เมื่อ : 21 มกราคม 2562
เขียนโดย Admin เคนชิน
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าพืชสามารถ ได้ยิน เสียงของผึ้งที่บินผ่าน เพื่อการเร่งสร้างน้ำหวานที่น่ายั่วยวนให้เหล่าแมลงมาดูดกิน ซึ่งในทางเทคนิคแล้ว ก็อาจบอกว่าดอกไม้นั้นมี หู ได้เลยหล่ะ
อ้างอิงจากการสังเกตพฤติกรรมของดอก อีฟนิ่งพริมโรส (Evening primroses) ทีมที่อยู่เบื้องหลังงานวิจัยนี้คันพบว่า ในช่วงนาทีที่กลีบดอกไม้สัมผัสได้กับคลื่นเสียงที่เกิดจากการกระพือปีกของผึ้งที่บินอยู่ใกล้ๆ ความเข้มข้นของปริมาณน้ำตาลที่อยู่ในน้ำหวานนั้นก็เพิ่มขึ้น 20% ในทันที
และดอกไม้ยังดูเหมือนมีความสามารถในการแยกแยะเสียงรบกวนในสภาพแวดล้อม อย่างเช่นเสียงลม ออกจากเสียงกระพือปีกของแมลงได้ด้วย ซึ่งความสามารถในการรับรู้เสียงนี้ ทำให้พืชมีวิวัฒนาการแบบก้าวกระโดด ช่วยเพิ่มโอกาสให้มันสามารถล่อแมลงมาดูดน้ำหวาน เพื่อช่วยในการผสมเกสร
โดยนักวิจัยจาก Tel-Aviv University ในประเทศอิสราเอล มีการระบุเอาไว้ในงานวิจัยว่า "นี่เป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกไว้เป็นเอกสารว่า พืชสามารถตอบสนองต่อเสียงของแมลงที่ทำหน้าที่ผสมเกสรได้อย่างเหมาะสม"
โดยในทีแรก นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่า พืชสามารถตรวจจับความสั่นสะเทือนของคลื่นเสียง และนี่น่าจะเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมดอกไม้จึงมีรูปทรงคล้ายชาม เพราะเป็นรูปทรงที่ใช้ดักจับเสียงได้ดีนั่นเอง
และจากการทดลองหลายๆ ครั้งกับดอก อีฟนิ่งพริมโรส กว่า 650 ดอก มีการวัดปริมาณการผลิตน้ำหวานในขณะที่สภาพเสียงเงียบ เปรียบเทียบกับตอนที่มีการสร้างคลื่นเสียง 3 ระดับความถี่ รวมถึงเสียงบินของผึ้ง และแน่นอนว่า เสียงบินของผึ้ง รวมถึงเสียงในย่านความถี่ต่ำที่ใกล้เคียงกับเสียงบินของผึ้งนั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนผสมของน้ำหวานในดอกไม้ได้เป็นระยะเวลานานถึง 3 นาที ในขณะที่คลื่นเสียงความถี่สูง และความถี่ปานกลางนั้นไม่ส่งผลใดๆ
นอกจากนี้ทีมยังได้ทำการทดลองกับดอกไม้ที่โดนเด็ดกลีบดอกออกทั้งหมด ผลปรากฏว่าไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงในส่วนผสมของน้ำหวาน ชี้ชัดว่า กลีบดอก นั้นทำหน้าที่เป็นหูของพืช และการผลิตน้ำหวานที่มีความหวานเป็นพิเศษนั้นช่วยให้แมลงดูดน้ำหวานที่ดอกไม้ยาวนานขึ้น เพิ่มโอกาสที่เจ้าแมลงจะช่วยผสมเกสรให้ดอกไม้ และยังทำให้แมลงติดใจที่จะกลับมาดูดน้ำหวานจากดอกไม้ชนิดเดิมอีกครั้ง
อย่างไรก็ดี งานวิจัยชิ้นนี้ยังไม่ผ่านขั้นตอนการ Peer-review* และยังไม่ชัดเจนว่า ความสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงนั้นถูกถอดรหัสมาเป็นการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิตน้ำหวานของพืชได้อย่างไร แต่ในเบื้องต้น งานวิจัยชิ้นนี้ก็เป็นก้าวแรกเพื่อที่จะได้ศึกษาต่อว่า พืชตอบสนองต่อเสียงที่เกิดขึ้นรอบๆ อย่างไร
Peer-review* คือกระบวนการของวารสารวิชาการ ที่ให้มีคณะผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ อ่านบทความ และตัดสินว่า บทความดังกล่าว เป็นที่ยอมรับ หรือปฎิเสธ หรือให้กลับไปปรับปรุงแก้ไข ก่อนรับรองให้ลงพิมพ์ในวารสารนั้นได้
เรารู้มาก่อนหน้านี้แล้วว่า พืชสามารถตอบสนองต่อการสัมผัส และตอบสนองต่อแสงแดด และตอนี้เรารู้ว่ามันยังตอบสนองต่อเสียงอีกด้วย และในขั้นต่อไป นักวิจัยยังอยากรู้อีกด้วยว่า พืชตอบสนองกับเสียงอื่นๆ หรือเสียงของสัตว์ชนิดอื่น หรือพวกมันตอบสนองต่อเสียงมนุษย์อย่างไร
คุณ Marine Veits หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวกับสื่อ National Geographic ว่า "พืชสามารถได้ยิน หรือได้กลิ่นได้อย่างไร ทั้งๆ ที่มันไม่มีหูแลจมูก แต่ผมอยากให้เข้าใจว่า การได้ยินนั้นไม่จำกัดแค่เฉพาะว่าต้องมีหูเท่านั้น"
ที่มา : www.sciencealert.com
ไทยแวร์NEWS
ต้นไม้อาจไม่มีหู แต่วิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า ต้นไม้สามารถได้ยินเสียง
เขียนโดย Admin เคนชิน
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าพืชสามารถ ได้ยิน เสียงของผึ้งที่บินผ่าน เพื่อการเร่งสร้างน้ำหวานที่น่ายั่วยวนให้เหล่าแมลงมาดูดกิน ซึ่งในทางเทคนิคแล้ว ก็อาจบอกว่าดอกไม้นั้นมี หู ได้เลยหล่ะ
อ้างอิงจากการสังเกตพฤติกรรมของดอก อีฟนิ่งพริมโรส (Evening primroses) ทีมที่อยู่เบื้องหลังงานวิจัยนี้คันพบว่า ในช่วงนาทีที่กลีบดอกไม้สัมผัสได้กับคลื่นเสียงที่เกิดจากการกระพือปีกของผึ้งที่บินอยู่ใกล้ๆ ความเข้มข้นของปริมาณน้ำตาลที่อยู่ในน้ำหวานนั้นก็เพิ่มขึ้น 20% ในทันที
และดอกไม้ยังดูเหมือนมีความสามารถในการแยกแยะเสียงรบกวนในสภาพแวดล้อม อย่างเช่นเสียงลม ออกจากเสียงกระพือปีกของแมลงได้ด้วย ซึ่งความสามารถในการรับรู้เสียงนี้ ทำให้พืชมีวิวัฒนาการแบบก้าวกระโดด ช่วยเพิ่มโอกาสให้มันสามารถล่อแมลงมาดูดน้ำหวาน เพื่อช่วยในการผสมเกสร
โดยนักวิจัยจาก Tel-Aviv University ในประเทศอิสราเอล มีการระบุเอาไว้ในงานวิจัยว่า "นี่เป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกไว้เป็นเอกสารว่า พืชสามารถตอบสนองต่อเสียงของแมลงที่ทำหน้าที่ผสมเกสรได้อย่างเหมาะสม"
โดยในทีแรก นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่า พืชสามารถตรวจจับความสั่นสะเทือนของคลื่นเสียง และนี่น่าจะเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมดอกไม้จึงมีรูปทรงคล้ายชาม เพราะเป็นรูปทรงที่ใช้ดักจับเสียงได้ดีนั่นเอง
และจากการทดลองหลายๆ ครั้งกับดอก อีฟนิ่งพริมโรส กว่า 650 ดอก มีการวัดปริมาณการผลิตน้ำหวานในขณะที่สภาพเสียงเงียบ เปรียบเทียบกับตอนที่มีการสร้างคลื่นเสียง 3 ระดับความถี่ รวมถึงเสียงบินของผึ้ง และแน่นอนว่า เสียงบินของผึ้ง รวมถึงเสียงในย่านความถี่ต่ำที่ใกล้เคียงกับเสียงบินของผึ้งนั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนผสมของน้ำหวานในดอกไม้ได้เป็นระยะเวลานานถึง 3 นาที ในขณะที่คลื่นเสียงความถี่สูง และความถี่ปานกลางนั้นไม่ส่งผลใดๆ
นอกจากนี้ทีมยังได้ทำการทดลองกับดอกไม้ที่โดนเด็ดกลีบดอกออกทั้งหมด ผลปรากฏว่าไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงในส่วนผสมของน้ำหวาน ชี้ชัดว่า กลีบดอก นั้นทำหน้าที่เป็นหูของพืช และการผลิตน้ำหวานที่มีความหวานเป็นพิเศษนั้นช่วยให้แมลงดูดน้ำหวานที่ดอกไม้ยาวนานขึ้น เพิ่มโอกาสที่เจ้าแมลงจะช่วยผสมเกสรให้ดอกไม้ และยังทำให้แมลงติดใจที่จะกลับมาดูดน้ำหวานจากดอกไม้ชนิดเดิมอีกครั้ง
อย่างไรก็ดี งานวิจัยชิ้นนี้ยังไม่ผ่านขั้นตอนการ Peer-review* และยังไม่ชัดเจนว่า ความสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงนั้นถูกถอดรหัสมาเป็นการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิตน้ำหวานของพืชได้อย่างไร แต่ในเบื้องต้น งานวิจัยชิ้นนี้ก็เป็นก้าวแรกเพื่อที่จะได้ศึกษาต่อว่า พืชตอบสนองต่อเสียงที่เกิดขึ้นรอบๆ อย่างไร
Peer-review* คือกระบวนการของวารสารวิชาการ ที่ให้มีคณะผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขา เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ อ่านบทความ และตัดสินว่า บทความดังกล่าว เป็นที่ยอมรับ หรือปฎิเสธ หรือให้กลับไปปรับปรุงแก้ไข ก่อนรับรองให้ลงพิมพ์ในวารสารนั้นได้
เรารู้มาก่อนหน้านี้แล้วว่า พืชสามารถตอบสนองต่อการสัมผัส และตอบสนองต่อแสงแดด และตอนี้เรารู้ว่ามันยังตอบสนองต่อเสียงอีกด้วย และในขั้นต่อไป นักวิจัยยังอยากรู้อีกด้วยว่า พืชตอบสนองกับเสียงอื่นๆ หรือเสียงของสัตว์ชนิดอื่น หรือพวกมันตอบสนองต่อเสียงมนุษย์อย่างไร
คุณ Marine Veits หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวกับสื่อ National Geographic ว่า "พืชสามารถได้ยิน หรือได้กลิ่นได้อย่างไร ทั้งๆ ที่มันไม่มีหูแลจมูก แต่ผมอยากให้เข้าใจว่า การได้ยินนั้นไม่จำกัดแค่เฉพาะว่าต้องมีหูเท่านั้น"
ที่มา : www.sciencealert.com
ไทยแวร์NEWS