ช่วงนี้กระแส PM2.5 กำลังมาแรง กระแสการต่อต้านการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลก็แรงตามขึ้นมาด้วย ผมอ่านหลายเหตุผลจากเว็บต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้ว สารพัดสารพันความเห็นที่รุมสกรัมคนใช้รถส่วนบุคคลว่าเป็นตัวบาป คนผิด เห็นแก่ตัว รักสบาย ไม่เสียสละ ต้องถูกประณามในเหตุการณ์ความโกลาหลนี้ ผมยอมรับว่าเป็นคนหนึ่งที่มีรถยนต์ส่วนบุคคล และมีถึง 2 คัน แต่ผมเชื่อว่าหลายคนที่เลือกมีรถ ก็ไม่ได้เต็มใจอยากมีรถเท่าใดหรอก เพราะ "รถ" มัน "ลด" สมชื่อ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ 5 ประการ ดังนี้
1. บ้านอยู่ซอยลึก
คนกรุงเทพผมเชื่อว่าเกิน 3/4 บ้านไม่ได้อยู่ติดถนนใหญ่ ระบบผังเมืองที่มั่วได้ใจผสมกับการวางถนนแบบก้างปลา ทำให้เกิดซอยหลายสิบหลายร้อยแตกแขนงไปทั่ว แถมไม่เชื่อมต่อแต่เข้าไปตันกันสักแห่ง ทุกคนต้องออกจากซอยเพื่อเข้าสู่ ถ.ประธาน นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่เกิดระบบขนส่งมวลชนนอกระบบแบบที่ประเทศพัฒนาแล้วเขาไม่มีกัน เช่น รถกระป๋อง (ซูบารุ) สองแถว หรือมอเตอร์ไซวิน
ถามว่าซอยลึกทำไมไม่เดินออกมา? สมมติตัดเรื่องระยะทางออกไปนะ ... มันจะเดินยังไงไหว
- อากาศร้อนนั่นก็ส่วนหนึ่ง เดินออกมากลายเป็นหมาตกน้ำตั้งแต่ยังไม่ได้ขึ้นรถเมล์
- ซอยในประเทศไทยไม่เคยมี "ทางเท้า" หรือฟุตบาธ (หรือมีก็ถูกยึดด้วยหาบเร่แผงลอย) ต้องลงไปเดินบนถนน
- บ้านช่องก็สร้างรั้วกันติดขอบเขตที่ดินติดถนนชนิดที่มดยังเดินไม่ได้
- หลายซอยแคบมากขนาดที่ว่ามีจักรยานปั่นแค่คันเดียวรถก็ติดทั้งซอยได้แล้ว เพราะสวนไม่พ้นต้องข้ามเลนเพื่อแซงแล้วก็แซงไม่ได้เพราะซอยแคบรถอีกฝั่งก็มาตลอด
หลายคนที่บ้านอยู่ซอยลึก เล็ก แคบ โค้ง หัก เลี้ยวเยอะ จะเข้าใจสิ่งพวกนี้ดี คุณกล้าเดินออกมาไหมกับซอยแบบนี้ที่มีอยู่ทั่วไป เสี่ยงให้รถมันเฉี่ยวตูดตะโพกหัก นี่ยังไม่รวมพวกที่อยู่ตามหมู่บ้าน ที่แค่ออกมาประตูหมู่บ้านก็เป็นกิโลแล้ว ยังต้องต่อจากหน้าหมู่บ้านไปออกถนนใหญ่อีก
2. ชานเมืองไม่มีระบบขนส่งมวลชน
คนกรุงเทพจำนวนมาก บ้านอยู่ชานเมืองและปริมณฑล แต่ทำงานใจกลางเมือง ... ประเทศไทยเป็นประเทศที่แปลก รถไฟฟ้าแทนที่จะเอาไว้ขนคนนอกเมืองเข้ามาในเมือง กลับสร้างวนอยู่แต่ในเมืองขนคนเข้าห้างสะงั้น เรื่องนี้มันผิดตั้งแต่มองเรื่องระบบขนส่งมวลชนสาธารณะในแง่คุ้มทุนหรือไม่ แทนที่จะมองว่าเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
คนที่อยู่บางใหญ่, รังสิต-นครนายก, ท่าข้าม, พันท้าย, คู่สร้าง ฯ (และอีกหลายพื้นที่อภัยที่ไม่ได้กล่าวถึง) จะเข้าใจดีกว่า แค่พาสังขารออกมาจากซอย มาต่อรถเมล์ถนนใหญ่ เพื่อไปต่อรถไฟฟ้าอีกที นี่ยังไม่ได้ครึ่งหนึ่งของการเดินทางเลยด้วยซ้ำ!
ถนนหลายเส้น เช่น ราชพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ หรือเกษตร-นวมินทร์ อยู่กลางเมืองแท้ ๆ หมู่บ้านเกิดเป็นร้อยแต่รถเมล์กลับไม่มีสักสายหรือมีแค่สายเดียว แล้วจะให้คนพวกนี้มาทำงานยังไงวานบอก สุดท้ายก็เกิดระบบขนส่งมวลชนนอกระบบอย่างที่ประเทศพัฒนาแล้วเขาไม่มีอย่างรถตู้ตีนผีที่พร้อมพาผู้โดยสารไปตายทุกเมื่อ
3. ค่าใช้จ่าย
คนกรุงเทพ ไม่ได้อยู่คอนโดหรูใจกลางเมือง หรือบ้านตึกแถวติดถนนใหญ่แบบในละครโทรทัศน์ดอก ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในซอยในซอกในหลืบลึก ๆ กันนี่แหละ ถามว่าอยู่ซอยลึกหรือชานเมือง กว่าจะเข้าเมืองได้ ถ้าใช้ระบบขนส่งมวลชน ฯ ผมเชื่อว่าอย่างน้อย 3-4 ต่อเป็นอย่างน้อย เช่น
1. มอเตอร์ไซค์วิน 15 บาท (บ้านไปปากซอย)
2. รถเมล์ 23 บาท (ปากซอยไปสถานีรถไฟฟ้า)
3. รถไฟฟ้า 27 บาท (ตากสินไปหมอชิต, ประมาณการกรณีซื้อรายเดือน)
4. รถเมล์ 23 บาท (รถไฟฟ้าปลายทางไปหน้าปากซอยที่ทำงาน)
5. มอเตอร์ไซค์วิน 10 บาท (ปากซอยที่ทำงานไปตึกที่ทำงาน)
ข้างบนนี่คือชีวิตจริงของผมถ้าผมไม่ใช้รถ 98x2x25=4,900 ซื้อรถคันเดียวจบ ค่าแก๊สเดือนละไม่ถึง 1,000 บาท รถซื้อเงินสด ใช่ครับ ... รถมันมีค่าบำรุงดูแลรักษา แต่เงินส่วนนี้ผมถือว่าซื้อคุณภาพชีวิตและซื้อพลังชีวิตที่ไม่ต้องหมดกับการเดินทางวันละ 3-4 ชั่วโมง
หลายคนเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ แพงกว่าขับรถเอง แถมรถคันนี้ยังพาเมีย พาลูก พาสมาชิกครอบครัวออกไปได้พร้อมกันด้วย ขากลับก็แวะรับกลับพร้อมกันได้ด้วย
4. ความปลอดภัยในชีวิต
- ซอยไม่มีทางเท้าต้องเดินบนพื้นถนน
- มอเตอร์ไซค์วินปล้น ฆ่า ข่มขืนผู้โดยสาร ซิ่งสวนเลนพาผู้โดยสารไปตาย หรือพาเข้าเลน BRT แล้วล้ม ผดส. ถูกรถ BRT ทับศีรษะมีมาแล้ว
- แท็กซี่โก่งราคา โกงราคา เรียกไม่ไป ฆ่า ข่มขืนผู้โดยสาร
- ซอยลึกเปลี่ยว สองแถวหมด 3 ทุ่ม มอเตอร์ไซค์หมด 4 ทุ่ม เดินเท้าเข้าก็เกรงจะถูกปล้นตายก่อน
- รถเมล์ตีนผี แข่งกันเอง ทำร้าย ผดส. ไม่รู้ว่าจะพา ผดส. ไปเจอกับยมบาลเมื่อไหร่
- เดินบนฟุตบาธดี ๆ ก็มีมอเตอร์ไซค์ขึ้นมาเสยได้ แถมถูกด่ากลับว่าขวางทาง
- เดินถนนดี ๆ ก็มีคนบ้ามาแทงตายได้
- เรือซิ่งตกโป๊ะ ก้าวไม่ทัน ตายฟรี
5. ครอบครัว/ภาระ
- พ่อ แม่ ลูก หลาน ฯ เดินทางออกพร้อมกัน กลับพร้อมกัน ประหยัด
- บ้านไกลทำไมไม่ย้ายไปใกล้ที่ทำงาน?
1. มนุษย์เงินเดือนนะครับไม่ใช่เศรษฐี บ้านที่อยู่นี้ยังผ่อนไม่หมดเลย ซื้อคอนโดติดรถไฟฟ้าก็ได้แค่รูหนู ซื้อบ้านก็อยู่นอกเมือง ก็คนมันไม่มีเงิน
2. มีคนแก่ คนชรา คนทุพพลภาพต้องดูแล
- บ้านตกทอดมาจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ มีบ้านอยู่แล้ว แค่ลำพังเงินเดือนยังแทบไม่พอใช้จ่าย
- กลับบ้านมาเจอหน้าพ่อแม่ ให้ท่านชื่นใจ กลับกับหอเพราะใกล้ที่ทำงาน อย่างแรกช่วยยืดอายุบุพการีได้ แบบไม่ต้องใช้ยา
6. ระบบขนส่งมวลชนไทยมันคาดเดาอะไรไม่ได้! วางแผนชีวิตอะไรไม่ได้เลย เสียงานเสียการ พึ่งพาไม่ได้
- รถเมล์จะมาเมื่อไหร่ ... รถขาดระยะ
- รถไฟฟ้าจะเสียตอนไหน ... โดยไม่มีการชดเชย
- รถไฟฟ้าไม่เพิ่มตู้ ... ทั้งที่จะได้ผัวเมียกันแล้ว
- แท็กซี่ทำไมเรียกแล้วไม่ไป ... ส่งรถ แก๊สหมด ไกล ไม่เอาคนไทย รับแต่ฝรั่ง
- แท็กซี่ทำไมไล่ลงกลางทาง ... รถติดมากน้อย พี่ไม่ไปแล้ว
- พี่วินโก่งราคาช่วงเร่งด่วน ... ราชประสงค์-ประตูน้ำ 200 บาท
- สองแถว ... หวานเย็น ลากวิ่งแค่เกียร์ 2 รอคนเรียก ไม่ต้องรีบ
ฝนตก/ศุกร์สิ้นเดือน ทุกอย่างคูณความนรก 10 เท่า
ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้คนเมืองส่วนใหญ่ที่พอจะมีกำลัง มีปัญญา มีแรง ก็เลือกและกระ
กระสนที่จะหาขับรถเอง มากกว่าที่จะฝากชีวิตเอาไว้กับระบบขนส่งมวลชนห่วย ๆ ที่ไม่รู้ว่าจะพาเราไปตายที่ไหนเมื่อไหร่ หรือจะโดยใคร จะเป็นคนขับแท็กซี่หื่นกาม พนข. รถเมล์ตีนผี หรือพี่วินซิ่งสวนเลน ลองคิดดู ถ้าน้องสาว พี่สาว ลูกสาว หลานสาวคุณ อยู่ในซอยลึกเปลี่ยวที่เข้าถึงยากเช่นนี้ ต้องเดินทางด้วยวินมอเตอร์ไซค์ หรือไม่ก็แท็กซี่อย่างผมเป็นประจำทุกวัน กลับดึก ๆ ดื่น ๆ คุณจะไว้วางใจระบบขนส่งมวลชนหรือไม่
การมีรถมันไม่ใช่แค่ว่าต้องการโอ้อวดฐานะทางสังคมเสมอไปดอก แต่ด้วยความล้มเหลวของระบบขนส่งมวลชน ผังเมืองที่มีอยู่จริงแต่บังคับใช้ไม่ได้ หมู่บ้านที่ขึ้นได้เหมือนเห็ดไม่ต้องพิจารณาว่ามีระบบขนส่งมวลชนรองรับหรือไม่ รถคันหนึ่ง ๆ ราคาไม่ใช่แค่หลักหมื่น แต่หย่อนล้านบาท ด้วยสภาพมนุษย์เงินเดือนทั่วไปของมีค่าราคาเท่านี้ คงมีน้อยคนมากที่จะสามารถซื้อสดได้ คนที่มีรถส่วนใหญ่ก็เป็นหนี้ท่วมหัวเอาตัวแทบไม่รอดด้วยกันทั้งนั้น ถ้าเขาเลือกได้ก็คงไม่มีใครอยากจะมาเสียเงินจำนวนมากเพื่อซื้อรถหรอก
หากระบบขนส่งมวลชนในประเทศมันไว้ใจได้ เชื่อถือได้ ที่สำคัญพึ่งพาได้ ผมเองก็คงไม่ขับรถเหมือนกัน ผมทำงานต่างประเทศ และอยู่ต่างประเทศเพื่อทำงานบ้าง ผมใช้ระบบขนส่งของเขาไปไหนมาไหนตลอด เพราะมันสะดวกและปลอดภัยจริง ๆ
ภาครัฐ ฯ รณรงค์กันหนักหนาว่าให้คนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชน แต่ได้เคยหันกลับมาดูระบบขนส่งมวลชนที่มันมีอยู่ว่ามันมีสภาพให้ประชาชนพึ่งพาเชื่อถือและฝากชีวิตเอาไว้ได้บ้างไหม?
ขอให้กำลังใจทุกท่าน โดยเฉพาะท่านที่อยู่ในกรุงเทพ ในการฝ่าฝันกับการเดินทางที่เหมือนออกไปรบเพื่อไปทำงานทุกวี่ทุกวัน ใครที่ได้ทำงานตาม ตจว. หรือบ้านใกล้ที่ทำงาน ไม่ต้องมาผจญประสพกับสภาพอันน่าเวทนาของคนเมืองที่ต้องเผชิญกับการจราจรที่เหมือนนรกทุกเช้าเย็น ก็ขอให้ท่านทราบว่า ท่านได้สั่งสมบุญมามาก และขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย
ป.ล. ตาม ตจว. เข้าใจว่าไม่มีรถ คือ ไม่ต้องไปไหนเลย เพราะไม่มีแม้กระทั่งระบบขนส่งมวลชนให้เลือก ยิ่งกว่าคนกรุงเทพอีก
ขอพูดหน่อย รถยนต์ส่วนบุคคล ... เหตุผลมันไม่ใช่เพราะรักสบายไปสะทุกคนนะครับ
1. บ้านอยู่ซอยลึก
คนกรุงเทพผมเชื่อว่าเกิน 3/4 บ้านไม่ได้อยู่ติดถนนใหญ่ ระบบผังเมืองที่มั่วได้ใจผสมกับการวางถนนแบบก้างปลา ทำให้เกิดซอยหลายสิบหลายร้อยแตกแขนงไปทั่ว แถมไม่เชื่อมต่อแต่เข้าไปตันกันสักแห่ง ทุกคนต้องออกจากซอยเพื่อเข้าสู่ ถ.ประธาน นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่เกิดระบบขนส่งมวลชนนอกระบบแบบที่ประเทศพัฒนาแล้วเขาไม่มีกัน เช่น รถกระป๋อง (ซูบารุ) สองแถว หรือมอเตอร์ไซวิน
ถามว่าซอยลึกทำไมไม่เดินออกมา? สมมติตัดเรื่องระยะทางออกไปนะ ... มันจะเดินยังไงไหว
- อากาศร้อนนั่นก็ส่วนหนึ่ง เดินออกมากลายเป็นหมาตกน้ำตั้งแต่ยังไม่ได้ขึ้นรถเมล์
- ซอยในประเทศไทยไม่เคยมี "ทางเท้า" หรือฟุตบาธ (หรือมีก็ถูกยึดด้วยหาบเร่แผงลอย) ต้องลงไปเดินบนถนน
- บ้านช่องก็สร้างรั้วกันติดขอบเขตที่ดินติดถนนชนิดที่มดยังเดินไม่ได้
- หลายซอยแคบมากขนาดที่ว่ามีจักรยานปั่นแค่คันเดียวรถก็ติดทั้งซอยได้แล้ว เพราะสวนไม่พ้นต้องข้ามเลนเพื่อแซงแล้วก็แซงไม่ได้เพราะซอยแคบรถอีกฝั่งก็มาตลอด
หลายคนที่บ้านอยู่ซอยลึก เล็ก แคบ โค้ง หัก เลี้ยวเยอะ จะเข้าใจสิ่งพวกนี้ดี คุณกล้าเดินออกมาไหมกับซอยแบบนี้ที่มีอยู่ทั่วไป เสี่ยงให้รถมันเฉี่ยวตูดตะโพกหัก นี่ยังไม่รวมพวกที่อยู่ตามหมู่บ้าน ที่แค่ออกมาประตูหมู่บ้านก็เป็นกิโลแล้ว ยังต้องต่อจากหน้าหมู่บ้านไปออกถนนใหญ่อีก
2. ชานเมืองไม่มีระบบขนส่งมวลชน
คนกรุงเทพจำนวนมาก บ้านอยู่ชานเมืองและปริมณฑล แต่ทำงานใจกลางเมือง ... ประเทศไทยเป็นประเทศที่แปลก รถไฟฟ้าแทนที่จะเอาไว้ขนคนนอกเมืองเข้ามาในเมือง กลับสร้างวนอยู่แต่ในเมืองขนคนเข้าห้างสะงั้น เรื่องนี้มันผิดตั้งแต่มองเรื่องระบบขนส่งมวลชนสาธารณะในแง่คุ้มทุนหรือไม่ แทนที่จะมองว่าเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
คนที่อยู่บางใหญ่, รังสิต-นครนายก, ท่าข้าม, พันท้าย, คู่สร้าง ฯ (และอีกหลายพื้นที่อภัยที่ไม่ได้กล่าวถึง) จะเข้าใจดีกว่า แค่พาสังขารออกมาจากซอย มาต่อรถเมล์ถนนใหญ่ เพื่อไปต่อรถไฟฟ้าอีกที นี่ยังไม่ได้ครึ่งหนึ่งของการเดินทางเลยด้วยซ้ำ!
ถนนหลายเส้น เช่น ราชพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ หรือเกษตร-นวมินทร์ อยู่กลางเมืองแท้ ๆ หมู่บ้านเกิดเป็นร้อยแต่รถเมล์กลับไม่มีสักสายหรือมีแค่สายเดียว แล้วจะให้คนพวกนี้มาทำงานยังไงวานบอก สุดท้ายก็เกิดระบบขนส่งมวลชนนอกระบบอย่างที่ประเทศพัฒนาแล้วเขาไม่มีอย่างรถตู้ตีนผีที่พร้อมพาผู้โดยสารไปตายทุกเมื่อ
3. ค่าใช้จ่าย
คนกรุงเทพ ไม่ได้อยู่คอนโดหรูใจกลางเมือง หรือบ้านตึกแถวติดถนนใหญ่แบบในละครโทรทัศน์ดอก ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในซอยในซอกในหลืบลึก ๆ กันนี่แหละ ถามว่าอยู่ซอยลึกหรือชานเมือง กว่าจะเข้าเมืองได้ ถ้าใช้ระบบขนส่งมวลชน ฯ ผมเชื่อว่าอย่างน้อย 3-4 ต่อเป็นอย่างน้อย เช่น
1. มอเตอร์ไซค์วิน 15 บาท (บ้านไปปากซอย)
2. รถเมล์ 23 บาท (ปากซอยไปสถานีรถไฟฟ้า)
3. รถไฟฟ้า 27 บาท (ตากสินไปหมอชิต, ประมาณการกรณีซื้อรายเดือน)
4. รถเมล์ 23 บาท (รถไฟฟ้าปลายทางไปหน้าปากซอยที่ทำงาน)
5. มอเตอร์ไซค์วิน 10 บาท (ปากซอยที่ทำงานไปตึกที่ทำงาน)
ข้างบนนี่คือชีวิตจริงของผมถ้าผมไม่ใช้รถ 98x2x25=4,900 ซื้อรถคันเดียวจบ ค่าแก๊สเดือนละไม่ถึง 1,000 บาท รถซื้อเงินสด ใช่ครับ ... รถมันมีค่าบำรุงดูแลรักษา แต่เงินส่วนนี้ผมถือว่าซื้อคุณภาพชีวิตและซื้อพลังชีวิตที่ไม่ต้องหมดกับการเดินทางวันละ 3-4 ชั่วโมง
หลายคนเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ แพงกว่าขับรถเอง แถมรถคันนี้ยังพาเมีย พาลูก พาสมาชิกครอบครัวออกไปได้พร้อมกันด้วย ขากลับก็แวะรับกลับพร้อมกันได้ด้วย
4. ความปลอดภัยในชีวิต
- ซอยไม่มีทางเท้าต้องเดินบนพื้นถนน
- มอเตอร์ไซค์วินปล้น ฆ่า ข่มขืนผู้โดยสาร ซิ่งสวนเลนพาผู้โดยสารไปตาย หรือพาเข้าเลน BRT แล้วล้ม ผดส. ถูกรถ BRT ทับศีรษะมีมาแล้ว
- แท็กซี่โก่งราคา โกงราคา เรียกไม่ไป ฆ่า ข่มขืนผู้โดยสาร
- ซอยลึกเปลี่ยว สองแถวหมด 3 ทุ่ม มอเตอร์ไซค์หมด 4 ทุ่ม เดินเท้าเข้าก็เกรงจะถูกปล้นตายก่อน
- รถเมล์ตีนผี แข่งกันเอง ทำร้าย ผดส. ไม่รู้ว่าจะพา ผดส. ไปเจอกับยมบาลเมื่อไหร่
- เดินบนฟุตบาธดี ๆ ก็มีมอเตอร์ไซค์ขึ้นมาเสยได้ แถมถูกด่ากลับว่าขวางทาง
- เดินถนนดี ๆ ก็มีคนบ้ามาแทงตายได้
- เรือซิ่งตกโป๊ะ ก้าวไม่ทัน ตายฟรี
5. ครอบครัว/ภาระ
- พ่อ แม่ ลูก หลาน ฯ เดินทางออกพร้อมกัน กลับพร้อมกัน ประหยัด
- บ้านไกลทำไมไม่ย้ายไปใกล้ที่ทำงาน?
1. มนุษย์เงินเดือนนะครับไม่ใช่เศรษฐี บ้านที่อยู่นี้ยังผ่อนไม่หมดเลย ซื้อคอนโดติดรถไฟฟ้าก็ได้แค่รูหนู ซื้อบ้านก็อยู่นอกเมือง ก็คนมันไม่มีเงิน
2. มีคนแก่ คนชรา คนทุพพลภาพต้องดูแล
- บ้านตกทอดมาจากรุ่นพ่อรุ่นแม่ มีบ้านอยู่แล้ว แค่ลำพังเงินเดือนยังแทบไม่พอใช้จ่าย
- กลับบ้านมาเจอหน้าพ่อแม่ ให้ท่านชื่นใจ กลับกับหอเพราะใกล้ที่ทำงาน อย่างแรกช่วยยืดอายุบุพการีได้ แบบไม่ต้องใช้ยา
6. ระบบขนส่งมวลชนไทยมันคาดเดาอะไรไม่ได้! วางแผนชีวิตอะไรไม่ได้เลย เสียงานเสียการ พึ่งพาไม่ได้
- รถเมล์จะมาเมื่อไหร่ ... รถขาดระยะ
- รถไฟฟ้าจะเสียตอนไหน ... โดยไม่มีการชดเชย
- รถไฟฟ้าไม่เพิ่มตู้ ... ทั้งที่จะได้ผัวเมียกันแล้ว
- แท็กซี่ทำไมเรียกแล้วไม่ไป ... ส่งรถ แก๊สหมด ไกล ไม่เอาคนไทย รับแต่ฝรั่ง
- แท็กซี่ทำไมไล่ลงกลางทาง ... รถติดมากน้อย พี่ไม่ไปแล้ว
- พี่วินโก่งราคาช่วงเร่งด่วน ... ราชประสงค์-ประตูน้ำ 200 บาท
- สองแถว ... หวานเย็น ลากวิ่งแค่เกียร์ 2 รอคนเรียก ไม่ต้องรีบ
ฝนตก/ศุกร์สิ้นเดือน ทุกอย่างคูณความนรก 10 เท่า
ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้คนเมืองส่วนใหญ่ที่พอจะมีกำลัง มีปัญญา มีแรง ก็เลือกและกระกระสนที่จะหาขับรถเอง มากกว่าที่จะฝากชีวิตเอาไว้กับระบบขนส่งมวลชนห่วย ๆ ที่ไม่รู้ว่าจะพาเราไปตายที่ไหนเมื่อไหร่ หรือจะโดยใคร จะเป็นคนขับแท็กซี่หื่นกาม พนข. รถเมล์ตีนผี หรือพี่วินซิ่งสวนเลน ลองคิดดู ถ้าน้องสาว พี่สาว ลูกสาว หลานสาวคุณ อยู่ในซอยลึกเปลี่ยวที่เข้าถึงยากเช่นนี้ ต้องเดินทางด้วยวินมอเตอร์ไซค์ หรือไม่ก็แท็กซี่อย่างผมเป็นประจำทุกวัน กลับดึก ๆ ดื่น ๆ คุณจะไว้วางใจระบบขนส่งมวลชนหรือไม่
การมีรถมันไม่ใช่แค่ว่าต้องการโอ้อวดฐานะทางสังคมเสมอไปดอก แต่ด้วยความล้มเหลวของระบบขนส่งมวลชน ผังเมืองที่มีอยู่จริงแต่บังคับใช้ไม่ได้ หมู่บ้านที่ขึ้นได้เหมือนเห็ดไม่ต้องพิจารณาว่ามีระบบขนส่งมวลชนรองรับหรือไม่ รถคันหนึ่ง ๆ ราคาไม่ใช่แค่หลักหมื่น แต่หย่อนล้านบาท ด้วยสภาพมนุษย์เงินเดือนทั่วไปของมีค่าราคาเท่านี้ คงมีน้อยคนมากที่จะสามารถซื้อสดได้ คนที่มีรถส่วนใหญ่ก็เป็นหนี้ท่วมหัวเอาตัวแทบไม่รอดด้วยกันทั้งนั้น ถ้าเขาเลือกได้ก็คงไม่มีใครอยากจะมาเสียเงินจำนวนมากเพื่อซื้อรถหรอก
หากระบบขนส่งมวลชนในประเทศมันไว้ใจได้ เชื่อถือได้ ที่สำคัญพึ่งพาได้ ผมเองก็คงไม่ขับรถเหมือนกัน ผมทำงานต่างประเทศ และอยู่ต่างประเทศเพื่อทำงานบ้าง ผมใช้ระบบขนส่งของเขาไปไหนมาไหนตลอด เพราะมันสะดวกและปลอดภัยจริง ๆ
ภาครัฐ ฯ รณรงค์กันหนักหนาว่าให้คนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชน แต่ได้เคยหันกลับมาดูระบบขนส่งมวลชนที่มันมีอยู่ว่ามันมีสภาพให้ประชาชนพึ่งพาเชื่อถือและฝากชีวิตเอาไว้ได้บ้างไหม?
ขอให้กำลังใจทุกท่าน โดยเฉพาะท่านที่อยู่ในกรุงเทพ ในการฝ่าฝันกับการเดินทางที่เหมือนออกไปรบเพื่อไปทำงานทุกวี่ทุกวัน ใครที่ได้ทำงานตาม ตจว. หรือบ้านใกล้ที่ทำงาน ไม่ต้องมาผจญประสพกับสภาพอันน่าเวทนาของคนเมืองที่ต้องเผชิญกับการจราจรที่เหมือนนรกทุกเช้าเย็น ก็ขอให้ท่านทราบว่า ท่านได้สั่งสมบุญมามาก และขอแสดงความยินดีกับท่านด้วย
ป.ล. ตาม ตจว. เข้าใจว่าไม่มีรถ คือ ไม่ต้องไปไหนเลย เพราะไม่มีแม้กระทั่งระบบขนส่งมวลชนให้เลือก ยิ่งกว่าคนกรุงเทพอีก