วิธีประเมินเบื้องต้นว่าจะเกิดวิกฤติฝุ่น Pm2.5 ในวันนี้หรือไม่

จากข้อสรุปเบื้องต้นว่า ทิศทางลมมรสุม (ช่วงเดือน ตค จนถึง พค) เป็นปัจจัยหลักที่รวมฝุ่น จากแห่งกำเนิดต่างๆในแผ่นดิน
มาออกทางอ่าวไทยนั้น  ทำให้ สามารถประเมินเบื้องต้นว่า จะเกิดวิกฤติฝุ่น Pm2.5 ได้ในพื้นที่กทมและ สมุทรสาครหรือไม่
โดยสามารถทำได้โดยการ
จากการดูสถาณการณ์ การไหลเวียนของลมบริเวณ ประตูลมที่อ่าวไทย  

นั่นคือ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศเหนือบริเวณอ่าว ทำให้เกิดลมหยุดนิ่งหรือขวางทางลม
สะสมระยะเวลาหนึ่ง จะเกิดภาวะวิกฤติฝุ่นขึ้นในพื้นที่ ที่เป็นทางออกของลม เช่น สมุทรสาคร จะเกิดภาวะวิกฤติ
อาจลามมาถึงกทมทันที แต่ถ้ามีการไหลเวียนของลมเหนืออ่าวไทยดีก็จะไม่เกิดปัญหาหรือปัญหาคลี่คลายลง
(ม่วงลดลงเป็นแดง  แดงลดลงเป็นส้ม ส้มลดลงเป็นเขียวเป็นต้น ขึ้นอยู่กับ
แหล่งผลิตพื้นฐานในตัวเมืองเอง รวมทั้งที่ลมสะสมมาให้จากแผ่นดิน)

ภาพการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศเหนืออ่าวไทยช่วงเกิดวิกฤติ และหลังเกิดวิกฤติ(26มกรา - 27 มกรา 62)




ภาพบันทึกตัวอย่างเหตุการณ์ก่อนเปลี่ยนแปลงความดกดอากาศ
ที่ทำให้ลมไม่ไหลในคืนวันที่ 25 ถึงเช้าวันที่ 26 มกราคม





สถานการณ์ช่วงเช้าที่เราเห็นฝุ่นทึบในกทม และ มีบางช่วงขึ้นม่วงในสมุทรสาคร






ดังนั้นเราสามารถประเมินได้เองเบื้องต้นว่า อาจเกิดภาวะวิกฤติฝุ่น(จากแดงเป็นม่วงเป็นต้น)ขึ้นในพื้นที่หรือไม่
โดยการดูว่ามีอะไรขวางทางลมบริเวณอ่าวไทยสะสมนานเป็นระยะเวลาหนึ่งหรือเปล่า
สามารถเข้าเว็บที่แสดงข้อมูลเหล่านี้ได้
รวมทั้งเว็บที่มีแบบจำลองต่างๆเช่น  https:/windy.com https://airvisual.com https://ventusky.com
หรือข้อมูลสภาพอากาศจากกรมอุตุ ก็แล้วแต่สะดวกได้เลยครับผม


ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศเหนือ อ่าวไทยเป็นช่วงๆ
จนทำให้เกิดการอุดตันลมนั้น ยังไม่ทราบ
ใครทราบก็บอกด้วยเน้อ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่