถเกิดขึ้นได้
จากหลายสาเหตุ เมื่อเราพบว่าสัตว์เลี้ยงของเรา
มีปัญหาโรคของช่องหู สิ่งที่ต้องคิดถึง
และเป็นสาเหตุโน้มนำที่เป็นไปได้
ที่ทำให้เกิดปัญหาโรคของช่องหูภายนอก
ได้แก่ #การแพ้ (#Allergies) เช่น
พยาธิภายนอก เช่น #ไรในหู (#EarMites)
จุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย และ #ยีสต์ (#Yeast)
สิ่งแปลกปลอม เช่น เกสรดอกไม้
หรือ หนามของพืช การได้รับบาดเจ็บ (#Trauma)
มีความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น #Hypothyroidism
สิ่งแวดล้อมภายในช่องหูที่ผิดปกติ เช่น
มีความชื้นมากเกินไป และ
ความผิดปกติทางกายวิภาคของช่องหู
มีความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือ ทางภูมิคุ้มกัน
(#ImmuneConditions) และ การเกิดเนื้องอก
การแพ้ (Allergies)
สุนัขที่มีอาการแพ้ ไม่ว่าจะเป็น
การแพ้อาหาร (Food Allergy) หรือ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มันหายใจเอาเข้าไปในร่างกาย
พบว่ามีบ่อยครั้งเหมือนกันที่ก่อให้เกิดปัญหา
ของช่องหูได้ ในความเป็นจริงปัญหาของช่องหู
อาจจะเป็นอาการเริ่มแรกของอาการแพ้ด้วยซ้ำไป
เนื่องจากการแพ้ที่เกิดขึ้น จะมีผลไปเปลี่ยนแปลง
สิ่งแวดล้อมภายในช่องหู ซึ่งเป็นเหตุโน้มนำ
ทำให้มีการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ ยีสต์
แทรกซ้อนขึ้นมาได้ ถ้าเรารักษาแต่เพียง
ปัญหาการติดเชื้อแทรกซ้อน
เราจะไม่สามารถกำจัดสาเหตุของปัญหานั้นได้
เราจำเป็นต้องรักษาปัญหาการแพ้ของสุนัขด้วย
พยาธิ (Parasites)
ไรในหู หรือ Ear Mite
ที่ชื่อว่า Otodectes Cynotis เป็นไรที่พบว่า
เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาของช่องหูในลูกแมว
ที่พบได้บ่อยมากที่สุด สัตว์เลี้ยงบางตัว
มีภาวะภูมิไวเกินไป (Hypersensitivity)
ต่อตัวไรมาก และ มักทำให้เกิดอาการคัน
อย่างรุนแรง สัตว์เลี้ยงเหล่านี้จะมีการเกา
อย่างรุนแรง จนทำให้ใบหูและช่องหู
เกิดบาดแผลจากการเกาได้
แบคทีเรียและยีสต์ (Bacteria and Yeast)
มี แบคทีเรีย และ ยีสต์ มากมายหลายชนิด
เช่น ยีสต์ Malassezia pachydermatis
เป็นตัวสาเหตุของการติดเชื้อในช่องหูที่สำคัญ
โดยปกติหูที่มีสุขภาพดีจะมีความสามารถ
ในการป้องกันจากการติดเชื้อจุลินทรีย์นี้ได้ดี
แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมในช่องหู มีการเปลี่ยนแปลงไป
อันเนื่องมาจากการแพ้ หรือ
มีความผิดปกติทางฮอร์โมน หรือ มีความชื้น
เชื้อแบคทีเรีย และ ยีสต์
จะสามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี
เป็นผลทำให้ไปทำลายกลไกการป้องกัน
การติดเชื้อที่ร่างกายมีอยู่
สิ่งแปลกปลอม (Foreign Bodies)
เกสรดอกไม้ หรือ หนามของพืช (Plant Awns)
ซึ่งอาจจะหักติดค้างที่เสื้อผ้าของเจ้าของ หรือ
ที่ขนของมัน (แม้ว่าเป็นเพียงหนามสั้นๆก็ตาม)
สามารถที่จะตกเข้าไปในช่องหูได้
ทำให้เกิดความระคายเคืองต่อช่องหู
สัตว์จะเกา ทำให้เกิดบาดแผลจากการเกา
และ ติดเชื้อแทรกซ้อน
ก่อนที่เจ้าของจะทราบเสียอีก
ดังนั้น เจ้าของควรทำความสะอาดตัวสัตว์เลี้ยง
ภายหลังจากที่นำมันไปเดินเล่นนอกบ้าน
รวมทั้งจะได้ตรวจสอบหูไปในตัวด้วย
การได้รับบาดเจ็บ (Trauma)
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น การทำร้ายตัวเอง
จนเกิดบาดแผลที่ใบหู หรือ ช่องหู
มักเป็นผลมาจากการเกาอย่างรุนแรงมากกว่า
ความผิดปกติทางฮอร์โมน
(Hormonal Abnormalitites)
ภาวะการขาดฮอร์โมน (Deficiencies) หรือ
มีฮอร์โมนชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป (Excesses)
จะสามารถทำให้เกิดปัญหาของผิวหนัง
และช่องหูได้ ไธรอยด์ฮอร์โมน กลูโคคอร์ติคอร์ย
ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมหมวกไต
และฮอร์โมนเพศเหล่านี้ล้วนมีอิทธิพล
ต่อสุขภาพของผิวหนังและหูทั้งสิ้น
สิ่งแวดล้อมในช่องหู (Ear Environment)
แบคทีเรียและยีสต์ชอบที่อาศัยอยู่ในช่องหู
ที่ซึ่งมีความอบอุ่น มืด และมีความชื้น
สุนัขที่มีน้ำหนักมาก หรือ อ้วน ใบหูพับลง
อย่างเช่นสุนัขพันธุ์ค๊อกเกอร์สเปเนียล
อาจจะพบว่ามีปัญหาของช่องหู
มากกว่าสุนัขพันธุ์อื่นๆ เพราะช่องหูมีความชื้นมาก
สาเหตุอื่นๆ (Other Cause)
สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาทางช่องหู
ที่พบได้ คือ ปัญหาที่เกิดจากพันธุกรรรม
แต่พบได้ยาก และมักพบได้ในบางพันธุ์เท่านั้น
ซึ่งรวมถึง ปัญหาโรค Dermatomyositis
ในสุนัขพันธุ์คอลลี่ (Collies) และ
Shetland Sheepdog และ
ผิวหนังอักเสบแบบเปียก (Seborrhea)
ในสุนัขพันธุ์ Shar Peis และ
West Highland White Terriers
ส่วนปัญหาโรค Eosinophilic Granulomas
จะมีความเกี่ยวพันกับความผิดปกติ
ของระบบภูมิคุ้มกันและสามารถทำให้เกิดปัญหา
ในช่องหูของแมวได้เช่นกัน ภาวะเนื้องอกอื่นๆ
หรือ เนื้อร้ายอย่าง Squamous Cell Carcinomas, Melanoma สามารถพบได้ในช่องหูเช่นกัน
การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหา
และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น การให้ยาปฏิชีวนะ
จะใช้สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรีย
ส่วนยาต้านเชื้อราจะใช้สำหรับการติดเชื้อยีสต์
การให้ยากลูโคคอร์ติคอร์ย เช่น เด็กซาเมธาโซน
มักจะใช้เพื่อลดการอักเสบในช่องหู
(ยาหยอด หรือ ยากิน) กรณีปัญหาช่องหู
ที่เกิดมาจากโรคอื่นๆในร่างกาย เช่น
ความผิดปกติทางฮอร์โมน หรือ การแพ้
จะต้องให้การรักษาสัตว์ทั้งตัว
ไม่เฉพาะแต่ช่องหู เช่น การเสริมฮอร์โมน
หรือตรวจทดสอบการแพ้ เป็นต้น
การแพ้ (Allergies)
การรักษาการแพ้มักจะรักษาด้วยการ
หมั่นทำความสะอาดช่องหูอย่างสม่ำเสมอ
ด้วยน้ำยาทำความสะอาดหู
(Ear Cleaning Solution)
ยาแก้แพ้ (Antihistamine) และ
การเสริมกรดไขมันบางชนิด
ในบางครั้ง อาจจะมีความจำเป็นต้องให้
คอร์ติโคสเตรียร์รอยด์ ยาเหล่านี้
อาจจะให้สัตว์ด้วยการป้อนให้กิน
หรือ ในรูปฉีดก็ได้ หรือ อาจจะให้ในรูป
ที่ใช้ทาภายนอกร่างกายก็ได้
การตรวจทดสอบการแพ้
และการทำ Immunotherapy (Hyposensitization)
อาจจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด
ในการรักษาปัญหาในช่องหู
ไรในหู (Ear Mites)
ปัญหาไรในช่องหู มักทำให้ช่องหูแห้ง ดำ
มีเศษเนื้อเยื่อเล็กๆ นิ่มๆ
มีลักษณะคล้ายผงกาแฟอยู่ในช่องหู
ปัญหาไรในช่องหูพบได้ในแมวมากกว่าในสุนัข
(แล้วแต่พื้นที่) ภาวะดังกล่าวนี้
ให้การรักษาด้วยการทำความสะอาดช่องหู
และให้ยาฆ่าไรก็จะสามารถจัดการกับปัญหาได้
แม้ว่าการรักษาอาจจะต้องใช้เวลานาน
(อาจเป็นสัปดาห์ในบางราย)
ยีสต์ (Yeast)
ยีสต์สามารถก่อให้เกิดปัญหาช่องหู
ที่มีความรุนแรงได้ เรามักจะพบว่า
มีสิ่งคัดหลั่งในช่องหูมีลักษณะเป็นไข
คล้ายขี้ผึ้ง สีน้ำตาล และมีกลิ่นเหม็นมาก
การทำความสะอาดช่องหูทุกวัน
อาจจะช่วยลดปัญหากลิ่นได้บ้าง
แต่การติดเชื้อยีสต์ในช่องหู
เป็นปัญหาที่ไม่สามารถที่จะกำจัด
หรือรักษาให้หายได้ง่ายนัก
การรักษาการติดเชื้อยีสต์ในช่องหู
อาจจะต้องมีการรักษาที่พิเศษกว่า
การรักษาตามปกติ เนื่องจากการให้ยาปฏิชีวนะ
ไม่สามารถฆ่าเชื้อยีสต์ได้ ถ้าสงสัยว่า
มีการติดเชื้อยีสต์ในช่องหู
ควรนำสุนัขไปปรึกษาสัตวแพทย์
การติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Infections)
การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องหู
สามารถทำให้มีกลิ่นเหม็นในช่องหูได้
รวมทั้งอาจจะพบว่ามีสิ่งคัดหลั่งสีเหลืองด้วย
ถ้าปัญหามีความรุนแรงและเรื้อรัง
การทำความสะอาดช่องหูเพียงอย่างเดียว
ไม่เพียงพอสำหรับการจัดการกับปัญหา
และการให้ยาปฏิชีวนะเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด
ของการรักษา และควรอยู่ในความดูแล
ของสัตวแพทย์ ถ้าการติดเชื้อในช่องหู
มีความรุนแรงมาก การติดเชื้อนั้นมีโอกาสแพร่
หรือรุกลามเข้าไปในช่องหูส่วนกลาง
หรือส่วนในได้ การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
ของปัญหาให้เร็วที่สุดเป็นสิ่งที่จำเป็น
โดยปกติการรักษาสภาพช่องหู
ให้มีความสะอาดอยู่เสมอ จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
ในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดกับสัตว์เลี้ยง
การทำความสะอาดหู
หูของสัตว์เลี้ยงมักจะเป็นรูปตัว "L"
มากกว่าหูของคนและเศษเนื้อเยื่อ หรือ ขี้หู
จึงมักจะถูกเก็บสะสมอยู่บริเวณมุมของตัว "L"
การกำจัดขี้หูที่สะสมในช่องหู สามารถทำได้
ด้วยการใส่น้ำยาสำหรับทำความสะอาดหู
(น้ำยาที่ดี) ลงไปในช่องหู น้ำยาล้างหูที่ดี
ควรมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ
แต่ไม่ควรใช้วิธีการแทง กระแทก
ควรบีบนวดบริเวณโคนหูประมาณ 20-30 วินาที
เพื่อทำให้เศษเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มและหลุดออกมา
ทำการเช็ดเอาเศษเนื้อเยื่อที่หลุดออก
และใช้ก้านไม้ที่พันด้วยสำลีที่ชุบให้ชุ่ม
ไปด้วยน้ำยาทำความสะอาดช่องหู ให้ทำซ้ำๆกัน
จนไม่พบว่ามีเศษเนื้อเยื่อ หรือ ขี้หู
หลงเหลืออยู่ในช่องหูอีก ถ้าสภาพภายในช่องหู
มีเนื่อเยื่อ หรือ ขี้หูมาก อาจจะทำความสะอาด
ตามวิธีดังกล่าววันละ 2 ครั้ง
อาจจะใช้ก้านไม้พันด้วยสำลี หรือ Cotton Bud
ในการทำความสะอาดช่องหู และด้านในของใบหู
แต่ไม่ควรแหย่ให้ลึกเข้าไปในช่องหูมากนัก
เพราะจะทำให้ขี้หู หรือเศษเนื้อเยื่อ
อัดกันแน่นภายในช่องหู
มากกว่าเป็นการเขี่ยเอามันออกมา
สัตว์บางตัวพบมีว่าปัญหาของช่องหูที่เกิดขึ้น
ทำให้เกิดความเจ็บปวด การทำความสะอาด
หรือขณะให้การรักษา อาจจะมีความจำเป็น
ต้องทำให้สลบเสียก่อน แต่ในบางครั้ง
สัตว์จะไม่ยอมให้ทำความสะอาดหูของมัน
เพราะมันไม่ชอบ มันรำคาญ
เจ้าของจะต้องพูดคุยกับมัน ให้มันผ่อนคลาย
ในระหว่างที่ทำความสะอาด ถ้ามันเชื่อฟัง
ควรต้องชมเชย ให้รางวัล
หลังจากทำความสะอาดหูแล้ว ปล่อยให้มันสั่น
หรือสะบัดหัวได้และปล่อยให้แห้ง
หลังจากนั้นจึงค่อยใส่ยาให้