อายุ 35 ตั้งครรภ์ มีความเสี่ยง!!!!


เสี่ยงอะไรบ้าง? หากตั้งครรภ์ในช่วงอายุมากกว่า 35 ปี

1.ทารกเสี่ยงพิการ
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ทารกน้อยในครรภ์มีโอกาสเสี่ยงพิการแต่กำเนิดมากกว่าแม่ที่ตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า  
เนื่องจาก ความผิดปกติของหน่วยพันธุกรรมหรือโครโมโซม  ที่พบมากคือ กลุ่มเด็กดาวน์ หรือเกิดความผิดปกติของร่างกาย เช่น  ไม่มีนิ้วมือ นิ้วเท้า

หรือกลุ่มเด็กหัวบาตร หมายถึง
เด็ก ที่มีศีรษะใหญ่ที่เกิดจากความผิดปกติของน้ำหล่อเลี้ยงสมองเกิดการอุดตัน
รวมไปถึงมีความผิดปกติของอวัยวะภายใน เช่น หัวใจรั่ว ลำไส้อุดตัน เป็นต้น

และยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด คลอดยาก ไหล่ติดขณะคลอด ทารกขาดออกซิเจนขณะคลอด น้ำหนักตัวน้อย อีกด้วย


ข้อมูลความเสี่ยงภาวะเด็กดาวน์ / อายุแม่ท้อง

แม่ท้องที่มีอายุ 25 ปี  มีโอกาสเกิดเด็กดาวน์  1 ใน 1,300 คน

แม่ท้องที่มีอายุ 30 ปี  มีโอกาสเกิดเด็กดาวน์  1 ใน 700 คน

แม่ท้องที่มีอายุ 35 ปี  มีโอกาสเกิดเด็กดาวน์  1 ใน 350 คน

แม่ท้องที่มีอายุ 39 ปี  มีโอกาสเกิดเด็กดาวน์  1 ใน 100 คน

แม่ท้องที่มีอายุ 42 ปี  มีโอกาสเกิดเด็กดาวน์  1 ใน 40 คน

แม่ท้องที่มีอายุ 45 ปี  มีโอกาสเกิดเด็กดาวน์  1 ใน 19 คน



2.แท้งบุตร
สำหรับผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 30 ปี มีโอกาสแท้งเองตามธรรมชาติ ร้อยละ 10
หญิงตั้งครรภ์อายุ 35  ขึ้นไป มีโอกาสแท้งตามธรรมชาติ มากถึงร้อยละ 15 – 20 เลยทีเดียวค่ะ



3.เกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์
ครรภ์เป็นพิษ  แม่ท้องที่มีอายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสเกิดครรภ์เป็นพิษได้มากกว่า แม่ท้องที่มีอายุน้อยกว่า 2 – 3 เท่า
โรคเบาหวาน  แม่ท้องที่มีอายุมากกว่า  35 ปี  มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานมากกว่า แม่ท้องที่อายุน้อยกว่า 35 ปี มากถึง 4 – 10 เท่า
นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดภาวะรกเกาะต่ำ ตกเลือดหลังคลอด  น้ำคร่ำแตกก่อนครบกำหนดคลอด เป็นต้น

4.ปัญหาในการคลอด
คลอดยาก มีโอกาสที่จะผ่าตัดคลอดสูง โดยเฉพาะแม่ท้องที่มีอายุมากกว่า 40 ปี มีโอกาสผ่าตัดคลอดสูงถึงร้อยละ 50  หรืออาจต้องใช้เครื่องมือในการช่วยคลอด เช่น เครื่องดูดสุญญากาศ  หรือคีมช่วยคลอด  เป็นต้น



5.ทารกเสียชีวิตในครรภ์
โดยเฉพาะแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงที่ทารกจะเสียชีวิตในครรภ์โดยไม่ทราบสาเหตุ  
จากข้อมูลของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย พบว่า  แม่ท้องที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ทารกมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตในครรภ์ได้มากกกว่าแม่ท้องที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี  2 – 3 เท่า



อย่างไรก็ตาม  หากคุณแม่ตั้งครรภ์เมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป  และมีประวัติการเจ็บป่วยใด ๆ ต้องแจ้งแก่คุณหมอเวลาที่ไปฝากครรภ์ครั้งแรก  
เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ละเอียดอีกครั้ง  รวมถึงการวางแผนในการดูแลให้ปลอดภัยทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ตลอดทั้ง 9 เดือนจนคลอดค่ะ



ที่มา www.maerakluke.com
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่