โรคไตในผู้สูงอายุ...ดูแลตัวเองดีช่วยลดความเสี่ยงได้
โรคไตเป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากระบบการทำงานของไตผิดปกติ ทำให้ไตไม่สามารถขับของเสีย หรือรักษาความสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายได้ ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ โรคที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่นโรคถุงน้ำในไต โรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของไต โรคที่เกิดจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น จากนิ่ว และที่สำคัญคือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด ความเครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน โรคความดันโลหิตสูง และเกิดโรคเบาหวานตามมา ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่พบบ่อยที่สุดครับ
โดยอาการเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตที่สังเกตได้ เช่น
ปัสสาวะเป็นฟอง เป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือขุ่น
มีอาการบวมทั่วตัวสังเกตได้ง่ายบริเวณเปลือกตา ขาและเท้า
มีอาการปวดหลังบริเวณใต้ชายโครงข้างกระดูกสันหลัง หรือมีความดันโลหิตสูง
สำหรับการวินิจฉัยโรคไตที่ง่ายและได้ผลชัดเจนที่สุด คือ การตรวจเลือดและปัสสาวะเพื่อเช็คสภาพการทำงานของไตโดยเฉพาะผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้ที่ใช้ยาแก้ปวดเป็นประจำ ผู้ที่มีประวัติเป็นนิ่วหรือมีประวัติโรคไตในครอบครัว ควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำด้วยการตรวจเลือดและปัสสาวะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากโรคไตช่วงแรกมักไม่แสดงอาการผิดปกติ แต่เมื่อไตเริ่มทำงานเสื่อมลงจะมีของเสียคั่งในกระแสเลือดจึงทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ ตามมาได้
การดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดโรคไตหรือชะลอความเสื่อมของไตถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ด้วยการงดรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอไม่ควรกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เชื้อโรคแทรกซึมเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการอักเสบของท่อทางเดินปัสสาวะงดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เนื่องจากมีสารพิษต่อไตโดยตรง ควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน เพราะการมีน้ำหนักตัวมากเกินไปส่งผลให้ไตทำงานหนัก ทั้งนี้หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นดังที่กล่าวมาควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไปครับ
ปัสสาวะเป็นฟองต้องระวัง
โรคไตเป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากระบบการทำงานของไตผิดปกติ ทำให้ไตไม่สามารถขับของเสีย หรือรักษาความสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายได้ ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ โรคที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่นโรคถุงน้ำในไต โรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของไต โรคที่เกิดจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น จากนิ่ว และที่สำคัญคือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด ความเครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน โรคความดันโลหิตสูง และเกิดโรคเบาหวานตามมา ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่พบบ่อยที่สุดครับ
โดยอาการเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตที่สังเกตได้ เช่น
ปัสสาวะเป็นฟอง เป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือขุ่น
มีอาการบวมทั่วตัวสังเกตได้ง่ายบริเวณเปลือกตา ขาและเท้า
มีอาการปวดหลังบริเวณใต้ชายโครงข้างกระดูกสันหลัง หรือมีความดันโลหิตสูง
สำหรับการวินิจฉัยโรคไตที่ง่ายและได้ผลชัดเจนที่สุด คือ การตรวจเลือดและปัสสาวะเพื่อเช็คสภาพการทำงานของไตโดยเฉพาะผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้ที่ใช้ยาแก้ปวดเป็นประจำ ผู้ที่มีประวัติเป็นนิ่วหรือมีประวัติโรคไตในครอบครัว ควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำด้วยการตรวจเลือดและปัสสาวะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากโรคไตช่วงแรกมักไม่แสดงอาการผิดปกติ แต่เมื่อไตเริ่มทำงานเสื่อมลงจะมีของเสียคั่งในกระแสเลือดจึงทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ ตามมาได้
การดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดโรคไตหรือชะลอความเสื่อมของไตถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ด้วยการงดรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอไม่ควรกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เชื้อโรคแทรกซึมเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการอักเสบของท่อทางเดินปัสสาวะงดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เนื่องจากมีสารพิษต่อไตโดยตรง ควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน เพราะการมีน้ำหนักตัวมากเกินไปส่งผลให้ไตทำงานหนัก ทั้งนี้หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นดังที่กล่าวมาควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไปครับ