ต่อไป ควรตั้งสติ ก่อนเซ็นเช็ค ครับ ห้ามขีดฆ่า แก้ไข ข้อความใดๆทั้งสิ้น

มีโอกาสไปทำธุระที่ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง  มีใบประกาศวางไว้บนเคาท์เตอร์  ซึ่งเป็นกฎของธนาคาร
แห่งประเทศไทย  
  โดยมีใจความหลัก คือ เช็คที่สั่งจ่ายโดยผู้สั่งจ่ายทุกชนิด ห้ามมีรอยขีดฆ่า แก้ไข ข้อความใดๆ
เพราะ หากนำไปขึ้นเงิน กับต่างสถาบันการเงิน หรือ ต่างสาขา แล้ว  ไม่สามารถขึ้นเงินได้
ต้องนำไปขึ้นเงินกับ ธนาคารสาขาที่ออกเช็คให้เท่านั้น  หรือ ให้ผู้สั่งจ่ายออกเช็คใบใหม่ให้
   ใครที่ ตีเช็ค หรือ รับเช็ค ที่ผู้สั่งจ่ายลงวันที่ไว้ล่วงหน้า หลัง 1 กพ 62  ควรนำไปเปลี่ยนเช็ค
เป็นใบใหม่ครับ  ไม่งั้น  คงไม่ต่างจากกระดาษเปล่า  หรือไม่ก็ เมื่อถึงกำหนดต้องไปขึ้นเงินกับสถาบันสาขา
ที่ออกเช็คให้เท่านั้น  
   และไม่แน่ใจว่า หลังวันที่ 1 กพ 62 แล้ว ถ้าใครที่ถือเช็คที่มีการขีดฆ่า แก้ไข อยู่ แล้วยังไม่ไปเปลี่ยนเช็คใบใหม่
กับผู้สั่งจ่าย  จะนับว่าเป็น  หลักฐานเกี่ยวกับ การชำระหนี้ ที่ถูกกฏหมาย หรือไม่   หรือว่า อาจจะมีคนหัวหมอ
อาศัยช่องว่างตรงนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ ตามที่เคยออกเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้าไป

  แก้ไข  เพื่อ เพิ่มรูปประกอบ

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่