สมัยยุคสุโขทัย อยุธยา ประเทศทางแถบนี้ ไทย พม่า เขมร เวียตนาม สร้างถนนเป็นไหมครับ?

เคยอ่านประวัติศาสตร์ยุคโบราณอย่าง

จักรวรรดิ์โรมันสมัยก่อน และรู้ว่าทางนั้นรู้วิธีการสร้างถนนสำหรับให้ม้าหรือรถม้าวิ่ง รวมถึงสร้างทางให้สามารถเคลื่อนย้ายกองทัพไปยังหัวเมืองต่างๆได้อย่างรวดเร็วมาตั้งแต่สมัยเป็นพันกว่าปีก่อนแล้ว จนมีคำพูดว่า "ถนนทุกเส้นมุ่งสู่โรม"

ทางจักรวรรดิ์จีนก็มีการสร้างถนนคูคลองสำหรับเคลื่อนย้ายกองทัพและเสบียง ทั้งสร้างระบบม้าเร็วส่งสาร รวมถึงที่พักม้าตามจุดต่างๆ ในสมัยยุคห้าแคว้นมีกระทั่งระบบกระโจมไฟสัญญานบนภูเขาที่ถ้าจุดไฟแล้วจะเป็นอาณัตสัญญานว่ามีภัยเกิดขึ้นที่เมืองหลวง ให้หัวเมืองต่างๆที่อยู่ห่างไกลเคลื่อนกองทัพเข้ามาช่วย (แบบหนังเรื่อง Lord of the Ring )

แต่พออ่านประวัติศาสตร์ของไทยสมัยอยุธยาแค่เคลื่อนทัพไปเชียงใหม่ก็ใช้เวลาเป็นเดือนๆ เดินทางไปรบเขมรก็เป็นปีๆ หัวเมืองที่ควรเป็นเมืองป้อมปราการกับพม่าตามด่านจุดสำคัญเช่นตรงเมืองเมาะตะมะก็ไม่มี เลยสงสัยว่าอารยธรรมการสร้างถนนหนทาง การคมนาคมกับการสื่อสารในประเทศแถวนี้ล้าหลังพวกจีนพวกโรมันเป็นพันๆปีจริงๆเหรอครับ? เพราะผมไม่เคยอ่านเจอเลยว่าเคยมีการสร้างอะไรอย่าง ถนนหลวงเชื่อมระหว่างเมืองหลวงกับหัวเมืองต่างๆเกิดขึ้นในสมัยนั้น
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ทางที่กว้างๆ ระยะทางประมาณ 1 กม. ก็มีเขมรครับ
เป็นเส้นทางปูลาดด้วยหินทราย มุ่งตรงสู่ปราสาทขอม

ของไทย ที่เห็นเป็นทาง ก็เส้น กำแพงเพชร-สุโขทัย
เส้นทางนี้ ถือว่าเป็นระยะทางเกิน 10 กม.
เป็นทางเกวียนขนส่งหินศิลาแลง ไปส่งเมืองสุโขทัย
ก่อนอาณาจักรอยุธยาเสียอีก  

ส่วนเส้นทางอื่น เป็นทางเดิน ของคน และช้างม้า + เกวียนที่ลัดเลาะไปตามหมู่บ้าน
และช่องเขา
เคยเห็นเส้นทาง เดินจากแม่ตื่น เชียงใหม่ ลัดเลาะไปพม่าด้วย
กว้างประมาณ 2 - 3 เมตร เป็นทางในป่าเขา และลัดเลาะผ่านสันเขา

ส่วนทางเหนือ มักเป็นทางเดินในเขตกำแพงเมือง ที่ล้อเกวียนจะเดินได้
ซึ่งจะเห็นชัดในผังเมืองของหัวเมืองทางเหนือ เช่นเมืองเชียงแสน ก่อนอาณาจักรสุโขทัย
ณ เวลานี้ ยังปรากฎให้เห็นร่องอยู่บ้าง โดยเฉพาะเส้นที่ติดกับกำแพงเมือง และคูเมือง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่