Yad Vashem Holocaust History Museum ยาด วาเชม พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

Yad Vashem Holocaust History Museum
ยาด วาเชม พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ ประเทศอิสราเอล
ออกแบบโดย Safdie Architects
.

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ถ้าใครชื่นชอบ Art and Science Museum - Marina Bay Sands, Singapore ที่ออกแบบโดย Moshe Safdie คงต้องชอบ Museum ทางประวัติศาสตร์หลังนี้ด้วยเช่นกัน เพราะความหวือหวาของการใช้Form ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง  และ Space ที่น่าสนใจลึกลับอยากเข้าไปค้นหา
.

สำหรับ Museum Yad Vashem หลังนี้สร้างเสร็จเมื่อปี 2005 ตั้งอยู่บนภูเขา Herzl ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เดิมที่ถูกสร้างขึ้นก่อนหน้านี้เมื่อปี 1953  การกลับมาสร้างใหม่อีกครั้งหนึ่งจึงเหมือนเป็นการเก็บรักษาพื้นที่ของความทรงจำเดิมชาวยิวผู้เสียสละและผู้เป็นเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ไว้ รวมถึงเพื่อเป็นภาพตัวแทนของหน่วย ยาด วาเชมด้วย
.

ภายใน Museum ประกอบไปด้วย พื้นที่ให้บริการและข้อมูลนักท่องเที่ยว, พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ใหม่แทนที่ของพื้นที่เดิม, พื้นที่สลักชื่อชาวยิวผู้สละชีพและถูกสังหาร, พื้นที่แสดงงานศิลปะ, โบสถ์ชาวยิว, นิทรรศการ, ศูนย์เรียนรู้ต่างๆ รวมถึงที่จอดรถใต้ดินบริการสำหรับรถบัสนักท่องเที่ยว
.

สิ่งที่ดึงดูดความสนใจ คือ อาคารที่มีลักษณะเป็นแท่งสามเหลี่ยมลากยาวกว่า 183 เมตร สูงกว่า 16.5 เมตร เจาะทะลุเข้าไปในดิน เปิดช่องตรงหัวสามเหลี่ยม อนุญาตให้แสงลอดลงมายาวตลอดทางเดิน แสงที่ลอดมากระทบพื้นกลายเป็นเส้นลากยาวที่นำสายตาไปสู่ปลายอุโมงค์ แม้ว่าจะมีเส้นแสงนำทาง เงามืดจากผนังคอนกรีตที่เอียงเข้าหากันก็ทำให้ผู้เดินชมเสมือนหนึ่งอยู่ในพื้นที่ที่มองไม่เห็น และดูไม่มั่นคง
.

ขณะที่ดูเหมือนสามารถเดินเป็นเส้นตรงได้ สถาปนิกกลับชักนำเราไปสู่ห้องจัดแสดงงานที่อยู่ด้านข้าง โดยออกแบบเหมือนร่องนำ้ตื้นๆ ขวางทางเดิน ร่องน้ำนี้นอกจากจะตัดขวางไปมาเพื่อกำหนดทิศทางการเดินแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่แสดงนิทรรศการอีกด้วย
.

Highlight ของ Exhibition ถูกซ่อนอยู่ใต้ดิน เป็นพื้นที่ที่มีเพียงช่องแสงจากพื้นผิวบนเนินเขาที่ส่องให้ความสว่างในการชม Exhibitionเท่านั้น ดังนั้นในขณะที่ผู้ชมเดินเคลื่อนไหวใน Space ก็เหมือนกับการแกะรอย ติดตามพัฒนาการของกลุ่มนาซีและความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
.

จุดสิ้นสุดการเดินอยู่ที่ปลายปากที่แบะออกของปริซึม เป็นการเปิดเผยอของปลายผนังทั้งสองและยื่นลอยออกไปจากเนินเขา เพื่อขยายมุมมองสู่เยรูซาเลม กลายเป็นจุดหยุด หรือเป็น “an expressive open air gallery” เปรียบเปรยเหมือนการเชื่อมเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวเข้ากับการสร้างประเทศและจิตวิญญาณของการมองในสิ่งที่ดี
.

Courtesy by
บทความจาก : www.safdiearchitects.com
ภาพประกอบจาก :
www.commons.wikimedia.org
www.wikipedia.org
เพลง : Bensound.com
เรียบเรียงโดย : มานิตา ชีวเกรียงไกร

Page : https://www.facebook.com/kidsimong/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่