ถามท่านผู้รู้เกี่ยวกับการตัดสินคดีของผู้พิพากษาตุลาการครับ

ถามท่านผู้ปฏิบัติธรรมเกี่ยวกับงานในตำแหน่งผู้พิพากษาครับ

การที่ต้องปรับข้อเท็จจริงเข้ากับตัวบทกฎหมาย และผู้พิพากษาต้องใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษ   ยกตัวอย่างเช่น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
การที่ผู้พิพากษาเป็นผู้ที่ต้องตัดสินใจเลือก ว่าจะลงโทษประหารชีวิต ? จำคุกตลอดชีวิต? หรือว่าจะจำคุกกี่ปีดีระหว่างสิบห้าปีถึงยี่สิบปี ?
หรือจะลดโทษให้ผู้ต้องหาหรือไม่เพียงใด ?

หรือ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงสิบปี
การที่ผู้พิพากษาเป็นผู้ที่ต้องตัดสินใจเลือก ว่าจะลงโทษจำคุกผู้ต้องหานานเท่าไหร่ ในระหว่างหกเดือน ถึงสิบปี ?
หรือจะลดโทษให้หรือไม่เพียงใด ?

การที่ผู้พิพากษาต้องตัดสินประหารชีวิต หรือต้องกักขัง จำคุกผู้ต้องหานานแค่ไหน หรือจะลดโทษให้หรือไม่เพียงใด
เป็นดุลพินิจในการกำหนดโทษของผู้พิพากษา (ซึ่งการใช้ดุลพินิจของปุถุชนย่อมมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย)
การที่ผู้พิพากษาต้องปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ผู้พิพากษาต้องมีส่วนในกรรมนี้หรือไม่ มากน้อย เพียงใดครับ


ขอบคุณทุกท่านล่วงหน้าครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่