สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 23
น่าเห็นใจเหมือนกันนะครับ ผมมีข้อคิดเรื่องเกี่ยวกับเงินเดือน จากประสบการณ์ทำงานของผมเองแบบนี้นะครับ
- ในขณะที่เราเริ่มต้นชีวิตการทำงาน เป็นพนักงานระดับปฏิบัติงาน เช่น เซลล์ บัญชี ฝ่ายผลิต วิศวกร ผมแนะนำให้เปลี่ยนงานบ่อยๆ ครับ เปลี่ยนทุกๆ 2-3 ปี แน่นอนอาจมีคนทักท้วงว่าอ่อนแอ ไม่สู้งาน ไม่อดทน แต่ทุกครั้งที่คุณเปลี่ยนงาน ฐานเงินเดือนคุณจะสูงขึ้น นอกจากนี้ คุณยังได้ประสบการณ์ และลองออกจาก comfort zone ที่เคยอยู่ด้วยครับ ลองดูสถิติดูก็ได้ คนที่ทำงานที่เดียวตลอด มักมีความก้าวหน้าด้านเงินเดือนน้อยกว่าคนที่เปลี่ยนงาน (แต่มีกรณียกเว้นนะครับ ซึ่งผมจะกล่าวทีหลัง) และทั้งนี้ทั้งนั้น การเปลี่ยนงานแต่ละครั้ง ต้องมีการพัฒนาตัวเองด้วยนะครับ พวกของปลอม ชอบเปลี่ยนงานอัพเงินเดือน สุดท้ายส่วนใหญ่ก็มักไม่รอดนะครับ
- เมื่อคุณเริ่มอยู่ในระดับบริหาร เช่น ผู้จัดการ หัวหน้าฝ่าย หรือผู้บริหารระดับสูง ในช่วงนี้อัตราเงินเดือนจะมาจากความสามารถ และผลงานครับ คนมาใหม่ที่ตำแหน่งเดียว ขอบเขตความรับผิดชอบงานเดียวกับคุณ อาจจะมีเงินเดือนสูงกว่าคุณ แต่มักจะไม่มากจนคุณท้อใจ ดังนั้นเมื่ออยู่ในตำแหน่งระดับนี้แล้ว ตั้งใจทำผลงาน และรู้จักการนำเสนอที่ดี จะเป็นประโยชน์มากครับ การเปลี่ยนงานมักขึ้นกับโอกาสความก้าวหน้า การยอมรับ มากกว่าเรื่องเงิน (เพราะคุณมักจะได้เงินเดือนฐานที่สูง จากการเปลี่ยนงานสร้างฐานเงินเดือนในข้อที่แล้ว)
- กรณียกเว้น หากคุณทำงานในองค์กรขนาดใหญ่ องค์กรที่ดี มักมีโอกาสในการหมุนเวียนงาน เพื่อความก้าวหน้า คล้ายๆกับการเปลี่ยนงานแหล่ะ แต่เป็นภายในองค์กรเอง กรณีนี้เหมือนถูกหวยรางวัลใหญ่ การเปลี่ยนงานไปตำแหน่งอื่น หรือความรับผิดชอบอื่น เปิดโอกาสให้ต่อรองปรับเงินเดือนสูงขึ้น และยังได้รับการนับอายุงานต่อเนื่องด้วย (ซึ่งจะมีผลดีในระยะยาว เรื่องของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเงินทดแทนเมื่อเกษียณ) เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถ และความกล้าสู้ในโอกาสที่ท้าทายต่างๆ ของคุณด้วยครับ ผมเคยมีลูกน้องทั้งสองแบบ คนนึงทำงานที่เดิมตั้งแต่เรียนจบ ผ่านไปสิบกว่าปี เงินเดือนขึ้นปีละ 5% ไม่ไปใหนซักที กับอีกคนที่ชอบหาโอกาสเปลี่ยนตำแหน่ง ขอย้ายไปทำโน่นทำนี่ ผ่านไปสิบปีเหมือนกันกลายเป็นผู้บริหารเงินเดือนหกหลักในบริษัทเดิม หรือไม่ก็อย่างระดับ CEO ของ ปตท SCG (ขออนุญาตอ้างอิง) แทบทุกคนก็มาจากลูกหม้อที่เริ่มต้นการทำงานกับองค์กร จนกลายมาเป็นเบอร์หนึ่งขององค์กรนะครับ
สรุปสุดท้าย ผมว่าที่คุณลาออกก็มีเหตุผลที่ดีครับ แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้ ความสามารถ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดนะครับ ถ้าเรามั่นใจว่าเรามีดีพอ ไม่ต้องกลัวตกงานครับ ขออวยพรให้โชคดีนะครับ
- ในขณะที่เราเริ่มต้นชีวิตการทำงาน เป็นพนักงานระดับปฏิบัติงาน เช่น เซลล์ บัญชี ฝ่ายผลิต วิศวกร ผมแนะนำให้เปลี่ยนงานบ่อยๆ ครับ เปลี่ยนทุกๆ 2-3 ปี แน่นอนอาจมีคนทักท้วงว่าอ่อนแอ ไม่สู้งาน ไม่อดทน แต่ทุกครั้งที่คุณเปลี่ยนงาน ฐานเงินเดือนคุณจะสูงขึ้น นอกจากนี้ คุณยังได้ประสบการณ์ และลองออกจาก comfort zone ที่เคยอยู่ด้วยครับ ลองดูสถิติดูก็ได้ คนที่ทำงานที่เดียวตลอด มักมีความก้าวหน้าด้านเงินเดือนน้อยกว่าคนที่เปลี่ยนงาน (แต่มีกรณียกเว้นนะครับ ซึ่งผมจะกล่าวทีหลัง) และทั้งนี้ทั้งนั้น การเปลี่ยนงานแต่ละครั้ง ต้องมีการพัฒนาตัวเองด้วยนะครับ พวกของปลอม ชอบเปลี่ยนงานอัพเงินเดือน สุดท้ายส่วนใหญ่ก็มักไม่รอดนะครับ
- เมื่อคุณเริ่มอยู่ในระดับบริหาร เช่น ผู้จัดการ หัวหน้าฝ่าย หรือผู้บริหารระดับสูง ในช่วงนี้อัตราเงินเดือนจะมาจากความสามารถ และผลงานครับ คนมาใหม่ที่ตำแหน่งเดียว ขอบเขตความรับผิดชอบงานเดียวกับคุณ อาจจะมีเงินเดือนสูงกว่าคุณ แต่มักจะไม่มากจนคุณท้อใจ ดังนั้นเมื่ออยู่ในตำแหน่งระดับนี้แล้ว ตั้งใจทำผลงาน และรู้จักการนำเสนอที่ดี จะเป็นประโยชน์มากครับ การเปลี่ยนงานมักขึ้นกับโอกาสความก้าวหน้า การยอมรับ มากกว่าเรื่องเงิน (เพราะคุณมักจะได้เงินเดือนฐานที่สูง จากการเปลี่ยนงานสร้างฐานเงินเดือนในข้อที่แล้ว)
- กรณียกเว้น หากคุณทำงานในองค์กรขนาดใหญ่ องค์กรที่ดี มักมีโอกาสในการหมุนเวียนงาน เพื่อความก้าวหน้า คล้ายๆกับการเปลี่ยนงานแหล่ะ แต่เป็นภายในองค์กรเอง กรณีนี้เหมือนถูกหวยรางวัลใหญ่ การเปลี่ยนงานไปตำแหน่งอื่น หรือความรับผิดชอบอื่น เปิดโอกาสให้ต่อรองปรับเงินเดือนสูงขึ้น และยังได้รับการนับอายุงานต่อเนื่องด้วย (ซึ่งจะมีผลดีในระยะยาว เรื่องของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเงินทดแทนเมื่อเกษียณ) เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถ และความกล้าสู้ในโอกาสที่ท้าทายต่างๆ ของคุณด้วยครับ ผมเคยมีลูกน้องทั้งสองแบบ คนนึงทำงานที่เดิมตั้งแต่เรียนจบ ผ่านไปสิบกว่าปี เงินเดือนขึ้นปีละ 5% ไม่ไปใหนซักที กับอีกคนที่ชอบหาโอกาสเปลี่ยนตำแหน่ง ขอย้ายไปทำโน่นทำนี่ ผ่านไปสิบปีเหมือนกันกลายเป็นผู้บริหารเงินเดือนหกหลักในบริษัทเดิม หรือไม่ก็อย่างระดับ CEO ของ ปตท SCG (ขออนุญาตอ้างอิง) แทบทุกคนก็มาจากลูกหม้อที่เริ่มต้นการทำงานกับองค์กร จนกลายมาเป็นเบอร์หนึ่งขององค์กรนะครับ
สรุปสุดท้าย ผมว่าที่คุณลาออกก็มีเหตุผลที่ดีครับ แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้ ความสามารถ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดนะครับ ถ้าเรามั่นใจว่าเรามีดีพอ ไม่ต้องกลัวตกงานครับ ขออวยพรให้โชคดีนะครับ
แสดงความคิดเห็น
เห็นเงินเดือนคนอื่น....เลยเลือกที่จะลาออกจากงาน
แค่อยากจะถามถ้าเป็นคุณ คุณจะทำแบบเดียวกันมั้ย