มาร่วมงานเสวนา ฯ บริเวณเจดีย์ขาว วัดพระศรีฯ ในวันอาทิตย์สายๆ อากาศสบาย ลมดี มีฝุ่นเบาๆ นั่งใต้ร่มไม้กับน้องไก่สองสามตัว ฟังทันนิดหน่อยตามประสาแมวแถวหลังค่ะ
งานเสวนาประวัติศาสตร์
"อนุเสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญกับการเมืองไทย"
จัดโดย กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย
อ. สรัญญา
- กบฏ ร.ศ. 130 เป็นรุ่นพี่ และเป็นแรงบันดาลใจของคณะราษฎร
- เกี่ยวกับกรณีหมุดคณะราษฎรหาย ที่เขียนและวิเคราะห์ โดยอ. สมศักดิ์ นำไปสู่การแชร์ และโดนจับหกคน ข้อหา 112
- เคยมีเสนอให้รื้ออนุเสาวรีย์ปชต. ในสมัยรบ. ถนอม แต่ตกไปเพราะเสียงคัดค้านเข้มแข็ง
#วันหมุดหาย เป็นวันที่มีรัฐธรรมนูญใหม่ 6 เมษายน 60 เกี่ยวข้อง ?
#ทำไมจึงมีคณะใด/คนใดอยากลบประวัติศาสตร์ไม่ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ ?
อ. ศรันย์
- การต่อสู้ระหว่างอำนาจเก่ากับอำนาจใหม่ การลบการรื้อรหัส/สัญลักษณ์ ของฝ่ายจารีต ทั้งเชิงวัตถุธรรมและคติธรรม มีมาในประวัติศาสตร์
- ลวดลายหน้าบัน สถาปัตยกรรมแบบจารีตนิยม มีสัญลักษณ์เทพเทวดา ที่ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสถาบันกษัตริย์ สะท้อนอุดมคติสมมติเทพ สมัย ร.4 มีตราประจำของเป็นลวดลายประกอบหน้าบัน สมัย ร.6 คติราชาปราชญ์ คนสามัญอยู่ร่วมกับกษัตริย์ได้
- การทุบอาคารเก่าศาลฎีกา เป็นการตั้งใจลบรหัส/สัญลักษณ์ของคณะราษฎร
# พรากสถานที่ พรากชีวิต พรากความทรงจำ/สัจจะ เป็นการขโมยการให้เหตุผลไปจากผู้คน เหล่านี้เป็นการแสดงถึงอำนาจนิยม
คุณกนิษฐ์
- คณะราษฎรให้ความสำคัญกับการศึกษา ซึ่งเป็นหนึ่งในหลัก 6 ประการ สร้างโรงเรียนทั่วประเทศ โรงเรียนประชาบาล เทศบาล อนุบาล (สัญลักษณ์ดอกบัว) รร. เตรียมอุดม (จอมพลป.อนุมัติ) ม. ธรรมศาสตร์ มหิดล รวมถึงศิลปากร สร้างสนามกีฬาแห่งชาติ ด้วยคำนึงสุขภาพของประชาชน ก่อนนั้นไม่มีการออกกำลังกาย การออกกำลังกาย คือ การถูกเกณฑ์แรงงาน
#ทำไมกรมศิลป์ไม่ดูแลรักษาสถานที่ประวัติศาสตร์
#ทำไมต้องทำลายสถานที่ประวัติศาสตร์ ถ้าเป็นเรื่องไม่ดี ก็ควรคงไว้เป็นการประจานดีกว่า
#แล้วในภายหน้าเราจะเล่าที่มาถึงแขวงอนุเสาวรีย์ให้ลูกหลานฟังว่า ?
แขกพิเศษ
คุณพุทธินาถ (คุณลุงแมว บุตรพระยาพหลฯ ) เกิดหลังปฎิวัติสยาม 7 ปี
เรื่องราวต่างๆ ได้ทราบเพราะคุณแม่เป็นคนเล่า คุณพ่อไม่เคยเล่าอะไรเลย
-ที่ดินมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดิมเป็นของกระทรวงกลาโหม ท่านปรีดีขอซื้อใช้เงินกระทรวงการคลัง
-อนุเสารีย์ฯ นี้ สร้างเป็นครึ่งวงกลม ด้านหน้าติดถนนพหลโยธิน สมัยนั้นด้านหลังยังเป็นทุ่งนา โรงพักบางเขนเป็นไม้ ยกสูงมีใต้ถุน เพราะน้ำท่วม ถนนพหลโยธิน แต่เดิมชื่อ ถนนประชาธิปัตย์ (ไม่เกี่ยวกับพรรคปชป.)
เพราะตัดผ่านตำบลประชาธิปัตย์ ปทุมธานี ต่อมาเปลี่ยนชื่อในสมัยจอมพลแปลก
# ถ้าถามว่ารู้สึกยังไงที่อนุเสาวรีย์ฯ หายไป
ส่วนตัวไม่รู้สึก เพราะอนุเสารีย์ ฯ เป็นของคนไทยทั้งชาติ
หมุดหาย อนุเสาวรีย์ฯ หาย ต่อไปอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยก็อาจจะหายได้ ?
ปิดท้ายด้วย เสียงเพลง 24 มิถุนา ร่วมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกและไปเยี่ยมสถานที่ตั้งอดีตอนุเสาวรีย์ฯ
Comrade Kitty
Anusaowari District
อนุเสาวรีย์ฯ ที่หายไป
งานเสวนาประวัติศาสตร์
"อนุเสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญกับการเมืองไทย"
จัดโดย กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย
อ. สรัญญา
- กบฏ ร.ศ. 130 เป็นรุ่นพี่ และเป็นแรงบันดาลใจของคณะราษฎร
- เกี่ยวกับกรณีหมุดคณะราษฎรหาย ที่เขียนและวิเคราะห์ โดยอ. สมศักดิ์ นำไปสู่การแชร์ และโดนจับหกคน ข้อหา 112
- เคยมีเสนอให้รื้ออนุเสาวรีย์ปชต. ในสมัยรบ. ถนอม แต่ตกไปเพราะเสียงคัดค้านเข้มแข็ง
#วันหมุดหาย เป็นวันที่มีรัฐธรรมนูญใหม่ 6 เมษายน 60 เกี่ยวข้อง ?
#ทำไมจึงมีคณะใด/คนใดอยากลบประวัติศาสตร์ไม่ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ ?
อ. ศรันย์
- การต่อสู้ระหว่างอำนาจเก่ากับอำนาจใหม่ การลบการรื้อรหัส/สัญลักษณ์ ของฝ่ายจารีต ทั้งเชิงวัตถุธรรมและคติธรรม มีมาในประวัติศาสตร์
- ลวดลายหน้าบัน สถาปัตยกรรมแบบจารีตนิยม มีสัญลักษณ์เทพเทวดา ที่ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสถาบันกษัตริย์ สะท้อนอุดมคติสมมติเทพ สมัย ร.4 มีตราประจำของเป็นลวดลายประกอบหน้าบัน สมัย ร.6 คติราชาปราชญ์ คนสามัญอยู่ร่วมกับกษัตริย์ได้
- การทุบอาคารเก่าศาลฎีกา เป็นการตั้งใจลบรหัส/สัญลักษณ์ของคณะราษฎร
# พรากสถานที่ พรากชีวิต พรากความทรงจำ/สัจจะ เป็นการขโมยการให้เหตุผลไปจากผู้คน เหล่านี้เป็นการแสดงถึงอำนาจนิยม
คุณกนิษฐ์
- คณะราษฎรให้ความสำคัญกับการศึกษา ซึ่งเป็นหนึ่งในหลัก 6 ประการ สร้างโรงเรียนทั่วประเทศ โรงเรียนประชาบาล เทศบาล อนุบาล (สัญลักษณ์ดอกบัว) รร. เตรียมอุดม (จอมพลป.อนุมัติ) ม. ธรรมศาสตร์ มหิดล รวมถึงศิลปากร สร้างสนามกีฬาแห่งชาติ ด้วยคำนึงสุขภาพของประชาชน ก่อนนั้นไม่มีการออกกำลังกาย การออกกำลังกาย คือ การถูกเกณฑ์แรงงาน
#ทำไมกรมศิลป์ไม่ดูแลรักษาสถานที่ประวัติศาสตร์
#ทำไมต้องทำลายสถานที่ประวัติศาสตร์ ถ้าเป็นเรื่องไม่ดี ก็ควรคงไว้เป็นการประจานดีกว่า
#แล้วในภายหน้าเราจะเล่าที่มาถึงแขวงอนุเสาวรีย์ให้ลูกหลานฟังว่า ?
แขกพิเศษ
คุณพุทธินาถ (คุณลุงแมว บุตรพระยาพหลฯ ) เกิดหลังปฎิวัติสยาม 7 ปี
เรื่องราวต่างๆ ได้ทราบเพราะคุณแม่เป็นคนเล่า คุณพ่อไม่เคยเล่าอะไรเลย
-ที่ดินมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดิมเป็นของกระทรวงกลาโหม ท่านปรีดีขอซื้อใช้เงินกระทรวงการคลัง
-อนุเสารีย์ฯ นี้ สร้างเป็นครึ่งวงกลม ด้านหน้าติดถนนพหลโยธิน สมัยนั้นด้านหลังยังเป็นทุ่งนา โรงพักบางเขนเป็นไม้ ยกสูงมีใต้ถุน เพราะน้ำท่วม ถนนพหลโยธิน แต่เดิมชื่อ ถนนประชาธิปัตย์ (ไม่เกี่ยวกับพรรคปชป.)
เพราะตัดผ่านตำบลประชาธิปัตย์ ปทุมธานี ต่อมาเปลี่ยนชื่อในสมัยจอมพลแปลก
# ถ้าถามว่ารู้สึกยังไงที่อนุเสาวรีย์ฯ หายไป
ส่วนตัวไม่รู้สึก เพราะอนุเสารีย์ ฯ เป็นของคนไทยทั้งชาติ
หมุดหาย อนุเสาวรีย์ฯ หาย ต่อไปอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยก็อาจจะหายได้ ?
ปิดท้ายด้วย เสียงเพลง 24 มิถุนา ร่วมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกและไปเยี่ยมสถานที่ตั้งอดีตอนุเสาวรีย์ฯ
Comrade Kitty
Anusaowari District